เครือข่ายทางการศึกษา หมายถึง

โรงเรียนและสถาบันการศึกษาในระบบอื่นๆ เป็นเพียงบริบทหนึ่งของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เพราะทรัพยากรการเรียนรู้ของสังคมหนึ่งๆ มีความกว้างขวางกว่าและลึกซึ้งกว่าการศึกษาในระบบ บุคคลสามารถเรียนรู้ได้จากในครอบครัว ในโบสถ์ มัสยิด ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ จากการทำงาน จากการเล่น การดื่มน้ำชากาแฟ จากจอคอมพิวเตอร์ จากการร่วมวงสนทนา ดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่มีความหมาย และเกี่ยวข้องกับบริบทที่หลากหลายตลอดช่วงชีวิตของบุคคล การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการรับการแปลความ การปรับปรุงและการสื่อสารประสบการณ์ของตน

แนวความคิดเครือข่ายการเรียนรู้ได้รับความสนใจและมีความสำคัญตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการทบทวนแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  ๒๕๒๐  และการศึกษาแนวทางสำหรับการพัฒนาการศึกษาในอนาคตให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ที่จัดโครงสร้างของระบบการศึกษาในลักษณะที่ยืดหยุ่น และเป็นเครือข่ายของการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมหลักการการจัดการศึกษาที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ความกว้างขวางและเป็นธรรม ความสมดุล ความสอดคล้องและความหลากหลาย

เครือข่ายทางการศึกษา หมายถึง
ความหมายของเครือข่าย
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

แนวความคิด
การเรียนรู้เป็นกระบบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน

หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งช

เครือข่ายทางการศึกษา หมายถึง
าติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

 ๑.  การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
 ๒.  การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
 ๓.  การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
 ๔.  การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด

การเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นสำหรับบุคคลและความเจริญของชาติ ด้วยการเรียนรู้เป็นสื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และทักษะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จก็คือ การที่แต่ละบุคคลสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนเครือข่ายการเรียนรู้ก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครือข่ายเป็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบันเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการภารกิจให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

               สิ่งหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ คือ การดำรงอยู่ของมนุษยชาตินั้น อยู่ได้ด้วยการศึกษา การเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การเรียนรู้เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตทุกอย่างทุกเรื่อง เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และตลอดชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีการศึกษาที่เป็นแบบตลอดชีวิตอยู่แล้ว  แต่อาจเป็นเพราะว่าการแข่งขันในวงการศึกษาทั้งสถาบันการศึกษาภายในประเทศ และต่างประเทศ มีสูงขึ้น และยังเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตของประชาชาติอีกด้วย  การที่รัฐบาลได้ทำให้ทุกคน ทุกองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบทางการศึกษาได้ตระหนักถึงการให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ โดยมีการจัดเตรียม มีการบริหารจัดการเพื่อการนี้อย่างเป็นรูปธรรม ย่อมจะมองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนว่าการที่ให้ประชาชนมี การศึกษาตลอดชีวิต คือยุทธวิธีที่จะสามารถสร้างคุณภาพแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าของไทย  เยาวชน ได้รับการศึกษาที่ดี มีระบบและขบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม การศึกษาในระดับสูงสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้สอดคล้องกับการพัฒนาของชาติ และแช่งขันกับนานาชาติได้ ประชาชนทั่วไปสามารถแสวงหาความรู้เพื่อยังประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นพัฒนาสิ่งแปลกใหม่ ในอันที่จะแสดงถึงศักยภาพของแต่ละบุคคลโดยอิสระ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั่วไป และอาจส่งผลถึงหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ที่มีคุณภาพ และเหนืออื่นใดคือ การศึกษาตลอดชีวิตนี้ จะเป็นการศึกษาที่ประชาชนได้นำความรู้ที่ได้จากการแสวงหาด้วยวิธีการต่าง ๆ นี้ ไปพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ของคนๆ นั้น โดยพึ่งพิงคนอื่นน้อยที่สุด แต่เขาเหล่านั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการศึกษาในความหมายของ “ การศึกษาตลอดชีวิต “ ได้อย่างมีคุณภา

เครือข่ายทางการศึกษา มีอะไรบ้าง

3.2.3 แบ่งตามหน่วยสังคม ได้แบ่งการเครือข่ายการเรียนรู้ออกเป็น 4 ระดับ คือ เครือข่ายการเรียนรู้ ระดับบุคคล เครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม เครือข่ายการเรียนรู้ระดับชุมชน และเครือข่ายการเรียนรู้ระดับสถาบัน

การใช้เครือข่ายในการบริหารการศึกษามีผลดีอย่างไร

การบริหารจัดการแบบเครือข่าย การศึกษา ประโยชน์ของเครือข่ายความร่วมมือ 1. ตัดสินใจได้เร็ว แก้ปัญหาได้เร็วท่ามกลางความไม่ แน่นอนและความสลับซับซ้อนของปัญหา 2. ลดค่าใช้จ่ายการบริหารราชการและผู้ใช้บริการ 3. ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ตรงความต้องการ

เครือข่ายการเรียนรู้มีความสำคัญอย่างไร

หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ ๑. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ๒. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ

การบริหารเครือข่ายที่ดีควรเป็นอย่างไร

เงื่อนไขสำคัญในการรักษาและพัฒนาเครือข่าย คือการต้องมีระบบการติดต่อสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างสมาชิก อาจมีผู้ประสานซึ่งเป็นตัวบุคคล กลุ่ม องค์กรทำหน้าที่ประสานงาน แต่ไม่ใช่การทำแทนสมาชิกไปเสียทุกเรื่อง ผู้ประสานเป็นผู้เชื่อมโยงและเอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกัน เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ...