Python ต วอย างท 2.4 หน งส อเทคโนโลย การคำนวณ ม.2

คำ�นำ� สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการ เรียนรู้ การประเมินผล การจัดทำ หนังสือเรียน คู่มือครู แบบฝึกกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้ ประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ นี้จัดทำ ตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรเทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ตัวอย่างแผนการจัดการ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่ต้องใช้ควบคู่กัน สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือครูเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ คัญในการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดทำ ไว้ ณ โอกาสนี้ (ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำ นงค์) ผู้อำ นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

คำ�ชี้แจง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้พัฒนาหลักสูตร วิชาคอมพิวเตอร์ โดยมีการประกาศใช้หลักสูตรครั้งแรกในปี พ.ศ ๒๕๒๘ และมีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิชาจากเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร โดยจัดให้อยู่ในกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้มีการประกาศ ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และได้มีการเปลี่ยนชื่อ เป็น วิทยาการคำ นวณ อยู่ในสาระเทคโนโลยี กลุ่มการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้และมีทักษะ การคิดเชิงคำ นวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร และการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คู่มือครูเล่มนี้ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยสถานศึกษาสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม ในเล่ม ประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ แนวคิด ตัวอย่างสื่ออุปกรณ์ ขั้นตอนการดำ เนินกิจกรรม การวัดและการประเมินผล สื่อและแหล่งเรียนรู้ และข้อเสนอแนะจึงจะนำ ไปประกอบการเรียนรู้ร่วมกับหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่พัฒนาโดย สสวท. จะทำ ให้ การจัดการเรียนรู้ได้สมบูรณ์สอดคล้องตามที่หลักสูตรกำ หนด สสวท. ขอขอบคุณคณะจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และครูผู้สอน จากสถาบันต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาคู่มือครู และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ เรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ในการจัดการเรียนรู้ได้สมบูรณ์ ตามเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

คำ�แนะนำ�การใช้คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ�นวณ) คู่มือครูเล่มนี้ประกอบด้วย 16 กิจกรรม ซึ่งแต่ละกิจกรรมมีจุดประสงค์การเรียนรู้ ทักษะกระบวนการ ความรู้ที่นักเรียนต้องมี สาระสำ คัญ สื่อ-อุปกรณ์ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบ การวัดและประเมินผล สื่อและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม และข้อเสนอแนะอื่น ๆ รวมถึงภาคผนวกซึ่งมีแบบประเมิน และเกณฑ์การประเมินแต่ละกิจกรรม ทั้งนี้ผู้สอนจะเป็นผู้ดำ เนินการจัดการเรียนรู้ และเพื่อให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นควรใช้คู่กับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ซึ่งประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด คือ 1. ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณในการแก้ปัญหา หรือการทำ งานที่พบในชีวิตจริง 2. ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะและฟังก์ชันในการแก้ปัญหา 3. อภิปรายองค์ประกอบและหลักการทำ งานของระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อประยุกต์ ใช้งานหรือแก้ปัญหาเบื้องต้น 4. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สร้างและแสดงสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมในคู่มือครูนี้มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด โดยกำ หนดเวลาในการเรียนรู้จำ นวน 40 ชั่วโมง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะดำ เนินตามลำ ดับตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 ถึง 16 รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

กิจกรรมที่ เรื่อง สอดคล้องกับตัวชี้วัด ใช้กับหนังสือเรียนบทที่ เวลา (ชั่วโมง) 1 ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย 4 6 2 2 สิทธิ์ของเรา 4 6 2 3 แนวคิดเชิงคำ นวณ 1 1 4 4 ประยุกต์แนวคิดเชิงคำ นวณ 1 1 4 5 ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า 1, 2 2 2 6 เลือกทางไหน 1, 2 2 6 7 ฟังก์ชัน 1, 2 2 4 8 การประยุกต์ใช้งาน 1, 2 2 4 9 รู้จักฟังก์ชัน 1, 2 3 6 10 เรื่องของความจริง 1, 2 3 3 11 ฟังก์ชันที่มีพารามิเตอร์ 1, 2 3 3 12 การประยุกต์ใช้งาน 1, 2 3 4 13 หลักการทำ งานของคอมพิวเตอร์ 3 4 2 14 ซอฟต์แวร์และการใช้งาน 3 4 4 15 การสื่อสารและบริการบนเครือข่าย 3 5 3 16 เทคโนโลยีคลาวด์ 3 5 3 หมายเหตุ 1. สำ หรับการด้านการเขียนโปรแกรมนั้น ในคู่มือครูเล่มนี้จะนำ เสนอเครื่องมือ 2 โปรแกรมด้วยกัน คือ ภาษาไพทอน และโปรแกรม Scratch ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกสอนได้ตามความเหมะสมของผู้เรียน โดยภาษาไพทอนจะอยู่ในกิจกรรมที่ 5 - 8 และโปรแกรม Scratch จะอยู่ในกิจกรรมที่ 9 - 12 2. นอกจากนี้ในเล่มยังมีภาคผนวกซึ่งประกอบไปด้วยแบบประเมินต่าง ๆ ให้ผู้สอนใช้ในการประเมิน นักเรียนระหว่างเรียน และเมื่อสิ้นสุดการดำ าเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 3. กิจกรรมภายในคู่มือครูเล่มนี้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและศึกษาความรู้ด้วยตนเองก่อนทำ ใบกิจกรรม ทั้งนี้ผู้สอนควรสังเกตอย่างใกล้ชิด หากผู้เรียนไม่สามารถทำ ความเข้าใจ ควรร่วมกันสรุปความรู้ก่อน ดำ เนินกิจกรรมต่อไป 4. ผู้สอนสามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน 5. แนวคำ ตอบและสื่อประกอบการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://oho.ipst.ac.th/M2CS ผู้สอน ควรศึกษาคำ ชี้แจงก่อนการใช้งาน ทั้งนี้หากมีการแก้ไข ระบบจะมีการปรับปรุงไฟล์ให้ทันสมัย อย่างสม่ำ เสมอ

ส ารบัญ 234 กิจกรรมที่ ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย 2 ใบกิจกรรมที่ 1.1 จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ 10 ใบกิจกรรมที่ 1.2 เชื่อไม่เชื่อ แชร์ไมแชร์ 11 กิจกรรมที่ สิทธิ์ของเรา 12 ใบกิจกรรมที่ 2.1 งานของใครใช้ได้แค่ไหน 16 ใบกิจกรรมที่ 2.2 สิทธิ์ของเรา 17 กิจกรรมที่ แนวคิดเชิงคำ�นวณ 18 ใบกิจกรรมที่ 3.1 วาดแบบแปลนอาคาร 23 ใบกิจกรรมที่ 3.2 สอนน้องจัดหนังสือ 27 กิจกรรมที่ ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ�นวณ 28 ใบกิจกรรมที่ 4.1 สอนเพื่อนเต้น 32 ใบกิจกรรมที่ 4.2 บอกอย่างไรให้เพื่อนทำ ได้ 34 ใบกิจกรรมที่ 4.3 แต่งตัว 35 แบบทดสอบเรื่อง แนวคิดเชิงคำ นวณ 36 กิจกรรมที่ ยังจำ�ฉันได้หรือเปล่ า 38 ใบกิจกรรมที่ 5.1 ยังจำ ได้ไหม จำ ได้หรือเปล่า 42 ใบกิจกรรมที่ 5.2 จำ ได้แค่ไหน 44 กิจกรรมที่ เลือกท างไหน 48 ใบกิจกรรมที่ 6.1 จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า 54 ใบกิจกรรมที่ 6.2 ลองคิดจากสถานการณ์ 56 ใบกิจกรรมที่ 6.3 สถานการณ์หลายทางเลือก 64 แบบทดสอบเรื่อง ทุนการศึกษา 74 กิจกรรมที่ ฟังก์ชัน 76 ใบกิจกรรมที่ 7.1 ฟังก์ชัน 80 ใบกิจกรรมที่ 7.2 ต. เต่า ก้าวเดิน 84 กิจกรรมที่ ก ารประยุกต์ใช้ง า น 88 ใบกิจกรรมที่ 8.1 ค่าโดยสาร 92 ใบกิจกรรมที่ 8.2 ประยุกต์ใช้งาน 93 กิจกรรมที่ รู้จักฟังก์ชัน 98 ใบกิจกรรมที่ 9.1 ยังจำ ได้ไหม จำ ได้หรือเปล่า 103 ใบกิจกรรมที่ 9.2 จำ ได้แค่ไหน 106 ใบกิจกรรมที่ 9.3 นักล่าแตงโม 110 ใบกิจกรรมที่ 9.4 นักประกอบชิ้นส่วน 112 แบบทดสอบเรื่อง เครื่องหยอดโดนัท 114 576891

