สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นที่ประเทศใด

Startup คือ บริษัทที่เปิดใหม่จากคนไม่กี่คน ซึ่งที่ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอทีชั้นนำต่างๆ มากมาย ทั้งผู้ที่สนใจเปิดบริษัทใหม่ นักลงทุน จะรวมตัวกันอยู่ที่นี่ โดยบริษัทด้านไอทีชื่อดังหลายแห่ง เช่น Facebook , Instagram ก็เริ่มต้นจากการเป็น Startup มาก่อน (ความหมายในปัจจุบัน ยังรวมถึง ผู้ประกอบการใหม่ ที่ทำธุรกิจแล้วรวยปังๆ รวยเร็วแบบก้าวกระโดด โดยเป็นธุรกิจที่ตอบสนองการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหรือแอพลิเคชั่นใหม่ๆ)

Venture Capital หรือเรียกย่อๆ ว่า VC ซึ่งก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Startup มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งมักเป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร การลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor ซึ่งมักมองภาพของธุรกิจในระดับที่ใหญ่และนอกจากสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว VC ยังให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

Angel Investor มักเป็นนักลงทุนรายอิสระหรือกลุ่มนักลงทุนอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุนในธุรกิจ จึงเสนอเงินที่น้อยกว่า VC เหมาะกับธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก โดย Angel investor มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่เกษียณตัวเองแล้วแต่มีประสบการณ์ในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งจะมีการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจแตงต่างกันไป และ มักจะได้คำปรึกษาและความช่วยเหลือจากนักลงทุนเหล่านี้อย่างต่อเนื่องหรือเมื่อต้องการ

ประเภทของ ธุรกิจ Startup
งาน Startup Thailand 2016 ที่รัฐบาลจัดขึ้น (28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2559) ช่วยจุดประกายให้ผู้ประกอบการที่กำลังหาแนวทางธุรกิจให้มีการพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืนจากองค์ความรู้และแรงบันดาลใจภายในงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นการเร่งการเติบโตและเพิ่มโอกาสของสตาร์ทอัพไทย ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นครั้งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะมีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จำนวนกว่า 200 บูธ และพร้อมหน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจากต่างประเทศจำนวนกว่า 10 บูธ โดยมีการแบ่งโซนการแสดงนิทรรศการสตาร์ทอัพ เป็น 8 ประเภท ประกอบด้วย
1. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรและอาหาร (AgriTech & FoodTech)
2. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสะอาด (Industry 4.0 & CleanTech)
3. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาและการสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ (EdTech & GovTech)
4. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropertyTech)
5. ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งด้านบริการส่วนบุคคล การท่องเที่ยว และความบันเทิง
(Lifestyle : Personal service, TravelTech & Entertainment)
6. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเข้าถึงสินค้า (E-Commerce & Logistics)
7. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงิน (FinTech) และด้านการให้บริการสำหรับธุรกิจ (Service Enhancement)
8. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ (HealthTech)

หลายคนคงได้ยินคำว่า “สตาร์ทอัพ” (Startup) กันมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วทั้งในต่างประเทศและในเมืองไทย ปัจจุบันประเทศไทยก็กำลังผลักดันให้เกิด “สตาร์ทอัพ” ใหม่ๆ เพราะเชื่อว่า “สตาร์ทอัพ” จะเป็นอีกกลไกที่จะช่วยผลักดันประเทศไทยไปสู่ ประเทศไทย 4.0 เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่พยายามขับเคลื่อนเรื่อง “สตาร์ทอัพ” เช่นเดียวกัน แต่บริษัทที่เราเรียกว่า “สตาร์ทอัพ” คืออะไร ต่างกับการเป็นบริษัท “เอส เอ็ม อี” (SME) หรือต่างกับการเป็นเจ้าของกิจการเปิดร้านขายกาแฟอยู่ปากซอยอย่างไรกันแน่

 

Steve Blank  ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสตาร์ทอัพ ให้คำนิยาม startup ไว้ว่า “a startup is an organization formed to search for a repeatable and scalable business model” แปลได้ว่า “สตาร์ทอัพคือกิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจ (business model) ที่ทำซ้ำได้ (repeatable) และขยายตัวได้ (scalable)”

สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นที่ประเทศใด

Steve Blank (https://steveblank.com)

ดังนั้ันหัวใจสำคัญของ “สตาร์ทอัพ” อยู่ที่ “โมเดลธุรกิจ (business model)” ซึ่งก็หมายถึงรูปแบบวิธีการดำเนินกิจการของบริษัทในการสร้างรายได้ เช่น เว็บวงใน (www.wongnai.com) เปิดให้คนมีรีวิวร้านอาหารจนกลายเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการกินอาหารและหารายได้จากการลงโฆษณาของร้านอาหาร (และอาจจะมีอื่นๆตามมาอีก)  ดังนั้นถ้าทำเว็บให้รีวิวสินค้าโดยไม่รู้ว่าจะหาเงินอย่างไรก็ไม่เกิดธุรกิจ

โดยทั่วไปเราจะเห็นว่าโมเดลธุรกิจของสตาร์ทอัพมักจะมีรูปแบบแตกต่างไปจากธุรกิจที่เคยมีมาในอดีต และมักจะมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างธุรกิจ  (โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน ICT) เช่น GRAB taxi ซึ่งเป็น App เรียกแท็กซี่เพื่อแก้ปัญหาของความยุ่งยากในการต้องออกไปรอแท็กซี่ของคนในเอเชีย บริษัทจะได้กำไรจากการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม (แม้ว่าปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีโปรโมชั่นเพื่อลดราคา เพราะยังต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้ติด GRAB เสียก่อน) ซึ่งแม้ว่าแนวคิดไม่ได้ต่างจากการโทรศัพท์เรียกแท็กซี่ผ่านศูนย์อะไรต่างๆ ที่มีอยู่ก่อน แต่การใช้ App บนมือถือเป็นวิถีของคนปัจจุบันมากกว่า

สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นที่ประเทศใด

หรืออย่าง HappyFresh บริการช่วยช้อปสินค้าคุณภาพจากซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ พร้อมบริการส่งให้ถึงมือในเวลาที่สะดวก ก็พยายามเข้ามาตอบโจทย์ของคนเมืองที่ไม่มีเวลาแม้แต่จะไปจ่ายตลาด รวมถึงปัญหาจราจรอย่างที่พบในประเทศไทย หรือแม้แต่อาจจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัยในอนาคต โดยเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ (เช่นเดียวกัน ตอนนี้มีมีโปรโมชั่นไปก่อน ให้คนติด) หรือรวมไปถึงการไปทำดีลพิเศษกับผู้ขาย

 

สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นที่ประเทศใด

 

แต่ Steve Blank เน้นย้ำว่า “สตาร์ทอัพ” ต้องการหาโมเดลธุรกิจที่ repeatable และ scalable นั่นคือโมเดลธุรกิจนั้นสามารถสร้างกำไรได้เรื่อยๆ เพิ่มผู้ใช้ได้เรื่อยๆ (repeatable) และสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้นและกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ (scalable) ซึ่งการจะเติบโตอย่างรวดเร็ว (high growth rate) และกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่อย่างนั้นได้ในปัจจุบันก็คือต้องหาลูกค้าให้มีจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลักษณะของการผ่านระบบออนไลน์ในปัจจุบัน

ตัวอย่างที่เราเห็นกันชัดเจนมากก็อย่างเช่น Facebook ซึ่งเปิดตัวเพียงเมื่อปี 2004 แต่ปัจจุบันมีมูลค่าถึงกว่า  350,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีคนใช้ทั่วโลกกว่า 1900 ล้านคน และมีลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินเพื่อลงโฆษณาอยู่ทั่วโลกเช่นเดียวกัน

 

หรืออย่างกรณีของ GRAB เองจะเห็นได้ว่าเขาเริ่มต้นจากในมาเลเซีย แต่ปัจจุบันก็ขยายไปในประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้โดยในแต่ละประเทศอาจจะมีการปรับรายละเอียดการดำเนินการของธุรกิจไปบ้างตามข้อจำกัดและโอกาสที่แตกต่างกัน

 

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกสตาร์ทอัพจะต้องเป็น scalable startup บางคนอาจจะเข้ามาเริ่มต้นธุรกิจและมีความสุขกับการอยากเป็นเพียง small business startup ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง “สตาร์ทอัพ” ในความหมายที่เราใช้กันในประเทศไทยทุกวันนี้

 

ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ดังๆ มักจะเป็นสตาร์ทอัพในเชิงเทคโนโลยี (tech startup) หรือก็คือพวกที่ใช้เทคโนโลยีด้าน คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ ICT การเขียนซอฟท์แวร์ ระบบเว็บ ระบบ e-commerce อะไรเสียมาก แต่ในขณะเดียวกันสตาร์ทอัพแบบที่อาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาอื่นๆ ก็มีเช่นเดียวกันซึ่งในเว็บไซต์นี้ก็จะได้มีการแนะนำสตาร์ทอัพกลุ่มต่างๆ มาให้รู้จักกันอย่างสม่ำเสมอ