กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

คำเตือน การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD)

1. จำนวนชั่วโมงที่ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ภายในวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคมของทุกปี โดยต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ภายในวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ - แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ประจำปี และ - ยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี (ที่มีการรับทำบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี)

2. การแจ้ง แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีพร้อมทั้งยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th > บริการออนไลน์ > ผู้ทำบัญชี > ระบบงาน e-Accountant

3. บทกำหนดโทษ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และกรณีพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่ครบตามที่กำหนดต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง


กองกำกับบัญชีธุรกิจ โทร. 0 2547 4395 และ 0 2547 4408

อยากเริ่มต้นรับงานบัญชีแต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ขึ้นทะเบียนที่ไหน เตรียมเอกสารอะไรบ้าง สารพัด คำถามของนักบัญชีมือใหม่ที่อยากจะเริ่มต้นรับงานบัญชีแต่ไม่มั่นใจว่าจะเริ่มต้นถูกต้องหรือเปล่า ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการรับงานบัญชี Step-by-Step ว่าควรทำอะไรก่อนหลังและขึ้นทะเบียน ผู้ทำบัญชีมีขั้นตอนยังไงบ้าง

ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายกันก่อนว่า คำว่า “นักบัญชี” ในแวดวงนี้มีความหมายกว้าง เพราะอาจจะหมายถึง “นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี” หรือนักบัญชีทั่วไปที่เป็นผู้ช่วยผู้ทำบัญชีหรืออยู่ในทีมบัญชีแบบที่ “ไม่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี” กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ได้ เนื่องจากปกติแล้ว 1 ธุรกิจก็จะมีคนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีคนเดียวเท่านั้น

แต่สำหรับใครที่เบื่อการเป็นลูกทีมแล้ว อยากรับบัญชีงานเอง เซ็นรับรองการทำบัญชีเองแบบสวยๆ ก็ทำได้เช่นกัน เพียงแค่ทำตามขั้นตอนนี้ค่ะ

เลือกอ่านได้เลย!

1. เช็กวุฒิการศึกษา

เราจะขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีได้ ก็ต่อเมื่อเราจบการศึกษาวุฒิระดับอนุปริญญา หรือ ปวส. ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าเป็นอย่างน้อย โดยกฎหมายจะแบ่งประเภทงานบัญชีที่เรารับได้ไว้ 2 ประเภทตามวุฒิ

  • ระดับ ปวส. ทางการบัญชี สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้เฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • ระดับปริญญาตรี สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กิจการได้ทุกประเภท

ถ้าตอนนี้ใครมีประสบการณ์ แต่ว่ายังไม่มีวุฒิ แนะนำว่าหาเวลาไปเก็บวุฒิการศึกษาด้านบัญชีเพิ่มเติม ให้เรียบร้อยเป็นลำดับแรก

2. ต้องมีลูกค้าอย่างน้อย 1 ราย

อาจจะดูย้อนแย้งไปนิดสำหรับการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี เพราะว่าถ้าจะขึ้นทะเบียนให้ครบถ้วนทุกกระบวนการ อย่างน้อยเราต้องมีลูกค้า 1 ราย เพื่อมาแจ้งชื่อค่ะ เนื่องจากว่าในขั้นตอนการขึ้นทะเบียน ผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุไว้ว่า เราต้องกรอกข้อมูลนิติบุคคลที่เรารับทำบัญชีลงไปด้วยนั่นเองค่ะ

3. ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีแบบออนไลน์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ถ้าวุฒิการศึกษาครบ และมีลูกค้าแล้ว 1 ราย เราก็สามารถขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีได้แล้วผ่านระบบออนไลน์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เรียกว่าระบบ e-Accountant ตามขั้นตอนนี้

  • เข้าสู่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • เลือก บริการออนไลน์ > เลือก ผู้ทำบัญชี > ระบบงานผู้ทำบัญชี (e-Accountant)

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • กดยอมรับคำเตือนการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) และระบบงานผู้ทำบัญชี (ระบบงาน e-Accountant)

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • กรอกรหัสผู้ทำบัญชี (เลขบัตรประจำตัวประชาชน)

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • เลือกการแจ้งรายละเอียดการทำบัญชีครั้งแรก (ส.บช. 5)

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • เมื่อเข้าระบบงานแจ้งรายละเอียดการทำบัญชีครั้งแรก เราจะพบหน้าจอ “ข้อมูลพื้นฐาน” ดังต่อไปนี้ ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ที่อยู่ วุฒิการศึกษา แล้วก็กด “ถัดไป” ได้เลย