กิจกรรมที่ เรื่องของความจริง 116 ใบกิจกรรมที่ 10.1 จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า 120 ใบกิจกรรมที่ 10.2 ลองคิดจากสถานการณ์ 126 แบบทดสอบเรื่อง ทุนการศึกษา 132 กิจกรรมที่ ฟังก์ชันที่มีพารามิเตอร์ 134 ใบกิจกรรมที่ 11.1 ฟังก์ชันที่มีพารามิเตอร์ 137 ใบกิจกรรมที่ 11.2 ช่วยกันสร้างฝัน 139 กิจกรรมที่ การประยุกต์ใช้งาน 142 ใบกิจกรรมที่ 12.1 ฉันตอบอะไรได้บ้าง 146 ใบกิจกรรมที่ 12.2 ค่าโดยสาร 148 ใบกิจกรรมที่ 12.3 เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา 151 กิจกรรมที่ หลักการทำ�งานของคอมพิวเตอร์ 160 ใบกิจกรรมที่ 13.1 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และหลักการทำ งานของคอมพิวเตอร์ 164 ใบกิจกรรมที่ 13.2 วงรอบความคิดกับสมองตัวนิดของคอมพิวเตอร์ 165 ใบกิจกรรมที่ 13.3 เจาะลึกอุปกรณ์ดิจิทัล 167 กิจกรรมที่ ซอฟต์แวร์และการใช้งาน 168 ใบกิจกรรมที่ 14.1 เลือกให้ได้ ใช้ให้เป็น 173 ใบกิจกรรมที่ 14.2 คอมหนูไม่รู้เป็นอะไร 174 ใบกิจกรรมที่ 14.3 สื่อสร้างสรรค์ เราสรรสร้าง 175 กิจกรรมที่ การสื่อสารและบริการบนเครือข่าย 178 ใบกิจกรรมที่ 15.1 การสื่อสารข้อมูล 185 ใบกิจกรรมที่ 15.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 187 ใบกิจกรรมที่ 15.3 อินเทอร์เน็ตคืออะไร 188 ใบกิจกรรมที่ 15.4 การใช้อินเทอร์เน็ต 191 กิจกรรมที่ เทคโนโลยีคลาวด์ 192 ใบกิจกรรมที่ 16.1 ฝากดูแลข้อมูล 196 ใบกิจกรรมที่ 16.2 ร่วมคิดร่วมทำ 198 แบบทดสอบเรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร 199 ภาคผนวก แบบประเมิน 201 10 11 12 13 14 15 16

1 เวลา 2 ชั่วโมง กิจกรรมที่ ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย 1. ตัวชี้วัด ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สร้าง และแสดงสิทธิ์ ในการเผยแพร่ผลงาน 2. สาระการเรียนรู้ ❍ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย โดยเลือกแนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสม เช่น แจ้งรายงานผู้เกี่ยวข้อง ป้องกันการเข้ามาของข้อมูลที่ไม่ เหมาะสม ไม่โต้ตอบ ไม่เผยแพร่ ❍ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น ตระหนักถึงผลกระทบ ในการเผยแพร่ข้อมูล ❍ ผลกระทบการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ❍ มารยาทในการติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล แชท สื่อสังคมออนไลน์ 3. จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ 3.1 บอกผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศอย่างปลอดภัย 3.2 เลือกวิธีปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาไม่เหมาะสม 3.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ 3.4 ติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมอย่างมีมารยาทและปลอดภัย

4. ทักษะและกระบวนการ (ที่เป็นจุดเน้น ทักษะในศตวรรษที่ 21) ❍ ทักษะในการทำ งานร่วมกัน ❍ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ❍ ทักษะการสื่อสาร ❍ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ ❍ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 5. ความรู้เดิมที่นักเรียนต้องมี ซึ่งจะสอดคล้องกับส่วน “ทบทวนความรู้เดิม/สำ�รวจความรู้ก่อน” ❍ แนวทางการใช้งานไอทีอย่างปลอดภัย ❍ รูปแบบการป้องกันภัยคุกคามด้านไอที ❍ ผลกระทบของการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว ❍ วิธีการใช้งานเครือข่ายสังคมให้เกิดประโยชน์กับตนเองและไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น 6. สาระสำ�คัญ การใช้งานอินเทอร์เน็ตทำ ให้เกิดเสรีภาพในการสร้างข้อมูล การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้ง่าย และ สามารถเผยแพร่ในวงกว้างใช้เวลารวดเร็ว ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลที่บิดเบือนความเป็นจริง ข้อมูลที่ ไม่เหมาะสม เช่น เนื้อหาที่มีการคุกคามทางเพศ เนื้อหาที่เกี่ยวกับความรุนแรง การก่อการร้าย การละเมิด ลิขสิทธิ์ ทุกคนสามารถช่วยป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้ โดยอาจปฏิเสธการรับข้อมูล ที่ไม่ถูกต้อง ไม่เปิดดู ไม่บันทึกเก็บไว้ ไม่กดไลค์ ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์ ถ้าประสบปัญหาที่ไม่สามารถจัดการด้วย ตนเองได้ให้แจ้งครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้ารัฐ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลระบบที่นักเรียนใช้บริการนั้น ๆ นอกจากนี้ ก่อนการนำ เสนอข้อมูล แสดงความคิดเห็น เผยแพร่ และนำ สื่อต่าง ๆ ไปใช้ ควรคิดให้รอบคอบ คำ นึงถึงผล กระทบที่มีต่อตนเอง และผู้อื่น โดยพิจารณาถึงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ที่เรียกว่า พาพา ซึ่งประกอบด้วย ความเป็นส่วนตัว (privacy) ความถูกต้อง (accuracy) ทรัพย์สินหรือความเป็นเจ้าของ (property) และการเข้าถึง (access) 7. สื่อและอุปกรณ์ 7.1 ใบกิจกรรม ใบกิจกรรมที่ เรื่อง เวลา (นาที) 1.1 จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ 30 1.2 เชื่อไม่เชื่อ แชร์ไม่แชร์ 30 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 3

7.2 อื่น ๆ ❍ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ❍ แบบประเมินใบกิจกรรมที่ 1.1 และ 1.2 ❍ แบบสังเกตพฤติกรรมการนำ เสนอและเผยแพร่ข้อมูล ❍ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ❍ แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม ❍ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 8.1 การจัดเตรียม 8.1.1 ใบกิจกรรมที่ 1.1 - 1.2 ตามจำ นวนกลุ่ม 8.1.2 แบบประเมินใบกิจกรรมที่ 1.1 - 1.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน แบบประเมิน การทำ งานกลุ่ม และแบบสังเกตพฤติกรรมการนำ เสนอและเผยแพร่ข้อมูล 8.2 ขั้นตอนการดำ เนินการ ชั่วโมงที่ 1 8.2.1 ผู้สอนยกตัวอย่างสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครือข่ายสังคม หรือเปิดคลิปวิดีโอ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างสถานการณ์ เช่น บุคคลอื่นบันทึกภาพ แล้วนำ ข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนไปสมัคร บัญชีผู้ใช้ในเครือข่ายสังคม จากนั้นนำ บัญชีผู้ใช้ดังกล่าวไปใช้ขายสินค้าออนไลน์ หรือใช้ถ้อยคำ ที่ ไม่สุภาพในการแสดงความคิดเห็น จากสถานการณ์ดังกล่าว ให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบ คำ ถามต่อไปนี้ ❍ นักเรียนได้รับผลกระทบอย่างไร ❍ ผู้ที่นำ บัญชีนักเรียนไปกระทำ ดังกล่าวจะได้รับผลกระทบอย่างไร ❍ มีบุคคลอื่นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้อีกหรือไม่ อย่างไร ❍ นักเรียนมีแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างไร 8.2.2 ให้ผู้เรียนศึกษาหัวข้อ 6.1 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และหัวข้อ 6.2 เรื่อง ผลกระทบในการเผยแพร่ข้อมูลไม่เหมาะสม จากหนังสือเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 4

8.2.3 ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แล้วแจกบัตรสถานการณ์ 8.2.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ได้รับ แล้วทำ ใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ 8.2.5 ผู้สอนสุ่มผู้เรียนนำ เสนอคำ ตอบในใบกิจกรรมที่ 1.1 8.2.6 ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาหัวข้อ 6.5 เรื่อง มารยาทในการติดต่อสื่อสาร จากหนังสือเรียน แล้วร่วมกัน อภิปรายประเด็นในกิจกรรมท้ายบทจากหนังสือเรียน 8.2.7 ผู้สอนนำ ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุป แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในสื่อต่าง ๆ การตระหนักถึงผลกระทบก่อนการสร้าง เผยแพร่ นำ ข้อมูลไปใช้ และมารยาทในการติดต่อ สื่อสาร ชั่วโมงที่ 2 8.2.8 ผู้สอนร่วมสนทนากับผู้เรียนถึงข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำ วัน ซึ่งมีจำ นวนมาก ผู้เรียนต้องเลือกให้เหมาะสม ต้องพิจารณา ก่อนการนำ ไปใช้ โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ที่มีการเผยแพร่ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น “มะนาวโซดาช่วยรักษาโรคมะเร็งได้” โดยให้ผู้เรียนพิจารณาว่าข้อมูลนี้มีความถูกต้องหรือไม่ และมี แนวทางในการพิจารณาอย่างไร ก่อนการเผยแพร่ข้อมูล 8.2.9 ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาหัวข้อ 6.3 เรื่อง แนวทางพิจารณาเนื้อหาก่อนเผยแพร่ข้อมูล จากหนังสือ เรียน แล้วทำ ใบกิจกรรมที่ 1.2 เรื่อง เชื่อไม่เชื่อ แชร์ไม่แชร์ 8.2.10 ผู้สอนสุ่มผู้เรียนนำ เสนอคำ ตอบในใบกิจกรรมที่ 1.2 พร้อมกับสรุปแนวคิดในการพิจารณาเนื้อหา ก่อนการเผยแพร่ข้อมูล 8.2.11 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายสรุป การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ แนวทางในการพิจารณาก่อนการเผยแพร่ข้อมูลและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 5

