แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก

เช่น ส่วนงานที่เชี่ยวชาญของตัวเอง ถ้าให้รายละเอียด (และพูดให้เข้าใจง่ายเหมาะกับคนที่อยู่ต่างสายกะเรา) คนก็จะจำได้มากขึ้น

Show

หรือพวกกิจกรรมคลายเครียด ถ้าให้เหตุผลหน่อยว่าทำไมทำแบบนั้น ก็จะจดจำง่าย


2.ให้ความสำคัญกับคำพูดของคนก่อนหน้า

เช่น ถ้าคนที่แนะนำตัวก่อนเราพูดถึงกิจกรรมแบบนี้ไปแล้ว เราก็เสริมว่า ของเราก็เหมือน.... เลย การอ้างอิงจะทำให้ทุกคนจำเราง่ายขึ้น และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าเราสนใจฟังคนอื่นนะ


3.พูดชัดๆ

โดยเฉพาะชื่อ เพราะชื่อคนไทยฟังยากสำหรับคนญี่ปุ่น ถ้ามีอะไรอ้างอิงได้ เช่น มาจากภาษาอังกฤษ..... หรือ ชื่อเราแปลว่า...... ก็จะช่วยได้เยอะค่ะ




โดยรวมแล้วก็คือเราต้อง "ใส่ใจคนฟัง" นั่นเองค่ะ!!




+++++++


ต่อไปนี้เป็นความรู้สึกของเราต่อการแนะนำตัว

และปัญหาที่เราพบตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นครั้งเยาว์วัย

เหตุใดเรียนญี่ปุ่น 6 ปีแล้วยังแนะนำตัวสไตล์初級


+++++++


ในความเป็นจริง เรียนภาษาญี่ปุ่นมา 6 ปี การแนะนำตัวเป็นอะไรที่เจอบ่อยมาก

แต่ก็เกลียดมาก


ประหม่ามาก

ยิ่งกว่าจับฉลากหัวข้อแล้วให้ออกไปสปีชสด


เพราะมันคือการพรีเซ้นท์ตัวเองไงล่ะ

นอกจากจะต้องมั่นใจในสกิลภาษาแล้วยังต้องมั่นใจในตัวเองด้วย


แล้วไงล่ะ ปัญหาอยู่ตรงไหน??




---ในส่วนสกิลภาษา---


เราคิดว่าก่อนที่จะพูด หรือเขียนอะไรได้สมูธสวยงามราวNative สิ่งจำเป็นคือประสบการณ์

ยิ่งฟังยิ่งอ่านมากแค่ไหน ก็ยิ่งใช้ได้ดี มีสกิลการพลิกแพลงและคลังศัพท์ + ลดความประหม่า 


...

แล้วไอ้แนะนำตัวเนี่ย เราจะได้ฟังมัน อ่านมัน ที่ไหนเหรอ????

...

ละคร? นิยาย? เพลง? หนังสือพิมพ์? โน้วววว พอลองคิดดูดีๆแล้วเราแทบไม่ได้เห็นมันเลยนี่นา

จะมีก็นิดๆหน่อยๆในรายการวาไรตี้ ....ซึ่งใครจะไปสนใจ =___= (อย่างน้อยก็เรา 5555 มาถึงตั้งหน้าฟังมุขตลกกับจ้องหน้าดารา) 


มันเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในคอนเวอร์เซชั่นนับล้านของภาษาญี่ปุ่น


กว่าจะได้ input อีกทีก็....อาจารย์สั่ง เอ้าาา นิสิตแนะนำตัวจ้า จากนั้นมนุษย์ผู้โชคร้ายก่อนหน้าเรา 2-3 คนก็จะทยอยแนะนำตัว ส่วนเราที่ประหม่าสุดชีวิต ก็ฟังว่าเค้าใช้ประโยคอะไรบ้าง และดัดแปลงเข้ากับตัวเองภายใน 5 วิ


...ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก...


ซึ่งแน่นอนไม่เคยทำได้ถูกใจตัวเอง 55555555555 #เลข5มีน้ำตาซ่อนอยู่




---ในส่วนความมั่นใจ---


การแนะนำตัวต้องพูดชื่อช้าๆชัดๆ ต้องอ้างอิงคนก่อนหน้าเพื่อความน่าสนใจ และเฟรนด์ลี่ ถ้าเป็นไปได้ควรมีงานอดิเรกที่ดึงดูด...


