ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

เมื่อเขียนเนื้อหาในอีเมลได้สมบูรณ์แบบไร้ที่ติแล้ว ก็อย่ามาตกม้าตายตอนลงท้ายอีเมลล่ะ ซึ่งหลายคนมักพลาดตรงการใช้เครื่องหมาย คำหรือวลีสั้นๆ หรือแม้แต่การลงลายลายมือชื่อ ในบทความนี้เรามีเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยแก้ไขความผิดพลาดเหล่านี้มาฝากกันค่ะ

 

ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

 

การลงท้ายในอีเมลที่ควรใช้

การลงท้ายในอีเมลธุรกิจที่เป็นทางการ

1. Regards

เป็นคำลงท้ายที่ไม่โดดเด่นแต่ดูหนักแน่นและเป็นมืออาชีพ

 

2. Sincerely

Sincerely ให้ความรู้สึกเหมาะสมสำหรับการติดต่ออย่างเป็นทางการ แต่มีแนวโน้มว่าจะใช้ในอีเมลธุรกิจที่ไม่เป็นทางการเท่าใดนัก

 

3. Best wishes

เป็นการผสมผสานที่ดีระหว่างความเป็นกันเองกับความเป็นทางการ แต่ต้องใช้ให้เหมาะสมกับอีเมลนั้นๆ ของคุณด้วย เพราะให้ความรู้สึกเอนเอียงไปทางการ์ดอวยพรมากกว่า

 

ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

 

การลงท้ายอีเมลอย่างเป็นกันเอง

4. Cheers

จากผลการศึกษาล่าสุดโดยแอฟพลิเคชัน Boomerang เผยว่า การใช้คำว่า Cheers ในการลงท้ายจะใช้ได้ในกรณีที่รู้จักกันดีพอ

 

5. Best

บ่งบอกถึงความปรารถนาดีที่สุดในแบบเริงร่า และเป็นคำลงท้ายที่ส่วนใหญ่จะให้กัน ให้ความรู้สึกคล้ายๆ กับ regards

 

6. As ever

เป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ร่วมงานและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้การติดต่อของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น

 

ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

 

การลงท้ายอีเมลสำหรับการขอบคุณและคำร้องขอ

7. Thanks in advance

จากผลการศึกษาของ Boomerang พบว่า การลงท้ายอีเมลด้วยคำว่า Thanks in advance มีเปอร์เซ็นต์ที่จะได้รับการตอบกลับสูง

 

8. Thanks

Thanks เป็นทางเลือกที่ดูมั่นคงหากต้องการแสดงออกถึงการขอบคุณ

 

9. I appreciate your [help, input, feedback, etc.]

เป็นแสดงออกถึงความชื่นชมและขอบคุณอย่างสุดซึ้ง

ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

 

9 คำลงท้ายในอีเมลที่ควรหลีกเลี่ยง

1. Love

คำลงท้ายนี้เหมาะเอาไปใช้สำหรับครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคนสนิทอื่นๆ มากกว่าใช้ในการทำงาน

 

2. Thx or Rgrds

เป็นคำที่เหมาะสำหรับเด็กวัยรุ่นที่ใช้ในการส่งข้อความให้กัน

 

3. Take care

ฟังดูเป็นคำที่สวยงาม แต่เหมือนเป็นการเตือนให้ระวังถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นมากกว่า

 

4. Looking forward to hearing from you

ก็เป็นคำที่ฟังดูดีในตอนแรก ทว่าแฝงจุดประสงค์ร้ายทางอ้อม กล่าวคือ ดูไม่มิตรเท่าไหร่ ซึ่งผู้รับอีเมลมีแนวโน้มที่จะตีความว่า “คุณควรจะเขียนตอบกลับมา”

 

ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

 

5. Yours truly

เป็นคำที่ฟังดูไม่จริงใจเอาเสียเลย เว้นเสียแต่ว่าคุณจะเขียนจดหมายถึงพ่อแม่ของคุณจากการอยู่ค่ายฤดูร้อน

 

6. Respectfully / Respectfully yours

ดูเป็นทางการมากเกินไปสำหรับการลงท้าย ซึ่งคำ Respectfully yours เป็นคำลงท้ายมาตรฐานสำหรับการติดต่อกับข้าราชการและพระสงฆ์

 

7. ไม่ลงท้ายอะไรเลย

การส่งอีเมลโดยไม่ลงท้ายอะไรเลยถือเป็นสิ่งที่ไม่ควร ซึ่งจะทำให้อีเมลของคุณไม่ได้รับความสนใจและปล่อยผ่านโดยสิ้นเชิง โดย Bloomberg กล่าวว่ามันเหมือนกับการส่งข้อความโต้ตอบมากกว่าเขียนร่างจดหมายเป็นจริงเป็นจัง

 

8. ชื่อ หรือ อักษรตัวแรกของชื่อ

แม้ว่าจะเป็นการลงท้ายอีเมลที่สั้นๆ และกระชับ แต่มันดูไม่เป็นทางการเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการส่งอีเมลติดต่อกับผู้รับเป็นครั้งแรก

การส่งอีเมลหาอาจารย์นั้นสำคัญมาก การเขียนจดหมายถึงอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นนักเรียน/นักศึกษาแบบไหน เป็นมารยาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์

สารบัญ

ตัวอย่างวิธีเขียนจดหมายถึงอาจารย์

คําลงท้าย Email

ตัวอย่างเขียน Email ถึงอาจารย์

  • วิธีสมัคร Gmail ใหม่แบบง่าย ๆ

ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย
ตัวอย่าง คําลงท้ายemail ภาษาไทย

ตัวอย่างวิธีเขียนจดหมายถึงอาจารย์

  1. เรียน อาจารย์
  2. เรื่อง ขอนัดหมายเข้าพบ/ขอให้ลงนามในเอกสาร…/ขอความกรุณาปลดล็อกระบบลงทะเบียน/หรืออื่น ๆ
  3. ดิฉัน/กระผม นางสาว…/นาย…รหัสนิสิต… ซึ่งเป็นนิสิตในที่ปรึกษา/ซึ่งลงทะเบียนในรายวิชา…หมู่เรียน… มีความประสงค์…เนื่องจาก
  4. ดังนั้นจึงขออนุญาต…/ขอความกรุณาอาจารย์ เพื่อโปรด…
  5. ขอแสดงความนับถือ นาย/นางสาว เบอร์

คําลงท้าย Email

  • ขอแสดงความนับถือ
  • นาย/นางสาว
  • เบอร์โทรศํพท์ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีเร่งด่วน

ตัวอย่างเขียน Email ถึงอาจารย์

เรียน อาจารย์ศรีสุวรรณ แสงจันทร์

ขอนัดหมายเข้าพบ เพื่อเรียนปรึกษาเรื่องการลงทะเบียนเรียน แต่ทราบว่าอาจารย์ติดประชุม กระผมขออนุญาติมาพบอาจารย์อีกครั้งในวันพรุ่งนี้ เวลา 11.00 น. หากอาจารย์ไม่ว่างในเวลานั้น ขอความกรุณาอาจารย์ โปรดระบุเวลาให้กระผมด้วย