9. การวัดและประเมินผล 9.1 ตรวจคำ ตอบจากการทำ ใบกิจกรรม 9.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 9.3 ประเมินการทำ งานกลุ่ม 9.4 ประเมินการนำ เสนอและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งจะสังเกตภาพรวมทั้งภาคเรียน 10. สื่อและแหล่งข้อมูล - 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 การตอบคำ ถามในใบกิจกรรมที่ 1.1 - 1.2 ผู้สอนอาจให้แต่ละกลุ่มเขียนคำ ตอบลงในเว็บไซต์ หรือบริการ ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือใช้งานร่วมกันได้ เช่น Google Drive, www.padlet.com 11.2 กิจกรรมนี้เน้นให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ พิจารณาข้อมูลก่อนเผยแพร่ และแนวทาง ปฏิบัติเมื่อพบว่าข้อมูลนั้นมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ผู้สอนควรให้ความสำ คัญคอยดูแลให้คำ ปรึกษา อย่างใกล้ชิด 11.3 สำ หรับการทำ ใบกิจกรรมที่ 1.2 นั้น จะพิจารณาประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและการสื่อสาร ที่เรียกว่า พาพา (Privacy, Accuracy, Property, Access: PAPA) ก่อนการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้สอนควรทบทวนประเด็นอื่น ๆ ประกอบการพิจารณา เช่น เนื้อหานั้นมีจำ เป็น ต้องเผยแพร่ต่อหรือไม่ เป็นประโยชน์กับผู้ใด ช่วยสร้างแรงบันดาลใจที่ดีหรือมีความปราถนาดีต่อสังคม มากน้อยเพียงใด 11.4 ผู้สอนควรยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันให้นักเรียนพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลและ แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในสื่อต่าง ๆ 11.5 ผู้สอนควรระมัดระวังในการยกตัวอย่างสถานการณ์ เพราะบางกรณีอาจเป็นการชี้นำ ให้ผู้เรียนทำ ตาม 11.6 หากมีเวลาเพียงพอ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนอภิปรายประเด็นในแบบฝึกหัดท้ายบทจากหนังสือเรียน หรือ แทรกไปในกิจกรรมอื่นเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักและมีจิตสำ นึกในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ 11.7 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจนำ คำ ถามชวนคิดมาอภิปรายในชั้นเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 6

สถานการณ์ที่ 1 สมปราถนาแอบถ่ายรูปต้นขณะที่ทำ ท่าทาง น่าเกลียด แล้วโพสต์ไว้ในเครือข่ายสังคมของตนเอง แล้วเขียนเบอร์โทรศัพท์ต้นใต้ภาพ เพื่อนในโรงเรียน ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปของต้น สถานการณ์ที่ 3 จากเหตุการณ์นักศึกษาเมาแล้วขับรถ ชนกลุ่มนักปั่นจักรยานเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจ ให้นักปั่นจักรยาน และเรียกร้องความ ปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถจักรยาน พร้อมทั้งขอ ให้ลงโทษผู้ที่เมาแล้วขับอย่างเด็ดขาด คณิตเพิ่งอยู่ในช่วงทดลองงานที่บริษัทแห่ง หนึ่ง โพสต์ข้อความด่ากลุ่มนักปั่นจักรยาน ว่าเป็นพวกชอบโชว์ ปั่นขวางถนน แถมยัง ขู่ว่าถ้าเจอจะขับรถชนให้หมด ข้อความ ดังกล่าวได้ถูกแชร์พร้อมกับเสียงวิจารณ์ อย่างรุนแรง สถานการณ์ที่ 2 พจน์เปิดบริษัทจำ หน่ายครีมหน้าเด้งและโพสต์ คลิปโฆษณาครีมหน้าเด้ง สวยภายใน 3 วันเพื่อ ประชาสัมพันธ์ครีมนี้ ต่อมา อ.ย. แจ้งจับบริษัทครีม หน้าเด้ง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบ บัตรสถานการณ์กิจกรรมที่ 1.1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 7

สถานการณ์ที่ 4 มะปรางแสดงความคิดเห็นใต้ภาพของทิพย์อักษร ที่โพสต์ไว้ ด้วยถ้อยคำ หยาบคาย เพื่อนสนิททิพย์อักษร โกรธเลยโพสต์ต่อว่ามะปรางด้วยถ้อยคำ รุนแรงใต้ภาพ นั้นต่อ สถานการณ์ที่ 6 กันย์คิดค้นวิธีทำ ระเบิดทำ ลายล้าง จึงอัดคลิป เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อน ๆ หลายคนเข้ามา แสดงความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย วันหนึ่งกุ๊กเข้ามาเห็นคลิปและเกิดสนใจเลยนำ ไป ทำ ตาม ปรากฏว่าสะเก็ดระเบิดกระเด็นถูกกุ๊กได้รับ บาดเจ็บสาหัส สถานการณ์ที่ 7 เพชรเป็นนักเรียนดีเด่นชอบโพสต์สรุปเนื้อหา ที่ได้เรียนมาลงในเครือข่ายสังคมของตน ตุ๊กเข้ามา อ่านตลอดทำ ให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใดที่ไม่เข้าใจก็จะโพสต์ถามเพชรใต้โพสต์นั้น สถานการณ์ที่ 5 แป้งมองเห็นท้องฟ้ามืดครึ้ม เลยคิดเล่นสนุก โดยโพสต์ข้อความในเครือข่ายสังคมของตนว่า “องค์การนาซาประกาศเตือนพายุจะกระหน่ำ ประเทศไทยคืนนี้ ให้ทุกคนระวังและเตรียมพร้อม อพยพ” แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น สถานการณ์ที่ 8 ทับทิมถ่ายรูปไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ แล้วโพสต์ว่า “ใครว่างตามมา เฮฮาทั้งคืน” สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 8

สถานการณ์ที่ 9 ก้อยไปเข้าร่วมอบรมการถ่ายภาพกับสถาบัน แห่งหนึ่ง ซึ่งมีค่าเรียนไม่แพงมากนัก แต่ก้อยกลัวว่า จะจำ เนื้อหาไม่ได้ จึงถ่ายทอดสดผ่านสื่อสังคม แล้ว บันทึกเก็บไว้เพื่อให้เพื่อน ๆ คนอื่นที่ไม่ได้เข้าอบรม ได้เรียนรู้ไปด้วยกัน โดยแสดงความคิดเห็นใต้ภาพว่า “ช่วยกันกดไลค์ แชร์ต่อได้” สถานการณ์ที่ 10 ตั๊กทำ เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบทเก็บไว้ในพื้นที่ให้ บริการคลาวด์ เพื่อให้เพื่อน ๆ เข้ามาดูได้ โดยมีคำ ชี้แจง ว่าอนุญาตให้แชร์ลิงก์ต่อไปได้ แต่ไม่อนุญาตให้คัดลอก ไปเผยแพร่ต่อ เนื่องจากมีการปรับปรุงตลอดเวลา ตองนำ ลิงก์ไปแชร์ให้สน ส่วนต๊ะคัดลอกข้อมูล ทั้งหมดไปไว้ในพื้นที่บริการคลาวด์ของตน แล้วนำ ลิงก์ ไปโพสต์ไว้ที่สื่อสังคม แล้วเขียนข้อความว่า “มีไฟล์เฉลย แบบฝึกหัดมาฝากเพื่อน ช่วยกันกดไลค์ด้วยนะ” ตัวอย่างข้อมูลหรือคลิปสำ�หรับการทำ�ใบกิจกรรมที่ 1.2 ดังนี้ ❍ การชาร์ตมือถือในไมโครเวฟ ❍ คลิปฮีโร่ตัวจิ๋ว แท้จริงเป็นแค่คลิปวิดีโอต่อต้านความรุนแรงในซีเรีย ❍ มีการจำ กัดอายุการใช้งานรถยนต์ “ห้ามรถเก่าอายุเกิน 7 ปีวิ่งในกรุงเทพฯ” ❍ สองยายวิ่งหน้าตั้ง!! หาปลาเจอพญานาค เชื่อขึ้นมาเล่นน้ำ ฝนสงกรานต์ให้โชค แห่ไหว้ตีเลขเด็ด ❍ คลิปนำ เสนอกรรมวิธีในการผลิตไก่ทอดของร้านฟาสต์ฟู้ด ระบุข้อความว่า “พนักงานร้านไก่ทอดชื่อดัง โชว์วิธีหมักปีกไก่ทอดโดยใช้เท้าเหยียบ” ❍ นำ โทรศัพท์มือถือไอโฟนที่มีแบตเตอรี่อยู่น้อย เข้าตู้อบไมโครเวฟพร้อมกดอุ่น 1 วินาที วิธีการดังกล่าว จะทำ ให้มีปริมาณแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น 70% ดูวิธีการชาร์ตแบตเตอรี่ได้ที่ https://youtu.be/o3TfFEB7LDE ❍ รูปภาพการฉีดน้ำ หวานให้เนื้อแตงโมหวาน ❍ มีข้อความผ่านทางไลน์ว่า ออมสินแจกเงินฟรีสำ หรับผู้ที่มีเลข 8 และ 28 ในบัตรประชาชน ❍ วิตามิน B17 รักษามะเร็ง ❍ ฮือฮา! พบรอยปริศนา คล้ายพญานาคหน้าตึกอักษร จุฬาฯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 9

1. ศึกษาเนื้อหาหัวข้อ 6.1 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และหัวข้อ 6.2 เรื่อง ผลกระทบในการ เผยแพร่ข้อมูลไม่เหมาะสม จากหนังสือเรียน 2. รับบัตรสถานการณ์จากครู สถานการณ์ที่ได้รับมอบหมาย คือ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... 3. จากสถานการณ์ใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบบ้าง ได้รับผลกระทบอย่างไร และผลที่อาจเกิดขึ้นตามมาคืออะไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... 4. จากสถานการณ์ หากมีผู้อื่นโพสต์ข้อมูลนี้ในเครือข่ายสังคมและแท็กนักเรียนด้วย นักเรียนจะปฏิบัติอย่างไร ให้ทำ เครื่องหมาย ✓ หน้าข้อความ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) ❐ ไม่เผยแพร่ ❐ เผยแพร่ต่อ ❐ บันทึกเก็บไว้ ❐ กดไลค์ (Like) ❐ คอมเมนต์ต่อโพสต์ ❐ บล็อกผู้โพสต์ ❐ แจ้งผู้โพสต์ให้แก้ไขข้อความ ❐ แจ้งผู้โพสต์ให้ลบออก ❐ แจ้งผู้ปกครองหรือครู❐ แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำ รวจ ❐ รายงานปัญหากับผู้ให้บริการ ❐ ลบแท็ก ❐ ตั้งค่าไม่ให้แท็กถ้าไมไ่ด้รับอนุญาต ❐ อื่น ๆ โปรดระบุ ………………………………………………………………………………………………………………………… …………………...........………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ใบกิจกรรมที่ 1.1 จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 10

1. ศึกษาเนื้อหาหัวข้อ 6.3 เรื่อง แนวทางการพิจารณาก่อนการเผยแพร่ข้อมูล จากหนังสือเรียน 2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลที่มีการเผยแพร่ในสื่อสังคมหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ 1 สถานการณ์ แล้วร่วมกัน วิเคราะห์ว่าหากนักเรียนได้รับข้อมูลนี้ จะเผยแพร่ต่อหรือไม่ เพราะเหตุใด โดยสรุปในประเด็นความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………........... ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ………………………………………………………… ใบกิจกรรมที่ 1.2 เชื่อไม่เชื่อ แชร์ไม่แชร์ สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 1 | ถูกต้อง ปลอดภัย ใช่เลย รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 11

2 กิจกรรมที่ สิทธิ์ของเรา 1. ตัวชี้วัด ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สร้างและแสดงสิทธิ์ ในการเผยแพร่ผลงาน 2. สาระการเรียนรู้ ❍ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น ตระหนักถึงผลกระทบ ในการเผยแพร่ข้อมูล ❍ การสร้างและแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงาน ❍ การกำ หนดสิทธิ์การใช้ข้อมูล 3. จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ 3.1 อธิบายข้อกำ หนดของสื่อที่นำ มาใช้งาน 3.2 สร้างและกำ หนดสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงาน เวลา 2 ชั่วโมง

7.2 อื่น ๆ ❍ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ❍ แบบประเมินใบกิจกรรมที่ 2.1 และ 2.2 ❍ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ❍ แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม ❍ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 8.1 การจัดเตรียม 8.1.1 ใบกิจกรรมที่ 2.1 ตามจำ นวนกลุ่ม และใบกิจกรรมที่ 2.2 ตามจำ นวนผู้เรียน 4. ทักษะและกระบวนการ (ที่เป็นจุดเน้น ทักษะในศตวรรษที่ 21) ❍ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ❍ ทักษะการสื่อสาร ❍ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ ❍ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5. ความรู้เดิมที่นักเรียนต้องมี ซึ่งจะสอดคล้องกับส่วน “ทบทวนความรู้เดิม/ สำ�รวจความรู้ก่อนเรียน” ❍ ความหมายของลิขสิทธิ์ ❍ สัญลักษณ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) 6. สาระสำ�คัญ ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น เอกสาร รูปภาพ หรือวีดิทัศน์ นับว่าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของสามารถ ระบุความเป็นเจ้าของและเงื่อนไขการนำ ข้อมูลไปใช้งาน ซึ่งการกำ หนดสิทธิ์สามารถทำ ได้หลายรูปแบบ เช่น การใส่ชื่อการระบุสัญลักษณ์ การใส่ลายน้ำ หรือข้อความระบุเงื่อนไขการนำ ไปใช้ 7. สื่อและอุปกรณ์ 7.1 ใบกิจกรรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 | สิทธิ์ของเรา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 13 ใบกิจกรรมที่ เรื่อง เวลา (นาที) 2.1 งานของใครใช้ได้แค่ไหน 20 2.2 สิทธิ์ของเรา 40

8.1.2 แบบประเมินใบกิจกรรมที่ 2.1 และ 2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และ แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม 8.2 ขั้นตอนการดำ เนินการ 8.2.1 ผู้สอนถามผู้เรียนเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำ วันว่ามีอะไรบ้าง และอยู่ในรูปแบบใด ผู้เรียนสามารถสร้างข้อมูลเหล่านี้ได้เองหรือไม่ และมีวิธีการบอกผู้อื่นอย่างไร ในการนำ ข้อมูล ของผู้เรียนไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ 8.2.2 ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาหัวข้อ 6.4 เรื่อง การสร้างและแสดงสิท์ธิความเป็นเจ้าของผลงาน จากหนังสือเรียน 8.2.3 ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ให้แต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ ในอินเทอร์เน็ต เช่น ภาพ ข้อมูล เว็บไซต์ หรือสื่ออื่น ๆ แล้วเลือกมา 1 อย่าง หรือผู้สอน จัดเตรียมไว้ให้ โดยอาจให้ผู้เรียนเลือกรูปในกิจกรรมที่ 6.1 ข้อ 1 จากหนังสือเรียนหรือเว็บไชต์ ต่าง ๆ เช่น ❍ http://www.ipst.ac.th/ ❍ http://www.mcot.net/ ❍ https://openclipart.org/ ❍ https://www.youtube.com/audiolibrary/music (แต่ละกลุ่มได้รับข้อมูลที่แตกต่างกัน) 8.2.3 ผู้สอนให้แต่ละกลุ่มค้นหาว่าข้อมูลที่ได้รับ ใครเป็น เจ้าของ และมีการระบุเงื่อนไขการนำ ไปใช้อย่างไร เช่น นำ ไปใช้ในการเรียนได้หรือไม่ นำ ไปใช้ในการค้า ได้หรือไม่ นำ ไปเผยแพร่ได้หรือไม่ โดยทำ ลงใน ใบกิจกรรมที่ 2.1 เรื่อง งานของใครใช้ได้แค่ไหน เแล้วนำ เสนอหน้าชั้นเรียน 8.2.4 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปการกำ หนดสิทธิ์ของ ผลงานในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงวิธีการนำ ผลงาน ของผู้อื่นไปใช้งานได้ถูกต้องตามข้อกำ หนด 8.2.5 ผู้เรียนแต่ละคนทำ ใบกิจกรรมที่ 2.2 เรื่อง สิทธิ์ ของเรา ข้อ 1 แล้วให้แลกเปลี่ยนผลงานกับเพื่อน แล้วพิจารณาผลงานของเพื่อนว่าสามารถนำ ไปใช้งาน ได้แค่ไหน โดยระบุลงใน ข้อ 3 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 | สิทธิ์ของเรา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 14

8.2.6 ผู้สอนเลือกชิ้นงานที่ถูกต้องและสมบูรณ์มาอย่างน้อย 5 ชิ้นงาน มาเป็นตัวอย่างในการสรุป บทเรียน เรื่อง การสร้างและแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงาน 9. การวัดและประเมินผล 9.1 ตรวจคำ ตอบจากใบกิจกรรม 9.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 9.3 ประเมินการทำ งานกลุ่ม 10. สื่อและแหล่งข้อมูล ❍ เว็ปไซต์ https://www.watermark.ws เพื่อสร้างลายน้ำ ในภาพที่ต้องการ ❍ เว็บไซต์ https://creativecommons.org/licenses/ 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 การตอบคำ ถามในชั่วโมงแรก ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนเขียนคำ ตอบลงในเว็บไซต์หรือบริการต่าง ๆ ที่สามารถ แสดงความคิดเห็นหรือใช้งานร่วมกันได้ เช่น Google Docs, www.padlet.com 11.2 ควรให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำ ถามชวนคิดในหนังสือเรียน 11.3 หากมีเวลาเพียงพอ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนอภิปรายประเด็นในแบบฝึกหัดท้ายบทจากหนังสือเรียน หรือแทรกไปในกิจกรรมอื่น 11.4 อาจให้ผู้เรียนนำ ผลงานที่สร้างขึ้นในใบกิจกรรมที่ 2.1 ไปโพสต์ไว้ในเครือข่ายสังคม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 | สิทธิ์ของเรา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 15

ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลที่กลุ่มนักเรียนได้รับมอบหมาย คือ ……………………………………………………..………………..…….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….................. พิจารณาข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลที่นักเรียนได้รับมอบหมาย แล้วตอบคำ ถามต่อไปนี้ 1. ใครเป็นเจ้าของ …………………………………………………………………….………………………………………………..... 2. มีการระบุเงื่อนไขการใช้งานไว้ที่ส่วนใด ………...………………..……………………..………………………..…............. 3. ข้อความหรือสัญลักษณ์ระบุเงื่อนไขการใช้งาน คือ ………..……………………..……………………………................ 4. เมื่อพิจารณาเงื่อนไขการใช้งานแล้ว แล้วเขียนเครื่องหมาย ✓ ในช่อง ❐ หน้าข้อความที่ตรงกับเงื่อนไข การใช้งาน ❐ แชร์ได้ ❐ ต้องอ้างอิง ❐ ห้ามนำ ไปใช้เพื่อการค้า ❐ ห้ามดัดแปลง ❐ อื่น ๆ โปรดระบุ ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ใบกิจกรรมที่ 2.1 งานของใคร ใช้ได้แค่ไหน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 | สิทธิ์ของเรา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 16

1. สร้างเอกสาร 1 หน้าที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น ซึ่งประกอบไปด้วยภาพที่นักเรียนถ่ายเอง และข้อความที่นักเรียน ต้องการ พร้อมระบุชื่อผลงาน เจ้าของผลงาน และข้อกำ หนดในการนำ ไปใช้งาน โดยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ ต้องการ หรือใช้บริการบนเว็บไซต์ 2. ประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับจากเอกสารที่นักเรียนสร้างขึ้น คือ ……………………………………………………….............…. ………………………………………………………………………………………………………………………………………….............. 3. แลกเปลี่ยนเอกสารกับเพื่อน ชื่อ ……………………………………………………………………………….............................. 4. พิจารณาเอกสารที่ได้รับจากเพื่อน แล้วตอบคำ ถามต่อไปนี้ 4.1 ใครเป็นเจ้าของ ……………………………………………………………………………………………………....................... 4.2 มีการระบุเงื่อนไขการใช้งานไว้ที่ส่วนใด ………...………………..……………………..………………………..…............ 4.3 ข้อความหรือสัญลักษณ์ระบุเงื่อนไขการใช้งาน คือ …………..……………………..……………………………............ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………... …………………………………………………………………………………………………………………………………………...... 4.4 จากผลงานของเพื่อน ให้นักเรียนพิจารณาข้อความด้านล่าง แล้วเขียนเครื่องหมาย ✓ ในช่อง ❐ หน้า ข้อความที่ตรงกับเงื่อนไขการใช้งาน ❐ แชร์ได้ ❐ ต้องอ้างอิง ❐ ห้ามนำ ไปใช้เพื่อการค้า ❐ ห้ามดัดแปลง ❐ อื่น ๆ โปรดระบุ เช่น ………………………………………………………………………………………………………………………………............ ………………………………………………………………………………………………………………………………............ ………………………………………………………………………………………………………………………………............ ………………………………………………………………………………………………………………………………............ ชื่อ-สกุล ………………………………….…..………………………………...................................….….. เลขที่ ........................ ใบกิจกรรมที่ 2.2 สิทธิ์ของเรา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 2 | สิทธิ์ของเรา รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 17

3 กิจกรรมที่ แนวคิดเชิงคำ�นวณ เวลา 4 ชั่วโมง 1. ตัวชี้วัด ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณในการแก้ปัญหา หรือการทำ งานที่พบ ในชีวิตจริง 2. สาระการเรียนรู้ 2.1 การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ 2.2 ตัวอย่างปัญหา เช่น การวาดรูปเชิงเรขาคณิต การเข้าแถวตามลำ ดับความสูง ให้เร็วที่สุด จัดเรียงเสื้อให้หาได้ง่ายที่สุด 3. จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ 3.1 อธิบายการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำ นวณ ซึ่งประกอบไปด้วยการ แบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย การพิจารณารูปแบบ การคิดเชิงนามธรรม และการออกแบบอัลกอริทึม 3.2 ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ 4. ทักษะและกระบวนการ (ที่เป็นจุดเน้น ทักษะในศตวรรษที่ 21) ❍ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ❍ ทักษะการแก้ปัญหา ❍ ทักษะในการทำ งานร่วมกัน ❍ ทักษะการสื่อสาร

5. ความรู้เดิมที่นักเรียนต้องมี ซึ่งจะสอดคล้องกับส่วน “ทบทวนความรู้เดิม/สำ�รวจความรู้ก่อน” ❍ วิธีการสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถปฏิบัติตามได้ ❍ วิธีการวิเคราะห์และกำ หนดรายละเอียดของปัญหา ❍ การเขียนรหัสลำ ลองและผังงานมีวิธีการอย่างไร 6. สาระสำ�คัญ แนวคิดเชิงคำ นวณ (computational thinking) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางการ หาคำ ตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำ ไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและแม่นยำ​ ซึ่งเรียกว่า อัลกอริทึม ทักษะการใช้แนวคิดเชิงคำ นวณจึงสำ คัญต่อการแก้ปัญหา ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิด กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยพัฒนาพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย แนวคิดเชิงคำ นวณมีองค์ประกอบที่สำ คัญ 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction) และการ ออกแบบอัลกอริทึม (algorithm) 7. สื่อและอุปกรณ์ 7.1 ใบกิจกรรม ใบกิจกรรมที่ เรื่อง เวลา (นาที) 3.1 วาดแบบแปลนอาคาร 100 3.2 สอนน้องจัดหนังสือ 60 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 19 https://www.youtube.com/watch?v=INHF_5RIxTE 7.2 ใบความรู้ - 7.3 อื่น ๆ ❍ บัตรช่วยกันคิดคำ ถามย่อย ❍ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ❍ แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม ❍ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 8.1 การจัดเตรียม 8.1.1 ใบกิจกรรมที่ 3.1- 3.2 ตามจำ นวนกลุ่ม 8.1.2 บัตรช่วยกันคิดคำ ถามย่อย ตามจำ นวนกลุ่ม และกระดาษกราฟ ตามจำ นวนกลุ่ม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 20 8.1.3 หนังสือ 5 เล่ม หรือสิ่งของอื่นที่มีความสูงแตกต่างกัน 1 ชุด 8.1.4 แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 8.1.5--แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม 8.2 ขั้นตอนการดำ เนินการ ชั่วโมงที่ 1-2 8.2.1 ผู้สอนยกตัวอย่างปัญหาในชีวิตประจำ วัน แล้วให้ผู้เรียนตั้งคำ ถามย่อยเพื่อนำ ไปสู่วิธีการหา คำ ตอบลงในบัตรช่วยกันคิดคำ ถามย่อย ตัวอย่างคำ ถามเช่น ถ้าผู้เรียนต้องการเดินทางจากบ้าน ไปสถานที่ที่ไม่รู้จัก นักเรียนจะเดินทางอย่างไร แนวคำ ตอบ ❍ ต้องการไปสถานที่ใด ❍ เดินทางโดยวิธีการใด ❍ เส้นทางเป็นอย่างไร ❍ สถานที่ที่อยู่ระหว่างทางมีอะไรบ้าง ❍ สถานที่นั้นมีลักษณะอย่างไร หลักจากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มตอบคำ ถามที่ได้ตั้งไว้ ❍ ต้องการไปสถานที่ใด คำ�ตอบ หอสมุดประจำ จังหวัด ❍ เดินทางโดยวิธีการใด คำ�ตอบ ปั่นจักรยาน ❍ เส้นทางเป็นอย่างไร คำ�ตอบ ปั่นจักรยานไปทางตลาด เมื่อผ่านตลาดให้เลี้ยวขวาที่แยกไฟแดงแรก แล้วตรงไป 500 เมตร เลี้ยวซ้าย จากนั้นตรงไปอีก 200 เมตร ❍ สถานที่ที่อยู่ระหว่างทางมีอะไรบ้าง คำ�ตอบ มีตลาด ร้านขนม วัด ❍ สถานที่นั้นมีลักษณะอย่างไร คำ�ตอบ เป็นตึก 2 ชั้นมีหลังคาทรงไทย 8.2.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาแล้วตั้งคำ ถามย่อย เพื่อนำ ไปสู่วิธีในการหาคำ ตอบ โดยอาจให้ผู้เรียนเป็นผู้กำ หนดสถานการณ์หรือผู้สอนเตรียมไว้ ให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกสถานการณ์ที่สนใจ แล้วให้ผู้เรียนนำ เสนอผลการวิเคราะห์สถานการณ์ ลงในบัตรช่วยกันคิดคำ ถามย่อย 8.2.3 ผู้สอนแนะนำ ว่าวิธีการการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสามารถทำ ได้โดยใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 21 8.2.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหา หัวข้อ 1.1 เรื่อง การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย 1.2 เรื่อง การพิจารณารูปแบบ 1.3 เรื่อง การคิดเชิงนามธรรม และ 1.4 เรื่อง การออกแบบ อัลกอริทึม จากหนังสือเรียน หลังการนั้นให้ผู้เรียนทำ ใบกิจกรรมที่ 3.1 เรื่อง วาดแปลนอาคาร 8.2.5 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนขั้นตอนหลักในข้อ 2.4 ใหม่ให้เป็นศูนย์การค้าของกลุ่ม โดยให้ใช้ขั้นตอน ย่อยเดิม หลังจากนั้นส่งขั้นตอนหลักและขั้นตอนย่อยให้เพื่อนกลุ่มอื่นวาดลงในกระดาษกราฟ เมื่อ วาดเสร็จแล้วให้นำ กลับกลุ่มเดิมเพื่อดำ เนินการตรวจสอบความถูกต้อง 8.2.6 ผู้สอนสุ่มกลุ่มผู้เรียนให้นำ เสนอคำ ตอบในแต่ละข้อ และผลจากการตรวจสอบความถูกต้อง ชั่วโมงที่ 3-4 8.2.7 ผู้สอนยกตัวอย่างปัญหาการจัดเรียงหนังสือตามลำ ดับความสูง โดยให้ผู้เรียนลองคิดวิธีการจัดเรียง หนังสือ หลังจากนั้นสุ่มผู้เรียนออกมา 2 คน โดยให้คนที่ 1 บอกวิธีจัดเรียงหนังสือให้คนที่ 2 ปฏิบัติตาม โดยคนที่ 2 จะจำ ลองตัวเองเป็นหุ่นยนต์ซึ่งจะปฏิบัติตามคำ สั่งและไม่สามารถคิดเองได้ แล้วให้ผู้เรียนในห้องร่วมกันอภิปรายว่าวิธีการเรียงหนังสือของเพื่อนคนที่ 1 เป็นอย่างไรบ้าง เช่น คำ สั่งชัดเจนหรือไม่ สามารถนำ ไปปฏิบัติตามได้หรือไม่ มีคำ สั่งใดที่ซ้ำ กันหรือไม่ 8.2.8 ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน 8.2.9 ผู้เรียนศึกษาตัวอย่างที่ 1.6 แล้วร่วมกันอภิปรายว่าแตกต่างจากวิธีการที่นักเรียนคิดก่อนหน้านี้ หรือไม่ อย่างไร หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมสมองต่อว่าหากนักเรียนจะสอนน้อง จัดเรียงหนังสือที่มีวิธีการที่แตกต่างจากตัวอย่าง จะออกแบบอัลริทึมอย่างไร และเขียนคำ ตอบ ลงในใบกิจกรรมที่ 3.2 เรื่อง สอนน้องจัดหนังสือ แล้วให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเตรียมแสดงบทบาท สมมติตามอัลกอรึทึมสอนน้องจัดหนังสือ 8.2.10 ผู้สอนสุ่มทุกกลุ่มนำ เสนอบทบาทสมมติ 8.2.11 ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปรายถึงข้อดีและข้อเสียในการเรียงหนังสือของแต่ละกลุ่ม 9. การวัดและประเมินผล 9.1 ตรวจคำ ตอบในใบกิจกรรม 9.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 9.3 ประเมินการทำ งานกลุ่ม 10. สื่อและแหล่งข้อมูล - 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 อัลกอริทึมในการจัด อาจใช้วิธีเรียงแบบเร็ว เรียงแบบฟอง หรืออื่น ๆ 11.2 ผู้สอนควรให้นักเรียนทำ ปัญหาชวนคิด ในหนังสือเรียนควบคู่ไปด้วย 11.3 ตัวอย่างลิงก์คลิปวิดีโอสำ หรับใบกิจกรรมที่ 3.2 มีดังนี้ https://www.youtube.com/watch?v=WaNLJf8xzC4

