ต วอย างธ รก จการบร การท ม quality

บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 1.0 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2526 โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับจ้างก่อสร้างบ้านอย่างครบวงจรบนที่ดินของลูกค้า

2533

บริษัทได้เริ่มประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อาคารที่พักอาศัยให้เช่าและอาคารสำนักงานให้เช่า

2534

บริษัทได้รับอนุญาตให้เป็นบริษัทจดทะเบียนและนำหุ้นสามัญเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534

2535

บริษัทได้เริ่มประกอบธุรกิจขายบ้านพร้อมที่ดิน

2536

บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2536

2540

บริษัทประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤติการณ์การเงิน

2542

บริษัทได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารและสถาบันการเงินและสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ด้วยดี และในปี 2548 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารและสถาบันการเงินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครบทั้งจำนวน

2544

บริษัทได้เพิ่มทุนและเสนอขายหุ้นให้แก่ Government of Singapore Investment Corporation Pte Ltd. (GIC) สัดส่วนร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด 812.0 ล้านบาท

2549

บริษัทและบริษัทย่อยได้จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์พร้อมส่วนควบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือให้สิทธิการเช่า และ/หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สำหรับโครงการประเภทอาคารสำนักงาน (Office Building) จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการคิวเฮ้าส์ เพลินจิต และโครงการคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ให้แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ ซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 และบริษัทได้ลงทุนในกองทุนรวมจำนวน 204.5 ล้านหน่วย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.66 ของหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมและคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,045.1 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทจัดการ ได้แต่งตั้งให้บริษัท คิว. เอช. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (Property Manager) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่กองทุนรวมเข้าลงทุนในครั้งนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี และคู่สัญญาสามารถขยายเวลาได้อีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกิน 5 ปี

2555

บริษัทได้จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์พร้อมส่วนควบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือให้สิทธิการเช่า และ/หรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประเภทโรงแรม จำนวน 3 โรงแรม คือ โรงแรมเซนเตอร์ พอยต์ ประตูน้ำ โรงแรมเซนเตอร์ พอยต์ สุขุมวิท 10 และโรงแรมเซนเตอร์ พอยต์ ชิดลม ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า ควอลิตี้ เฮ้าส์ โฮเทล แอนด์ เรซิเดนซ์ (QHHR) ("กองทุนรวม") ซึ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และบริษัทได้ลงทุนในกองทุนรวมจำนวน 105.28 ล้านหน่วย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.33 ของหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมและคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,050.28 ล้านบาท

โดยภายหลังจากที่กองทุนรวมลงทุนในทรัพย์สินแล้ว กองทุนรวมจะนำอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และสิทธิการเช่าออกให้เช่าหรือให้เช่าช่วงแก่บริษัท เซนเตอร์ พอยต์ ฮอสพิทอลิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100

ทั้งนี้ บริษัท เซนเตอร์ พอยต์ ฮอสพิทอลิตี้ จำกัด ได้ว่าจ้างบริษัท คิว.เอช. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 เป็นผู้บริหารจัดการโรงแรม และเซอร์วิส อะพาร์ตเมนต์เป็นระยะเวลา 3 ปี และคู่สัญญาสามารถขยายเวลาได้อีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกิน 3 ปี

2560

บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ("LHFG") ได้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับ CTBC Bank Co.,Ltd ("CTBC") ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ลดลงจากร้อยละ 21.34 เป็นร้อยละ 13.74 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว

2561

บริษัท คาซ่า วิลล์ (ชลบุรี 2554) จำกัด ได้เปิดให้บริการโรงแรม เซนเตอร์ พอยต์ พัทยา ในเดือนธันวาคม 2561 (ปี 2563 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงแรม เซนเตอร์ พอยต์ ไพร์ม พัทยา”)

หลังจากหน่วยงานมีแผนจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐแล้ว สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงและวางแผนดำเนินการควบคู่กันไปคือ การจัดวางบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีความสำคัญส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการดำเนินการนั่นเอง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีใครกันบ้าง ไปดูกัน… ซึ่งในบทความนี้ DGA (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร.) ได้สรุปโครงสร้างคร่าวๆ ของบุคลากรด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Structure) ไว้ในที่นี้ รวมทั้งได้เชื่อมโยงข้อมูลเชิงลึกเอาไว้ให้อ่านต่อในลิงก์ด้วยแล้ว

โครงสร้างบุคลากร

การกำหนดโครงสร้างบุคลากรของส่วนงานธรรมาภิบาลข้อมูล จัดทำขึ้นเพื่อแสดงลําดับขั้นระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และแสดงถึงสิทธิในการสั่งการตามลําดับขั้น ทั้งจำนวนบุคลากรและความลึกของลําดับขั้นควรพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงานของรัฐ

ส่วนงานธรรมาภิบาลข้อมูลมีแนวทางจัดตั้งในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ ดังนี้

1. รูปแบบทีมเสมือน (Virtual Team) ที่คัดเลือกมาจากส่วนงานต่างๆ

2. รูปแบบที่มีส่วนงานรับผิดชอบชัดเจน ซึ่งอาจจะจัดตั้งใหม่หรือกําหนดหน้าที่ให้กับส่วนงานที่มีหน้าที่คล้ายกับโครงสร้างบุคลากรของงานจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

3. รูปแบบผสม ซึ่งจะต้องแยกหน้าที่ให้ชัดเจนระหว่างส่วนงานที่รับผิดชอบหลักกับทีมเสมือน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน (ดังรูปที่ 10 ตัวอย่าง โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน คลิก https://bit.ly/3AAiIqu น.33) ประกอบด้วย

  • คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Council)
  • ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team)
  • ผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล (Data Stakeholders)

ใครเป็นใครในคณะกรรมการธรรมาภิบาล

คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล มีอํานาจสูงสุดในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ ทําหน้าที่ตัดสินใจเชิงนโยบาย แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการภายในคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบไปด้วย

  • ผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงาน (Chief Executive Officer: CEO)
  • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer: CIO)
  • ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (Chief Data Officer: CDO)
  • ผู้บริหารด้านการรักษาความปลอดภัยระดับสูง (Chief Security Officer: CSO)
  • ผู้บริหารจากส่วนงานต่างๆ ได้แก่
    • ฝ่ายบริหาร
    • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • หัวหน้าทีมบริกรข้อมูล (Lead Data Steward)

CEO ควรทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ เพื่อความเชื่อถือของการดำเนินงาน โดยกำกับดูแลการทำหน้าที่ของคณะกรรมการให้มีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ ดูแลส่งเสริมการดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์

การบริหารงานให้ได้ผล อาจนำ “วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA” มาใช้ (ดังรูป วงจร PDCA) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ Plan-Do-Check-Act หรือวางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง อันเป็นกระบวนการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้การทำงานในองค์กรเป็นไปอย่างมีระบบ มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงในการจัดการ

ต วอย างธ รก จการบร การท ม quality

รูป วงจร PDCA

CIO อาจจะทําหน้าที่แทน CDO หรือเป็นคนเดียวกันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล

ส่วน CDO มีหน้าที่นําข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อสร้างและส่งมอบเทคโนโลยี เครื่องมือ แนวทาง และวิธีการในการทําให้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐมีคุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานภาครัฐ

นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์และร่วมกับผู้บริหารส่วนอื่นๆ เพื่อจัดทํายุทธศาสตร์และดําเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้มีคุณภาพและการควบคุมอื่นๆ เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ

ในส่วนของการทํางานในระดับประเทศ CDO ยังต้องทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูล รวมไปถึงการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ

CSO เป็นผู้บริหารที่มีบทบาทสูงสุดในการทําให้หน่วยงานภาครัฐมีความปลอดภัยเพียงพอสําหรับการทํางานทั้งด้านการบริหารจัดการดูแล และด้านข้อมูล ทําให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) รับคําสั่งโดยตรงจากคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ขณะเดียวกันยังให้ข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบไปด้วย

  • หัวหน้าบริกรข้อมูล (Lead Data Steward) ทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและสั่งการภายใน ทีมบริกรข้อมูล รวมทั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล
  • บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ (Business Data Stewards) ให้การสนับสนุนด้านธุรกิจ
  • บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • บริกรข้อมูลด้านคุณภาพข้อมูล (Data Quality Stewards)
  • บุคคลที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย กฎหมาย
  • บุคคลที่ให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายข้อมูลและความรู้อื่นๆ ที่จะสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่ดีภายในหน่วยงานภาครัฐ

* หมายเหตุ บริกรข้อมูลด้านธุรกิจและบริกรข้อมูลด้านเทคนิค อาจจะเป็นบุคคลเดียวกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของบุคคลหรือความเหมาะสมของหน่วยงานรัฐ

ขณะที่ ผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล (Data Stakeholders) อื่นๆ ทําหน้าที่ให้การสนับสนุนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐต่อทีมบริกรข้อมูลและคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ประกอบไปด้วย

  • เจ้าของข้อมูล (Data Owners)
  • ทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Team)
  • ผู้สร้างข้อมูล (Data Creators)
  • ผู้ใช้ข้อมูล (Data Users)

บทบาท-ความรับผิดชอบเพื่อประสิทธิภาพ

การจะดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรกำหนดบทบาท (Roles) และความรับผิดชอบ (Responsibilities) ที่เหมาะสมแก่คณะกรรมการฯ

อย่างไรก็ตาม การกําหนดบทบาทและความรับผิดชอบต้องไม่ขัดแย้งต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย รวมทั้งกําหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูลที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ อาจแต่งตั้งหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคลหรือคณะบุคคลให้รับผิดชอบ และประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือประชาชนรับทราบด้วยเป็นไปตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มีดังภาพ (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bit.ly/3AAiIqu น.35-36)

  • คณะผู้บริหาร ทั้ง CEO, CIO และ CDO ทําหน้าที่กําหนดวิสัยทัศน์ ให้ข้อเสนอแนะ และอนุมัตินโยบายข้อมูล มาตรฐานข้อมูล แนวทางปฏิบัติงาน เกณฑ์การวัดคุณภาพ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงการจัดลําดับความสําคัญและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
  • บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ (Business Data Stewards) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการนิยามความต้องการด้านคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัย
  • บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ เช่น นิยามเมทาดาตาเชิงเทคนิค
  • บริกรข้อมูลด้านคุณภาพข้อมูล (Data Quality Stewards) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่ดําเนินการในเรื่องคุณภาพข้อมูล
  • เจ้าของข้อมูล (Data Owners) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่รับผิดชอบดูแลข้อมูลโดยตรง สร้างความมั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการข้อมูลสอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐาน กฎระเบียบ หรือกฎหมาย
  • ทีมบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Team) มีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการข้อมูล
  • ผู้ใช้ข้อมูล (Data Users) คือ บุคคลที่ทําหน้าที่นําข้อมูลไปใช้งานทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร และสนับสนุนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐโดยการให้ความต้องการในการใช้ข้อมูล

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้พิจารณาคือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะกํากับดูแลการดําเนินการขั้นต่อๆ ไปของข้อมูลให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลให้เป็นไปอย่างราบรื่น บรรลุผล สะดวกต่อการปรับปรุงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น นโยบายเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน เป็นต้น