Mixtard ควบค มน ำตาลไม ได เพ ม 10

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไป ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีปัญหาเรื่องอินซูลินไม่พอที่จะควบคุมน้ำตาล จึงมีการผลิตอินซูลินขึ้นมา

อินซูลินที่ผลิตขึ้นมาจะมีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์เร็ว ออกฤทธิ์ปานกลาง และออกฤทธิ์นาน การเลือกใช้อินซูลินอย่างถูกต้องจะควบคุมโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น

แบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์

  1. ออกฤทธิ์เร็ว Rapid acting หรืออินซูลินน้ำใส ก่อนใช้ไม่ต้องคลึงขวดได้แก่ เช่น Humalog( insulin lispro),novolog(insulin aspart),apidra ( insulin glulisine) อินซุลินชนิดนี้เมื่อฉีดแล้วจะออกฤทธิ์ทันทีดังนั้นควรจะฉีดยาก่อนอาหารไม่เกิน 15 นาทีหรืออาจจะฉีดหลังอาหารในเด็กซึ่งไม่สามารถทราบปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือในผู้ป่วยเบาหวานที่ระบบประสาทอัตโนมัติเสียทำให้กระเพาะอาการไม่ทำงาน ไม่สามารถคาดการณืเรื่องการดูดซึม เนื่องจากยานี้ออกฤทธิ์สั้นระดับยาจึงไม่พอที่จะคุมระดับน้ำตาลมื้อต่อไป
  2. Short acting insulinได้แก่ Regular insulin [actrapid,humalin-R ]เริ่มออกฤทธิ์ 30-45 นาทีหลังฉีด ยาออกฤทธิ์สูงสุด 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และอยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมงหลังฉีด ยานี้จะมีระับยาที่สามารถคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารมื้อต่อไป
  3. ออกฤทธิ์ปานกลาง Intermediate-Acting Insulin หรือชนิดน้ำขุ่นแบ่งออกเป็นสองชนิด
  4. NPH insulin [neutral protamine hagedorn insulin] หรืออาจเรียก isophane insulin ใช้สาร protamine ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ยาวขึ้นได้แก่ Humalin-N เริ่มออกฤทธิ์ 1-4 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 4-10 ชม. และยาอยู่ได้นาน 12-20 ชม.ใช้ฉีดใต้ผิวหนังได้อย่างเดียวหากฉีดยาตอนเช้ายาจะออกฤทธิ์เต็มที่ตอนเย็น หากฉีดก่อนนอนจะออกฤทธิ์เต็มที่ตอนเช้ามืด
  5. Lente insulin ใช้ zinc ทำให้ยาออกฤทธิ์นานขึ้นเริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 8-12 ชม. และยาอยู่ได้นาน 12-20 ชม.

  6. ออกฤทธิ์ระยะยาว Long-Acting Insulin ได้แก่ ,insulin glargine,insulin detemir ออกฤทธิ์นานสุด เริ่มออกฤทธิ์ 3-5 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 10-16 ชม.และยาอยู่ได้นาน 18-24 ชม.
  7. Inhaled Insulin อินซูลินชนิดนี้ให้โดยการดูดลงในปอดและจะถูกดูดซึมที่ปอด การออกฤทธิ์จะเร็วเหมือนอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วจะให้ก่อนอาหาร ชนิดดูดชนี้จะไม่ใช้ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง เด็ก และคนที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  8. อินซูลินผสม Insulin Mixtures เป็นการผสมอินซูลินออกฤทธิ์เร็วกับอินซูลินออกฤทธิ์ปานกลางโดยมากผสมอัตราส่วน30:70

วิธีง่ายที่จะมองว่าเป็นอิสุลินชนิดไหนคือถ้าเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์สั้นจะใส ถ้าเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ปานกลางจะขุ่น

การออกฤทธิ์ของอินซูลินแต่ละชนิด เมื่อฉีดใต้ผิวหนัง subcutaneous ชนิดของยา เริ่มออกฤทธิ์(ชม.) ออกฤทธิ์สูงสุด (ชม.) ระยะเวลาออกฤทธิ์ (ชม.) Rapid acting <.3-.5 .5-2.5 3-6.5 Regular .5-1 2-3 3-6 NPH 2-4 4-10 10-16 Inhaleed insulin <0.25-.5 .5-1.5 4-6