บัตรช่วยกันคิดคำ�ถามย่อย 1. สถานการณ์ คือ ………………………………………………………………………………………………….................. 2. คำ ถามย่อยเพื่อจะนำ ไปสู่วิธีการหาคำ ตอบมีดังนี้ ………………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… 3. ตอบคำ ถามย่อยในข้อ 2 ได้ดังนี้ ………………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 22 1. นักเรียนต้องการซื้อเมาส์ 2. นักเรียนจะทำ การบ้านอย่างไรให้สำ เร็จ 3. นักเรียนจะสอนน้องบวกเลข 2 หลัก 4. มีเงิน 100 ต้องการซื้อส้ม และฝรั่งจะได้กี่กิโลกรัม 5. วิธีการทำ ข้าวผัด 6. วิธีอ่านหนังสือให้จบ 1 บท 7. วิธีการเล่นเกม OX ให้เป็นผู้ชนะ 8. วิธีการซักผ้าให้สะอาด 9. วิธีการใช้เงินให้ประหยัด 10. วิธีการซื้อสินค้าให้คุ้มค่า ตัวอย่างสถานการณ์

สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ใบกิจกรรมที่ 3.1 วาดแบบแปลนอาคาร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 23 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหา หัวข้อ 1.1 เรื่อง การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย 1.2 เรื่อง การพิจารณา รูปแบบ 1.3 เรื่อง การคิดเชิงนามธรรม และ 1.4 เรื่อง การออกแบบอัลกอริทึม จากหนังสือเรียน 2. นักเรียนพิจารณาภาพจำ ลองของโครงการศูนย์การค้า IPST โดยใช้แนวคิดเชิงคำ นวณเพื่อนำ ไปเขียน แบบแปลนโครงการอย่างง่ายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยมีเงื่อนไขให้ใช้รูปเรขาคณิตที่ออกแบบครั้งเดียว แล้วใช้ได้ทั้งโครงการ โดยตารางแต่ละช่องมีขนาด 10 หน่วย (0.0) I Shopping Mall T Sport Center S Salon P IT Center

2.1 แบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย ปัญหาย่อยที่ 1 ………………………………………………………………………………………………………………...…… ปัญหาย่อยที่ 2 ………………………………………………………………………………………………………………...….. ปัญหาย่อยที่ 3 ………………………………………………………………………………………………………………...…… ปัญหาย่อยที่ 4 ………………………………………………………………………………………………………………...…… ปัญหาย่อยที่ 5 ………………………………………………………………………………………………………………...…… ปัญหาย่อยที่ 6 ………………………………………………………………………………………………………………...…… 2.2 การพิจารณารูปแบบ ปัญหาย่อยที่ 1 ………………………………………………………………………………………………………………...…… คำ ตอบ ……………………………………………………………………………………………………………………………...…. ……………………………………………………………………………………………………………………………………....…… ปัญหาย่อยที่ 2 ………………………………………………………………………………………………………………...…… คำ ตอบ ………………………………………………………………………………………………………………………...………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………....…… ปัญหาย่อยที่ 3 ………………………………………………………………………………………………………………...…… คำ ตอบ ………………………………………………………………………………………………………………………...………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………....…… ปัญหาย่อยที่ 4 ………………………………………………………………………………………………………………...…… คำ ตอบ ………………………………………………………………………………………………………………………...………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………....…… ปัญหาย่อยที่ 5 ………………………………………………………………………………………………………………...…… คำ ตอบ ………………………………………………………………………………………………………………………...………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………....…… ปัญหาย่อยที่ 6 ………………………………………………………………………………………………………………...…… คำ ตอบ ………………………………………………………………………………………………………………………...………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………....…… สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 24

รูปแบบโครงสร้างอาคารในโครงการ มีจุดร่วมกันดังนี้ ตัวอาคาร ……………………………………………………………………………………………………………………....……… หลังคา (มี / ไม่มี) …………………………………………………………………………………………………………............ จุดมุมล่างซ้าย เป็นจุดเริ่มต้นในการวางตัวอาคาร 2.3 การคิดเชิงนามธรรม ❍ ชื่ออาคาร ………………………………………………………………………………………………………………………… ตัวอาคาร ………………………………………………………………………………………………………………...... หลังคา …………………………………………………………………………………………………………………….... จุดมุมล่างซ้าย …………………………………………………………………………………………………………..... ❍ ชื่ออาคาร ………………………………………………………………………………………………………………………… ตัวอาคาร ………………………………………………………………………………………………………………...... หลังคา …………………………………………………………………………………………………………………….... จุดมุมล่างซ้าย …………………………………………………………………………………………………………..... ❍ ชื่ออาคาร ………………………………………………………………………………………………………………………… ตัวอาคาร ………………………………………………………………………………………………………………...... หลังคา …………………………………………………………………………………………………………………….... จุดมุมล่างซ้าย …………………………………………………………………………………………………………..... ❍ ชื่ออาคาร ………………………………………………………………………………………………………………………… ตัวอาคาร ………………………………………………………………………………………………………………...... หลังคา …………………………………………………………………………………………………………………….... จุดมุมล่างซ้าย …………………………………………………………………………………………………………..... 2.4 เขียนอัลกอริทึมวาดแบบแปลนอาคารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนหลัก ……………………………………………………………………………………………………………………....… …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 25

ขั้นตอนย่อยที่ 1 ……………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... ขั้นตอนย่อยที่ 2 ……………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... ขั้นตอนย่อยที่ 3 ……………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 26

สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ใบกิจกรรมที่ 3.2 สอนน้องจัดหนังสือ 1. ศึกษาตัวอย่างที่ 1.6 จากหนังสือเรียน 2. ร่วมกันคิดและออกแบบวิธีการสอนน้องจัดหนังสือแบบอื่น ๆ โดยมีวิธีการดังนี้ 2.1 รูปแบบการจัดเรียง (เช่น เรียงความสูงจากน้อยไปมาก มากไปน้อย เรียงตามสี เรียงตามความหนา ของหนังสือ เรียงตามชื่อหนังสือ) คือ …………………………………………………………………………………………… 2.2 อัลกอริทึมในการจัดเรียง ……………………………………………………………………………………………................. …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... …………………………………………………………………………………………………………………………....………......... ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 3 | แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 27

4 กิจกรรมที่ ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ�นวณ เวลา 4 ชั่วโมง 1. ตัวชี้วัด ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณในการแก้ปัญหา หรือการทำ งานที่พบ ในชีวิตจริง 2. สาระการเรียนรู้ การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ 3. จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ ออกแบบอัลกอริทึมเพื่อการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ 4. ทักษะและกระบวนการ (ที่เป็นจุดเน้น ทักษะในศตวรรษที่ 21) ❍ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ❍ ทักษะการแก้ปัญหา ❍ ทักษะในการทำ งานร่วมกัน ❍ ทักษะการสื่อสาร

