Operating Itinerary ตัวอย่าง

บริษัทนำเที่ยวทุกบริษัทควรจะมีการวางแผนทางธุรกิจ เพราะการวางแผนงาน เปรียบเสมือนแผนที่นำทางให้บริษัทก้าวเดินไปในทิศทางที่กำหนดไว้ เนื่องจากการวางแผนเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติได้พอรู้ถึงข้อดี ข้อด้อย และโอกาสในการเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเส้นทางนั้น ซึ่งย่อมจะดีกว่าที่จะก้าวไปโดยไม่ทราบทิศทางที่แน่นอน นอกจากนี้ การวางแผนเตรียมดำเนินการทุกอย่างตามแผนที่กำหนด นับตั้งแต่การจัดโปรแกรมนำเที่ยวการติดต่อธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อนึ่งในการจัดทำแผนการตลาด และการส่งเสริมการขาย ยังต้องอาศัยแผนหลักที่ทางบริษัทวางไว้ด้วย

ปัจจัย 3 ประการ ที่ทำให้บริษัทนำเที่ยวประสบความล้มเหลวในธุรกิจ คือ

1. การวางแผนที่ไม่ถูกต้อง

2. ขาดการวางแผนการบริหารงาน

3. ขาดการวางแผนทางการเงิน

ดังนั้น การวางแผนจึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจการจัดนำเที่ยวแต่ละปี หมายถึง การผลิตสินค้า ซึ่งได้แก่ โปรแกรมนำเที่ยวต่างๆ ที่บริษัทจัดทำขึ้นเพื่อขายให้แก่ลูกค้า ถ้าสินค้าที่จัดขึ้นไม่ได้วางแผนอย่างถูกต้องและขาดการพัฒนา เพราะบริษัทขาดการตั้งวัตถุประสงค์ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์จากการท่องเที่ยวน้อย วิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดนำเที่ยว คือ ต้องมีการวางแผนที่ดี การวางแผนเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถมาดำเนินการ เพราะนั่นหมายถึงงานอื่นๆ ที่จะตามมาจากการวางแผน เช่น การจัดโปรแกรม การเขียนรายการนำเที่ยว การส่งเสริมการขายให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

เฟย์ (Fay, 1992 : 73-80) ได้อธิบายถึงขั้นตอนการวางแผน สรุปได้ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์สถานการณ์

ในการวางแผนธุรกิจสำหรับนักวางแผนการวิเคราะห์สถานการณ์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ นักวางแผนจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ประวัติความเป็นมาของบริษัท การดำเนินงาน และนโยบายของบริษัทว่า อยู่ตรงจุดใด เมื่อทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว จากนั้นจึงวิเคราะห์สถานการณ์การจัดนำเที่ยวที่บริษัทนำเสนอขายต่อลูกค้า ตลอดจนวิเคราะห์ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ข้อดี ข้อเสีย ของการจัดนำเที่ยวในแต่ละปี ปัจจัยอื่นที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ได้แก่ การพิจารณาสภาพพื้นฐานของลูกค้าโปรแกรมนำเที่ยว และราคา ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์รายการนำเที่ยว ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ โดยสำรวจว่า รายการใดที่ลูกค้าให้ความสนใจมาก ปานกลาง น้อย แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลเพื่อพัฒนาการจัดนำเที่ยว นอกจากนี้ จะต้องวิเคราะห์ถึงความแตกต่างของลูกค้า ในด้านความเหมือน ความชอบ และพฤติกรรมการซื้อ

ขั้นตอนที่ 2 : วิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง

การยึดหลักความสำเร็จทางธุรกิจที่ว่า “รู้เขา รู้เรา” ยังเป็นสิ่งจำเป็น ต้องรู้ว่าบริษัทอยู่ระดับใด และบริษัทอื่นที่อยู่ระดับเดียวกัน มีบริษัทใดที่เป็นคู่แข่ง และแข่งขันในด้านใด ระดับการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน ต้องวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งในการดำเนินงานของเรา ในส่วนที่คล้ายคลึงกับบริษัทอื่น เช่น จุดหมายปลายทางของการเดินทาง ช่วงเวลาของการจัด ราคาบริการท่องเที่ยว ซึ่งจากการวิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง จะทำให้ได้ขัอมูลเพื่อเป็นแนวทางในการวางยุทธศาสตร์การจัดนำเที่ยวได้ เช่น การแนะนำจุดหมายปลายทางใหม่ เทคนิคการจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package tour) หรือการกำหนดราคาบริการท่องเที่ยว เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : พิจารณาเพิ่มการขาย

นำข้อมูลที่เป็นข้อเดินและข้อบกพร่อง ที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้ง 2 ขั้นตอน มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงยอดการขาย ในแง่ของรายการนำเที่ยว จำนวนลูกค้า หรือเทคนิคการขาย ซึ่งต้องคำนึงถึง ฤดูการท่องเที่ยว เป็นประการแรกโดยเป็นการพิจารณาถึงฤดูกาลกับจุดหมายปลายทาง ทำอย่างไรที่จะพยายามเพิ่มการผลิตในช่วงนอกฤดูกาล เพราะในช่วงฤดูการท่อง ยอดการขายจะสูงทำให้มีรายได้มาก แต่การจัดนำเที่ยวช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว ยอดการขายจะสูง ทำให้มีรายได้มาก แต่การจัดนำเที่ยวช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวก็จะมีส่วนช่วยให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นและการติดต่อกับธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องจะไม่ลำบากเหมือนช่วงฤดูการท่องเที่ยว วิธีที่ดีที่สุด

คือการจัดการท่องเที่ยวในช่วงนอกฤดูกาลในราคาที่ถูก เพื่อให้พนักงาน ผู้นำเที่ยว และคนขับรถ มีงานทำ (ในกรณีที่บริษัทมีรถเป็นของตนเอง) และบริษัทมีรายได้ตลอดปี ถึงแม้ว่ารายได้จะน้อยกว่าในช่วงฤดูการท่องเที่ยว แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีรายได้ นอกจากนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับจุดหมายปลายทางหรือแหล่งท่องเที่ยวที่จะสามารถมีลูกค้าตลอดปี ดังนี้ การจัดนำเที่ยวช่วงนอกฤดูกาล จะช่วยให้การวางแผนทรัพยากรบุคคลและการวางแผนการเงิน และบริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ส่วนประการที่สองได้แก่ การเพิ่มกำไร การที่บริษัทจะมียอดขายมาก และสามารถทำกำไรได้มากหรือน้อยขึ้นกับความต้องการ และความนิยมของลูกค้าที่มีต่อบริษัท จึงต้องพิจารณาถึงลูกค้า เป้าหมายว่า เป็นใคร มีความต้องการอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการจัดการ การกำหนดราคา และการปรับปรุงรายให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า เป้าหมายโดยอาจจะยกเลิกรายการที่ไม่เป็นที่นิยม และทำกำไรน้อย

ขั้นตอนที่ 4 : พิจารณาหาตลาดเป้าหมาย

พิจารณาจากตลาดที่มีความต้องการสินค้าชนิดต่างๆ ที่บริษัทจัดทำขึ้น โดยดูจากตลาดเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มที่ให้ความสนใจ

ขั้นตอนที่ 5 : พัฒนาแนวทางการติดต่อสื่อสาร

พิจารณาถึงแนวทางในการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ที่จะให้ไปถึงตลาดเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการพิจารณาหาตลาดใหม่ด้วย ในการติดต่อสื่อสารเพื่อการขายสินค้า สามารถทำได้หลายแนวทาง :

1. ประชาสัมพันธ์ : คำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชน

2. เผยแพร่ : เป็นการบอกกล่าวผลผลิตของบริษัท โดยการพิมพ์เผยแพร่

3. โฆษณา : โฆษณาทางสื่อต่างๆ รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือ นิทรรศการทางการท่องเที่ยว

4. ทางไปรษณีย์ : ติดต่อโดยตรงกับลูกค้าทางไปรษณีย์

5. ขายโดยตรง : เป็นการขายหน้าร้านหรือขายทางโทรศัพท์

ขั้นตอนที่ 6 : ติดตามและประเมินผล

ควรมีการติดตามผลของการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง รวมถึงการประเมินผลแต่ละปีในด้านต่างๆ ดังนี้

- เขตภูมิภาค และจุดหมายปลายทางใด ที่บริษัทจัดได้ประสบผลสำเร็จ

- เขตภูมิภาค และจุดหมายปลายทางใดที่บริษัทอื่นๆ หรือบริษัทคู่แข่งประสบผล สำเร็จ

- รายการไหนที่ทำกำไรมาก-น้อย ตลอดจนความนิยมของลูกค้า มาก-น้อย เพียงใด

- ตลาดไหนที่ควรจะเจาะเป็นพิเศษ

- จุดหมายปลายทางใดที่ควรจะพัฒนาใน 2-3 ปี ข้างหน้า โดยอาจมีข้อเสนอแนะให้จัดจุดหมายปลายทางใหม่ให้เข้ากับลูกค้าใหม่ และกิจกรรมใหม่

การจัดทำแผนระยะสั้นและระยะยาว

การวางแผนควรจะมีการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว

การจัดทำแผนระยะยาว ควรจัดวางแผนในช่วง 5-10-20 ปี เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาบริษัทไปในทิศทางที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาการจัดการ และการพัฒนาคุณภาพ และบริการ ในการวางแผนระยะยาวนี้จะมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาโปรแกรมนำเที่ยว จะพิจารณาตามความสนใจของกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย เช่น ลูกค้าบางกลุ่มสนใจการท่องเที่ยว ชมความงามตามธรรมชาติ ทางทะเล หรือความงามของทุ่งหญ้า ภูเขา ดอกไม้ ส่วนบางกลุ่มจะสนใจการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นักท่องเที่ยวบางกลุ่มอาจจะสนใจไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เพียงเพื่อซื้อของเท่านั้น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจซื้อบริการมักจะเป็นคนที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านต่างๆ เช่น

- เป็นคนที่มีอาชีพเหมือนกัน

- มีงานอดิเรกเหมือน

- เป็นเพื่อนหรือรู้จักกัน

- อายุ เพศ หรือวัย ใกล้เคียงกัน

- โสด แต่งงาน หรือม่ายเหมือนกัน

- มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน

- มีประสบการณ์การเดินทางคล้ายกัน

- ไม่รู้จักกันเลย

การวางแผนระยะสั้น การวางแผนจัดนำเที่ยวในแต่ละปี จะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

1. ประเภทการจัดนำเที่ยว : บริษัทนำเที่ยวต้องมีนโยบายในการจัดนำเที่ยวว่า จะจัดนำเที่ยวประเภทใดบ้าง เช่น ประเภทรับนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ หรือประเภทจัดนำเที่ยวให้นักท่องเที่ยวไทยเที่ยวภายในประเทศหรือเที่ยวต่างประเทศ

2. ภูมิภาค/จุดหมายปลายทาง : มุ่งจัดภูมิภาค ยุโรป เอเซีย หรืออเมริกา เป็นต้น โดยเน้นหนักประเทศใดบ้าง ถ้าเป็นภายในประเทศมุ่งเน้นภาคหรือจังหวัดใดบ้าง

3. วัตถุประสงค์ : ในการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้งควรจะวางวัตถุประสงค์ของการจัดแต่ละครั้งว่ามีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักท่องเที่ยวได้อะไรบ้าง เช่น เพื่อให้นักเท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ต่างๆ เป็นต้นว่า สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถานที่สวยงามตามธรรมชาติ หรือเพื่อให้มีโอกาสได้ซื้อของ หรือเพื่อให้ได้มีโอกาสลองรับประทานอาหารประจำท้องถิ่นนั้นๆ หรือ เพื่อให้มีโอกาสได้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่น หรือเพื่อให้ได้มีโอกาสเล่นกีฬาฤดูหนาว หรือชมกีฬา เป็นต้น เพราะถ้าวางวัตถุประสงค์ในการจัดนำเที่ยวไว้แล้ว การจัดต้องสนองตอบวัตถุประสงค์ที่วางไว้

4. ช่วงเวลาของการจัด : ในการจัดนำเที่ยวจะจัดกี่ครั้งในช่วงใดบ้าง ใช้ระยะเวลากี่วัน ต้องพิจารณาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ของสถานที่ที่จะไป ประกอบกับเวลาว่างของนักท่องเที่ยว เช่น ช่วงปิดภาค หรือช่วงหยุดยาว 4 วัน เพราะถ้าจัดเวลาไม่สอดคล้องกันก็อาจจะขายไม่ได้ ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวยุโรปนิยมมาเที่ยวประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม เพราะต้องการหลีกหนีจากอากาศที่หนาวเย็น และประเทศไทยอากาศไม่ร้อนมาก แต่ถ้าจะจัดให้นักท่องเที่ยวไทยไปชมดอกทิวลิปบานที่เนเธอร์แลนด์ ก็ต้องจัดในช่วงเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม เพราะระยะนั้นเป็นช่วงที่ดอกทิวลิปบานและเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดภาคฤดูร้อน ผู้ปกครองอาจมีเวลาพาบุตรหลานเที่ยว และเป็นช่วงฤดูร้อนที่คนไทยอยากหลบลมร้อนไปเที่ยวเมือง หนาว และช่วงนั้นยุโรปเป็นฤดูใบไม้ผลินักท่องเที่ยวยังไม่มีมากเหมือนช่วงฤดูร้อน คือ ระหว่างเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม ความสะดวกในด้านการบริการของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ยังมีมากกว่าช่วงฤดูร้อน ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า และสถานที่น่าสนใจต่างๆ หรือการไปดูพระอาทิตย์เที่ยงคืนที่ประเทศในแถบสแกดิเนเวีย ต้องไปในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม จึงจะเป็นพระอาทิตย์เที่ยงคืน นอกจากนี้จำนวนวันที่จะใช้ในการเดินทาง ต้องพิจารณาจากจำนวนจุดหมายปลายทางที่จะแวะและสถานที่ที่จะเยี่ยมชม ระยะทาง แต่อย่างไรก็ตาม การจัดไม่ควรใช้เวลานานเกิด 3 สัปดาห์ เพราะนักท่องเที่ยวจะมีปัญหาด้านอารมณ์ อันเนื่องมาจากการเหน็ดเหนื่อยจาการเดินทาง และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

5. ความคาดหวังของลูกค้า : ลูกค้าหวังจะได้รับบริการที่ต้องการ เช่น ความสนุก เป็น ซึ่งบริษัทนำเที่ยวจะต้องอธิบายความหมายของคำว่า “สนุก” ได้ เพื่อจะจัดได้ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้า และเมื่อกลับจากการท่องเที่ยวผลที่จะคุ้มกับที่เสียเงินหรือไม่ สนุก ในที่นี้หมายถึง

- ได้รับบริการที่ดี

- พักผ่อนเต็มที่

- กินอาหารอร่อย

- ซื้อของถูกใจ

- เห็นสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ

- มีเพื่อนใหม่

- ได้ความรู้ (ความบันเทิง)

6. ลูกค้าเป้าหมาย : พิจารณาถึงบุคคลที่สามารถท่องเที่ยวได้เป็นบุคคลใด มีอาชีพอะไร ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เพื่อจะได้จัดได้ถูกต้องตามงบประมาณของลูกค้า ซึ่งสามารถศึกษาได้จากผู้ที่เคยใช้บริการของบริษัทนำเที่ยว เพื่อให้ทราบความต้องการทางด้านการท่องเที่ยว เช่น ต้องการสัมผัสธรรมชาติ อาบแดด สิ่งบันเทิงเริงรมย์ เยี่ยมชมสถานที่ เป็นสิ่งแปลกๆ ใหม่ หรือซื้อของ เป็นต้น

7. กิจกรรม : จะจัดกิจกรรมเช่นไรให้สอดคล้องกับความสนใจของลูกค้า เพราะความแตกต่างกันของลูกค้า อาจต้องการประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะไปจุดหมายปลายทางเดียว และในขณะเดียวกันต้องจัดให้เหมาะกับวัยของลูกค้า

8. ปริมาณการจัดนำเที่ยว : วางแผนกกำหนดจำนวนโปรแกรมนำเที่ยวที่จะจัดแต่ละปี โดยแยกตามประเภทต่างๆ

การจัดนำเที่ยวต้องมีการวางแผนประจำปี ถึงแม้บริษัทนำเที่ยวที่ดำเนินธุรกิจมานาน จะมีรายการนำเที่ยวเหมือนเดิมซ้ำทุกปี แต่ก็ต้องมีการปรับปรุงบางรายการที่เห็นว่ามีข้อบกพร่อง โดยมีการแก้ไขรายการ อาจจะเพิ่มสถานที่เที่ยวใหม่ และเปลี่ยนแปลงกิจกรรม

แมนซินี (Mancini, 1990 : 198) ได้เสนอแนะว่า ก่อนจะวางแผนจัดนำเที่ยว ควรจะมีการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า โดยส่งแบบสอบถามให้ตอบก่อนสิ้นสุดการเดินทางแต่ละครั้ง

เพื่อนำผลความคิดเห็นของลูกค้ามาปรับปรุง พัฒนาให้การจัดนำเที่ยวน่าสนใจตามความต้องการของลูกค้า เพราะลูกค้าแต่ละคน แต่ละกลุ่ม มีความต้องการแตกต่างกัน เช่น กลุ่มคนสูงอายุที่อาจจะไม่ต้องการรายการที่แน่นจนเกินไป กลุ่มผู้หญิงที่อาจต้องการเวลาจับจ่ายซื้อของเพิ่มมากขึ้น และลุ่มหนุ่มสาว ที่อาจต้องการกิจกรรมที่มีกรผจญภัย เป็นต้น

การวางแผนจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

1. การกำหนดวัน ต้องคำนึงถึงระยะทาง จำนวนสถานที่ท่องเที่ยวลูกค้าเป้าหมาย อากาศ เหตุการณ์สำคัญพิเศษ

2. ลูกค้าเป้าหมาย ถ้าลูกค้าอายุมากควรจัดการท่องเที่ยวระยะสั้น รายการไม่แน่น และไม่ควรให้นั่งรถนานทั้งวัน หรือเดินชมมากๆ และคำนึงถึงอาหารที่เหมาะกับวัยด้วย ดังนั้น การจัดรายการต้องยืดหยุ่น

3. ระยะทางเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าระยะทางจากเมือง A ไปยังเมือง 8 ใช้เวลานั่งรถนานถึง 6 ชั่วโมง ควรพิจารณษว่าสมควรจัดหรือไม่เพราะถ้านั่งรถนานโดยไม่ได้แวะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวใดๆ เลย ก็จะทำให้รายการน่าเบื่อ ควรคำนึงถึงเสมอว่าความอดทนของนักท่องเที่ยวมีขีดจำกัด ถ้าจัดการเดินทางให้นั่งรถตลอดวันจะทำให้เหนื่อย อาจเจ็บป่วยได้ง่าย หรืออาจหลับในขณะร่วมกิจกรรมอื่น เช่น ชมการแสดง เพราะเหนื่อยจากการนั่งรถ ถ้าระยะทางไกลมาก จะทำให้เสียเวลาเดินทาง และต้องใช้จำนวนวันเพิ่มมากขึ้นในการเดินทาง ดังนั้น ในการวางแผนในเรื่องของระยะทาง ในกรณีที่ระยะทางไกลมาก ถ้าจุดหมายปลายทางที่ไปไม่มีสิ่งที่น่าสนใจจริงๆ ก็ไม่สมควรที่จะจัดเพราะไม่คุ้มกับการเดินทาง

4. ความบันเทิง ในกรณีที่การจัดท่องเที่ยวในครั้งนั้นตรงกับเทศกาลก็ควารให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ ในเทศกาลนั้นๆ หรือถ้าไม่ตรงกับเทศกาลหรือเหตุการณ์พิเศษ ก็ควรจัดหากิจกรรมบันเทิงให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเข้าชม เช่น คาบาเร่ต์ การแสดงพื้นบ้าน บัลเลต์ หรือจัดล่องเรือที่ทะเลสาป หรือแม่น้ำ พร้อมรับประทานอาหารค่ำ โดยอาจะจัดเป็นแบบให้เลือก (optional tour) ก็ได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มากกว่าจะให้นักท่องเที่ยวนอนพักที่โรงแรมแต่หัวค่ำทุกคืน

5. การซื้อของ ต้องจัดเวลาให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสซื้อของบ้าง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไทยต้องมีของฝากญาติมิตร การจัดนำเที่ยวที่ใช้เวลานาน 15 วัน ควรเปิดโอกาสให้เวลาซื้อของประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ปัจจุบันบริษัทนำเที่ยวไทย นิยมจัดท่องเที่ยวเพื่อการซื้อของให้สำหรับคนที่ชอบซื้อของ โดยมีนำเที่ยวบ้างแต่เวลาส่วนใหญ่จะให้กับการซื้อของ ซึ่งราคาจะรวมค่าเครื่องบิน

โรงแรม และอาหารบางมื้อให้ ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจในการจับจ่ายซื้อของ

6. ทำเลที่ตั้งของโรงแรม ในการวางแผนต้องคำนึงถึงโรงแรมที่พักชนิดของโรงแรมว่า เป็นระดับใด ส่วนมากบริษัทนำเที่ยวเลือกระดับของโรงแรมระหว่าง 3 ดาว - 5 ดาว และการเลือกโรงแรมบางครั้งคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง เพราะโรงแรมที่อยู่นอกเมือง และถ้าอยู่ในใจกลางเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น ต้องใช้เวลาเดินทางนาน ก็จะเป็นอุปสรรคของการเดินทาง ส่วนมากถ้าไม่มีจุดประสงค์ในเรื่องของให้โอกาสนักท่องเที่ยวได้ซื้อของสะดวกแล้ว บริษัทนำเที่ยวมักจะจัดโรงแรมที่อยู่นอกเมือง เพื่อสะดวกในการเดินทางต่อไป เพราะประหยัด และไม่วุ่นวาย สามารถต่อรองเรื่องราคาและเงื่อนไขต่างๆ ได้

7. จุดแวะพัก ในต่างประเทศจะมีการจำกัดเวลาในการขับรถให้อยู่ในช่วงหนึ่ง เมื่อถึงกำหนดแล้วจะต้องหยุดรถเพื่อพัก ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้คนขับเหนื่อยล้าจนเกินไป ฉะนั้น คนขับรถจะรู้ว่าควรจะหยุดพักเมื่อใด และจุดใด ส่วนมากแล้วสถานที่ใช้หยุดพักนั้น มักจะเป็นสถานีเติมน้ำมัน หรือร้านอาหาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสพักผ่อน เข้าห้องน้ำ หรือรับประทานของว่าง และดื่มกาแฟ นอกจากนั้น บริษัทนำเที่ยวต่างประเทศจะไม่ค่อยระบุอาหารกลางวันไว้ในรายการ อย่างไรก็ตาม การหยุดแวะพักเพื่อรับประทานอาหารกลางวันก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่จุดดีของการไม่ระบุอาหารกลางวันไว้ในรายการก็คือ คนขับสามารถยืดหยุ่นที่จะจอดให้นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารกลางวันได้ ในจุดที่เหมาะสมกับสถานการณ์และเวลา สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่การหยุดพักจะขึ้นอยู่กับความต้องการของนักท่องเที่ยว แต่ส่วนใหญ่แล้วทุก 2-4 ชั่วโมงควรจะได้มีการหยุดพักเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือเข้าห้องน้ำ ถึงแม้บนรถจะมีห้องน้ำแล้วก็ตาม

8. ร้านอาหาร การพิจารณาเลือกร้านอาหาร ต้องคำนึงว่าร้านอาหารที่แพงที่สุด ไม่ใช่ว่าจะอร่อยหรือดีเสมอไป

9. การคิดราคา ต้องคำนึงถึงอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน โดยเฉพาะบริษัทที่ใช้เครดิต ต้องเสี่ยงที่จะจ่ายเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราการแลกเปลี่ยนเงินสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทนำเที่ยวที่จะใช้เครดิตกับธุรกิจผลิตสินค้าบริการอื่นๆ ได้ จะต้องเป็นบริษัทที่ติดต่อกันมานานจนเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจกัน จึงจะได้เครดิต (Reilly, 1991 : 14-23)

การวางแผนจัดนำเที่ยว จะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาจัดโปรแกรมนำเที่ยว ดังนี้

ข้อมูลเกี่ยวกับจุดหมายปลายทาง ศึกษาจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจพอที่จะจัดรายการได้ 1 วัน หรือหลายวัน พิจารณาดูว่า มีสิ่งดึงดูดใจที่น่าสนใจอยู่ใกล้กับจุดหมายปลายทางหรือไม่ มีโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า หรือไม่ ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ตรงกับความต้องการของบริษัทหรือไม่ นอกจากนั้นยังต้องศึกษาจุดหมายปลายทางนั้นๆ ทั้งในด้านคุณภาพ และราคาว่าเหมาะสมหรือไม่

ข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก บริษัทนำเที่ยวควรศึกษาข้อมูล ต่อไปนี้

- ระดับของโรงแรม เพราะจะมีผลต่อการกำหนดราคา

- ชื่อโรงแรมที่มีภาพลักษณ์ดี เช่น โรงแรมในเครือข้ามชาติ เพราะเป็นที่รู้จักดี สามารถวางใจได้ในด้านคุณภาพ และบริการ สะดวกในการจองเพราะสามารถจองจากสาขาใดก็ได้ นอกจากนั้นราคาสามารถต่อรองกันได้ตามจำนวนนักท่องเที่ยว

- ชนิดของห้อง ส่วนใหญ่จะเป็นห้องคู่ ซึ่งอาจจะมี 1 เตียงใหญ่ เตียงเดี่ยว (bouble bed) หรือเตียงเล็ก 2 เตียง (twin bed) ในเรื่องที่เกี่ยวกับขนาดของเตียงนั้น นักท่องเที่ยวไม่ค่อยจะมีปัญหาหรือเรียกร้องเตียงขนาดใหญ่ อาจเป็นเพราะขนาดรูปร่างของคนไทยไม่ใหญ่โตมาก จนทำให้เกิดปัญหากับเตียงขนาดธรรมดา ซึ่งผิดกับนักท่องเที่ยวฝรั่ง เพราะบางครั้งต้องการเตียงใหญ่ 2เตียงอยู่ในห้อง ทำให้บริษัทนำเที่ยวมีข้อจำกัดในการเลือกโรงแรมเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนมากโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว เท่านั้น จึงจะมีห้องที่บรรจุเตียงใหญ่ 2 เตียง อยู่ในห้อง ทำให้บริษัทนำเที่ยวมีข้อจำกัดในการเลือกโรงแรมเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนมากโรงแรมในระดับ4-5 ดาว เท่านั้น จึงจะมีห้องที่บรรจุเตียงใหญ่ 2 เตียง (Queen size หรือ King size) ไว้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า

- การบริการขนส่งกระเป๋า ต้องมีประสิทธิภาพสมกับราคาที่จะต้องจ่ายสำหรับการบริการ

- การอำนวยความสะดวกในการรับประทานอาหาร อาหารส่วนใหญ่จะเป็นบุฟเฟต์ และถ้าเป็นอาหารเช้าแบบยุโรป (continental breakfast) จะรวมอยู่กับค่าห้อง แต่บางครั้งอาจต่อรองค่าห้องและอาหารเช้าแบบอเมริกัน บุฟเฟต์ได้ ส่วนอาหารกลางวันไม่ค่อยจัด เพราะนักท่องเที่ยวจะไม่เข้ามารับประทานอาหารในโรงแรม อาหารเย็นส่วนใหญ่จะใช้บริการในโรงแรมเฉพาะในวันแรกที่มาถึง และอาจจัดเป็นพิเศษสำหรับการเลี้ยงรับรองนักท่องเที่ยว

- ที่จอดรถภายในบริเวณของโรงแรม ต้องมีบริเวณพอสำหรับจอดรถโค้ช

- ค่าห้องสำหรับคนขับรถและผู้นำเที่ยว ส่วนใหญ่จะขอฟรี เพราะถ้าพัก 15-20 ห้องจะได้ฟรี 1 ห้อง หรือ 1 ห้องต่อรถ 1 คน อย่างไรก็ตามการขอห้องฟรี เป็นเงื่อนไขในการต่อรองกันระหว่างบริษัทนำเที่ยวและโรงแรม

ข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหาร ข้อมูลที่บริษัทนำเที่ยวควรได้ศึกษาเกี่ยวกับร้านอาหาร มีดังนี้ คือ

- ระดับคุณภาพ ทั้งของอาหาร และการบริหาร

- ราคาค่าอาหารต่อรองได้ตามจำนวนคน ซึ่งถ้าเป็นนักท่องเที่ยวไทย จะนิยมใช้บริการอาหารจีน อาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ตามลำดับ

- รูปแบบของการบริการ ซึ่งอาจจะเป็นนั่งโต๊ะ บุฟเฟต์ บาบีคิว ซึ่งเน้นการบริการสั่งอาหารอย่างรวดเร็ว

- ชมการแสดง ในการจัดแต่ละครั้งจะจัดให้มีการรับประทานอาหารพร้อมชมการแสดงอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสุข สนุกเพลิดเพลิน ดังนั้น ถ้าร้านอาหารมีอาหารพร้อมการบันเทิงในราคาที่เหมาะสม บริษัทนำเที่ยวก็ควรพิจารณาใช้บริการของภัตตาคาร ร้านอาหารประเภทนั้นๆ

- ที่จอดรถกว้างขวาง พอสำหรับรถโค้ช

- อาหารฟรีสำหรับผู้นำเที่ยว คนขับ และผู้ติดตาม (ถ้ามี)

ข้อมูลเกี่ยวกับยานพาหนะ ถ้าเป็นเครื่องบิน รถไฟ เรือ ต้องทราบตารางเวลา และราคา สำหรับรถโค้ช เน้นการบริการที่ปลอดภัย ไว้ใจได้ อุปกรณ์ทันสมัย มีห้องน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยวควรได้ทราบถึงข้อมูลดังต่อไปนี้

- ให้เข้าชมเป็นกลุ่มพิเศษโดยเฉพาะหรือไม่

- เวลาการเข้าชมสถานที่มีการเปิด-ปิด เป็นเวลาหรือไม่

- เสียค่าเข้าชมมากหรือน้อยเพียงใด

- มีร้านขายของที่ระลึกหรือไม่

- มีบริเวณนั่งพักผ่อน และมีห้องน้ำเพียงพอสำหรับจะรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนั้นหรือไม่ เพราะถ้านักท่องเที่ยวนั่งรถมาไกล จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำ

- มีบริการอาหารหรือไม่ และถ้ามีต้องศึกษาอีกว่าเพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยวหรือเปล่า ถ้าแหล่งท่องเที่ยวเปิดให้คนเข้าชมได้มากกว่า 4 ชั่วโมง คงต้องรับประทานอาหาร ณ แหล่งนั้น เพราะจะเป็นการไม่สะดวกที่จะต้องเดินทางออกไปรับประทานอาหารแล้วกลับมาอีก

- มีบริการมัคคุเทศก์สำหรับบรรยายนำชมสถานที่หรือเปล่า

ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น

ต้องแน่ใจว่าแหล่งท่องเที่ยวที่จะเข้าชมมีมัคคุเทศก์นำชมและบรรยายสิ่งที่น่า

สนใจของสถานที่นั้น มัคคุเทศก์ต้องได้รับการฝึกอบรมมาเพียงพอ และมีความรู้ในถานที่นั้นเป็นอย่างดี

ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อของ ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อของ มีดังต่อไปนี้

- มีร้านค้าที่หลากหลายในแต่ละบริเวณขายของ นับตั้งแต่ขายของพื้นเมือง ไปจนถึงศูนย์การค้า

- มีบริการอาหารหลากหลายให้ลูกค้าได้เลือก ตั้งแต่บริการตัวเองจนถึงบริการ ถึงโต๊ะ - ห้องน้ำสะอาด และมีที่ให้ลูกค้านั่งพักผ่อน

- มีกิจกรรมอื่นๆ เช่น นิทรรศการ ภาพยนตร์ หรือโบว์ลิ่ง เป็นต้น(Fay, 1992 : 81-94)

เมื่อผู้วางแผนรวบรวมข้อมูลแต่ละจุดหมายปลายทางได้แล้ว และวิเคราะห์ธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในแง่ของ

- คุณภาพบริการ

- ราคา

- ความสัมพันธ์ระหว่างราคาและค่านิยม

- เวลาที่จะใช้ในแต่ละจุดหมายปลายทาง

จากนั้น พิจารณาเลือกใช้บริการของธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เห็นว่าเหมาะสม เรื่องราคาและข้อเสนอของบริษัท จากนั้นส่งให้ฝ่ายเขียนรายการ (ถ้าไม่ได้เขียนเอง) แต่ส่วนใหญ่คนวางแผน และคนเขียนการควรจะเป็นคนคนเดียวกัน หลังจากเขียนรายการนำเที่ยวพร้อมอัตราค่าบริการ แล้วส่งให้เจ้าของบริษัท หรือผู้จัดการพิจารณา โดยจะพิจารณารายการและยะทางเส้นทาง และราคาว่าเหมาะสมหรือไม่ ก่อนที่จะส่งพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

การวางแผนจัดนำเที่ยวในแต่ละปี สามารถเขียนเป็นตารางลำดับขั้นตอนการวางแผน และประมาณการ ระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :

การวางแผนงานทางธุรกิจจัดว่าเป็นความจำเป็นของผู้ประกอบการ เพื่อให้การทำงานดำเนินไปด้วยดีและมีอุปสรรคน้อยที่สุด เพราะการวงแผน จะช่วยให้ผู้ประกอบการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ตามทิศทางที่กำหนดไว้ การจัดทำแผนงานควรมีทั้งระยะยาวและระยะสั้น บริษัทจะต้องมีรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละปี และในขณะเดียวกัน บริษัทก็จะต้องวางแนวทางการพัฒนาการบริหารงานของบริษัทให้เจริญก้าวหน้าในแต่ละทศวรรษ

หลักการเขียนรายการนำเที่ยว

ความหมายของ “รายการนำเที่ยว” อาจเรียกว่า รายการท่องเที่ยว หรือกำหนดการเดินทาง หรือภาษาอังกฤษเรียก itineraryหมายความถึง กิจกรรมการเดินทางในแต่ละวัน ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายตามจำนวนวันที่จัด โดยระบุวัน เวลา สถานที่พักแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และแหล่งท่องเที่ยว การเขียนรายการนำเที่ยวมิใช้เฉพาะความสามารถในการเขียนกำหนดการเดินทางเท่านั้น แต่หมายรวมถึงความสามารถของการเขียนมีเหตุผล น่าเชื่อถือ มีสีสัน เร้าอารมณ์ ที่ทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วเกิดความรู้สึกอยากไปเที่ยว แล้วให้ความสนใจ สอบถาม จนถึงการตัดสินใจซื้อสิค้าในที่สุด

ชนิดของรายการนำเที่ยว

แมนซินี (Mancini, 1990 : 55) กล่าวว่า รายการนำเที่ยวมี 2 ชนิด ชนิดแรกสำหรับขายลูกค้า และชนิดที่สองสำหรับผู้นำเที่ยว ซึ่งจะมีรายละเอียดในการจัดการมากกว่าแบบแรก แต่ผู้นำเที่ยวจะต้องอ่านรายการนำเที่ยวทั้ง 2 ชนิด อย่างละเอียด ในขณะที่ เฟย์ (Fay, 1992 : 107) แบ่งรายการนำเที่ยวออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. รายการนำเที่ยวอย่างย่อ (Summary Itinerary) เป็นรายการนำเที่ยวที่เขียนเฉพาะจุดสำคัญๆ ซึ่งได้แก่สถานที่ท่องเที่ยว โดยไม่ระบุรายละเอียดอื่นๆ การเขียนรายการนำเที่ยวชนิดนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการตลาด ที่ต้องการจะแนะนำ บอกกล่าง และชักชวนให้ซื้อสินค้า และอาจใช้เป็นเอกสารทำความตกลง ระหว่างบริษัทนำเที่ยวกับลูกค้า หรือผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยว (suppliers) อื่นๆ เช่น สายการบินหรือบริษัทรถเช่น เป็นต้น

2. รายการนำเที่ยวสำหรับลูกค้า (Detailed Itinerary) หรืออาจเรียกว่า A detailed passenger itinerary หรือpassenger itinerary เป็นรายการนำเที่ยวที่เขียนข้อมูลอย่างละเอียด เพียงพอที่จะให้ลูกค้าทราบว่าจะทำอะไรบ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางในแต่ละวัน เพื่อลูกค้าจะได้วางแผนเตรียมตัวสำหรับการเดินทางได้ถูกต้อง เช่น ขึ้นเขา หรือเล่นสกี ควรจะแต่งตัวอย่างไร เป็นต้น

3. รายการนำเที่ยวสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (Operating Itinerary) อาจเรียกว่า operational working itinerary เป็นรายการนำเที่ยวที่เขียนเพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับผู้นำเที่ยวและคนขับรถ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดมาก ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เวลา และการติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปเยี่ยมชม ภัตตาคาร โรงแรม ซึ่งจะมีชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่จะติดต่อด้วย นอกจากนี้ อาจเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เป็น สำหรับให้ผู้นำเที่ยวเป็นแนวทางประกอบการอธิบายให้แก่ลูกค้า

โดยสรุป การเขียนรายการนำเที่ยวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ชนิดแรกเป็นการเขียนรายการนำเที่ยวโดยสรุปเฉพาะที่สำคัญๆ จัดทำขึ้นสำหรับการขาย ชนิดที่สองจัดทำสำหรับลูกค้าก่อนออกเดินทางเพื่อให้ทราบกิจกรรมการเดินทางโดยละเอียด สำหรับชนิดสุดท้ายจัดทำเป็นคู่มือสำหรับผู้นำเที่ยว และคนขับรถ

อนึ่ง การเขียนรายการนำเที่ยวอย่างละเอียด แต่ละบริษัทนำเที่ยวมีวิธีเขียนเป็นของตนเองที่จะเขียนเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า ส่วนเนื้อความจะคล้ายคลึงกัน โดยจะต้องมีรายละเอียดเหล่านี้

- ชื่อโรงแรม หรือระดับชั้นของโรงแรม

- ชื่อร้านอาหาร หรือประเภทของอาหาร

- วัน เวลา ของการเดินทาง รับประทานอาหารเช้า กลางวัน เย็น และสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปเยี่ยมชม

- ข้อมูลอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับลูกค้า แต่ส่วนใหญ่จะเลี่ยง ไม่เขียนสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะบางครั้งรายการอาจจะต้องยืดหยุ่น หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น

รูปแบบของการจัดการนำเที่ยว

1. เป็นการจัดรายการนำเที่ยว ประมาณ 2-4 วัน โดยใช้ระยะ

ทางในการเดินทางน้อย ต้องการให้มีที่พักแห่งเดียวตลอด

การเดินทาง แต่ละวันจะเดินทางออกจากโรงแรมในช่วงเช้า

เพื่อท่องเที่ยวแล้วกลับมาพักที่โรงแรมเดิมในตอนเย็น ข้อดี

ของการจัดนำเที่ยวรูปแบบนี้ คือ ไม่ต้องวุ่นวายกับขั้นตอน การเข้าพัก และออกจากโรงแรม (chect in - check out) ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับการขนย้ายกระเป๋าเดินทางในแต่ละวันและลูกค้าจะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ไม่ต้องรีบตื่นเพื่อนำกระเป๋ามาไว้นอกห้องทุกเช้า และอาจจะได้ลดราคาค่าที่พัก และอาหารเช้าเป็นพิเศษ เพราะพักหลายวัน และช่วยประหยัดเงินค่าขนกระเป๋าเดินทางในแต่ละวัน แต่มีข้อเสียคือ จะทำให้ลูกค้าต้องเดินทางไปกลับเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทุกวัน ทำให้เสียเวลาในการเดินทาง ซึ่งการจัดในรูปแบบนี้ระยะทางไม่ควรเกิน 100 กิโลเมตร เพราะไป - กลับ ใช้เวลา 200 กิโลเมตร เพื่อให้มีเวลาเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ

ดังนั้น การจัดรายการนำเที่ยวรูปแบบนี้ ต้องจัดในบริเวณศูนย์กลางทางการท่องเที่ยว คือ มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ล้อมรอบที่พักมากนัก

ตัวอย่าง การจัดโรงแรมที่จังหวัดพิษณุโลกให้เป็นที่พัก แล้วสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ซึ่งได้แก่ ที่จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร และพิจิตร เป็น ซึ่งสามารถจัดการเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละจุดแบบเย็นกลับได้

2. เป็นการจัดรายการนำเที่ยวที่เปลี่ยนที่พักทุกวัน หรือทุก

ซึ่งต้องใช้ระยะทางในการเดินทางมากกว่า โดยเริ่มเดินทาง

จากจุดหนึ่งแล้วต่อไปเรื่อยวงรอบ แล้วกลับมาที่จุดเดิมครั้ง

แรก เพื่อเดิน ข้อดีของการจัดรูปแบบนี้ คือ ความแปลกใหม่

สิ่งแวดล้อม เพราะเปลี่ยนสถานที่พักทุกวันและอยู่ซ้ำเมือง (จังหวัด) ทำให้ได้แวะเยี่ยมชมหลายเมือง แต่มีข้อเสียคือ ราคาโรงแรม จะแพงขึ้น และอุปสรรคในการเดินทางอาจเกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง เดินทางจากประเทศไทยไปซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ต่อไปแคนเบอร์รา เมลเบิร์น แล้วบินไปเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ แล้วต่อไปโรโตรัว ออคแลนด์ แล้วบินไปซิดนีย์ เพื่อเดินกลับประเทศไทย

3. เป็นการจัดรายการนำเที่ยวที่คล้ายคลึงกับแบบที่ 2 แต่สถานที่

ออกเดินทางไป และสถานที่เดินทางแตกต่างกัน ไม่ใช้เส้น

ทางเดียวเดียวกัน ข้อดีของรูปแบบนี้ คือไม่ต้องเสียเวลาเดิน

ทางกลับจุดเริ่มแรกเพื่อเดินทางกลับ เหมาะสำหรับเดินทาง

ระหว่างประเทศ ที่ใช้ระยะทางไกล เสียเวลานาน ข้อเสียคือ ราคาจะแพงที่สุดเป็นการเดินทางไป - กลับ คนละทาง

ตัวอย่าง เดินทางจากประเทศไทยไปประเทศแอฟริกาใต้ โดยจัดให้เที่ยวที่โจฮันเนสเบิร์ก แล้วนั่งรถไปซันซิตี้ แล้วบินไปจอร์จ นั่งรถไปเคปทาวน์ และจากเคปทาวน์บินกลับประเทศไทย โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปโจฮันเนสเบิร์ก เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย

การวางแผนจัดรายการนำเที่ยว

โดยพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้ :

1. วัตถุประสงค์ การจัดรายการนำเที่ยวต้องจัดให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางแผนไว้ (รายละเอียดอยู่ในบทการวางแผนการจัดนำเที่ยว) อาทิเช่น จัดไปเกาหลีเพื่อซื้อของ รายการนำเที่ยวก็ควรจะให้เวลาอิสระมากๆ เพื่อให้โอกาสลูกค้าได้ซื้อของตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือการไปโรมาเนีย เพื่อสุขภาพ ก็ควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น การพอกโคลนเพื่อสุขภาพ เป็นต้น หรือจัดไประนองเพื่ออาบน้ำแร่ ก็ควรจะเลือกโรงแรม หรือหาสถานที่ใช้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสอาบน้ำแร่ หรือจัดไปภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อย ก็ควรจัดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เห็น ได้สัมผัสชีวิตของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เวลาจะอำนวย เป็นต้น

2. ระยะทางในการเดินทาง ถ้าการเดินทางเป็นระยะสั้นก็อาจจะจัดแวะเที่ยวระหว่างทางได้ประมาณ 2-3 แห่ง ก่อนถึงจุดหมายปลายทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะทางของจุดหมายปลายทางว่า ใกล้หรือไกลแค่ไหน ถ้าการเดินทางระยะยาว จะต้องคำนวณเพิ่มเวลาในการขับรถด้วย โดยออกช้ากว่าปกติและลดจำนวนการแวะเที่ยวระหว่างทางลง โดยให้อยู่ในเส้นทาง สำหรับกรณีที่ต้องเดินทางกลางคืน วันรุ่งขึ้นไม่ควรจัดกิจกรรมตลอดทั้งวันจนถึงกลางคืน ควรงดกิจกรรมกลางคืน เพื่อให้ลูกค้าได้มีเวลาสำหรับพักผ่อน

3. ลูกค้าเป้าหมาย ต้องทราบว่า จะจัดการท่องเที่ยวให้ใคร ลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อจะได้จัดรายการได้ถูกต้อง ถ้าเป็นเพศหญิงสูงอายุจะต้องจัดรายการที่ไม่เน้นกิจกรรมเสี่ยงอันตราย ผจญภัย หรือเดินนาน ต้องคำนึงถึงพละกำลังของผู้สูงอายุ

4. ราคาบริการท่องเที่ยว ลูกค้าส่วนใหญ่จะดูที่ราคาบริการท่องเที่ยวเป็นอันดับแรก ดังนั้น การคิดราคาต้องคำนึงถึงลูกค้าว่าจะสามารถซื้อบริการได้หรือไม่ และถ้าราคาแพง การจัดรายการต้องจัดให้ดี คุ้มค่ากับที่ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินในราคาที่สูงกว่าที่อื่น ผู้จัดจะต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนำเที่ยวอื่นๆ แล้วเปรียบเทียบกับของบริษัทตนเอง ถ้าจัดคล้ายคลึงกัน แต่ของบริษัทอื่นถูกกว่า ก็อาจจะขายไม่ได้

5. ความต้องการของตลาดเป้าหมาย จัดรายการให้เหมาะกับความต้องการของตลาด โดยจัดลำดับความสนใจของตลาด แล้วทำเป็นรายการให้น่าสนใจ และสนุกสนาน

6. การท่องเที่ยวโดยรถโค้ช ถ้าเป็นการเดินทางโดยรถโค้ชจะต้องเผื่อเวลาสำหรับหยุดพักระหว่างทาง เพื่อเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำชา กาแฟรับประทานของว่าง และเปลี่ยนอิริยาบถ เส้นทางที่รถผ่าน ควรจะเลือกที่มีทิวทัศน์สวยงามสองข้างทาง (ถ้าสามารถทำได้) และในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงการจราจรด้วย

7. อาหาร ทำเลที่ตั้งร้านอาหาร สำคัญพอๆ กับอาหาร อาหารมื้อแรกเมื่อมาถึงจุดหมายปลายทาง ควรจะจัดให้ใกล้กับโรงแรม หรือรับประทานในโรงแรม เพื่อหลีกเลี่ยงการขับรถ และให้ลูกค้าได้พักผ่อนเร็วขึ้น หลังอาหารเช้าควรให้เวลาลูกค้าได้กลับห้องพักเพื่อทำธุระส่วนตัว หรือเตรียมตัวเดินทาง สำหรับอาหารมื้ออื่นๆ ไม่ควรจัดที่โรงแรมทุกมื้อ ควรเปลี่ยนสถานที่และอาหารควรจะหลากหลาย และให้โอกาสได้ลองอาหารท้องถิ่นด้วย

8. ระยะเวลา การเดินทางแต่ละวันไม่ควรใช้เวลานานเกิน 12 ชั่วโมง ในแต่ละวัน ยกเว้นการชมการแสดงกลางคืน

9. แหล่งท่องเที่ยว นอกจากจะเลือกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ที่เป็นจุดเด่นทางการท่องเที่ยว (tourist attraction) ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น สถานที่จอดรถขนาดใหญ่ จุดรับ - ส่ง นักท่องเที่ยว ห้องน้ำร้านอาหาร และร้านจำหน่ายของที่ระลึก เป็นต้น

10. การตั้งชื่อ ต้องให้สัมพันธ์กับรายการ ต้องง่าย ตรง และดึงดูดความสนใจ เช่น ไปเมืองจีน อาจตั้งชื่อ “ท่องแดนมังกร” ไปญี่ปุ่นตั้งชื่อว่า “คลีกิโมโน” หรือ “ซากุระบานที่โตเกียว” ส่วนไปยุโรป ก็อาจใช้ชื่อว่า “ยุโรปรำลึก” ไปเที่ยวอีสาน อาจตั้งชื่อให้ว่า“ฟังแคนแดนอิสาน” เป็นต้น อ่านแล้วเกิดจินตนาการขึ้นในจิตใจของผู้อ่าน แล้วสนใจ ใคร่ทราบรายละเอียด กรณีที่จัดโปรแกรมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี อาจตั้งชื่อโดยใช้หมายเลขเพื่อสะดวกในการจดจำ และสะดวกในการทำบัญชีการเงิน เช่น ทัวร์ 078 หรือ Tour 2665 เป็นต้น

ก่อนเขียนรายการนำเที่ยว จะต้องศึกษาประเทศ จังหวัด หรือเมืองที่จะจัดนำเที่ยวอย่างละเอียด ต้องรู้เส้นทางการบินของสายการบินต่างๆ ตารางบินทั่วโลก รวมถึงรถไฟ และอื่นๆ ควรพิจารณาการพักแต่ละคืนในเมืองใหญ่ นอกเมือง หรือเมืองเล็ก ต้องรู้วันหยุดต่างๆ ของประเทศ ไทย และต่างประเทศ เทศกาลพิเศษที่จะมีผลต่อการเดินทาง และการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ต้องทราบวันปิดของสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ปราสาท ตลอดจนร้านค้าต่างๆ เพราะถ้าไปถึงเมืองนั้นปรากฏว่าร้านค้าต่างๆ ปิด หรือพิพิธภัณฑ์ปิด ลูกค้าอาจไม่พอใจ การให้แวะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งก็ต้องกำหนดเวลาให้ถูกต้องเหมาะสมว่า จะให้เวลามากน้อยแค่ไหน ต้องจัดเวลาให้เหมาะกับสถานที่ เช่น การเข้าชม Tower of London ควรให้เวลาอย่างน้อย 45 นาที หรือพิพิธภัณฑ์ลู๊ฟ อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง เป็นต้น (Stevens, 1990 : 372 - 373

แมนซินี่ (Mancini, 1990 : 202 - 213) กล่าวว่า การเขียนรายการนำเที่ยวจัดว่าเป็นศิลปะอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เขียนรายการนำเที่ยวจะมีความสามารถในการเขียนได้อย่างดี เพราะจะต้องเขียนเหมือนตัวเอง “เดิน” (walk) ผ่านรายการด้วย ซึ่งหมายความว่า ผู้เขียนจะต้องมองเห็นภาพ กิจกรรมการเดินทางในแต่ละวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น พร้อมกันนี้ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนการจัดรายการนำเที่ยว ดังนี้

1. ต้องดูลูกค้าเป็นใคร ต้องการอะไร เวลาไหน เวลาที่จัด และสถานที่เยี่ยมชมเป็นสิ่งสำคัญ คงไม่มีใครชอบตื่นตี 4 เพื่อขึ้นเครื่องบิน หรือใช้เวลาเพียง 30 นาที ชมพิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) หรือไปถึงเมือง St. Louis แต่ไม่แวะ St. Louis Arch

2. ต้องพิจารณาว่า เวลาไหนของปีที่เหมาะสำหรับการจัดนำเที่ยว ซึ่งต้องพิจารณาจากเวเลาว่างของลูกค้า และจุดหมายปลายทางที่เหมาะสมสำหรับการเยี่ยมชม เช่น ยุโรป ถ้าเป็นหน้าหนาวก็ไม่ควรจัด ยกเว้นเพื่อเล่นสกี

3. พิจารณาวันที่ออกเดินทาง วันที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานควรเป็นการออกเดินทางวันศุกร์ กลับวันอาทิตย์ถัดไป จะได้เวลาประมาณ 8-9 วัน โดยลูกค้าจะลางานเพียง 5 วัน แต่ถ้าเดินทางไปต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องนึกถึงเที่ยวบิน เพราะสายการบินบางสาย มีเพียง 2 เที่ยวบินใน 1 สัปดาห์ ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับเที่ยวบินของสายการบินนั้น ถ้าเป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศควรใช้เวลา 4 วัน โดยเริ่มวันพฤหัสบดี ถึงวันอาทิตย์ หรือเย็นวันศุกร์ กลับเช้าวันจันทร์ ส่วนใหญ่จะนิยมจัดให้อยู่ช่วงท้ายสัปดาห์มากกว่าต้นสัปดาห์ เพราะลูกค้าจะมีเวลาทำงานที่รับผิดชอบในแต่ละสัปดาห์ให้เสร็จก่อนออกเดินทาง แต่ถ้าจัดให้สำหรับผู้ที่เกษียณอายุแล้ว การออกเดินทางกลางสัปดาห์ จะได้ราคาที่พักและเครื่องบินถูกกว่าในช่วงหยุดสุดสัปดาห์

4. พิจารณาถึงจำนวนวันที่จะจัดการท่องเที่ยว โดยดูจากจุดหมายปลายทางที่จะไปและจะต้องพิจารณาถึงจุดหมายปลายทางที่จะจัด โดยดูว่าจะขายอะไรสำหรับจุดหมายปลายทางนั้น สถานที่ท่องเที่ยว หรือแหล่งซื้อของ เป็นต้น และถ้าเดินทางหลายประเทศ/เมือง มีโอกาสได้อยู่ในแระเทศ เมืองนั้นกี่วัน เพราะถ้าแวะเพียง 1 วัน แล้วเดินทางต่อไปอีกประเทศ จะเหมาะหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาว่า ถ้าประเทศ/เมืองไหนมีสถานที่ท่องเที่ยวมาก ก็ควรอยู่หลายวัน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวว่าต้องการให้ผ่านหลายประเทศ โดยแวะประเทศละวัน หรือต้องการเจาะลึกเที่ยวให้มากในแต่ละประเทศ แต่จะได้แวะน้อยประเทศ ผู้เขียนรายการต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ในแต่ละโปรแกรมเพื่อจะได้จัดรายการให้เหมาะสม

5. เสือกผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องที่น่าเชื่อถือ และมีฐานะทางการเงินดี เช่น สายการบิน โรงแรม และบริษัทตัวแทนนำเที่ยว บริษัทผู้ผลิตเหล่านี้ต้องไว้ใจได้ เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะให้การท่องเที่ยวราบรื่น ซึ่งถ้าใช้บริการกันมานานจะได้สิทธิพิเศษกว่าที่เพิ่งเริ่มต้น

6. ในวันแรกและวันสุดท้ายของรายการนำเที่ยวควรจัดรายการ ใช้แวะจุดเด่นทางการท่องเที่ยวในเมือง เช่น ถ้าจุดหมายปลายทาง คือแคลิฟอร์เนีย วันแรกควรจัดให้ขึ้นรถราง (cable car) ที่ซานฟรานซิสโก และจบด้วยการแวะดิสนีย์แลนด์ และยูนิเวณืเซอร์สตูดิโอ จะดีกว่านั่งรถไปชมสวนองุ่นที่โซโนมา (Sonoma) เพราะต้องใช้เวลานั่งรถไปนาน ลูกค้ายังเหนื่อยจากการเดินทางแล้วยังต้องกลับมาจัดเตรียมข้าวของ และตื่นแต่เช้าเพื่อเดินทางกลับ ดังนั้นวันแรกและวันสุดท้าย ควรเป็นการเยี่ยมชมสถานที่น่าท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าจะนั่งรถไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต้องใช้เวลาในการเดินทาง

7. พิจารณาเที่ยวบินว่า เป็นเที่ยวบินที่บินตรงหรือต้องเปลี่ยนเครื่องกี่ครั้ง ทางที่ดีควรเลือกเครื่องที่บินตรง เพราะยิ่งเป็นระยะทางไกลจะใช้เวลาเดินทางนาน ถ้าต้องเปลี่ยนเครื่องจะทำให้เสียเวลาเพิ่มอีก 2-4 ชั่วโมง และจะทำให้ลูกค้าอ่อนเพลียมากในวันแรก ถ้ามีความจำเป็นต้องเสียเวลาเปลี่ยนเครื่อง การจัดรายการนำเที่ยวในวันแรกก็ไม่ควรมีหลายรากการ และให้ลูกค้าได้พักผ่อนเร็วขึ้น

8. พยายามจัดให้เปลี่ยนโรงแรมน้อยที่สุด เพราะทำให้ลูกค้าต้องรื้อกระเป๋าและจัดกระเป๋าทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ควรจัดให้พักโรงแรมในเมืองหนึ่งและใช้การเดินทางไปชมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แบบเช้าไปเย็นกลับ เป็น excursion tour แต่ถ้าต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับ ถึงอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ก็ไม่ควรทำลักษณะนี้ เพราะจะเป็นการเสียเวลามาก อย่างไรก็ตาม ถ้าทำได้ควรหลีกเลี่ยงการพักโรงแรมละ 1 คืน

9. ควรจัด city tour ให้ในวันแรกของการไปถึง เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสเห็นเมืองโดยทั่วไป ถนนหนทาง ตัวอาคาร ย่านราชการ และแหล่งซื้อของ เป็นการสำรวจตัวเมืองก่อนที่จะได้มีโอกาสและชมสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองในวันถัดไป แต่ถ้าพักเมืองนั้นเพียง 1 คืน ก็จะเป็นการเยี่ยมชมทั่วเมืองนั้นในเวลาอันรวดเร็วและผิวเผิน

10. อย่าจัดรายการแน่นจนเกิดไป ผู้เขียนรายการบางคนคิดว่าลูกค้าเสียเงินแล้วคงจะต้องการเที่ยวให้คุ้ม จึงจัดรายการต่างๆ แน่นเอียด ตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงดึก ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ควรจัดเวลาตื่นที่เหมาะสม มีเวลาสำหรับซื้อของ หรือให้เวลาว่างอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง สำหรับพักผ่อนนอนพัก หรือออไปเดินเล่นบริเวณรอบๆ โรงแรม

11. ไม่ควรจัดให้นั่งรถโค้ชนานเกิดไปในแต่ละวัน ระยะทางที่ใช้ในการเดินทางไม่ควรเกิน 500 กิโลเมตร แต่ระยะทางที่ดีความประมาณ 350 กิโลเมตร เท่านั้น และในระหว่างการเดินทาง ควรให้เวลาพักเข้าห้องน้ำรับประทานอาหาร และแวะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวบ้าง การนั่งรถ ถ้านั่งนานเกิน 2-3 ชั่วโมง คนนั่งจะเริ่มเมื่อย ถ้าเป็น city tour ใช้เวลาประมาณ 45 นาที และควรคำนึงว่า ไม่ควรจัดให้ลูกค้านั่งรถไปไกล แต่สิ่งที่จะชมไม่น่าสนใจ ถ้าเป็นเช่นนั้นจะได้รับคำบ่นที่ต้องนั่งรถมาไกลโดยไม่ได้อะไร

12. จัดรายการให้หลากหลาย เพื่อให้สนุกเพลิดเพลิน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการมาเที่ยวเพื่อพักผ่อน ควรจัดให้มีโอกาสได้สัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมหลายๆ อย่าง แวะโบสถ์ พิพิธภัณฑ์ หรือปราสาทที่สำคัญๆ ได้รับประทานอาหารเย็น พร้อมชมการแสดงพื้นเมือง ล่องเรือชมอ่าวหรือชมพยอร์จ พร้อมรับประทานอาหาร ชมระพื้นเมือง หรือแวะสวนส้ม หรือนั่งกระเช้าชมวิว ตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ พาชมหนอนเรืองแสดง เที่ยวน้ำตก และน้ำพุร้อน พ่อโคลนเดือด ชมการสาธิต การตัดขนแกะ การแสดงระบำเมารี เยี่ยมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของชาวเมารี เป็นต้น

13. การเขียนรายการนำเที่ยว ยึดหลัก Kiss “Keep it Simple Stupid” คือ เขียนให้ง่าย ธรรมดา ไม่ต้องให้เป็นวิชาการมาก

สำหรับบริษัทนำเที่ยวที่ตั้งมานานจะมีการการนำเที่ยวเหมือนเดิมซ้ำทุกปี แต่อาจจะมีการแก้ไขในบางรายการที่เห็นว่ามีข้อบกพร่อง และในขณะเดียวกันก็พยายามหารายการใหม่มาเพิ่มเติม โดยจัดนำเที่ยวในช่วงที่มีเหตุการณ์พิเศษ (Reilly, 1991 : 63) ตัวอย่างเช่น การจัดนำเที่ยวมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ครบ 50ปี หรือจัดมาประเทศไทยเพื่อร่วมกิจกรามกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การจัดรายการนำเที่ยวควรกำหนดจุดหมายปลายทาง (เมือง/จังหวัด/ประเทศ) ก่อน โดยพิจารณาจากกิจกรรมพิเศษ ภูมิอากาศ แล้ว ถึงกำหนดวัน ระยะเวลา สถานที่ท่องเที่ยว อาทิ โบสถ์ พิพิธภัณฑ์ หรือสวนสนุก เป็นต้น แล้วเลือกจองโรงแรม สายการบิน ภัตตาคาร/ร้านอาหาร จากนั้นลงมือเขียนรายการแต่ละวัน เป็นการร่างไว้ก่อนด้วยดินสอบ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย การเขียนรายการนำเที่ยวจะต้องอยู่ในที่สงบเงียบ ไม่มีคนขัดจังหวะเพราะต้องมีสมาธิ มีแผนที่ประกอบ ต้องคำนวณระยะทาง สภาพถนนและการจำกัดความเร็ว เพื่อจะคิดว่ารถโค้ชจะใช้เวลาจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งใช้เวลาเท่าไร และจะให้แวะระหว่างทางที่ไหนบ้าง จากนั้นเมื่อติดต่อผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ครบแล้ว ก็เขียนฉบับจริงการเขียนรายการนำเที่ยวต้องครบ ถูกต้อง น่าสนใจ ทั้งนี้ เพื่อต้องการจะขายสินค้า และต้องการจะให้ลูกค้าทราบว่า จะทำอะไรในแต่ละวัน

ถ้าผู้เขียนได้มีโอกาสไปสำรวจเส้นทางก่อนเขียนรายการ ก็จะทำให้สามารถเขียนรายการได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งจะดีกว่าเขียนโดยศึกษาจากเอกสาร หรือสอบถามผู้อื่น ดังนั้น ในการจัดนำเที่ยวภายในประเทศจึงนิยมที่จะให้มีการสำรวจเส้นทางก่อนลงมือเขียนรายการนำเที่ยว

คุณสมบัติของผู้เขียนรายการนำเที่ยว

1. มีความสามารถในการใช้ภาษาได้รัดกุล สละสลาย ถูกต้องและชัดเจน

2. มีศิลปในการเขียนที่สามารถบรรยายด้วยถ้อยคำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ และจินตภาพ และจินตนาการไปตามคำบรรยาย จนมีความรู้สึกอยากไปสัมผัสด้วยตนเอง

3. มีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนงานเทศกาลต่างๆ สินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อ

4. มีประสบการณ์เดินทางไปในสถานที่จริงมาแล้ว เพื่อจะได้เขียนรายการได้ถูกต้อง และสมบูรณ์ตามจริง

5. มีความละเอียดรอบคอบในการจัดเวลาในการเดินทาง และการกำหนดราราค่าบริการ

6. มีความรู้เรื่องราคาห้องพัก สายการบิน ยานพาหนะ ตลอดจนค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ต่างๆ เป็นต้น และสามารถคิดคำนวณราคาอย่างถูกต้อง

7. ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันของโลก

8. เป็นผู้อ่านมาก รู้มาก รู้ความต้องการของลูกค้า

9. มีความรู้ความเข้าใจนโยบายของบริษัทนำเที่ยว เพื่อจะได้เขียนรายการนำเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัท

สรุป

การเขียนรายการนำเที่ยวถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนช่วยในการนำเสนอขายสินค้าของบริษัทนำเที่ยว ผู้เขียนมีความรู้ความสามารถในการเขียนเป็นอย่างดี นอกจากจะมีศิลปะในการเขียนพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดความสนใจแล้วยังต้องมีความรู้ในการจัดรายการนำเที่ยวให้สัมพันธ์กันระหว่าง กิจกรรมระยะเวลา และระยะทาง เพื่อให้การเดินทางสามารถดำเนินไปได้ด้วยดีตามรายการนำเที่ยว โดยมีอุปสรรคน้อยที่สุด

การจัดทำเอกสารนำเที่ยว

เอกสารนำเที่ยว (tour brochure) ได้แก่ โปรแกรมนำเที่ยวที่ถือเป็นเครื่องมือในการนำเสนอขายที่มีมาตรฐานที่แสดงว่า ลูกค้าทุกคนจะได้รับข้อมูลเหมือนกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถมองเห็น จับต้อง นำกลับบ้านให้ครอบครัวดูได้ เป็นเสมือนสัญญาระหว่างบริษัทและลูกค้า และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการโฆษณาส่งเสริมการขาย เอกสารนำเที่ยวไม่จำเป็นต้องหรูหรา หรือมีสีสันมาก และสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น

1. แผ่นปลิว ซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วยโปรแกรมนำเที่ยว 1 หรือ 2 โปรแกรม

2. แผ่นพับ เป็นการนำเสนอโปรแกรมนำเที่ยวที่ทางบริษัทจัดทำขึ้นในรอบ 3 เดือน หรือ 6 เดือน เพื่อหวังผลทางการตลาด

3. รูปเล่มสวยงาม เป็นการรวบรวมโปรแกรมนำเที่ยวภายใน 1 ปี โดยไม่ระบุราคาขาย

บริษัทตัวแทนขายปลีก จะมีเอกสารนำเที่ยวเป็นเครื่องมือประกอบการขาย (Landry & Fesmire, 1994 : 19)

ดังนั้น การจัดทำเอกสารนำเที่ยวของการจัดนำเที่ยวประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดนำเที่ยวนอกประเทศ (outbound tour)หรือการจัดนำเที่ยวในประเทศ (domestic tour) หรือการจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (inbound tour) จะมีรายละเอียดที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ดังนี้

การจัดนำเที่ยวในประเทศ (domestic tour)

1. การเตรียมข้อมูลประกอบการเขียน

1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการเดินทางว่า ต้องการให้ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจากการท่องเที่ยวครั้งนี้ เป็นต้นว่า การได้รับความรู้ และความสนุกเพลิดเพลิน หรือการทำบุญ หรือการเที่ยวงานเทศกาล

1.2 สำรวจเส้นทางการเดินทาง ที่พก ร้านอาหาร สถานที่เยี่ยมชม แต่ละแห่ง

1.3 ศึกษาประวัติความเป็นมา จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว เป้าหมาย ตลอดจนงานเทศกาลประจำปีของท้องถิ่นนั้นๆ

2. ขั้นตอนการเขียนรายการนำเที่ยว

2.1 เกริ่นนำ

2.1.2 การตั้งชื่อทัวร์ อาจตั้งให้เป็นที่สนใจของผู้อ่าน เช่น ภูกระดึงแดนสวรรค์ ฟังแคนแดนอิสาน ชมทะเลเมฆบนเขาค้อ เที่ยวงานวันลำใยลำพูน เป็นต้น

2.2.2 ระบุจังหวัด หรือสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆ และระบุจำนวนวัน

2.1.3 บรรยายสรุปเกี่ยวกับการเดินทาง โดยหยิบยกจุดเด่น สิ่งสวยงาม หรือความสนุกสนานเพลิดเพลินที่จะได้รับ เป็นการเขียนเพื่อจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากจะไปเที่ยว

2.2 กำหนดการเดินทาง

2.2.1 ระบุวัน - เวลาที่ออกเดินทาง จุดนัดพบ วัน - เวลาที่เดินทางกลับ

2.2.2 กำหนดการเดินทางแต่ละวัน สถานที่เยี่ยมชมพร้อมอธิบายความสำคัญ ความเป็นมาของสถานที่นั้นอย่างสั้นๆ ระบุเวลาเริ่มออกเดินทาง การรับประทานอาหารกลางวัน อาหารเย็น ตลอดจนที่พักแรม

3. วิธีการนำเสนอ

การเขียนรายการนำเที่ยวควรใช้ภาษาที่สละสลวย ใจความสั้นๆ กระทัดรัด ข้อความรัดกุม นำส่วนที่แปลก สวย และที่สำคัญมาเขียน เขียนสำนวนที่ดึงดูดใจ พรรณนาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพสถานที่ท่องเที่ยว และเกิดอารมณ์คล้อยตาม และอยากติดตามไปในสถานที่จริง และควรแทรกเกร็ดความรู้ ประวัติความเป็นมาของสถานที่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะเมื่อผู้อ่านได้เดินทางไปยังสถานที่จริงก็จะเข้าใจในสถานที่ท่องเที่ยวดียิ่งขึ้น (พิชิต ธรวิรุฬห์, 2536)