นี่คือสิ่งที่ใครๆสอนเรามาตั้งแต่เริ่มเรียน และเราก็รับรู้ผลของมันได้จากการเฝ้าดูคนอื่นแนะนำตัว


คนที่แนะนำตัวอย่างมั่นใจ นอกจากจะดูเข้าหาง่ายยังดูเก่งด้วย สามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างอิสระ อยากพูดอะไรก็พูด


จะว่ายังไงดี เราว่าสกิลภาษากับความมั่นใจมันเกี่ยวเนื่องกัน (ถ้ามั่นหน้าด้วย +อีก 10 คะแนน)


แพทเทิร์น 1. เก่งภาษา -->  มั่นใจ --> เก่งภาษายิ่งขึ้นผ่านการใช้


หรือความจริงแล้วความมั่นใจจะมาก่อน??


แพทเทิร์น 2. มั่นใจ-->ถูกผิดช่างมันขอพูดก่อน-->เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองและเก่งขึ้น


ซึ่งมันเป็นไปได้ทั้งสองทางแล้วแต่คน เพื่อนที่เป็น Extrovert มักทำได้ดีในสนามรบ自己紹介


ส่วนเราผู้ขี้อายก็อึนๆ กันต่อไป



แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ยังไงดีล่ะ??



เพราะ自己紹介คือการเป็นตัวของตัวเอง

เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเอง ถ้าเราเป็นIntrovert


แพทเทิร์น 1 และ 2 ข้างบนไม่มีอะไรดีกว่ากัน แต่แค่เราเป็น 1 เราเลยรู้สึกว่า 2 มันมีสเน่ห์ มันเท่

เพราะมันเป็นสิ่งที่เราไม่มีไง


(ณ จุดนี้รู้สึกภาษาไทยตัวเอง断定หนักมาก อยากใส่ คิดว่า.... เราว่า.... ไม่ใช่เหรอ... ลงไปตามความเคยชิน 5555 แต่เดี๋ยวยาว)


งั้นเราเดินตามแพทเทิร์น 1 สร้างความมั่นใจให้ตัวเองก่อนลงสนาม


1.จดจำคำพูดของเพื่อนๆในการแนะนำตัว (ไม่ใช่ฟังผ่านๆด้วยความประหม่าเหมือนทุกวันนี้555)

2.ถ้ามีโอกาสฟังของคนญี่ปุ่นก็ฟังอย่างตั้งใจ

3.ฝึกด้วยตนเองหน้ากระจก หรือกับหนูตะเภาที่บ้าน 

4.อย่ากดดันตัวเอง เราต้องอีซี่ๆ 


ประมาณนี้ที่คิดออกค่ะ....


แง บล็อกยาวเกินไป OTL


ใกล้จะจบแล้วค่ะๆ



ทิ้งท้ายไว้ด้วย自己紹介ฉบับ "แก้ไขอย่างใจเย็น" แล้ว


皆さん。初めまして、8です。ニックネームはミント、英語のM-I-N-Tのミントです。日本語の勉強を始めて6年になりました。これからも頑張って続けたいと思っています。

今は日本語の文法について研究しています。タイ人の学生たちにとってどんなものが難しいかを考え、彼らの勉強がもっと楽で楽しくなるように、研究を進めています。将来は日本語教師になりたいです。今のタイでは、日本文化に興味を持ったり、仕事のためだったり日本語を勉強している学生がとても多くて、彼らの勉強がスムーズに行けるようにサポートしていきたいと思っています。

ทุกวันนี้ หลายๆ คนอาจจะเจอสถานการณ์ที่ทำให้ต้องทำความรู้จักกับผู้คนใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ชมรม หรือแม้กระทั่งวันแรกของการทำงาน ซึ่งก็จำเป็นต้องใช้รูปแบบการแนะนำตัวที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสถานการณ์ด้วย และโดยส่วนใหญ่ก็มักจะต้องเน้นเรื่องการให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวเอง เพื่อที่จะให้คนอื่นพอเห็นภาพว่าคุณเป็นใคร

แต่หากเป็นการแนะนำตัวตอนสมัครงานก็จะมีเดิมพันสูงกว่าสถานการณ์อื่นเล็กน้อย เนื่องจากต้องเน้นทั้งการอธิบายให้ฝ่ายนายจ้างได้รู้ว่าคุณเป็นใคร มาจากไหน พร้อมกับใช้โอกาสนี้ในการกำหนดแนวทางสำหรับบทสนทนาที่เหลือ และสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายระหว่างตัวคุณกับผู้สัมภาษณ์ ถึงแม้จะเป็นเวลาเพียงไม่กี่นาทีในช่วงต้นๆ แต่การแนะนำตัวนี้จะเป็นตัวตัดสินความประทับใจที่ผู้สัมภาษณ์มีต่อคุณ และอาจส่งผลต่อผลของการสัมภาษณ์ได้เลยทีเดียว

