ข้อใดหมายถึง Static Website

Static Website : เว็บไซต์ที่ตอบสนองทางเดียว ไม่มีการติดต่อกับฐานข้อมูล และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบทางเดียว
เหมือนกับการอ่านหนังสือ ซึ่งเว็บไซต์จะพัฒนาด้วย HTML หรือ DHTML เป็นหลัก และเนื่องจาก Static Website มีการนำเสนอข้อมูลแบบ
ตายตัวนี้เอง ไม่เป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นเว็บไซต์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถบริหารข้อมูลได้สะดวก จึงทำให้
เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และปิดตัวเองไป หรือพัฒนาใหม่ในรูปแบบ Dynamic Website

ข้อดีของ Static Web Page

  • สร้างได้ง่ายมีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษา HTML
  • ดูแลง่ายเนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากกมาย
  • ใช้เวลาในการเรียกเว็บเพจน้อยกว่าแบบอื่นๆ

ข้อเสียของ Static Web Page

  • ถ้าเป็นข้อมูลที่ต้องเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงบ่อยจะเกิดความไม่สะดวก
  • ขาดความยืดหยุ่น
  • ไม่สามารถสร้างการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้

ที่มา: https://sites.google.com/site/stdcas/static-website–dynamic-webpage

เว็บเพจที่ดีควรมีโครงสร้างที่ดี มีเนื้อหาที่ดี มีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินพอดี สำหรับภาพที่ใช้ประกอบในเว็บเพจ นิยมใช้ไฟล์รูปภาพที่มีนามสกุล .jpg, .png และ .gif เป็นต้น เพราะมีขนาดที่เหมาะสม และการแสดงสีที่สวยงาม โดยรูปภาพแต่ละชนิดจะได้มาจากแหล่งที่แตกต่างกัน เช่น กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ หรือแม้กระทั่งสร้างจากโปรแกรมออกแบบกราฟฟิกส์

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เว็บเพจ
เว็บเพจ (อังกฤษ: web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น

ข้อใดหมายถึง Static Website

             https://th.wikipedia.org/wiki/เว็บเพจ
             https://www.ninetechno.com/a/website/1198-เว็บเพจคืออะไร.html

ข้อใดหมายถึง Static Website

หมายถึง เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .html    เนื้อหาข้อความ รูปภาพในหน้าเว็บเพจนั้นจะเป็นไปตามที่เราเขียนกำหนดไว้

เมื่อมีผู้เรียกดูหน้าเว็บเพจนั้น  Web Server ก็จะส่งไฟล์นั้นไปให้ยังเครื่องที่ร้องขอ และแสดงผลออกทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์บนเครื่องของผู้ชมนั้น

Static Website เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนหน้าเว็บเพจไม่มาก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยๆ  และไม่มีการติดต่อฐานข้อมูล

ถ้าเราจะสร้างเว็บรูปแบบนี้ สามารถทำได้ไม่ยาก โดยต้องศึกษาเรื่องการเขียนเว็บเพจด้วย HTML ก่อน

ข้อดีของเว็บรูปแบบนี้ คือ เราสามารถกำหนดรูปแบบการตกแต่ง และเนื้อหา ของแต่ละหน้าได้ตามต้องการ  แต่ก็ควรควบคุมสไตล์ของแต่ละหน้าให้เหมือนกันด้วย อย่าให้หน้าใดโดดจนคิดว่าเป็นคนละเว็บไซต์กัน

ส่วนข้อเสีย ก็คือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงยุ่งยาก จะต้องแก้ไขกับไฟล์หน้าเว็บเพจนั้นๆ เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ต้อง Upload ไฟล์นั้นขึ้นไป Web Server ใหม่ทุกครั้ง  และเว็บรูปแบบนี้จะไม่สามารถใช้งานฐานข้อมูลได้

.

2. Dynamic Website

หมายถึง เว็บไซต์ที่หน้าเว็บเพจสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเองได้ โดยไม่ต้องเขียนแต่ละหน้าเว็บเพจเอง  เช่น กระดานข่าว (Webboard), ระบบสืบค้นข้อมูล

สังเกตได้ว่า เมื่อมีผู้มาตั้งกระทู้ และตอบกระทู้ ก็จะเกิดหน้าเว็บเพจนั้นๆ ขึ้นได้เอง โดยที่เราไม่ได้เป็นคนสร้างหน้าเว็บเพจเหล่านั้นเอง

เว็บไซต์รูปแบบนี้จะถูกสร้างด้วยภาษา Script แบบ Server Side Script เช่น PHP, ASP, ASP.Net, JSP และอื่นๆ  ไฟล์เอกสารที่ไ้ด้จะมีนามสกุล .php, .asp เป็นต้น

และมักจะมีการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล หรือนำข้อมูลจากฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงผลเป็นหน้าเว็บเพจ

ส่วนการทำงานของเว็บไซต์รูปแบบนี้ จะต่างจากแบบ Static Website   โดยเมื่อมีผู้ชมเรียกดูหน้าเว็บเพจ  ไฟล์หน้าเว็บเพจนั้นจะถูกแปลและ execute คำสั่งโดยตัว Interpreter ที่ฝั่ง Server ใ้ห้อยู่ในรูปแบบเอกสาร HTML ก่อน จึงส่งกลับให้ Web Server  เพื่อส่งต่อไปให้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ของผู้ใช้งานต่อไป

การสร้างเว็บไซต์รูปแบบนี้ ต้องอาศัยความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากกว่าแบบแรกมาก  นอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐาน HTML แล้ว ยังต้องเขียนภาษา Server Side Script เป็นอย่างน้อย 1 ภาษา ต้องรู้เรื่องการจัดการฐานข้อมูล ต้องเขียน SQL เืพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลได้  และถ้าอยากให้ระบบงานทำงานได้อย่างรวดเร็วไม่ต้อง Refresh หน้าจอบ่อยๆ ยังต้องรู้เรื่อง AJAX อีกด้วย

.

^ ถ้าอ่านข้อความข้างบนแล้วงง  ก็ไม่ต้องซีเรียสนะคะ …

สำหรับผู้อ่านที่ไม่ได้สนใจจะทำงานด้านนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การเขียนภาษา Script เหล่านี้  เอาเวลาไปเตรียมเนื้อหา และโปรโมทเว็บไซต์ให้ออกดอกออกผลดีกว่า

.

เพราะในปัจจุบันมีระบบที่จะช่วยให้เราจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก เรียกว่า Web CMS    เพียงแค่เรียนรู้วิธีการใช้งาน ก็สามารถสร้างเว็บไซต์แบบ Dynamic ได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมอะไรเลย

(แต่สำหรับเว็บไซต์ที่ทำงานเฉพาะเจาะจง ก็ยังจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง Web Application สำหรับใช้งานเองอยู่ ซึ่งเราก็ปล่อยให้เป็นเหน้าที่ของเหล่าโปรแกรมเมอร์ต่อไปค่ะ)

เราสามารถที่จะสร้างเว็บไซต์โดยให้บางหน้าเว็บเพจเป็นแบบ Static ที่ใช้ HTML ธรรมดา เขียน และให้บางหน้าสร้างเป็นแบบ Dynamic โดยใช้ภาษา Script ก็ได้ค่ะ  ตัวอย่างเช่น บทเรียนสอน HTML, CSS, XHTML ของ enjoyday จะใช้ HTML ธรรมดาๆ ส่วนหน้าอภิธานศัพท์ ผู้เขียนอยากจะเพิ่มหรือแก้ไขคำศัพท์ได้ง่ายๆ และให้มีระบบสืบค้นด้วย จึงใช้ PHP เขียน เป็นต้น