คุณูปการที่สำคัญที่สุดของพระนางปชาบดีโคตมีเถรีคืออะไร

คุณูปการที่สำคัญที่สุดของพระนางปชาบดีโคตมีเถรีคืออะไร

            พระอัญญาโกณฑัญญะ 
            พระประวัติ พระอัญญาโกณฑัญญะ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ เป็นบุตรของพราหมณ์ในหมู่บ้านโฑณวัตถุ ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์ จบการศึกษาด้านไตรเพทในคัมภีร์พรามหณ์ ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการทำนาลักษณะ ท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คน ที่พระเจ้าสุทโธทนะเชิญมาทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อคราวประสูติได้5วันและท่านได้ทำนายด้วยความเชื่อมั่นว่าพระกุมารจักออกบวชและสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ท่านมีความเชื่อมั่นว่าพระสิทธัตถะจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน จึงได้ชวนพราหมณ์อีก 4 คน ประกอบด้วย วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ออกบวชตาม และเฝ้าปฏิบัติอยู่ด้วยหวังว่าเมื่อพระสิทธัตถะบรรลุธรรมใดแล้วจักแสดงแก่พวกตนบ้าง แต่เมื่อเห็นพระสิทธัตถะเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาจึงหมดศรัทธาชักชวนกันหนีไปอยู่ ณป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมื่อพระสิทธัตถะบำเพ็ญเพียงทางจิตจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ มีพระโกณฑัญญะ เป็นต้น  พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงเรียกว่า ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรเมื่อแสดงธรรมจบ แล้วท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ แปลว่า โกณฑัญญะ รู้แล้วหนอ อาศัยคำว่า อญฺญาสิ จึงใช้คำว่า อัญญา นำหน้าชื่อท่านโกณฑัญญะ และท่านได้ทูลขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงประทานอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดอีกสี่ท่านที่เหลือและทุกท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรมทูลขออุปสมบท พระองค์ทรงประทานด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อปัญจวัคคีย์ได้อุปสมบทครบแล้ว พระองค์ได้แสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดท่านทั้งห้า และท่านเหล่านั้นก็ได้บรรลุอรหัตผลทุกรูปพระอัญญาโกณฑัญญะ นับเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า มีความเป็นเลิศทางรัตตัญญู คือ ผู้มีประสบการณ์มาก เนื่องจากท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านได้จาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ  เพื่อประกาศพระศาสนาตลอดจนชักชวนญาติพี่น้องให้นับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บางท่านได้ออกบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เช่น พระปุณณมันตานีบุตรผู้เป็นหลานชาย เป็นต้น และเมื่อท่านมีอายุมากขึ้นเข้าสู่วัยชรา ท่านได้กราบลาพระพุทธเจ้าไปอยู่เสนาสนะป่าใกล้
สระฉัททันต์เป็นเวลา 12 ปี จึงปรินิพพานที่ป่าฉัททันต์นั่นเอง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้มีประสบการณ์มาก

พระอัญญาโกณฑัญญะ มีประสบการณ์มากมีความรอบรู้ทั้งทางคดีโลกคดีธรรม ซึ่งเกิดจากการได้
ศึกษาเล่าเรียนและมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่เรียน ตลอดถึงการนำวิชาความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อาศัยประสบการณ์มาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง 

2. เป็นผู้มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ตามประวัติกล่าวว่าพระอัญญาโกณฑัญญะชอบความสงบไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ยินดีในเสนาสนะป่า
3. เป็นผู้มีปัญญาแก่กล้า พระอัญญาโกณฑัญญะเมื่อได้รับฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงโปรดครั้งแรก สามารถรู้ธรรมได้อย่างฉับพลัน ได้ดวงตาเห็นธรรมและทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
4. เป็นผู้มีเหตุผล เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดเป็นครั้งแรก พระอัญญาโกณฑัญญะได้นัดแนะกับท่านอื่น ๆ ไม่ให้แสดงอาการต้อนรับ ไม่ทักทาย แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเตือนให้นึกถึงความหลัง ท่านไม่หัวดื้อ เป็นผู้มีเหตุผลเมื่อฟังพระธรรมเทศนาแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบัน

    

คุณูปการที่สำคัญที่สุดของพระนางปชาบดีโคตมีเถรีคืออะไร

    พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

                  เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยวงศ์ เป็นพระกนิษฐภคินี(พระน้องนาง) ของพระนางสิริมหามายา และทรงเป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้าเมื่อพระนางสิริมหามายาประสูติเจ้าชายสิทธัตถะได้ 7 วันก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีและได้ทรงมอบหน้าที่การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะให้กับพระนาง ซึ่งพระนางก็ได้ทรงเลี้ยงดูพระกุมารเป็นอย่างดียิ่งกว่าเจ้าชายนันทะและเจ้าหญิงนันทาผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาของพระนางเอง
เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่ ณ นิโครธา
ราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีได้เข้าไปเฝ้าและกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต แม้จะกราบทูลถึง 3 ครั้งก็ตาม ก็มิได้ทรงอนุญาตด้วยมีเหตุผลว่าสตรีไม่ควรบรรพชา ทำให้พระนางเกิดความทุกข์เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง แต่ถึงกระนั้นพระนางก็มิได้ย่อท้อ มีพระทัยมุ่งมั่นต่อการบรรพชาเพียงอย่างเดียว
ในเวลาต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี แคว้นวัชชี พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะเป็นจำนวนมาก ได้ทรงปลงพระเกศา นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดได้เสด็จไปยังที่ประทับของพระพุทธเจ้าด้วยพระบาทเปล่าเพื่อทูลขอบรรพชา เมื่อเสด็จไปถึงได้ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตู เมื่อพระอานนท์เห็นพระนาง ถามทราบความประสงค์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลขอให้ทรงอนุญาตการบรรพชาแก่พระนาง พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ ถึงแม้พระอานนท์จะทูลขอถึงสามครั้งก็ตามพระอานนท์จึงกราบทูลถามว่า สตรีเมื่อได้บวชแล้วจะสามารถสำเร็จมรรคผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่ามีสิทธิ์สำเร็จมรรคผลได้พระอานนท์จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงเห็นแก่พระนางมหาปชาบดีที่เคยทรงอบรมเลี้ยงดูมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ถือว่าทรง
มีคุณูปการแก่พระพุทธเจ้าเป็นเอนกประการพระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าพระนางมหาชาบดี ทรงรับครุธรรม 8 ประการ ก็จักทรงให้อนุญาตให้บวชได้ ครุธรรม 8 ประการ ได้แก่

1. พระภิกษุณีแม้บวชแล้วได้ร้อยพรรษา ต้องเคารพนบไหว้พระภิกษุ แม้บวชใหม่ในวันนั้นพระภิกษุณีจะจำพรรษาอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่มีพระภิกษุไม่ได้ต้องมีสำนักอยู่เป็นเอกเทศในเขตวัดที่มีพระภิกษุอยู่ด้วยหรือไม่ก็อยู่ใกล้หมู่บ้านที่สุด
2. พระภิกษุณีจะจำพรรษาอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่มีพระภิกษุไม่ได้ ต้องมีสำนักอยู่เป็นเอกเทศในเขตวัดที่มีพระภิกษุอยู่ด้วยหรือไม่ก็อยู่ใกล้หมู่บ้านที่สุด
3. พระภิกษุณี ต้องปฏิบัติกิจ 2 อย่างทุกครึ่งเดือน คือ สอบถามอุโบสถและรับโอวาทจากพระภิกษุสงฆ์
4. พระภิกษุณีจำพรรษาแล้ว เวลาจะทำพิธีออกพรรษาด้วยการปวารณาต้องทำพิธีออกพรรษา 2 ครั้ง คือ ทำพิธีในที่ประชุมสงฆ์ที่เป็นฝ่ายพระภิกษุณี 
และจะต้องทำในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
5. พระภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย เป็นเวลา 15 วัน
6. ก่อนบวชเป็นพระภิกษุณี สตรีที่จะบวชร้องรักษาศีล 6 ข้อ เป็นเวลา 2 ปี ขาดไม่ได้ ถ้าขาดข้อหนึ่งข้อใดต้องเริ่มต้นนับเวลารักษาใหม่
7. พระภิกษุณีจะต้องไม่บริภาษหรือด่าพระภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
8. พระภิกษุณีต้องไม่สอนพระภิกษุ แต่จะเป็นฝ่ายรับการสอนจากพระภิกษุเท่านั้นพระอานนท์ได้นำรายละเอียดของครุธรรม 8 ประการไปบอกแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีเพื่อทรงทราบและพิจารณา พระนางพร้อมเจ้าหญิงศาสกยะทั้งหมดยอมรับครุธรรมแล้ว พระนางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะทั้งหมดจึงได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีในพระพุทธศาสนา เมื่อพระนางได้อุปสมบทแล้วได้บำเพ็ญเพียรจนได้สำเร็จพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องพระนางว่าเป็นเอตทัคคะ คือ เลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือ ผู้มีประสบการณ์มาก)

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา คือ เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีความดำริที่จะทรง
ออกบวชแล้ว ก็มีพระทัยแน่วแน่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะกำหนดหลักแห่งการประพฤติปฏิบัติอย่างหนักที่เรียกว่า 
ครุธรรม 8 ประการก็ตาม พระนางก็ไม่ทรงย่อท้อ จนในที่สุดก็ได้รับการอนุญาตจากพระพุทธเจ้าให้ทรงบวชได้
2. เป็นผู้มีความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง ถึงแม้พระนางจะมีฐานะเป็นถึงพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าก็ตาม แต่พระนางก็ไม่ทรง
เย่อหยิ่งถือพระองค์แต่ประการใด ตรงกันข้าม กลับมีความเคารพในพระพุทธเจ้าและหมู่พระภิกษุสงฆ์สาวกเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากข้อปฏิบัติในครุธรรม ภิกษุณีแม้จะบวชได้ตั้งร้อยปีก็ยังคงกราบไหว้พระภิกษุผู้แม้บวชแล้วในวันนั้น นับได้ว่าพระนางเป็นผู้มีความอ่อนน้อมและปฏิบัติตามอย่างว่าง่าย

คุณูปการที่สำคัญที่สุดของพระนางปชาบดีโคตมีเถรีคืออะไร

    พระเขมาเถรี

    ก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณี พระเขมาเถรี เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เมืองสาคละ แห่งสาคละนคร ในแคว้นมัททะ เมื่อวัยเยาว์ พระราชธิดาทรงมีพระสิริโฉมที่งดงามทรงมีผิวขาวหมดจดต่อมาเมื่อเจริญวัยแล้วได้ทรงเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งแคว้นมคธมีกรุงราชคฤห์เป็นราชธานีเมื่อพระพุทธเจ้าได้ประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์ได้เสด็จมายังแคว้นมคธ ทรงโปรดแสดงธรรมแด่พระเจ้าพิมพิสารจนสำเร็จพระโสดาบัน ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระเวฬุวันแล้วฝูงชนเป็นอันมากทั้งที่ใกล้และที่ไกลทราบข่าวได้พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาพากันหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงเห็นฝูงชนเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากเช่นนี้ก็ทรงโสมนัสปีติยินดี พระนางเขมาเดิมมิได้สนพระทัยในพระพุทธศาสนาแต่ประการใด ไม่สนใจข่าวพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวกซึ่งเสด็จมาประทับ ณ พระเวฬุวัน สนพระทัยแต่เรื่องความสวยความงามเพลิดเพลินอยู่ในพระสิริโฉมของพระนางเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงมี
พระราชประสงค์จะให้พระนางเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและสดับพระธรรมเทศนาจึงทรงคิดอุบายให้กวีแต่งเพลงพรรณนาความงามและความรื่นรมย์ร่มรื่นของพระเวฬุวัน แล้วรับสั่งให้กวีขับให้พระนางฟังพระนางเขมาได้ทรงฟังเพลงขับของกวีนั้นทรงรู้สึกว่าพระเวฬุวันช่างน่าอภิรมย์ร่มรื่นจริง ๆ ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปเที่ยวพระเวฬุวัน จงทูลขออนุญาตจากพระเจ้าพิมพิสารซึ่งพระองค์ก็ทรงอนุญาต พระนางพร้อมด้วยบริวารจึงเสด็จไปยังพระเวฬุวันและได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระจริยวัตรของพระนาง จึงได้ทรงเนรมิตร่างสตรีที่สวยงามประดุจนางฟ้าให้นั่งถวายพัดงานอยู่ใกล้ ๆ พระองค์ พระนางทอดพระเนตรเห็นหญิงสาวที่กำลังโบกพัดวีถวายพระพุทธเจ้านั้นสวยงามยิ่งนัก สวยกว่าความงามของพระนางอย่างเทียบกันไม่ได้ และในขณะที่พระนางทรงเพลินชมความงามของหญิงสาวนั้นอยู่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้หญิงสาวนั้นมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจาก
หญิงสาวสวยเป็นหญิงที่มีอายุมาก ชรา ถือไม้เท้า ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื้อหนังผุพังเน่าเปื่อยไปตามลำดับจนถึงล้มกลิ้งเกลือกไปมาเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก สุดท้ายเหลือแต่เพียงโครงกระดูกในที่สุดพระนางเขมาได้ทอดพระเนตรเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวมา ทรงนึกย้อนถึงพระวรกายของพระนางที่ต้องเป็นไปในสภาพเช่นนี้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าพระนางพร้อมที่จะรับพระธรรมเทศนาแล้ว จึงได้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เมื่อพระนางได้สดับพระธรรมเทศนาแล้วก็ได้บรรลุอรหันต์ แล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้ากลับยังพระตำหนัก ต่อมาพระนางได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าพิมพิสารออกผนวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเมื่อผนวชแล้วได้บำเพ็ญกิจให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาเป็นอันมากพระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องพระนางว่าเป็นพระภิกษุณีที่เลิศในทางปัญญาและเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. มีปัญญามาก พระเขมาเถรีได้รับการยกย่องว่าเป็นภิกษุณีที่เลิศในทางปัญญา สามารถตรัสรู้ตามพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าได้อย่างรวดเร็ว
2. มีปฏิภาณ พระเขมาเถรีเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายภิกษุณี มีความสามารถในการแสดงธรรมได้วิจิตรพิศดาร มีปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบฉับไวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
3. มีเหตุผล พระเขมาเถรีเป็นผู้ที่มีเหตุผล พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยปัญญา

คุณูปการที่สำคัญที่สุดของพระนางปชาบดีโคตมีเถรีคืออะไร

พระเจ้าปเสนทิโกศล

 พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศล เมืองสาวัตถี แคว้นโกศลเมื่อยังเป็นพระกุมารได้เสด็จไปศึกษาศิลปวิทยาที่สำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ ตักศิลา ในที่นี้เอง พระองค์ได้พบกับเจ้าชายมหาลิ จากเมืองไพศาลี แคว้นวัชชีและเจ้าชายพันธุละจากเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วพระองค์ก็ได้เสด็จกลับพระนครได้ทรงแสดงศิลปวิทยาให้พระประยูรญาติโดยทั่วกันทอดพระเนตรกัน พระเจ้ามหาโกศลได้มอบพระราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสครอบครองแทนพระองค์ในเวลาต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเดิมนับถือศาสนานิครนถ์ และเชื่อถือในการบูชายัญ ต่อมาได้สดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ได้ทรงเลิกการบูชายัญที่เป็นการกระทำเพื่อเบียดเบียนชีวิต ทรงปฎิญาณตนเป็นอุบาสกของถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิตพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเคารพรักและสนิทพระพุทธเจ้ามากทุกครั้งที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจะทรงกราบพระบาทด้วยความนอบน้อม เพราะความรักและเคารพในพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงขอพระธิดาของพระเจ้ามหานามมาเป็นมเหสีเพื่อที่จะทรงเกี่ยวดองเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า 

         นอกจากนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลยังได้ตรัสชวนประชาชนที่มาฟังธรรมในพระเชตวันมหาวิหารให้ร่วมอนุโมทนาในการที่พระองค์ได้ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 500 รูป มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเมื่อพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ทรงทำภัตกิจที่ในพระราชวังและประชาชนก็ได้ร่วมอนุโมทนาด้วยมากมายต่อมาเมื่อประชาชนได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุสงฆ์ 500 รูปเสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ก็ได้ทูลเชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ร่วมอนุโมทนาด้วยเช่นกัน และเป็นเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดพระองค์ก็ได้ถวาย
อสทิสทาน คือทานที่หาผู้ทำเสมอมิได้ นับว่าพระองค์ทรงเป็นศาสนูปถัมภกที่สำคัญในครั้งพุทธกาลพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสวรรคตที่หน้าประตูเมืองราชคฤห์ สาเหตุที่พระองค์เสด็จสวรรคตที่นั้น เนื่องจากถูกเสนาบดี ชื่อการายนะ ยึดพระนครขณะที่เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันซึ่งอยู่นอกพระนครสาวัตถี พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติให้พระเจ้าวิฑูฑภะราชกุมารที่ประสูติแต่พระมเหสีศากยวงศ์พระนามว่า วาสภขัตติยา ส่วนพระองค์รีบเสด็จไปกรุงราชคฤห์เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรูมาปราบกบถ เมื่อเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ยังมิทันได้เสด็จเข้าเมือง ประตูเมืองก็ปิดลงเสียก่อน ด้วยความเสียพระทัยและเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตในคืนนั้นที่หน้าประตูเมืองราชคฤห์นั่นเอง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. ทรงมีความเคารพรักในพระพุทธเจ้า ประพฤติพระองค์ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
2. ทรงมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ยึดถือเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดพระชนม์ชีพ