ข้อมูลที่ควรอยู่ในการแนะนำตัวของคุณ

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก
PIXTA

การแนะนำตัวถือเป็นด่านแรกของการสัมภาษณ์งานซึ่งปกติมักจะใช้เวลาสั้นๆ เพียง 1 – 2 นาทีเท่านั้น เราจึงอยากแนะนำให้เลือกข้อมูลอย่างรอบคอบ โดยเน้นเฉพาะข้อมูลที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อที่จะได้แนะนำตัวให้จบภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

องค์ประกอบสำคัญ:

  • การกล่าวทักทาย
  • ชื่อเต็ม
  • ชื่อมหาวิทยาลัย คณะ และเอกที่คุณเรียนจบมา
  • กิจกรรมจิตอาสา งานพิเศษตอนเป็นนักศึกษา (สำหรับบัณฑิตจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน)
  • ประสบการณ์การทำงาน
  • ทักษะ ปริญญาบัตร ความสามารถทางภาษาต่างๆ
  • ลักษณะบุคลิกภาพของตนเอง
  • กล่าวจบ

นอกจากนี้ อย่าลืมสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง “การแนะนำตัว” (Jikoshokai) และ “การนำเสนอความสามารถของตนเอง” (Jiko PR) ด้วย

การแนะนำตัว เป็นการบอกข้อมูลพื้นฐานซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวคุณได้ ในขณะที่การนำเสนอความสามารถนั้นเป็นการบอกภาพรวมของจุดแข็งและทักษะของคุณที่พิสูจน์ให้เห็นว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ เมื่อแนะนำตัวเสร็จแล้ว ผู้สัมภาษณ์บางคนอาจขอให้คุณนำเสนอความสามารถของตนเองเพิ่มเติมด้วย และนี่ก็คือช่วงเวลาที่คุณสามารถนำเสนอจุดแข็งของตัวเองได้อย่างสบายใจ

เคล็ดลับเล็กๆ ที่จะทำให้การแนะนำตัวของคุณน่าประทับใจยิ่งขึ้น

1. อย่าลืมประโยคทักทายก่อนและหลังแนะนำตัว

ก่อนจะเริ่มแนะนำตัวเอง คุณควรเกริ่นด้วยคำทักทายหรือวลีที่แสดงถึงความรู้สึกขอบคุณ ดังนั้น แทนที่จะพูดออกไปในทันทีว่า “ฉันชื่อ …. ” คุณสามารถเริ่มต้นด้วยถ้อยคำง่ายๆ อย่าง 本日お時間をいただきありがとうございます (ขอบคุณสำหรับเวลาของคุณในวันนี้) ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่ถ่อมตัวและสุภาพ

จากนั้น เมื่อจบการแนะนำตัวแล้ว ก็สามารถลงท้ายด้วยคำว่า 本日は宜しくお願いします เพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณแนะนำตัวเสร็จแล้ว อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนสุภาพและมีความเป็นมืออาชีพด้วย

2. ระบุชื่อของคุณให้ชัดเจน โดยเฉพาะเวลาที่คุณไม่มีชื่อภาษาญี่ปุ่น

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก

ชื่อในภาษาต่างประเทศมักจะยาวและออกเสียงยากสำหรับคนญี่ปุ่น ดังนั้น หลังจากที่คุณบอกชื่อเต็มไปแล้ว ก็ควรพูดว่า ○○をお呼びください (“กรุณาเรียกผม/ดิฉันว่า …”) เสมอ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์สามารถเรียกคุณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้บรรยากาศดูเป็นกันเองมากยิ่งขึ้นและลดช่องว่างระหว่างตัวคุณกับผู้สัมภาษณ์ได้อีกด้วย

3. เชื่อมโยงความสนใจหรืองานอดิเรกเข้ากับสิ่งที่คุณทำแทนที่จะพูดออกไปเฉยๆ

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก
PIXTA

เมื่อพูดถึงสิ่งที่คุณสนใจ เราขอแนะนำให้คุณเชื่อมโยงงานอดิเรกของคุณเข้ากับกิจกรรมที่คุณทำอยู่ ดังนั้น แทนที่จะพูดออกไปตรงๆ ทื่อๆ ว่า “ฉันชอบเล่นกีฬา” หรือ “ฉันชอบเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์” คุณก็อาจจะพดว่า “ฉันชอบเล่นกีฬาและเพิ่งเข้าร่วมชมรมแบดมินตันที่อยู่ใกล้ๆ กับที่พักของฉัน” หรือ “ฉันมีความสนใจในคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่เด็ก เลยเป็นเหตุผลที่ฉันเลือกเรียนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อเข้ามหาวิทยาลัย”

การอ้างอิงเรื่องราวหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานอดิเรกของคุณ จะช่วยให้คุณถ่ายทอดเรื่องราวของสิ่งที่สนใจให้กับผู้สัมภาษณ์ได้ และยังช่วยให้พวกเขามีเนื้อหาในการต่อบทสนทนากับคุณได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย

ควรใส่ความสนใจส่วนตัวหรืองานอดิเรกลงไปในการแนะนำตัวไหม?

หลายคนๆ อาจไม่แน่ใจว่าควรจะใส่ความสนใจส่วนตัวหรืองานอดิเรกลงไปในการแนะนำตัวด้วยไหม ซึ่งเรื่องนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่คุณสมัครและบุคลิกภาพของคุณ

หากคุณมีความสนใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัคร เช่น คุณเป็นคนรักการอ่านและกำลังเข้าสัมภาษณ์งานตำแหน่งบรรณาธิการในสำนักพิมพ์ คุณก็ควรพูดถึงความสนใจของตนเองเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ นอกจากนี้ หากคุณมีความสนใจด้านอื่นๆ ที่คิดว่าสามารถใช้สร้างความประทับใจ หรือสร้างบทสนทนาเชิงบวกระหว่างคุณกับผู้สัมภาษณ์ได้ก็ควรเสริมเข้าไปในการแนะนำตัวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้คุณหลีกเลี่ยงการพูดถึงงานอดิเรกที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวงาน เรื่องทั่วไปที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกับการกระทำของคุณได้ รวมถึงเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ในการต่อบทสนทนากับผู้สัมภาษณ์

4. สามารถแทรกเหตุผลในการสมัครงานเข้าไปในการแนะนำตัวได้

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก
PIXTA

โดยปกติแล้ว ผู้สัมภาษณ์จะถามถึงเหตุผลการสมัครของคุณในระหว่างการสัมภาษณ์ แต่ก็มีบางกรณีที่คุณสามารถเพิ่มเนื้อหาส่วนนี้ลงไปในการแนะนำตัวอย่างเป็นธรรมชาติได้ เช่น ” ฉันเรียนเอกการออกแบบเว็บไซต์ที่วิทยาลัยมา จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันมองหางานในด้านนี้ ฉันสามารถใช้ทักษะและความรู้ของฉันในการออกแบบเว็บไซต์ที่น่าสนใจได้” เป็นต้น

แต่จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องลงลึกถึงเหตุผลในการสมัครงานที่นี่ เพราะผู้สัมภาษณ์มักจะถามคำถามนี้ในภายหลังอยู่แล้ว อีกทั้งการพูดถึงรายละเอียดสำคัญตอนแนะนำตัวอย่างชาญฉลาดยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณจะเป็นพนักงานที่ตั้งใจทำงาน มีความรู้ และกระตือรือร้นในอนาคตด้วย

5. นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงกับงานที่คุณสมัครเท่านั้น

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก
pixta.jp

การแนะนำตัวนั้นถือเป็นโอกาสที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้จักคุณ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องบอกเล่าประสบการณ์ทั้งหมดของคุณออกไป และอันที่จริงแล้ว คุณก็ไม่ควร ระบุทุกอย่างที่คุณเคยทำในอาชีพการงานของคุณลงไปด้วย เราขอให้คุณเลือกเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดซึ่งผู้สัมภาษณ์จำเป็นจะต้องรู้และต้องการรู้เกี่ยวกับตัวคุณแทน

หากคุณเป็นคนที่ทำงานมาหลายปีและมีประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน ก็ขอให้คุณแนะนำเฉพาะประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานปัจจุบันที่คุณสมัครเท่านั้น เพราะการพูดเกี่ยวกับงานที่คุณเคยทำทั้งหมดไม่ได้ช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์เลย มันเพียงแต่จะทำให้การแนะนำตัวของคุณยาวขึ้นและดูไร้ความน่าสนใจเท่านั้นเอง

หากคุณเพิ่งสำเร็จการศึกษาและยังมีประสบการณ์ไม่มากนัก ก็สามารถมุ่งความสนใจไปที่งานอดิเรกและกิจกรรมที่คุณเข้าร่วมตอนเป็นนักศึกษาแทนได้ เพื่อแสดงให้ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นว่าคุณมีคุณสมบัติและความสนใจบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับงาน

ตัวอย่างเช่น หากคุณไปสัมภาษณ์งานในบริษัทเขียนโปรแกรมเกม ก็ควรพูดเกี่ยวกับความสนใจในการเล่นเกมและโปรเจกต์การเขียนโค้ดที่คุณได้ทำในสมัยเรียน หรือหากคุณสมัครงานที่ต้องการคนที่มีความคล่องแคล่วและกระตือรือร้นก็สามารถพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมอาสาสมัครหรือประสบการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น

6. ใส่ใจกับบุคลิกและภาษากายที่แสดงออกมา

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก
pixta.jp

แน่นอนว่าเนื้อหาของการแนะนำตัวและวิธีที่คุณถ่ายทอดออกมาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ในขณะเดียวกัน ท่านั่งและการแสดงออกทางสีหน้าของคุณก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น อย่าลืมทำสิ่งต่อไปนี้ในขณะที่คุณกำลังสัมภาษณ์ด้วย:

สบตาผู้สัมภาษณ์: การสบตามีความสำคัญพอๆ กับการสื่อสารด้วยวาจา การสบตาในขณะที่คุณกำลังพูดจะแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณกำลังพูดอย่างจริงจังและมีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์อย่างเต็มที่ เพราะในการทำงานจริง ทุกคนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานในระดับหนึ่ง ดังนั้น การแสดงให้เห็นว่าคุณมีความเป็นตัวของตัวเองและเป็นนักสื่อสารที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

รอยยิ้ม: พยายามรักษาสีหน้าของคุณให้ดูนุ่มนวลและยิ้มแย้มเข้าไว้ เพื่อลดระยะห่างระหว่างคุณกับผู้สัมภาษณ์ และเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการสัมภาษณ์ด้วย

นั่งตัวตรงและผ่อนคลาย: ห้ามถูมือไปมาหรือนั่งพิงพนักเก้าอี้ระหว่างสัมภาษณ์งานเด็ดขาด พยายามนั่งหลังตรงแต่ไม่ต้องเกร็ง และรักษาท่าทางที่ผ่อนคลายแต่ตื่นตัวเข้าไว้ นี่จะแสดงถึงความมั่นใจและความเป็นมืออาชีพของคุณได้

7. เรียนรู้จากตัวอย่างการแนะนำตัวในภาษาญี่ปุ่น

แนะ นํา ตัว ภาษาญี่ปุ่น งานอดิเรก
pixta.jp

ตัวอย่างการแนะนำตัวเองสำหรับบัณฑิตจบใหม่

本日は貴重なお時間をいただき、ありがとうございます。
○○大学○○学部4年の△△と申します。
大学時代は、フットサルサークルの活動に力を入れました。サークルでは代表を務め、日々の練習・試合の運営から、新入生の勧誘など、幅広い活動に取り組みました。大人数の組織をまとめ上げる経験にやりがいを感じてきたので、そういった長所を活かせる仕事を志しています。
本日は宜しくお願いします。

ขอขอบคุณที่สละเวลาอันมีค่ากับการสัมภาษณ์ดิฉัน/ผมในวันนี้
ดิฉัน/ผมชื่อ ○○ เป็นนักศึกษาปี 4 จากมหาวิทยาลัย ○○ คณะ ○○
ตอนเป็นนักศึกษา ดิฉัน/ผมได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับชมรมฟุตซอลอย่างเต็มที่ ดิฉัน/ผมมีตำแหน่งเป็นประธานชมรม ซึ่งคอยจัดการระบบต่างๆ เช่น การฝึกประจำวัน การจัดการแข่งขัน และการหาสมาชิกใหม่ ประสบการณ์ในการจัดระบบให้คนกลุ่มใหญ่ทำให้ดิฉัน/ผมรู้ว่าตัวเองว่าต้องการหางานที่จะสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้
ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับเวลาของคุณในวันนี้
本日は貴重なお時間をいただき、ありがとうございます。
○○大学○○学部4年の△△と申します。
私は大学時代、どこの企業でも活躍できる力をつけたいと思い、ベンチャー企業での営業インターンに取り組んでいました。インターンとして学んだ営業の力や、学生リーダーとしてチームを率いた経験を活かし、御社で活躍したいと思っています。
本日は宜しくお願いします。

ขอขอบคุณที่สละเวลาอันมีค่ากับการสัมภาษณ์ดิฉัน/ผมในวันนี้
ดิฉัน/ผมชื่อ ○○ เป็นนักศึกษาปี 4 จากมหาวิทยาลัย ○○ คณะ ○○
ตอนเป็นนักศึกษา ดิฉัน/ผมต้องการพัฒนาทักษะที่จะเป็นประโยชน์กับบริษัททุกประเภท ดังนั้น ดิฉัน/ผมจึงไปฝึกงานตำแหน่งพนักงานขายในบริษัทที่เพิ่งเปิดใหม่ ดิฉัน/ผมหวังว่าทักษะการขายที่ฉันได้รับจากการฝึกงานและประสบการณ์การเป็นผู้นำที่ดิฉัน/ผมฝึกฝนในตอนเป็นนักศึกษาจะช่วยให้ดิฉัน/ผมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบริษัทนี้ในอนาคต
ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับเวลาของคุณในวันนี้

ตัวอย่างการแนะนำตัวสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างมืออาชีพ

本日は貴重なお時間をいただき、ありがとうございます。
○○と申します。○○大学を卒業後、△△システム開発会社でウェブシステム開発を4年間担当していて、金融系のシステム開発をしていました。人員増員の顧客への提案と実績が認められ、小集団をまとめるリーダーになりました。リーダーの仕事は設計書、コーディングのレビュー 進捗管理などです。私は以前より組み込み系開発に興味を持っていました。このたび御社が組み込み系開発のリーダー職を募集されているのを知り、応募させてもらいました。リーダーの経験は1年間でありますが、これまでの開発経験を活かし、利益を上げるために働きたいと考えています。
どうぞよろしくお願い致します。

ขอขอบคุณที่สละเวลาอันมีค่ากับการสัมภาษณ์ดิฉัน/ผมในวันนี้
ดิฉัน/ผมชื่อ ○○ หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ○○ ดิฉัน/ผมก็ได้ทำงานในบริษัทพัฒนาระบบชื่อ △△ เพื่อทำการพัฒนาระบบสำหรับระบบการเงินเป็นเวลา 4 ปี ดิฉัน/ผมได้รับการยอมรับในความสำเร็จจากการเพิ่มจำนวนลูกค้าและได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หน้าที่หลักของดิฉัน/ผมในฐานะหัวหน้าทีมคือการสร้างข้อกำหนดในการออกแบบ (Design Specification) การตรวจดูโค้ด (Code Review) และบริหารจัดการความก้าวหน้าของทีม ดิฉัน/ผมมีความสนใจในการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System Development) ดังนั้น เมื่อดิฉัน/ผมได้ยินว่าบริษัทของคุณกำลังรับสมัครหัวหน้าทีมในการพัฒนาระบบฝังตัวจึงได้ทำการยื่นขอสมัครทันที ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์ในฐานะหัวหน้าทีมเพียง 1 ปี แต่ดิฉัน/ผมก็เชื่อว่าจะสามารถทำงานนี้ได้อย่างเต็มที่ และจะพยายามใช้ทักษะทั้งหมดที่มีเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท
ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับเวลาของคุณในวันนี้

ยิ่งฝึกยิ่งคล่อง!

ในบทความนี้ เราได้แนะนำเคล็ดลับบางส่วนที่จะทำให้คุณสามารถแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ดีและน่าประทับใจยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพียงอ่านบทความอย่างเดียวคงไม่พอ ดังนั้น อย่าลืมฝึกพูดให้คล่องปาก และฝึกฝนซ้ำๆ ก่อนการสัมภาษณ์แต่ละครั้งเพื่อที่คุณจะได้ไม่กังวลว่าจะลืมบทพูดด้วย

สุดท้ายนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสัมภาษณ์ก็คือ การแสดงความจริงใจต่อผู้สัมภาษณ์และความพยายามในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกโอกาส เราขอให้คุณโชคดีและสนุกไปกับการหางานในญี่ปุ่น!

Title photo credit: PIXTA

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !