นำหลักธรรมอริยสัจ4ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

อริยสัจ ๔ ในชีวิตประจำวัน

อาจารย์ไชย ณ พล

Show

Share:

Q ถาม :

กราบเรียนท่านอาจารย์ไชยครับ เมื่อสักครู่ผมได้ไปสวดมนต์กับคุณแม่ หลังจากสวดมนต์เสร็จ ผมได้ใคร่ครวญแล้วเกิดความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจสี่ จึงอยากจะกราบเรียนขอให้ท่านอาจารย์ช่วยขัดเกลาเพิ่มเติมครับทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็น process ที่วนเรียงต่อกัน โดยมีทุกข์เป็นโจทย์ ว่าเราจะพ้นทุกข์อย่างไรสมุทัย เป็นการเรียนรู้ ลองปฏิบัติ ค่อย ๆ ตัดสิ่งผิด ออกทีละข้อนิโรธ เป็นประสบการณ์พ้นสภาวะทุกข์ เมื่อได้นิโรธแล้วจากนั้น มรรค คือการย้อนประมวลผลว่า เราทำอะไรหนอจึงเกิดสภาวะนิโรธได้ โดยมรรคมีองค์ 8 ก็ต้องเริ่มสัมมาทิฏฐิมาก่อน ว่าเรารู้ทุกข์ มีประสบการณ์จากสภาวะทุกข์ และต้องการออกจากทุกข์ แล้วมรรคตัวอื่น ๆ มาประกอบกันจนพ้นทุกข์ได้ดังนั้น เมื่อเราใช้กับโลก เช่น การลงทุน ก็แบบเดียวกัน โดยตั้งโจทย์จากการไม่ขาดทุนแล้วหนีเงินเฟ้อได้ ไม่กินทุน (เหมือนเราต้องการออกจากทุกข์) จากนั้นการลองทำจริง เมื่อผิดจากขาดทุน แล้วเราตัดวิธีผิด ๆ ออก คือ การเจอสมุทัย เมื่อสำเร็จอย่างต่อเนื่อง คือ นิโรธวิธีการที่สำเร็จ คือ มรรคดังนั้น เราสามารถใช้ process นี้กับโลกได้ด้วย เพียงแต่ 1) ต้องตั้งโจทย์ให้ถูกต้อง 2) เข้าใจสัจธรรมใหญ่ คือ อนัตตา และอนิจจัง 3) จากนั้นปฏิบัติมรรคอื่น ๆ ประกอบไปเรื่อย ๆ ตามทาง คือ right thoughts, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, right concentrationพอรู้แบบนี้แล้ว ต้องเข้าใจเรื่องปัจจัตตังด้วย คือ ลองด้วยตัวเอง สำเร็จด้วยตัวเอง คนอื่นสอนเอามาพิจารณาได้ แต่ไม่ใช่ของเรา ถ้าเรายังไม่สามารถปฏิบัติจนรู้จริงกับตัวเอง จึงเป็นทางสายที่พระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่าเพียงเชื่อตาม ๆ กัน แต่ให้เข้ามาลองทำเองครับ และเมื่อทำไปเรื่อย ๆ จะเริ่มเห็นทุกข์เป็นของดี เป็นสภาวะที่เราได้ประลองฝีมือ เหมือนที่ท่านอาจารย์ได้สอนผมว่าให้ลองทะลุทุกข์ออกไปครับ ถ้าผมทำได้ ทุกข์จะเป็นของดีของผมเช่นกัน และมรรคจะเป็นสมบัติของผมด้วยครับผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ไชยครับ ท่านอาจารย์เป็นครูผู้สอน ทำให้ทุกวันนี้ผมค่อย ๆ เดินทีละก้าว ตามทางที่ถูกต้องมากขึ้น ดีขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

So good.

Sharpen the methodology in real practice.

 

 

คำที่เกี่ยวข้อง :

อริยสัจ ๔ การปฏิบัติ

ธรรมที่เกี่ยวข้อง

  • พระพุทธเจ้า

    ธรรมเป็นเหตุให้เจริญ

  • พระพุทธเจ้า

    ธรรม ๕ ประการเพื่อความเจริญของกุลบุตร

  • อาจารย์ไชย ณ พล

    การจัดการชีวิตให้ดี

  • อาจารย์ไชย ณ พล

    แก้อาการจิตขุ่นมัวอย่างไร

  • อาจารย์ไชย ณ พล

    ทำอย่างไรไม่ให้จมอยู่กับปัญหา

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวันตามแนวแพทย์วิถีธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวันตามแนวแพทย์วิถีธรรม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า

1) หลักอริยสัจ 4 เป็นความจริงอันประเสริฐซึ่งยังปุถุชนผู้ปฏิบัติตามมรรค 8 ให้เป็นอริยะ มี 4 ประการ ได้แก่ (1) ทุกขอริยสัจ คือ อาการไม่สุขสมใจหมาย (2) ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ความอยากที่ร่วมด้วยความกำหนัดในอารมณ์ต่างๆ (3) ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพละความอยากที่ร่วมด้วยความกำหนัด (4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ การปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น เพื่อละความกำหนัด

2) การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวันของแพทย์วิถีธรรม มีแนวคิด คือ ผู้มีปัญญาจะรู้ว่าสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิต คือ ความพ้นทุกข์ ซึ่งเหตุแห่งทุกข์ทั้งมวล คือ ความอยากแบบยึดมั่นถือมั่น คนที่เข้าใจเรื่องของกรรมและวิบากกรรมอย่างแจ่มแจ้งเท่านั้น จึงจะสามารถละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไปซึ่งความอยากนั้นได้ โดยเริ่มจากการปฏิบัติศีลไปเป็นลำดับ

3) การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวันตามแนวแพทย์วิถีธรรม มีความสอดคล้องตามหลักอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนา เพราะมุ่งการดับทุกข์ใจเป็นหลัก โดยการปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น กระทั่งละความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นได้ ทำให้เกิดปัญญารู้ชัดว่าความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งมวลตัวจริง

หลังจากนักเรียนเขียนเสร็จแล้วให้นักเรียนจับคู่เพื่อนที่รู้สึกสนิทหรือเพื่อนที่นั่งด้วยกันแล้วผลัดกันเล่าวิเคราะห์ปัญหา 4 ข้อของกันและกันให้ฟัง 

ข้อควรระวังสำหรับกิจกรรมนี้ ก่อนนักเรียนจะผลัดกันเล่าปัญหาให้เพื่อนฟัง พระอาจารย์บอกนักเรียนถึงหลักการฟังปัญหาของเพื่อน 3 ข้อ คือ (1) ฟังด้วยความเคารพ (2) ฟังด้วยความกรุณา (3) ฟังแล้วเก็บเป็นความลับ ไม่นำไปเล่าต่อ 

การที่นักเรียนจับคู่เล่าอริยสัจ 4 ของตัวเองให้เพื่อนฟังว่า (1) ปัญหาของฉันคืออะไร (2) สาเหตุของปัญหาคืออะไร (3) สภาพที่ปัญหาหมดไปเป็นอย่างไร (4) ทางออกของปัญหาคืออะไร 

จะทำให้นักเรียนค่อย ๆ เข้าใจมากขึ้นว่านี่คือการเข้าใจทุกข์และการหาทางออกจากทุกข์นั่นเอง มันเป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

หลังจากนักเรียนผลัดกันเล่าจนจบ พระอาจารย์เลือกปัญหาของนักเรียนขึ้นมาสักคนที่สามารถนำมาเล่าเป็นตัวอย่างในชั้นเรียนได้โดยถามความสมัครใจของนักเรียนก่อน 

พระอาจารย์นำตัวอย่างปัญหาของนักเรียนมาสรุปในห้องให้นักเรียนเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วปัญหาที่นักเรียนเขียนมาเป็นโครงสร้างของอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั่นเอง แล้วพระอาจารย์สรุปให้เข้าใจว่าแต่ละข้อคืออะไรบ้าง

ประเด็นสำคัญที่พระอาจารย์เน้นย้ำคือ เราจะมีปัญญารู้แจ้งแค่ไหนในการวิเคราะห์หาทางออกที่ถูกต้อง เพราะถ้าเราวิเคราะห์สาเหตุผิดมันก็นำไปสู่ทางออกที่ผิด แต่ถ้าเราวิเคราะห์สาเหตุที่ถูกต้องเราก็สามารถหาทางออกได้ถูกต้องเช่นกัน การจะวิเคราะห์หาทางออกของปัญหาจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ละคน

พระอาจารย์ให้คำแนะนำว่ากิจกรรมนี้เหมาะสำหรับกับเด็กโต เช่น นักเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย เพราะสติปัญญาของเด็กวัยนี้สามารถวิเคราะห์ปัญหาชีวิตได้ สามารถวิเคราะห์หลักธรรมได้

ส่วนที่ต้องให้นักเรียนมีหลักในการฟังเพราะปัญหาชีวิตเป็นเรื่องอ่อนไหว นักเรียนบางคนอาจไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะเล่าก็ได้ กิจกรรมนี้ครูผู้สอนจึงต้องมีความรอบคอบขึ้นมาอีกนิดนึงถ้าจะต้องให้นักเรียนเล่าปัญหาชีวิตของตนเองให้เพื่อนฟัง ผู้ฟังก็ต้องมีหลักการฟังที่ดีก่อน

กิจกรรมที่มีการนำเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนามาให้นักเรียนได้วิเคราะห์ปัญหาชีวิตอย่างเช่นเรื่องอริยสัจ 4 จะช่วยให้วิชาพุทธศาสนาไม่น่าเบื่ออีกต่อไป นักเรียนจะสามารถเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของอริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

ความทุกข์เหล่านี้ ย่อมเกิดแก่ทุกชีวิต ทั้งปุถุชนทั่วไป และผู้ทรงศีลที่ยังไม่เข้าถึงพระนิพพาน สำหรับปุถุชนทั่วไป คือ ฆราวาสผู้รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 แนวทางแห่งอริยสัจ 4 นี้ จะมีประโยชน์ต่อการดับทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต อาทิ ความทุกข์จากความยากจน ความทุกข์จากถูกดุด่า ความทุกข์จากการสูญเสีย เป็นต้น

อริยสัจ 4 แก้ ปัญหา ชีวิต ได้ อย่างไร

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันใด

9.อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องในวันสำคัญใดทางพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา 10.ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค ซึ่งหลักธรรมนี้มีชื่อว่าอะไร อริยสัจ 4.

อริยสัจ 4 คือ อะไร มี อะไร บ้าง

1) ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2) สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3) นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4) มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์