ข้อใดไม่ใช่แนวทางการเตรียมข้อมูล

ข้อใดไม่ใช่แนวทางการเตรียมข้อมูล

  1. การรวบรวมข้อมูล (Data Compilation)  หมายถึง
  • การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่
  • การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยการศึกษาจากข้อมูลที่มีอยู่เดิมแล้ว
  • การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆมาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ
  • การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆมาทำการศึกษาให้ใกล้เคียงกับข้อมูลเดิม

ตอบ   ค. การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ

  1. ข้อมูลแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
  • 2 ประเภท                                                            ค. 4  ประเภท
  • 3 ประเภท                                                            ง. ประเภทเดียว

ตอบ   ก. 2  ประเภท   ได้แก่  1) ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้ 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)  คือ ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ แต่เป็นข้อความหรือข้อสนเทศ

  1. ข้อใดคือข้อมูลที่จำแนกตามแหล่งที่มา
  • ข้อมูลเชิงคุณภาพ ค. ข้อมูลปฐมภูมิ
  • ข้อมูลทุติยภูมิ ง. ถูกทั้ง  ข  และ ค

ตอบ   ง. ถูกทั้ง  ข  และ ค

  1. ข้อมูลทุติยภูมิ คืออะไร
  • ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้วเพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่
  • ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ
  • ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติแต่เป็นข้อความหรือข้อสนเทศ
  • ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลขซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้

ตอบ  ก. ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่

  1. ข้อมูลประเภทใดที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้
  • ข้อมูลเชิงปริมาณ                                               ค. ข้อมูลปฐมภูมิ
  • ข้อมูลเชิงคุณภาพ ง. ข้อมูลทุติยภูมิ

ตอบ   ก. ข้อมูลเชิงปริมาณ 

  1. ข้อใดคือข้อมูลเชิงคุณภาพ
  • จำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ยของครอบครัวไทย
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์
  • เพศของสมาชิกในครอบครัว
  • ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในแต่ละปี

ตอบ   ค. เพศของสมาชิกในครอบครัว

  1. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อมูลทุติยภูมิ
  • ข้อมูลสำมะโนประชากร                 ค. สถิติจากหน่วยงาน
  • ข้อมูลภาคสนาม                 ง. เอกสารทุกประเภทจากหน่วยงาน

ตอบ   ข. ข้อมูลภาคสนาม

  1. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกี่วิธี
  • 2 วิธี                                                                      ค. 4  วิธี
  • 3 วิธี                                                                      ง. 5  วิธี

ตอบ   ข. 3  วิธี   ได้แก่  1) การสังเกตการณ์ (Observation)  2) การสัมภาษณ์ (Interview)  3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

ข้อใดไม่ใช่แนวทางการเตรียมข้อมูล

  1. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
  • การสัมภาษณ์                                                      ค. การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
  • การสังเกตการณ์                                                 ง.การกำหนดแหล่งข้อมูล

ตอบ   ง.การกำหนดแหล่งข้อมูล

  1. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ มีวิธีการอย่างไร
  • พิจารณาตัวบุคคลผู้เขียนรายงาน บทความ หรือเอกสารเหล่านั้นเสียก่อนว่าเป็นผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนถึงขั้นพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่
  • ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง ควรเก็บรวบรวมมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดเนื่องจากการลอกผิด พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิดบ้างหรือไม่
  • ถ้าข้อมูลทีเก็บรวบรวมได้มาจากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง หรือต้องผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติมาก่อน ควรจะต้องตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการวิเคราะห์ว่าเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใด ไม่ใช่ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ
  • การสอบถามทางโทรศัพท์ ค. การสอบถามทางไปรษณีย์
  • การทดลอง                                                          ง. การศึกษาจากบทความหรือเอกสารต่างๆ

ตอบ   ง. การศึกษาจากบทความหรือเอกสารต่างๆ

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่   (1) การสัมภาษณ์     (2) การสอบถามทางไปรษณีย์     (3) การสอบถามทางโทรศัพท์     (4) การสังเกต   (5) การทดลอง

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยวิธีใดนิยมใช้มากที่สุด
  • การสัมภาษณ์                                                   ค. การทดลอง
  • การสังเกต                                                           ง. การสอบถามทางโทรศัพท์

ตอบ   ก. การสัมภาษณ์     

  1. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง
  • เลือกกลุ่มตัวอย่าง กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
  • เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  กำหนดแหล่งข้อมูล   เลือกกลุ่มตัวอย่าง    นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
  • กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด กำหนดแหล่งข้อมูล   เลือกกลุ่มตัวอย่าง  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล
  • กำหนดแหล่งข้อมูล เลือกกลุ่มตัวอย่าง  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  กำหนดแหล่งข้อมูล  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล  นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้

ตอบ   ค. กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด  กำหนดแหล่งข้อมูล   เลือกกลุ่มตัวอย่าง  เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  นำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้  ลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. การใช้ข้อมูลทุติยภูมิมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใด
  • ความทันสมัยของข้อมูล
  • ไม่ทราบว่าจะใช้วิธีเลือกตัวอย่างหรือวิธีการวางแผนการทดลองแบบใดจึงจะเหมาะสม
  • ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
  • ไม่ทราบว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรในกรณีข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่ครบถ้วนหรือขาดหายไปมากเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล

ตอบ  ก. ความทันสมัยของข้อมูล

การใช้ข้อมูลทุติยภูมิมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้   1) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล    2)  ความทันสมัยของข้อมูล   3) การขาดหายใปของข้อมูลบางรายการ

  1. ข้อใดเป็นปัญหาในการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ
  • ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
  • การขาดหายใปของข้อมูลบางรายการ
  • ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ค. ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร

ปัญหาในการใช้ข้อมูลปฐมภูมิ  มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1)   ไม่ทราบว่าจะใช้วิธีเลือกตัวอย่างหรือวิธีการวางแผนการทดลองแบบใดจึงจะเหมาะสม

2)    ไม่ทราบว่าจะประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างไร

3)    ไม่ทราบว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรในกรณีข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไม่ครบถ้วนหรือขาดหายไปมากเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล

ข้อใดไม่ใช่แนวทางการเตรียมข้อมูล