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • กรอกข้อมูลการเป็นสมาชิก หรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดว่า ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้าเงื่อนไขสมาชิก 1 ใน 2 ข้อนี้ แต่ถ้าใครยังไม่ได้เป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนกับสภาไว้ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเราสามารถแจ้งความประสงค์ขอสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้เลย และค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ปีละ 500 บาท
  • จากนั้นตอบคำถามในหัวข้อนอกจากการเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว ปัจจุบันประกอบอาชีพ และตอบคำถามในหัวข้อโปรแกรมที่ใช้ในการบันทึกบัญชี

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • เพิ่มฐานะผู้ทำบัญชีและรายละเอียดนิติบุคคล โดยมีให้เราเลือกทั้งหมด 3 ฐานะ คือ
  • ฐานะพนักงานของกิจการ หมายถึง ต้องเป็นพนักงานประจำของบริษัทนั้น และบริษัทแต่งตั้งเป็นผู้ทำบัญชี
  • ฐานะผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หมายถึง เป็นผู้ทำบัญชีที่ไม่ขึ้น (สังกัด) ภายใต้ผู้ใด
  • ฐานะสำนักงานบริการรับทำบัญชี หมายถึง เป็นผู้ทำบัญชีในสังกัดสำนักงานบริการรับทำบัญชี และสำนักงานบริการมอบหมายให้เป็นผู้ทำบัญชีให้แก่บริษัทลูกค้าของสำนักงาน

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • เพิ่มธุรกิจที่รับทำบัญชี นี่แหละขั้นตอนสำคัญ ที่ตอบคำถามทุกคนว่า ทำไมเราต้องมีลูกค้างานบัญชีเจ้าแรกเอาไว้ก่อน เพราะว่าเราต้องกรอกข้อมูลในขั้นตอนนี้ให้ครบถ้วนนั่นเอง

ถ้าเป็นผู้ทำบัญชี “ฐานะพนักงานของกิจการ” รายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีจะแสดงให้เนื่องจากได้กรอกข้อมูลตั้งแต่การกรอกข้อมูลในหัวข้อฐานะผู้ทำบัญชีแล้ว

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

แต่ถ้าเป็นผู้ทำบัญชีใน “ฐานะผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ” และ “ฐานะสำนักงานบริการรับทำบัญชี” ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งรายชื่อธุรกิจโดยคลิกที่ปุ่ม เพิ่มรายการ และกรอกรายละเอียดธุรกิจที่รับทำบัญชี ใส่ปีงบการเงิน และวันที่รับทำบัญชีให้ครบถ้วน จากนั้นกด “ยืนยันข้อมูล”

กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

  • แนบเอกสารหลักฐานให้เรียบร้อย

เอกสารที่ต้องแนบทั้งหมด ประกอบด้วย

  1. หลักฐานการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ (ถ้าเป็นการสมัครครั้งแรกให้พิมพ์ Bill Payment ไปชำระและแนบในระบบได้เลย)
  1. บัตรประชาชน ที่ยังไม่หมดอายุ
  1. ทะเบียนบ้าน ฉบับเป็นปัจจุบัน
  1. วุฒิการศึกษา
  1. รูปถ่ายครึ่งตัว

และที่สำคัญเอกสารทุกหน้า เราต้องรับรองสำเนาโดยเขียนคำว่า สำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็น และ ชื่อ-นามสกุลตัวบรรจง ของผู้ทำบัญชีให้ชัดเจน

4. ตรวจสอบผลการขึ้นทะเบียน

ถ้ากรอกข้อมูลครบ เอกสารครบ เราก็เพียงแค่รอผลการอนุมัติจากระบบ e-Accountant ได้เลย โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอให้เมื่อย เพราะว่าถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเสร็จสิ้น ระบบจะส่งข้อความอีเมลมาถึงเราว่า “...รับแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี...” เรียบร้อยแล้ว

ส่วนใครที่ข้อมูลไม่ถูกต้อง อาจจะต้องแก้ไขเพิ่มเติม ระบบก็จะแจ้งรายละเอียดกับเราทางอีเมลด้วยเช่นกัน

หลังจากที่ได้เป็นผู้ทำบัญชีเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถพิมพ์หนังสือรับรองการเป็นผู้ทำบัญชีจากระบบ e-Accountant ได้ เป็นอันว่าเราเริ่มรับงานบัญชีและเป็นผู้ทำบัญชีแบบสมบูรณ์ 100% แล้ว

เห็นไหมว่า การเริ่มต้นรับงานบัญชีไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขอแค่เพียงเรามีวุฒิการศึกษาพร้อม และมีลูกค้าอย่างน้อยสัก 1 ราย ก็ขึ้นทะเบียนทำบัญชีได้สบายๆ เลยละ และที่สำคัญการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ก็จะเป็น “ประตูสู่โอกาส” ให้ทุกคนเริ่มต้นรับลูกค้าคนถัดไปได้อย่างภาคภูมิอีกด้วยค่ะ