ใบกิจกรรมที่ เรื่อง เวลา (นาที) 4.1 สอนเพื่อนเต้น 90 4.2 บอกอย่างไรให้เพื่อนทำ�ได้ 45 4.3 แต่งตัว 45 5. ความรู้เดิมที่นักเรียนต้องมี ซึ่งจะสอดคล้องกับส่วน “ทบทวนความรู้เดิม/สำ�รวจความรู้ก่อน” ❍ วิธีการสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถปฏิบัติตามได้ ❍ วิธีการวิเคราะห์และกำ หนดรายละเอียดของปัญหา ❍ วิธีการเขียนรหัสลำ ลองและผังงาน 6. สาระสำ�คัญ การนำ แนวคิดเชิงคำ นวณ (computational thinking) ไปใช้ในการแก้ปัญหาจะทำ ให้สามารถแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเชิงคำ นวณมีองค์ประกอบที่สำ คัญ 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition) การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition) การคิดเชิงนามธรรม (abstraction) การออกแบบ อัลกอริทึม (algorithm) 7. สื่อและอุปกรณ์ 7.1 ใบกิจกรรม 7.2 ใบความรู้ - 7.3 อื่น ๆ ❍ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ❍ แบบทดสอบ เรื่อง แนวคิดเชิงคำ นวณ ❍ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม ❍ แบบประเมินการออกแบบอัลกอริทึม ❍ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 29

8. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 8.1 การจัดเตรียม 8.1.1 ใบกิจกรรมที่ 4.1- 4.3 ตามจำ นวนกลุ่ม 8.1.2 กระดาษ A4 สำ หรับพับกระดาษในใบกิจกรรมที่ 4.2 กลุ่มละ 10 ใบ 8.1.3 แบบทดสอบ เรื่อง แนวคิดเชิงคำ นวณ ตามจำ นวนผู้เรียน 8.1.4 แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน แบบประเมินการทำ งานกลุ่ม 8.1.5 แบบประเมินการออกแบบอัลกอริทึม 8.2 ขั้นตอนการดำ เนินการ ชั่วโมงที่ 1-2 8.2.1 ผู้สอนทบทวนองค์ประกอบของแนวคิดเชิงคำ นวณ แล้วถามผู้เรียนว่าปัญหาหรือการทำ งาน ในชีวิตประจำ วันมีอะไรบ้างที่สามารถนำ แนวคิดเชิงคำ นวณมาใช้แล้วทำ ให้การแก้ปัญหา มีประสิทธิภาพมากขึ้น 8.2.2 ผู้เรียนศึกษาตัวอย่างที่ 1.7 จากหนังสือเรียน แล้วผู้สอนทดสอบโดยการสั่งให้ผู้เรียนเต้นตาม คำ สั่ง เช่น มาร์ชขวา มาร์ชซ้าย ขยับซ้ายขวา ขยับขวาซ้าย มาร์ชขวา 2 รอบ มาร์ชซ้าย 2 รอบ มาร์ชซ้ายและมาร์ชขวา 2 รอบ 8.2.3 ผู้เรียนเลือกเพลงที่ชอบ หลังจากนั้นศึกษาท่าเต้นจากมิวสิควิดีโอ แล้วทำ ใบกิจกรรมที่ 4.1 เรื่อง สอนเพื่อนเต้น 8.2.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนอัลกอริทึมท่าเต้นจากใบกิจกรรมที่ 4.1 แล้วให้แต่ละกลุ่ม ออกมาเต้นตามอัลกอริทึมที่ได้รับจากเพื่อนกลุ่มอื่น อาจให้ออกมาทีละ 2-5 กลุ่มพร้อมกัน โดยให้กลุ่มเจ้าของอัลกอริทึมสังเกตและตรวจสอบว่าเพื่อนเต้นได้ตามที่ออกแบบหรือไม่ ถ้าไม่ได้ ให้ปรับแก้อัลกอริทึมจนกว่าเพื่อนจะสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ผู้สอนอาจเปิดเพลงเพื่อเป็น การให้จังหวะผู้เรียนระหว่างการเต้น 8.2.5 ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำ กิจกรรม 8.2.6 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจับสลากเพื่อศึกษาคลิปวิดีโอพับกระดาษที่ผู้สอนกำ หนด หรือให้ ผู้เรียนค้นหาและเลือกเอง แล้วให้ผู้เรียนเขียนอัลกอริทึมลงในใบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่อง บอกเพื่อน อย่างไรให้ทำ ได้ หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มจับคู่เพื่อบอกให้เพื่อนอีกกลุ่มปฏิบัติตาม หากเพื่อน อีกกลุ่มไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ให้แก้ไขอัลกอริทึมจนกว่าจะทำ งานได้สำ เร็จ 8.2.7 ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำ กิจกรรม ชั่วโมงที่ 3-4 8.2.8 ผู้สอนถามผู้เรียนว่ามีวิธีการเลือกเสื้อผ้าในการแต่งตัวอย่างไร แล้วมีปัญหาหรือไม่ และทราบ หรือไม่ ว่าแต่ละวันจะแต่งตัวอย่างไร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 30

8.2.10 ผู้สอนสุ่มผู้เรียนออกมานำ เสนอวิธีการจากใบกิจกรรมที่ 4.3 หน้าชั้นเรียน 8.2.11 ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำ กิจกรรม 8.2.12 ผู้เรียนศึกษาตัวอย่างที่ 1.8 บ่อเลี้ยงปลาวาเลนไทน์ แล้วรวมกันสรุป โดยผู้สอนยกตัวอย่าง ความยาวด้านและความลึกของบ่อรูปหัวใจ แล้วให้ผู้เรียนหาคำ ตอบ 8.2.13 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำ กิจกรรมท้ายบท และเลือกทำ แบบฝึกหัดท้ายบท 8.2.14 ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดเชิงคำ นวณ 8.2.15 ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ แบบทดสอบ 9. การวัดและประเมินผล 9.1 ตรวจคำ ตอบในใบกิจกรรม 9.2 ประเมินการออกแบบอัลกอริทึมจากแบบทดสอบ 9.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 9.4 ประเมินการทำ งานกลุ่ม 10. สื่อและแหล่งข้อมูล - 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 ระหว่างการนำ เสนอท่าเต้นตามอัลกอริทึมในใบกิจกรรมที่ 4.1 ผู้สอนอาจเพิ่มคำ สั่งให้ผู้เรียนทำ ซ้ำ ท่าเต้นนั้นไปเรื่อย ๆ หรือจนกว่าเพลงจะจบ 11.2 ตัวอย่างลิงก์คลิปวิดีโอสำ หรับใบกิจกรรมที่ 4.2 มีดังนี้ https://www.youtube.com/watch?v=5enA_C3e_Rg&t=434s สำ หรับพับกระดาษเป็นรูปเพชร https://www.youtube.com/watch?v=5enA_C3e_Rg&t=434s สำ หรับพับกระดาษเป็นรูป กล่องหัวใจ https://www.youtube.com/watch?v=hTTwbYi_GzQ สำ หรับพับกระดาษเป็นรูปกางกาง https://www.youtube.com/watch?v=UspcEmV0W-w สำ หรับพับกระดาษเป็นรูปเสื้อ เสื้อ กางเกง/กระโปรง รองเท้า หมวก เสื้อเชิ้ต เสื้อยืดคอกลม เสื้อกันหนาว เสื้อยืดคอวี 8.2.9 ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ ใบกิจกรรมที่ 4.3 แต่งตัว โดยตัวอย่างข้อมูลในตารางเป็นดังนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 31

1. ศึกษาตัวอย่างที่ 1.7 เต้นตามจังหวะ จากหนังสือเรียน 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกเพลงที่กลุ่มต้องการ แล้วศึกษาคลิปวีดิโอที่มีท่าเต้นประกอบ เพลงที่กลุ่มเลือกคือ …………………………………………………………………………………………..……………………………… 3. เลือกท่าเต้นออกมาจากคลิปวิดีโอ อย่างน้อย 3 ท่า แล้วตั้งชื่อ ท่าเต้นที่ 1 ชื่อ …………………………………………………………………………………………..………………………………...... วิธีเต้น …………………………………………………………………………………………………………….................. …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ ท่าเต้นที่ 2 ชื่อ …………………………………………………………………………………………..………………………………...... วิธีเต้น …………………………………………………………………………………………………………….................. …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ ท่าเต้นที่ 3 ชื่อ …………………………………………………………………………………………..………………………………...... วิธีเต้น …………………………………………………………………………………………………………….................. …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ใบกิจกรรมที่ 4.1 สอนเพื่อนเต้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 32

ท่าเต้นที่ 4 ชื่อ …………………………………………………………………………………………..………………………………...... วิธีเต้น …………………………………………………………………………………………………………….................. …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ …………………………………………………………………………………………..………………………………............ 4. ออกแบบอัลกอริทึมให้เพื่อนเต้นตาม โดยใช้ท่าเต้นทุกท่าจากข้อ 3 มาประกอบกัน .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 33

1. ศึกษาคลิปวีดิโอที่ผู้สอนกำ หนด 2. คลิปวีดิโอที่กลุ่มนักเรียนได้รับมอบหมายคือ ………………………………………………………………………………………… 3. เขียนอัลกอริทึมการทำ งานได้ดังนี้ …………………………………………………………………………………………..………….. …………………..........……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... …………………..........……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... …………………..........……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... …………………..........……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ใบกิจกรรมที่ 4.2 บอกอย่างไรให้เพื่อนทำ�ได้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 34

คำ�ชี้แจง ให้นักเรียนปฏิบัติตาม แล้วอภิปรายภายในกลุ่ม พร้อมทั้งเขียนคำ ตอบลงในช่องว่าง 1. ให้นักเรียนยกตัวอย่างเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อ กางเกง/กระโปรง หมวก รองเท้า หรืออื่น ๆ ที่นักเรียนมีหรือสมมติ โดยเขียนประเภทเครื่องแต่งกายที่หัวตาราง แล้วเขียนรายละเอียดลงในคอลัมน์ประเภทของหัวตาราง สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ใบกิจกรรมที่ 4.3 แต่งตัว 2. เขียนอัลกอริทึมในการเลือกเครื่องแต่งกายเพื่อไปเที่ยวกับเพื่อน ให้เข้ากับสภาพอากาศที่อาจมีอากาศร้อน หนาว หรือฝนตก ได้ดังนี้ ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... …………………..........……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........……………………………………………………………………….. ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ………………………………………………………………….........………………………………………………………………………..... ประเภทที่นักเรียน กำ หนด รายละเอียด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 35

