สภาพแวดล้อม ชุมชน หมาย ถึง

เรื่อง แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563-2580 คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563-2580 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ เพื่อหน่วยงานและ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางดังกล่าวแล้ว โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมเกี่ยวกับ 1) วิสัยทัศน์ คือ ?สิ่งแวดล้อมชุมชนแห่งอนาคตที่ยั่งยืน? 2) เป้าประสงค์ เช่น (1) สิ่งแวดล้อมชุมชนของไทยมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติ และ (2) สิ่งแวดล้อมชุมชนพัฒนาบนพื้นฐานที่สอดคล้องกับภูมินิเวศและบริหารจัดการภายใต้ข้อมูล องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ 3) ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 อนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติตามแนวศาสตร์พระราชา มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแล รักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน โดยชุมชนมีส่วนร่วมสามารถรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดภัยพิบัติ

ตัวชี้วัด

1. พื้นที่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแล รักษาเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 18 พื้นที่ 2) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวในเมือง/ชุมชน ร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และ 3) ท้องถิ่นมีแผนการจัดการ

ความเสี่ยง /การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/ภัยพิบัติ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง

กลยุทธ์

อนุรักษ์ ปกป้อง ฟื้นฟู ดูแลรักษาและจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศภายในชุมชนท้องถิ่น โดยชุมชนมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริฯ และการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการดำรงชีวิตของคนในชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

กระทรวงการคลัง (กค.)

กระทรวงคมนาคม (คค.)

ทส. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเมืองและชุมชน บนพื้นฐานภูมินิเวศ โดยคำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศ วิถีวัฒนธรรมและศักยภาพของชุมชน และมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

ตัวชี้วัด

1) ใช้แผนผังภูมินิเวศเป็นกรอบและแนวทางการพัฒนาครบทุกภาคของประเทศไทย และ 2) มีเมืองต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานภูมินิเวศ อย่างน้อย 43 เมือง และ 3) มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชน เป็นไปตามมาตรฐานอย่างน้อย 61 เมือง

กลยุทธ์

1) จัดทำแผนผังภูมินิเวศของชุมชนครอบคลุมการใช้ประโยชน์เชิงภูมิสังคมและการพัฒนาเมืองบนพื้นฐานภูมินิเวศ 2) ปรับโครงสร้างพื้นฐานเมืองสู่โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และ 3) จัดการสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์เมืองและชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

คค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ทส. มท. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ดีบนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนและการเติบโตสีเขียว มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีการพัฒนาเศรษฐกิจของสมาชิกในชุมชนบนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนและการเติบโตสีเขียว

ตัวชี้วัด

1) ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 2) ชุมชนที่มีการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชน อย่างน้อย 80 แห่ง และ 3) ผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์

1) พัฒนาแนวทางในการจัดการของเสียและน้ำเสียของทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม 3) ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชน และ 4) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ทส. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบ กลไกเครื่องมือ และมาตรการในการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างมี ธรรมาภิบาล และประสิทธิภาพ มีเป้าหมายเพื่อให้มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่มีประสิทธิภาพจากการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน มีระบบ โครงสร้าง เครือข่ายความร่วมมือ ตลอดจนมาตรการด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการพัฒนาของชุมชนและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

ตัวชี้วัด

1) ระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนมีความชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 2) มีกฎหมายสิทธิชุมชนรองรับปัญหาด้านสิ่งวดล้อมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3) ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น รวมทั้ง มีความร่วมมือ ระหว่างชุมชน ท้องถิ่น ภาคเอกชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น และ 4) มีข้อมูลและฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชนอัจฉริยะของประเทศ

กลยุทธ์

1) พัฒนาระบบโครงสร้างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบบูรณาการ 2) กำหนดมาตรการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และ3) ปรับปรุงแก้ไข กฎ ระเบียบ กฎหมาย เพื่อสนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน และจัดทำฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชนอัจฉริยะ

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

กค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดศ. ทส. มท. และสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมเชิงนิเวศ เพื่อสร้างชุมชนแห่งอนาคต มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบนฐานองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยทัดเทียมประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

ตัวชี้วัด

1) จำนวนกลุ่ม เครือข่าย ที่มีลักษณะที่หลากหลายและมีส่วนร่วมกับภาคีการพัฒนาในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น และ 2) จำนวนนวัตกรรม เทคโนโลยีและจำนวนชุมชน ที่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเองหรือมีวัฒนธรรมเชิงนิเวศในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์

1) เสริมสร้างความรู้ จิตสำนึกและความสามารถในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 2) ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนา รวมทั้งเทคโนโลยีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน 3) ส่งเสริมความรับผิดชอบภาคีพัฒนาเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนและการสร้างวัฒนธรรมเชิงนิเวศ และ 4) เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

กระทรวงการต่างประเทศ

อว. ดศ. ทส. มท.

วธ. ศธ. และ นร.

ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนฯ ตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ มีประสิทธิภาพ ได้มีการกำหนดแผนที่นำทาง (Roadmap) การดำเนินงานโดยมีมาตรการแบ่งเป็นระยะสั้น (พ.ศ. 2563 - 2565) ระยะกลาง (พ.ศ. 2566 - 2570) และระยะยาว (พ.ศ. 2571 - 2580) มีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนในแต่ละระดับ รวมทั้งมีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานและการจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าวด้วย

สภาพแวดล้อม มีอะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

สภาพแวดล้อมหมายถึงอะไร

สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีก ...

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีอะไร

1. ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เป็นต้น 2. ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่ 3. ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร

สภาพแวดล้อมที่ดีมีอะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อมดี จะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ สถานที่ต้องไม่ก่อมลพิษต่อสุขภาพของคนทำงาน และชุมชนโดยรอบ ไม่ว่าจะเรื่อง ฝุ่น เสียง สารเคมี น้ำเสีย และขยะและจะต้องดูแลพฤติกรรมสุขภาพของคนในที่ทำงาน ไม่ว่าจะ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และใช้ส้วมให้ถูกต้อง รวมถึงความสะอาดด้วย