Long acting

Insulin glargine

Insulin detemir

2.4

.8-2

20-24 combination 50%NPH 50% Regular .5-1 2ช่วง 10-16 combination 70%NPH 30% Regular .5-1 2ช่วง 10-16 combination 75%NPH 25% Lispro <.25 2ช่วง 10-16 combination 50%NPH 50% Lispro <.25 2ช่วง 10-16 70% aspart protamine,30%aspart <.25 2ช่วง 10-16

ความเข็มข้นของอินซูลิน

ปัจจุบันนิยมใช้ U100อย่างเดียวหมายถึงอินซูลิน 1 ซซ.มีปริมาณยาอินซูลิน 100 ยูนิต อินซูลินหนึ่งขวด 10 ซซ.มี 1000 ยูนิต อินซูลินชนิดปากกามี 3 ซซ.จะมีปริมาณยา 300 ยูนิค

การเก็บอินซูลิน

เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 ํซอยู่ได้30เดือนไม่ต้องแช่แข็ง สามารถที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเวลานาน 1 เดือนดังนั้นไม่จำเป็นต้องแช่น้ำแข็งระหว่างเดินทาง ระวังมิให้ถูกแสงหรืออุณหภูมิที่ร้อนเกินไปผู้ป่วยควรที่จะมีสำรองอินซูลินไว้อย่างน้อยหนึ่งขวด

ยารักษาเบาหวาน เป็นยาที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ ชนิดรับประทาน และชนิดฉีด 1.ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน เป็นยาที่ใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.1ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) ได้แก่ ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ดาโอนิล (Daonil) ยูกลูคอน (Euglucon), ยาไกลพิไซด์ (Glipizide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น มินิเดียบ (Minidiab), ยาไกลคลาไซด์ (Gliclazide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ไดอะไมครอน (Diamicron), ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น อะแมริล (Amaryl), ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ไดเอบินิส (Diabinese) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน นิยมใช้เป็นยาตัวแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ส่วนผลข้างเคียงสำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการแพ้ยา (ผู้แพ้ยากลุ่มซัลฟาจะมีโอกาสแพ้ยากลุ่มนี้ได้มากขึ้น) ถ้าใช้ร่วมกับยากลุ่มซัลฟา ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาลดไขมันกลุ่มไครไฟเบรต หรือแอสไพริน ยาเหล่านี้จะเสริมฤทธิ์การลดน้ำตาลจนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ แต่ถ้าร่วมกับยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะกลุ่มไทอะไซด์ ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือยากลุ่มปิดกั้นเบต้า ยาเหล่านี้อาจต้านฤทธิ์การลดน้ำตาลจนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงไ ด้

1.2ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanides) ได้แก่ ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น กลูโคฝาจ (Glucophage) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสที่ตับและกระตุ้นให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ นำกลูโคสไปใช้งานได้มากขึ้น แพทย์มักใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาตัวแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง (เพราะยานี้ช่วยลดระดับไขมันในเลือด) หรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน (เพราะยานี้ช่วยลดน้ำหนัก) และสามารถใช้ควบกับยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ปากคอขม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดมวนท้อง ท้องเสีย ถ้าใช้กับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียหรือยาฉีดอินซูลิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

1.3ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) ได้แก่ ยารีพาไกลไนด์ (Repaglinide) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โนโวนอร์ม (NovoNorm) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน สามารถใช้แทนยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียได้ในทุกกรณี ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การแพ้ยา

1.4ยากลุ่มกลิตาโซน (Glitazone) ได้แก่ ยาโรสิกลิตาโซน (Rosiglitazone) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น อะแวนเดีย (AVANDIA), ยาไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น แอ็กทอส (Actos) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้งานได้ดีขึ้น สามารถใช้เป็นยารักษาเบาหวานแบบเดี่ยว ๆ หรือใช้ควบกับยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ บวม น้ำหนักตัวขึ้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เอนไซม์ตับ (AST, ALT) ขึ้น การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น

1.5ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitors) ได้แก่ ยาอะคาร์โบส (Acarbose) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น กลูโคเบย์ (Glucobay), ยาโวกลิโบส (Voglibose) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น เบเซ่น (Basen) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสดลือดได้ นิยมใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาเสริมยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ ได้ทุกกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารปกติ แต่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูง) ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ มีลมในท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย

2.ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด คือ อินซูลิน เป็นยาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 บางกรณี (ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่แพทย์ให้ยารักษาเบาหวานชนิดประทานอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ และอีกกลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือได้รับการผ่าตัด หรือขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะเปลี่ยนมาใช้ยาฉีดอินซูลินแบบชั่วคราวไปก่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงจะกลับไปใช้ยาชนิดรับประทาน), ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคตับหรือโรคไต, ผู้ป่วยเบาหวานที่แพ้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน และหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนประเภทของอินซูลินนั้นสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

2.1อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin) ได้แก่ อินซูลินแอสพาร์ท (Insulin aspart) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โนโลราพิดเฟล็กซ์เพน (NovoRapid FlexPen), อินซูลินลิสโปร (Insulin lispro) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมาล็อก (Humalog), อินซูลินกลูลิซีน (Insulin glulisine) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 10-15 นาทีหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 3-5 ชั่วโมง จึงเหมาะสำหรับการควบระดับน้ำตาลที่สูงหลังรับประทานอาหาร (ควรฉีดทันทีก่อนหรือหลังรับประทาน)

2.2อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular insulin) จัดเป็นกลุ่มอินซูลินออกฤทธิ์สั้น มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลินอาร์ (Humulin R) แอคทราพิดเฮชเอ็ม (Actrapid HM) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 5-8 ชั่วโมง (ควรฉีดก่อนอาหารประมาณ 30 นาที)

2.3อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting insulin) ได้แก่ เอ็นพีเอช (NPH) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลินเอ็น (Humulin N) อินซูลาทาร์ดเอชเอ็ม (Insulatard HM), เลนเต้ (Lente) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น โมโนทาร์ดเอชเอ็ม (Monotard HM) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2½ ชั่วโมงหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 18-24 ชั่วโมง (อาจฉีดก่อนอาหารพร้อมอินซูลินชนิดปกติ หรือฉีดในช่วงเวลาอื่นก็ได้ แต่มีข้อควรระวังคือ ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์สูงสุดคือประมาณ 6-12 ชั่วโมงหลังฉีดยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้)

2.4อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาว (Long-acting insulin) ได้แก่ อินซูลินกลาร์จีน (Insulin glargine) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น แลนตัส (Lantus), อินซูลินดีทีเมียร์ (Insulin detemir) ที่มีชื่อทางการค้า เช่น เลวีเมียร์ (LEVEMIR) โดยยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2-5 ชั่วโมงหลังฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 20-24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง (ควรฉีดให้ตรงเวลาเดียวกันทุกวัน) และมีข้อดี คือ โอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีค่อนข้างน้อย

2.5อินซูลินชนิดผสม เป็นการนำอินซูลินที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันมาผสมในขวดเดียวกัน ทำให้ยาเริ่มออกฤทธิ์ได้เร็วภายใน 10-30 นาที และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง จึงช่วยลดจำนวนครั้งของการฉีดลง แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถปรับขนาดของอินซูลินชนิดใดชนิดหนึ่ง (ที่ผสมรวมกัน) เพียงอย่างเดียวตามที่ต้องการโดยไม่กระทบต่อขนาดของอินซูลินอีกชนิดหนึ่งได้ โดยตัวอย่างของยากลุ่มนี้ มีชื่อทางการค้า เช่น ฮิวมูลิน 70/30 (Humulin 70/30) มิกซ์ทาร์ดเอชเอ็ม (Mixtard HM) ซึ่งประกอบไปด้วย เอ็นพีเอช (NPH) 70% กับอินซูลินชนิดปกติอีก 30% (การฉีดยากลุ่มนี้ผู้ป่วยจะต้องระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำช่วง 6-8 ชั่วโมงหลังฉีดยา)