ให้นักเรียนออกแบบวิธีแก้ปัญหาสถานการณ์ต่อไปนี้โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ สถานการณ์ สมมติว่านักเรียนเป็นเจ้าของกิจการตู้เติมเงินหยอดเหรียญ กำ ลังประสบปัญหาการนับเหรียญจำ นวนมาก ก่อนนำ ไปฝากกับธนาคาร เหรียญที่ได้มาคละกันมีมูลค่าตั้งแต่ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท ให้ใช้แนวคิด เชิงคำ นวณในการหายอดรวมเงินทั้งหมด การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... การพิจารณารูปแบบ ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... แบบทดสอบ แนวคิดเชิงคำ�นวณ ชื่อ-สกุล ………………………………….…........................................................................ เลขที่ ............ ห้อง ............. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 36

การคิดเชิงนามธรรม ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... การออกแบบอัลกอริทึม ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 | ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำ นวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 37

5 กิจกรรมที่ ยังจำ�ฉันได้หรือเปล่า เวลา 2 ชั่วโมง 1. ตัวชี้วัด ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะและฟังก์ชันในการแก้ปัญหา 2. สาระการเรียนรู้ 2.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น Scratch, python, java, c 3. จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ 3.1 เขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปร ตัวดำ เนินการ คำ สั่ง if-else และ for ในการแก้ปัญหา 3.2 เขียนโปรแกรมที่มีการรับข้อมูลจากผู้ใช้และมีการแสดงผลลัพธ์จากการแก้ปัญหา 4. ทักษะและกระบวนการ (ที่เป็นจุดเน้น ทักษะในศตวรรษที่ 21) ❍ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ❍ ทักษะการแก้ปัญหา ❍ ทักษะในการทำ งานร่วมกัน ❍ ทักษะการสื่อสาร

5. ความรู้เดิมที่นักเรียนต้องมี ซึ่งจะสอดคล้องกับส่วน “ทบทวนความรู้เดิม/สำ�รวจความรู้ก่อน” ❍ ไอดีอีหรือเครื่องมือที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ❍ การใช้งานไพทอนในโหมดอิมมีเดียทและโหมดสคริปต์ ❍ คำ สั่งที่ใช้ในการแสดงผล รับข้อมูล กำ หนดตัวแปร การทำ งานแบบมีทางเลือกและวนซ้ำ 6. สาระสำ�คัญ การแก้ปัญหาจากการทำ งานหรือในชีวิตประจำ วันของแต่ละบุคคลมีขั้นตอนและใช้เวลาที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ และกำ หนดรายละเอียดของปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา การดำ เนินการแก้ปัญหา และการตรวจสอบ และประเมินผล กระบวนการแก้ปัญหาเป็นส่วนสำ คัญในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาจากการทำ งาน หรือชีวิตประจำ วัน การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษาไพทอน สามารถนำ ไปสร้างโปรแกรมที่มีการรับค่าข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล รวมถึงการใช้ตัวดำ เนินการ หรือคำ สั่งที่ใช้สำ หรับการทำ งานที่มีทางเลือก และวนซ้ำ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างง่ายได้ โดยนำ ความรู้เรื่องชนิดข้อมูล ค่าคงที่ และตัวแปร มาเป็น ส่วนประกอบในการวิเคราะห์ประเภทของข้อมูลเข้า ข้อมูลออก เพื่อนำ มาประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7. สื่อและอุปกรณ์ 7.1 ใบกิจกรรม ใบกิจกรรมที่ เรื่อง เวลา (นาที) 5.1 ยังจำ�ได้ไหม จำ�ได้หรือเปล่า 30 5.2 จำ�ได้แค่ไหน 90 7.2 ใบความรู้ - 7.3 อื่น ๆ ❍ เครื่องคอมพิวเตอร์ ❍ แบบประเมินการแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรม แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในชั้นเรียน ❍ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 5 | ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 39

8. แนวทางการจัดการเรียนรู้ 8.1 การจัดเตรียม 8.1.1 ใบกิจกรรมที่ 5.1 ตามจำ นวนผู้เรียน - 5.2 ตามจำ นวนกลุ่ม 8.1.2 ติดตั้งโปรแกรม PyCharm Edu ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ (ดาวน์โหลดจาก https:// www.jetbrains.com/pycharm-edu/ download/) หรือติดตั้งไอดีอีสำ หรับเขียน โปรแกรมไพทอนตัวอื่น เช่น Winpython, Python3.7 8.1.3 แบบประเมินการแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรม แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 8.2 ขั้นตอนการดำ เนินการ 8.2.1 ผู้สอนทบทวนเครื่องมือเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนทั้งโหมดอิมมิเดียทและโหมดสคริปต์ พร้อมแสดงตัวอย่างการใช้งานในแต่ละโหมดอย่างละ 1 ตัวอย่าง 8.2.2 ผู้สอนตั้งคำ ถามเพื่อเป็นประเด็นให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปราย เช่น ❍ นักเรียนมีวิธีการรันโปรแกรมอย่างไร ❍ ทราบได้อย่างไรว่ามีข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม ❍ เมื่อใดที่นักเรียนต้องใช้งานตัวแปร และใช้อย่างไร ❍ คำ สั่ง if-else ใช้งานอย่างไร ❍ ใช้ไพทอนวาดรูปได้อย่างไร 8.2.3 ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ ใบกิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง ยังจำ ได้ไหม จำ ได้หรือเปล่า แล้วสุ่มถามผู้เรียน นำ เสนอคำ ตอบ 8.2.4 ผู้สอนและผู้เรียนทบทวนขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์และกำ หนด รายละเอียดของปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา การดำ เนินการแก้ปัญหา และการตรวจสอบ และประเมินผล แล้วแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 4 คน ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำ ใบกิจกรรมที่ 5.2 เรื่อง จำ ได้แค่ไหน 8.2.5 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันตรวจ โดยข้อ 1 ให้ผู้เรียนคิดชุดข้อมูลทดสอบเพื่อตรวจสอบ โปรแกรมกลุ่มของเพื่อนว่าถูกต้องหรือไม่ สำ หรับข้อ 2 และ 3 ให้ใช้ชุดข้อมูลทดสอบในวิธีการ ตรวจสอบข้อมูลที่ผู้เรียนเตรียมไว้ 8.2.6 ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำ กิจกรรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 5 | ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 40

9. การวัดและประเมินผล 9.1 ตรวจคำ ตอบในใบกิจกรรม 9.2 ประเมินการแก้ปัญหาและเขียนโปรแกรม 9.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10. สื่อและแหล่งข้อมูล ❍ เว็บไซต์เขียนโปรแกรมไพทอนออนไลน์ https://repl.it/languages/python3 หรือ https://repl.it/ site/languages/python_turtle ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมกับเต่าไพทอนได้ ❍ เว็บไซต์ไพทอน https://www.python.org/ ❍ หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาษาไพทอน สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11. ข้อเสนอแนะ 11.1 สำ หรับขั้นตอนการวิเคราะห์และกำ หนดรายละเอียดของปัญหา ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิธีการ ตรวจสอบความถูกต้องให้ครอบคลุมทุกกรณี ซึ่งอาจจะมากกว่า 2 ชุดทดสอบตามที่ใบกิจกรรมกำ หนด และพยายามให้ผู้เรียนเขียนโปรแกรมครอบคลุมกรณีเหล่านั้น หากมีกรณีใดที่โปรแกรมไม่รองรับให้เขียน ส่วนดักจับกรณีดังกล่าวไว้ 11.2 สำ หรับการประเมินผล ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนผลัดกันทดสอบโปรแกรม โดยทดสอบจากข้อมูลเข้าหลายชุด ที่ครอบคลุมกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด 11.3 สำ หรับโรงเรียนที่ใช้ระบปฏิบัติการ Windows XP นั้น จะรองรับ Python ได้สูงที่สุดคือ ไพทอนเวอร์ชัน 3.4.4 ให้ดำ เนินการติดตั้ง PyCharm Edu 3.5 สำ หรับเขียนโปรแกรม โดยวิธีการติดตั้งจะอยู่ใน โฟลเดอร์ Act5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 5 | ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 41

1 print(set_a) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 5 | ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 42

4; print(j) 2.5 w = 0 x = 1 y = 2 z = 3 if x>y : print(z) else : print(w) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 5 | ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 43

ใบงานที่ 5.2 จำ�ได้แค่ไหน 1. ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมต่อไปนี้ สมาชิกในกลุ่มที่ …………………….. 1. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 2. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 3. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ 4. ชื่อ-สกุล ………………………………….….. เลขที่ ............ ปัญหา โปรแกรม 1.1 รับค่าน้ำ หนักและส่วนสูงเป็นจำ นวนเต็ม 1.2 หาค่าเส้นรอบวง และพื้นที่ของวงกลม โดยรับ ค่ารัศมี 1.3 คำ นวณหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยม โดยรับความกว้าง และความยาว ถ้าความกว้างและความยาว เท่ากันให้แสดงข้อความว่า sqare ตามหลัง การแสดงค่าพื้นที่ 1.4 หาค่าเฉลี่ยน้ำ หนักโดยรับข้อมูลที่ผู้ใช้กำ หนด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 5 | ยังจำ ฉันได้หรือเปล่า รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) 44