เพิ่มทุนเกิน 5 ล้าน ค่าธรรมเนียม


กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดอัตราค่าธรรมเนียมจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่แบบคงที่ ตั้งบริษัทใหม่เหลือ 5,500 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือ 1,000 บาท จดทางออนไลน์ลดอีก 30% เหลือ 3,850 บาทและ 700 บาท เผยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ลด 50% มั่นใจช่วยลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และดันอันดับความยากง่ายในการทำธุรกิจของประเทศดีขึ้น

นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ.2561 เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนธุรกิจใหม่เป็นแบบอัตราคงที่ (flat rate) และลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ลงอีก 30% ซึ่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.2561 ที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนนิติบุคคลมีอัตราเดียวและถูกลง

ทั้งนี้ กฎกระทรวงฯ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดใหม่ เหลือเพียง 5,500 บาท จากเดิมที่จะมีอัตราระหว่าง 5,000-275,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีอัตราค่าธรรมเนียมเพียง 1,000 บาท จากเดิมจะมีอัตราค่าธรรมเนียมระหว่าง 1,000-5,000 บาท หรือการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดมีอัตราค่าธรรมเนียมเพียง 500 บาทต่อ 1 ครั้ง จากเดิมที่จะมีอัตราค่าธรรมเนียมตามรายการจดทะเบียนที่หลากหลายระหว่าง 300-250,000 บาท

โดยหากผู้ประกอบการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านทางระบบออนไลน์ หรือ e-Registration อัตราค่าธรรมเนียมก็จะถูกลงอีก 30% คือ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดมีอัตราค่าธรรมเนียม 3,850 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดเพียง 700 บาท การเปลี่ยนแปลง การเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดมีอัตราค่าธรรมเนียม 350 บาทต่อ 1 ครั้ง

นางกุลณีกล่าวว่า การกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทางออนไลน์ที่มีอัตราถูกลงขนาดนี้ เนื่องจากกรมฯ ต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านทางระบบ e-Registration มากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ประกอบการเสียอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกลงแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งสามารถดำเนินการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลง หรือการเพิ่มทุนได้ง่าย ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่มีเวลาและสถานที่มาเป็นอุปสรรค

นอกจากนี้ ยังได้ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบธุรกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา (เฉพาะอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) ที่จดทะเบียนในพื้นที่ โดยจะลดอัตราค่าธรรมเนียมจากอัตราใหม่ (Flat Rate) ลงอีก 50% ทำให้การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดจะมีอัตราค่าธรรมเนียมเพียง 2,750 บาท และห้างหุ้นส่วนจำกัดมีอัตราค่าธรรมเนียมเพียง 500 บาทเท่านั้น

สำหรับการลดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว แม้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ลงกว่า 300 ล้านบาทต่อปี แต่ในภาพรวมประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์อย่างมากมาย เนื่องจากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหันมาทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และยังจะส่งผลต่ออันดับของไทยในการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ หรือ Doing Business ของธนาคารโลก 2019 ที่คาดว่าจะมีอันดับที่ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น



  • บริษัท

เรื่องนี้ก็เป็นคำถามยอดฮิตเหมือนกัน เรื่องนี้เราก็ต้องพิจาณาวิเคราะห์ดูด้วยตนเองว่า เราจะประกอบกิจการธุรกิจนี้ ต้องใช้ทุนประมาณเท่าไหร่ เช่น เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว เราต้องลงทุนซื้อหม้อ จาน ช้อน โต๊ะ เก้าอี้ บะหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ น้ำแข็งต่างๆ เท่าไหร่ ซักห้าหมื่นพอไหม ถ้าพอก็จบ หรือประกอบกิจการซื้อขายเครื่องจักร ถ้าเครื่องจักรที่ต้องซื้อมาขาย ราคาเครื่องละ 2 ล้าน แต่เรามีทุน 1 ล้าน ก็ซื้อไม่ได้ (แต่นะแหละ ก็มีวิธีการอีกอย่างก็คือซื้อเชื่อ) เช่นเครื่องจักร 2 ล้าน สามารถซื้อเชื่อได้ โดยวางมัดจำ 2 แสน เราก็เอาทุนจ่ายให้ 2 แสน เราก็ยังเหลือทุนอีก 8 แสนที่จะใช้หมุนเวียนต่อไป หรือต้องสำรองเงินไว้ทำไหร่ ถึงจะพอ เผื่อมีเหตุการณ์อะไรฉุกเฉิน ดังนั้นเราลองพิจารณาดู แต่โดยทั่วไปๆ ถ้ากิจการไม่ใหญ่โตมีอะไรมากก็จดทุน 1 ล้าน เรียกชำระค่าหุ้น 25% ในช่วงแรก ก็พอ แต่ก็มีบางหน่วยงานที่เราไปรับงาน เขาอาจระบุว่า คุณต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 2 ล้าน ดังนั้นเราก็ต้องจดทุนอย่างน้อย ก็ 2 ล้านด้วยคะ

เพิ่มทุนเกิน 5 ล้าน ค่าธรรมเนียม
ทำไมถึงฮิต จดทะเบียนทุน 1 ล้านบาท กันจังเลยนะ?

อาจจะเป็นเพราะว่าง่ายเรื่องของค่าธรรมเนียมตอนจดทะเบียนบริษัท ซึ่งคิดตามอัตราทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ค่าหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท ดังนั้นถ้าเราจดทะเบียนบริษัทที่มีทุนเพียง 15 บาท ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาทเท่ากัน ก็เลยจดทุน 1 ล้านกันใหญ่ เพราะถ้าเราจดทุนน้อยๆ ก็ต้องไปเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มทุนอีกในภายหลัง เช่น จะทะเบียนทุน 5 แสนบาท ต่อมาอยากเพิ่มทุนเป็น 1 ล้าน ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 5,000 บาท เป็นต้น

เพิ่มทุนเกิน 5 ล้าน ค่าธรรมเนียม
ต้องมีเงินจริง 1 ล้านบาทตามที่จดทะเบียนเลยใช่มั้ย?

ถ้าทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องมีการชำระค่าหุ้นกันตามที่จดทะเบียน และถ้าได้ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวน ก็ได้เงินครบ 1 ล้าน เมื่อมีเงิน 1 ล้านบาท ก็อาจจะไปเปิดบัญชีธนาคาร ฝากไว้ซัก 5 แสนก็ได้ ส่วนที่เหลือก็คือ เงินสด ( แต่ส่วนใหญ่แล้ว การจดทะเบียนเงินจริงมีไม่ถึง 1 ล้านหรอก เป็นแค่ตัวเลขที่จะนำไปจดทะเบียน) เช่นสมมุติว่า จดทุน 1 ล้าน ชำระเต็มจำนวนก็ได้ เงินมา 1 ล้าน แต่ในบัญชีเงินฝากธนาคารมีเพียง 250,000 บาท แล้วเงินสดอีก 750,000 ไปอยู่ไหน ถ้ามีการตรวจสอบบัญชี คุณก็ต้องแสดงให้เห็นว่า มีเงินสดอีก 750,000 อยู่จริง ทีนี่คุณไม่สามารถแสดงได้ ก็อาจมีปัญหาอีก แต่ก็มีวิธีแก้โดย ทางบัญชีก็ต้องหาวิธีให้มีเงินสดให้ได้ เช่น แจ้งว่ากรรมการกู้เงินบริษัทไป ก็นำข้อมูลนี้ไปบันทึกบัญชี พอสรรพากรตรวจสอบบัญชี เจอข้อมูลนี้ เค้าก็ให้ถือว่า เงินที่ให้กู้จำนวนนี้ ต้องคิดดอกเบี้ย ให้กรรมการผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่บริษัท โดยคิดตามประกาศของธนาคาร เมื่อกรรมการจ่ายดอกเบี้ย ก็จะกลายเป็นรายได้ของบริษัทไป เมื่อบริษัทมีรายได้จากดอกเบี้ยก็ต้องไปคำนวนภาษี ซึ่งทำให้ฐานรายได้ เพื่อใช้คิดคำนวนภาษีมากขึ้น (แต่มันก็มีทางหลบเลี่ยงอีกอยู่ดีนั่นแหล่ะ แต่โดนสรรพากรตรวจสอบทีไร ก็มีปัญหายุ่งทุกที)

เพิ่มทุนเกิน 5 ล้าน ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนทุน 1 ล้าน ต้องชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนไหม?

ตามกฎหมาย การชำระค่าหุ้น สามารถกำหนดหรือตกลงชำระค่าหุ้นได้ตั้งแต่ 25% ขึ้นไป เช่น กำหนด ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน แบ่งเป็น 1 หมื่นหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ที่ประชุมตกลงให้ชำระค่าหุ้นระยะแรก 25 บาท ต่อหุ้น(จากหุ้นละ 100 บาท ชำระแค่ 25 บาท) เพราะช่วงแรก บริษัทยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ เราก็จะได้เงินทั้งสิ้น สองแสนห้าหมื่นบาท อย่างนี้เป็นต้น เงินที่ชำระแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องนำไปฝากบัญชีธนาคารเลย ยกเว้นว่า จดทะเบียนทุนเกิน 5 ล้าน ต้องมีเอกสารรับรองบัญชีจากธนาคารว่าได้มีการชำระแล้ว