คณะอักษรศาสตร์มีมหาลัยอะไรบ้าง

เชื่อได้เลยว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนคิดว่า คณะอักษรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ ต้องเป็นเด็กสายศิลป์ (ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา ศิลป์สังคม ศิลป์ธุรกิจ) ที่มีหัวใจรักในด้านภาษาเท่านั้นจึงจะสามารถเรียนได้… อ่านบทความ อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เรียนยังไง เกี่ยวกับอะไร และจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

3 คณะในฝัน อักษร-มนุษย์-ศิลปศาสตร์

แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ทั้ง 3 คณะนี้ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับภาษาอย่างเดียว แต่ยังมีสาขาวิชาในด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ให้เราได้เลือกเรียนกันอย่างมากมาย และเมื่อเรียนจบแล้วก็สามารถที่จะไปประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลายสาขาเลยค่ะ ว่าแต่ทั้ง 3 คณะนี้จะมีอะไรที่น่าสนใจให้เราได้เลือกเรียนกันบ้างนั้น ตามมาดูกันได้เลยค่ะ

คณะอักษรศาสตร์

อักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอักษรหรือภาษา รวมไปถึงเรื่องของสัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในภาษาอีกด้วย การเรียนด้านอักษรศาสตร์จึงไม่ใช่เรียนเกี่ยวกับภาษาหรืออักษรเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวรรณคดีที่สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมด้านความคิดในแต่ชาติที่ใช้ภาษานั้น เช่น วิชาอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก มนุษย์กับภูมิศาสตร์ ปริทัศน์ศิลปการละคร และแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

คณะอักษรศาสตร์มีมหาลัยอะไรบ้าง

คณะมนุษยศาสตร์

มนุษยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสภาวะของมนุษย์ คือการเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์โบราณและภาษาสมัยใหม่ รวมไปถึงวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาและมนุษย์ เช่น ด้านวรรณคดี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะรวมไปถึงด้านมานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา และการสื่อสาร อีกด้วย

คณะศิลปศาสตร์

ศิลปศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปและทักษะเชิงปัญญา ที่เป็นการผสมผสานศิลปวิทยาการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อช่วยทำให้การเรียนรู้ในด้านนี้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาศิลปะในการใช้เหตุผล การใช้ภาษาเพื่อแนะนำชักชวนให้ผู้อื่นสนใจ

นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิชาด้านคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และดนตรี เข้ามาผสมผสานในการเรียนรู้ เพื่อให้เราสามารถที่เรียนรู้ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงิน การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและการโรงแรม ด้านสัตววิทยา และด้านพันธุศาสตร์ เป็นต้น

โดยรวมแล้วทั้ง 3 คณะ เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับสังคมและการใช้ชีวิตขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร วัฒนธรรมการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ การเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจจิตใจของมนุษย์ การเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ โดยจะใช้การวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลที่เกิดขึ้น ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับมนุษย์มากยิ่งขึ้นตั้งสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน และยังรวมไปถึงการศึกษาด้านวิทยาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการเงิน บัญชี การตลาด การท่องเที่ยวและโรงแรม ฯลฯ

เป็นกลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสภาวะแห่งมนุษย์ ในแง่ของจิตวิญญาณ การแสดงความคิด ความสัมพันธ์ พัฒนาการ และอารยธรรมของมนุษย์ ตลอดจนมุ่งศึกษาทางภาษา วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ที่มนุษย์สร้างสมขึ้น และสืบทอดมา โดยใช้วิธีศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ ด้วยหลักคุณค่าและเหตุผล การเรียนด้านมนุษยศาสตร์ มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์โลก เพราะจะทำให้เราได้รู้จักพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในคณะอักษรศาสตร์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้สามารถเรียนรู้แล้ววางแผนไปถึงอนาคตได้ นอกจากนี้แล้วผู้เรียนยังจะเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคม และสภาพแวดล้อมมากขึ้น มีจิตใจละเอียดอ่อน สามารถรู้จักใช้สติปัญญาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

 สาขาที่เปิดสอน

สาขาวิชาภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

สาขาวิชาภูมิศาสตร์

สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์

สาขาวิชาปรัชญา

สาขาวิชาการละคร

สาขาวิชาภาษาศาสตร์

สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

สาขาวิชาบาลีและสันสกฤต

สาขาวิชาภาษาจีน

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

สาขาวิชาภาษาเยอรมัน

สาขาวิชาภาษาสเปน

สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน

สาขาวิชาจิตวิทยา

สาขาวิชาภาษารัสเซีย

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย

สาขาวิชาภาษามลายู

สาขาวิชามลายูศึกษา

สาขาวิชาภาษาอาหรับ

สาขาวิชาภาษาเกาหลี

สาขาวิชาศาสนา

 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีความสนใจทางด้านภาษา ชอบการอ่าน การเขียน การศึกษาค้นคว้าภาษาใหม่ๆ

 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านนี้ส่วนใหญ่จะมีความรู้ภาษาต่างประเทศมากกว่า 2 ภาษา จึงมีความได้เปรียบในการทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ 2 นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพ เช่นเป็นครู อาจารย์ นักวิชาการ งานที่เกี่ยวกับสารนิเทศ การติดต่อต่างประเทศในกระทรวง ทบวงกรมต่างๆ ในภาคเอกชนคือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน กัปตัน มัคคุเทศก์ นักแปล ล่าม หรือพนักงานสถาบันการเงิน นักหนังสือพิมพ์ พิธีกร โฆษณา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เว็บมาสเตอร์ ครีเอทีฟ การประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีสมัยใหม่ อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ นักธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น และยังสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศได้ด้วย

สำหรับน้องๆที่อยากเรียน ในด้านภาษา คงจะนึกต้องถึง คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ อย่างแน่นอน แต่คณะเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีสอนแต่ทางด้านภาษาเท่านั้น ยังมี สาขาวิชาอื่นๆ อีกที่น่าสนใจ อาทิ เช่น สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา , สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา , สาขาวิชาจิตวิทยา เป็นต้น

และหากน้องๆ คนไหนที่สนใจอยากจะศึกษาต่อ ในคณะนี้ แต่ยังเลือกไม่ได้ว่าจะเลือกสาขาวิชาอะไร ในบทความนี้ พี่ก็มี 10 สาขาวิชา คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ ที่น่าเรียนต่อ มาฝากกัน น่าจะเป็นแนวทางให้กับน้องๆ ได้นะจ้ะ

1. สาขาวิชาจิตวิทยา

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สาขาวิชานี้ บางมหาวิทยาลัยเป็นคณะเลยด้วยนะ อย่างเช่น คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

**บางมหาวิทยาลัยอาจสังกัดอยู่ในคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. นักจิตวิทยา

2. นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น โรงพยาบาล มูลนิธิ สถานสงเคราะห์ เป็นต้น

.

2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์

การเรียนในสาขาวิชานี้ จะได้ศึกษาถึงประสบการณ์แห่งอดีตของสังคมมนุษย์ โดยอาศัยกระบวนการค้นหาความจริงที่มีระเบียบแห่งเหตุและผล และเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5. มหาวิทยาลัยนเรศวร

**บางมหาวิทยาลัยอาจสังกัดอยู่ในคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู/อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์หรือสังคมศึกษา

2. ศึกษานิเทศก์ในสาขาสังคมศาสตร์

3. รับราชการในหน่วยงานต่างๆ เช่น เป็นนักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นนักจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นภัณฑารักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นนักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นนักการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

.

3. สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

การเรียน จะได้เรียนเกี่ยวข้องกับแหล่งบริการสารสนเทศต่างๆ เพื่อเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู / อาจารย์

2. บรรณารักษ์

3. นักเอกสารสนเทศ

4. นักวิชาการสารสนเทศ

5. นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ เป็นต้น

.

4. สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

จะเรียนเกี่ยวกับแนวคิดของนักปรัชญาแต่ละคน ที่มีต่อการใช้ชีวิต มนุษย์ โลก และความจริง ได้เห็นว่าเขามีมุมมองอย่างไร ทั้งตะวันออกและตะวันตก เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. รับราชการ

2. พนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. นักสื่อสารมวลชน

4. นักเขียน

5. นักโฆษณา เป็นต้น

.

5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

จะเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยบูรพา

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

3. เจ้าหน้าที่สถานทูต

4. พนักงานสายการบิน

5. เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวและสำนักพิมพ์ เป็นต้น

.

6. สาขาวิชาภาษาไทย

จะศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และวิวัฒนาการ ของภาษา วรรณกรรมไทย ตลอดจนศิลปะการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมีวิจารณญาณ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. นักอ่านบทโฆษณา

3. นักวิจัยภาษา

4. บรรณาธิการ

5. นักแปล / นักพิสูจน์อักษร  เป็นต้น

.

7. สาขาวิชาภาษาจีน

จะศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ และใช้เครื่องมือที่เรียกว่าภาษาในการสื่อสารให้เข้าใจมนุษย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาษาที่ศึกษาก็คือภาษาจีน โดยวิชาเรียน อาทิเช่น การอ่านภาษาจีน, การแปลจีน-ไทย, ประวัติวรรณคดีจีน, สนทนาภาษาจีนเบื้องต้น เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์นักแปล

2. นักเขียน

3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและจีน

4. อาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เช่น มัคคุเทศก์  เป็นต้น

.

8. สาขาวิชาภาษาเกาหลี

จะศึกษาเกี่ยวกับ ภาษาเกาหลีทั้งด้านความรู้และทักษะ เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียนและแปล เพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาเกาหลีทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. ล่ามแปลภาษา

3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและเกาหลี

4. อาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เช่น มัคคุเทศก์  เป็นต้น

.

9. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

จะศึกษาเกี่ยวกับ ภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ คันจิ เรียนลงลึกเกี่ยวกับภาษาที่หลากหลายของญี่ปุ่น เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

5. มหาวิทยาลัยนเรศวร

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. ล่ามแปลภาษา

3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและญี่ปุ่น

4.  ทำงานด้านสื่อสารมวลชนหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

.

10. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

จะเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาฝรั่งเศสในระดับที่สูงขึ้น เรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะของสังคมฝรั่งเศสด้านต่างๆ แนวคิดต่างๆ วรรณกรรมและศิลปะแต่ละยุคสมัยของฝรั่งเศสค่ะ ในรายละเอียดก็มีทั้งหลักภาษา การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลัก การสนทนา การอ่าน การเขียน การแปล เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. ล่ามแปลภาษา

3. พนักงานต้อนรับของสายการบิน เป็นต้น

.

ขอบคุณข้อมูล    :  openhouse.swu.ac.th/hm  ,  admissionpremium.com/adplanning/fac?id=20150909164603OWCDPRj , tcaster.net/2020/08/content-university-swu-08032020t1032

คณะมนุษยศาสตร์ มีอะไรบ้าง

สาขาวิชาของมนุษยศาสตร์.
คลาสสิก.
ประวัติศาสตร์.
ภาษาศาสตร์และวรรณคดี.
กฎหมาย.
ศิลปะการแสดง.
ปรัชญา.
ทัศนศิลป์.

คณะมนุษยศาสตร์ ม.ไหนบ้าง

มหาวิทยาลัยที่เปิดรับ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณะอักษร มีสาขาอะไรบ้าง

คณะอักษรศาสตร์ประกอบด้วย 11 ภาควิชา ได้แก่ ภาษาตะวันตก (Western Languages) ภาษาตะวันออก (Eastern Languages) ภาษาไทย (Thai)

คณะมนุษยศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

เรียนเกี่ยวกับอะไร? เรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรับตัวของมนุษย์ รวมถึงวัฒนธรรมด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภาษาและมนุษย์ สาขาที่เรียนก็มีความหลากหลาย เช่น ด้านภาษา ด้านสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ครอบครัว การเมือง โบราณคดี