การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม

การ แต่งกายของชาวล้านนา แม้จะเป็นชนกลุ่มใดก็ตาม ก็จะมีลักษณะร่วมกันอยู่ โดยเฉพาะ จะประกอบด้วยเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านเลย นับตั้งแต่สมัยของพระญามังรายมาจนถึงสมัยเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละแล้วก็ตาม ก็ย่อมจะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในแง่ของผ้าที่ทอขึ้นในท้องถิ่นและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน จึงน่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในแง่ของรูปแบบและประเพณีนิยม การแต่งกายของชายหญิงชาวล้านนามีลักษณะดังต่อไปนี้

การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา

การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม

“ล้านนา” ในปัจจุบันหมายถึง อาณาเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน การแต่งกายพื้นเมืองของล้านนา จึงหมายถึงการแต่งกายของชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในล้านนาในอดีตอาณาจักรล้านนาในบางยุคสมัยอาจครอบคลุมไปถึงรัฐ ต่างๆ เช่นสิบสองปันนา รัฐฉาน เชียงตุง เป็นต้น ซึ่งต่างก็เคยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน ชนกลุ่มใหญ่ที่สร้างสมอารยธรรมในล้านนาก็คือ “ชาวไทยวน” ซึ่ง ปัจจุบันเรียกตัวเองว่า “คนเมือง” นอกจากนี้มีวัฒนธรรมกลุ่มชนต่างๆ ผสมผสานกันได้แก่ ชาวไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่(ไต) ชาวไทยวนในล้านนามีวัฒนธรรมในการทอผ้าเพื่อใช้สอยและแต่งกายเป็นเอกลักษณ์มา แต่โบราณ จากหลักฐานด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆ ในเชียงใหม่และน่าน ในเชียงใหม่เช่นวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์วรวิหาร และวัดป่าแดด จิตรกรได้เขียนไว้เป็นหลักฐานประกอบกับการบันทึกของมิชชั่นนารี หรือผู้รู้ที่เล่าสืบต่อกันมา

การแต่งกายยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม ปัจจุบัน ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบตามเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาใน อดีต เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดยพยายามรักษาความ เป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้ ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในรูปแบบการแต่งกายพื้นเมือง โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๔

การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม

การ แต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน

สำหรับ หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า

ประวัติเครื่องแต่งกาย

คำว่า “ เครื่องแต่งกาย “ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย การแต่งกายของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สามารถค้นคว้าได้จาก หลักฐานทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นเครื่องช่วยชี้นำให้รู้และเข้าใจถึงแนวทางการแต่งกาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น ภาคเหนือ

การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม

มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง) การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)

การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน” ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย) การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม ผ้าพื้นเมืองอีสาน ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิง ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้ง ลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ 2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน ประเพณี ที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มอีสานใต้ คือ กลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

ภาคกลาง

การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า “ราชประแตน” ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

ภาคใต้

การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
การแต งกายภาคเหน อ การ ต นถ อร ม
ภาคใต้ มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.thaigoodview.com/node/120396