ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้หาความรู้ ค้นคว้าสิ่งใหม่ นับเป็นวิธีที่ช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยวิธีดังกล่าวได้รับความนิยมในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ รวมถึงในกลุ่มผู้หาความรู้ในสายงานอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

Show

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คืออะไร

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอน เพื่อหาข้อเท็จจริง ศึกษา หรืออธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดเหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน และเป็นบทเรียนพื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ที่ควรรู้

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง หลายคนอาจเกิดความสงสัย ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดปัญหา (Problem)

การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดปัญหา เพียงลองสังเกตจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ใช้ตาสังเกตธรรมชาติ ใช้หูสังเกตเสียงฟ้าร้อง ใช้มือสัมผัสสัตว์ รวมไปถึงการสังเกตการเปลี่ยนแปลงและสิ่งผิดปกติ เมื่อเริ่มสังเกตเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะนำไปสู่การตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหา ซึ่งการตั้งปัญหาที่ดีจะต้องมีขอบเขต ไม่กว้างเกินไป และสามารถหาคำตอบได้

2. การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)

การตั้งสมมติฐานหรือการคิดคำตอบล่วงหน้า เป็นกระบวนการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยจากการสังเกต ประสบการณ์เดิม หรือคลังความรู้ที่มีอยู่ การตั้งสมมติฐานที่ดีจะต้องเข้าใจได้ง่าย สามารถตรวจสอบและทดลองได้ รวมถึงจะต้องบอกความสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวแปรต้นหรือสิ่งที่ต้องการศึกษา ตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระได้ เมื่อต้องสรุปผล

3. การทดลองหรือตรวจสอบสมมติฐาน (Test with experiment)

ขั้นตอนต่อมาคือ การทดลองหรือตรวจสอบสมมติฐาน ว่าสอดคล้อง เป็นความจริงหรือไม่ โดยส่วนใหญ่ในการทดลองจะมีการออกแบบการทดลองอย่างถูกต้องและเป็นระบบ รวมถึงการจัดชุดทดลอง 2 รูปแบบ คือ ชุดควบคุมและชุดทดลองที่มีการเพิ่มลดระดับตัวแปรต้น เพื่อให้ผลการทดลองออกมาถูกต้อง แม่นยำ

4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analyze)

เมื่อทำการทดลองหรือตรวจสอบสมมติฐานในขั้นตอนที่ 3 เสร็จสิ้น จะมีการบันทึกข้อมูล เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นจะนำมาทำการวิเคราะห์และอธิบายถึงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสมมติฐานที่ตั้งไว้และผลการทดลอง

5. การสรุปผล (Conclusion)

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การสรุปผล โดยจะนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 4 รวมถึงข้อมูลในขั้นตอนหน้ามาสรุปว่าผลการทดลองสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ก่อนจะรายงานและนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นต่อไป

ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเข้าใจง่าย

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน สามารถนำมาใช้ตั้งคำถามและหาคำตอบอย่างเป็นระเบียบ ยกตัวอย่างปัญหา 'ต้นผักชีที่ปลูกไว้ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ'

1. การกำหนดปัญหา (Problem)

ในขั้นตอนแรกให้ลองสังเกต และปัญหาที่ทำให้ต้นผักชีตาย เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนวิทยาศาสตร์ต่อไป

2. การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการตั้งสมมติฐานเพื่อคาดคะเนคำตอบ เช่น ถ้าดินที่ดีมีสารอาหารและแร่ธาตุเพียงพอ จะทำให้ต้นไม้งอกงาม ดังนั้น ผักชีที่ปลูกในดินที่ดีจะงอกงาม ถ้าแสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น ผักชีที่อยู่บริเวณได้รับแสงแดดจะต้องไม่ตาย

3. การทดลองหรือตรวจสอบสมติฐาน (Test with experiment)

ในขั้นนี้เปรียบเสมือนขั้นตอนสำคัญในการทดลอง ตรวจสอบ เพื่อหาว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ เช่น การนำดินไปตรวจสอบแร่ธาตุและสารอาหาร การทดลองวางผักชีไว้บริเวณในที่ได้รับแสงกับในที่ไม่ได้รับแสง ทั้งนี้ ในการทดลองและตรวจสอบจะต้องทำซ้ำ เผื่อให้เกิดความแม่นยำ

4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analyze)

หลังจากการตรวจสอบสมมติฐาน ให้นำข้อมูลดังกล่าวมาตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น หลังจากบันทึกการเปลี่ยนแปลงของผักชีที่วางไว้บริเวณที่ได้รับแสงกับที่ไม่ได้รับแสง ให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ว่าความสูง ใบ สี มีลักษณะเปลี่ยนไปอย่างไร

5. การสรุปผล (Conclusion)

หลังจากขั้นตอนทั้ง 4 จะนำไปสู่การสรุปผล ว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด ก่อนจะบันทึกข้อมูล เผยแพร่ความรู้และทฤษฎีดังกล่าวต่อไป

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ เครื่องมือสำคัญในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสายอื่น เนื่องจากวิธีดังกล่าว จะช่วยให้ทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ ศาสตร์ จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และเพื่อแก้ปัญหา

ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จำแนกวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไว้แตกต่างกัน ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อเท็จจริง ขั้นที่ 3 สร้างสมมติฐาน ขั้นที่ 4 ทดลองพิสูจน์ และขั้นที่ 5 สรุปผล

ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มักเริ่มขึ้นจากการสังเกตและตั้งคำถาม

กระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโลกยุคใหม่ จะต้องสนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริง สัมผัสจริง มีกระบวนการสำรวจ ทดลอง ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ แลกเปลี่ยนความเห็น ทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าแสดงออก ใช้วิธีการและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความชำนาญและความสามารถในการใช้ การคิด และกระบวนการคิด เพื่อค้นหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ กระบวนการคิดและเรียนรู้ รวมทั้งการจินตนาการ เป็นผลของการคิดเฉพาะด้านและร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจที่สำคัญของกระบวนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 13 ทักษะด้วยกัน

สมาคมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา (American Association for the Advancement of Science-AAAS) กำหนดจุดมุ่งหมายของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ทั้งสิ้น 13 ทักษะ โดยความหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละทักษะมีดังนี้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะการสังเกต (Observation)

หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ โดยไม่ลงความเห็นของผู้สังเกต เป็นวิธีการพื้นฐานที่จะได้ข้อมูลมาตามความต้องการ

ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท
การสังเกตที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใส่ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้สังเกต เพื่อให้เกิดความแม่นยำของข้อมูล

ทักษะการวัด (Measurement)

หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และความสามารถในการอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับความจริง พร้อมทั้งมีหน่วยกำกับเสมอ

ทักษะการคำนวณ (Using numbers)

หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระทำกับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลองโดยตรง หรือจากแหล่งอื่น ตัวเลขที่คำนวณนั้นต้องแสดงค่าปริมาณในหน่วยเดียวกัน ตัวเลขใหม่ที่ได้จากการคำนวณจะช่วยให้สื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการและชัดเจนยิ่งขึ้น

ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท
ภาพตัวอย่างการใช้ทักษะการจำแนกประเภทในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ขอบคุณภาพจาก Encyclopedia Britannica

ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)

หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดจำแนก เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา (Space/space Relationship and Space/Time Relationship)

สเปซ (Space) ของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างบริเวณที่วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างและลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไป สเปซของวัตถุประกอบด้วยมี 3 มิติ (Dimensions) ได้แก่ ความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัตถุ ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา หมายถึง ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ

  1. ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติ
  2. สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร
  3. ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง
  4. การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุ ที่เปลี่ยนแปลงไปกับเวลา
    ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท
    ทักษะการหาความสัมพันธ์ เป็นหนึ่งในทักษะที่ต้องใช้สำหรับการสร้างจินตภาพ (Shape หมายถึง รูปร่าง, Form หมายถึง รูปทรง)

ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication)

หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นมาจัดกระทำใหม่โดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดเรียงลำดับ การแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจมากขึ้น อาจนำเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ สมการ เป็นต้น

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)

หมายถึง ความสามารถในการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง คำอธิบายนั้นได้ มาจาก ความรู้หรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตที่พยายามโยงบางส่วนที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิมให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่

ทักษะการพยากรณ์ (Prediction)

หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นมาช่วยในการทำนาย การทำนายอาจทำได้ภายในขอบเขตข้อมูล และภายนอกขอบเขตข้อมูล

ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท
การสร้างสมมติฐานเปรียบเหมือนการกำหนดเป้าหมายและทิศทางของวิธีการหาคำตอบของกระบวนการนั้นๆ ภาพถ่าย: PeopleImages / iStock / Getty Images Plus

ทักษะการตั้งสมมติฐาน ( Formulating hypothesis)

หมายถึง ความสามารถในการให้คำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้าอย่างมีเหตุมีผล ก่อนที่จะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ ต่อไป สมมติฐานเป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายของสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบโดยการสังเกตได้ หรืออาจเป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ที่คาดคะเนว่าจะเกิดขึ้นระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ข้อความของสมมติฐานนี้สร้างขึ้นโดยอาศัยการสังเกตความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน การคาดคะเนคำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน ข้อความของสมมติฐานต้องสามารถทำการตรวจสอบโดยการทดลองและแก้ไขเมื่อมีความรู้ใหม่ได้

ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)

หมายถึง ความสามารถในการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำ หรือตัวแปรต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตและวัดได้ คำนิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นความหมายของคำศัพท์เฉพาะ เป็นภาษาง่ายๆ ชัดเจน ไม่กำกวม ระบุสิ่งที่สังเกตได้ และระบุการกระทำซึ่งอาจเป็น การวัด การทดสอบ การทดลองไว้ด้วย

ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)

หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม ในสมมติฐานหนึ่ง การควบคุมตัวแปรนั้นเป็นการควบคุมสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน ถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนกัน

ทักษะการทดลอง (Experimenting)

หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในการทดลองจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ

  • การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริง เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีดำเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมตัวแปร และวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการทดลอง
  • การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริง
  • การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งอาจเป็นผลของการสังเกต การวัด และอื่นๆ
    ความ ร ทาง ว ทยาศาสตร ม ก ประเภท
    ทักษะทการทดลองเป็นกระบวนการตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจเป็นไปตามสมมติฐาน หรือไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ก็ได้

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interpreting data and conclusion)

หมายถึง ความสามารถในการบอกความหมายของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ และอยู่ในรูปแบบที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว ซึ่งอาจอยู่ในรูปตาราง กราฟ แผนภูมิหรือรูปภาพต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการบอกความหมายข้อมูลในเชิงสถิติด้วย และสามารถลงข้อสรุปโดยการเอาความหมายของข้อมูลที่ได้ทั้งหมด สรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้นๆ

จิตวิทยาศาสตร์หรือเจตคติทางวิทยาศาสตร์

หมายถึง คุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่น ความขยัน อดทน รอบคอบ มีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ประหยัด การร่วมแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ทุกคนจะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยความอยากรู้ อยากเห็น ชอบสงสัย ชอบตั้งคำถาม มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม รอบรู้ ไฝ่รู้ไฝ่เรียน ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลำเอียง

วิทยาศาสตร์การเกษตรเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

วิทยาศาสตร์การเกษตร เป็นศาสตร์ที่สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการเกษตร สังคม และประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์หลักสูตร 1. ที่มีองค์ความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เพื่อสามารถสร้างสรรค์ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับการเกษตรในอนาคต

ม.เกษตร มีคณะวิทยาศาสตร์อะไรบ้าง

หลักสูตรปริญญาตรี.

เคมีอุตสาหกรรม.

เคมีบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ).

ฟิสิกส์.

วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ.

จุลชีววิทยา.

ชีวเคมี.

ชีววิทยา.

ม.เกษตร มีกี่ที่

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มี 3 วิทยาเขตได้แก่ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ทั้งยังมีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรีอีกหนึ่งแห่งด้วย เปิดการสอน 29 คณะ 2 วิทยาลัย และสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง มีหลักสูตร 583 หลักสูตร เป็นหลักสูตรนานาชาติ 42 หลักสูตร นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง ...

เกษตร อยู่กลุ่มสาระอะไร

ง๓๓๑๐๑ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี๕ (เกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ เวลา ๒๐ ชั่วโมง จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต