การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)

งานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ค่อนข้างมีลักษณะการทำงานที่หลากหลาย และค่อนข้างกว้าง สามารถนิยามได้ว่า นักประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer) คือ ผู้ดำเนินงานเพื่อสร้างสรรค์ และดำรงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงาน สถาบัน องค์กร สถาบัน และประชาชน แล้วนัก ประชาสัมพันธ์ ทำอะไร บ้างล่ะ

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)

การทำงานของนักประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่วางแผน และดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายใน และภายนอก องค์กร เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ข่าวสารประชาสัมพันธ์ บทความ ภาพถ่าย วิดีโอ และสไลด์ รวมถึงบทความสัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือบุคคลพิเศษในโอกาสพิเศษ ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่กิจกรรมพิเศษเพื่อสังคมต่างๆ
หน้าที่ความรับผิดชอบของนักประชาสัมพันธ์
– จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ภายนอก และภายใน
– ศึกษานโยบาย เป้าหมาย และพันธกิจของหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน และดำเนินงาน
– จัดทำสื่อที่เหมาะสม ประกอบข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าสนใจเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับการประชาสัมพันธ์
– ประชาสัมพันธ์ให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมาย อาจด้วยแผ่นพับ ใบปลิว ติดบอร์ด หรือผ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ
– จัดเก็บข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมา
– พิจารณา ประเมินผลการทำงาน และรายงานผลสรุปข้อมูล
– หากเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสถานที่นั้นๆ อาจจะต้องเตรียมข้อมูลสำหรับการสอบถามจากลูกค้า

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจาก jobsDB ทั้ง iOS และ Android โหลดเลย


ตำแหน่งต่างๆ ของนักประชาสัมพันธ์
ในการทำงานประชาสัมพันธ์ก็มีหลากหลายตำแหน่งที่รองรับนักประชาสัมพันธ์ โดยมีลักษณะหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างตำแหน่งงานนักประชาสัมพันธ์ เช่น
– เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ (Public Relation Officer)
– เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาวุโส (Senior Public Relation Executive)
– Marketing Communication Officer
– พนักงานสื่อสารองค์กร
– เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ต้อนรับ (Information Officer/ Receptionist)
– Customer Service Receptionist
นี่เป็นเพียงตัวอย่างลักษณะการทำงานของนักประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีหลากหลายหน้าที่ อาจดูเหมือนเนื้องานที่ทำจะหลากหลายจนจับทางได้อยาก แต่ทั้งหมดก็เป็นไปเพื่อนำเสนอ และรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ให้องค์กร หรือบริษัทเป็นที่รู้จักกับคนทั่วไปมากขึ้นนั่นเอง


มองหางานนักประชาสัมพันธ์ คลิก jobsDB

#icanbebetter

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)

JobsDB  Marketing  การทำงานของนักประชาสัมพันธ์  งาน PR  งานประชาสัมพันธ์  นักประชาสัมพันธ์  ประเมินผลการทำงาน  องค์กร

บทความยอดนิยม

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)

20 ประเภทเพื่อนร่วมงานชวนป่วน พร้อมวิธีรับมือ

ในหนึ่งวันชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ ใช้เวลาอยู่ที่ออฟฟิศไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ถ้าไม่นับเวลาที่เราต้องนอนในแต่ละวัน...

ความหมายการประชาสัมพันธ์ “ การประชาสัมพันธ์ ” มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ คือ “Public Relations”
 “Public” หมายถึง หมู่คน ประชาชน หรือสาธารณชน
 “Relations” หมายถึง การสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)


ดังนั้น ถ้าแปลความหมายแล้ว การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง การสัมพันธ์กับคนหมู่มาก
✨เอ็ดเวิร์ด แอล.เบอร์เนส์(Edward L. Bernays) ให้ความหมาย “การประชาสัมพันธ์” ไว้ ๓ ประการ ได้แก่ ✬๑.เป็นการเผยแพร่ ชี้แจงให้ประชาชนทราบ
✬๒.เป็นการชักจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนวิธีการดำเนินงานของสถาบัน หน่วยงาน
✬๓.เป็นการผสมผสานความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและวิธีการดำเนินงานของสถาบัน

 ✨พรทิพย์ วรกิจโภคาทร ให้ความหมาย “ การประชาสัมพันธ์ ” คือ การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามแผนการของการสื่อสารที่ได้กำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องตรงกันในอันที่จะสร้างความเชื่อถือ ศรัทธา และความร่วมมือระหว่างสถาบันกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่ต่อเนื่องและหวังผลระยะยาว

✨เสรี วงษ์มณฑา ได้กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์” คือ การกระทำทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งปวง ที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้า ในการที่จะสร้างความเข้าใจกับ สาธารณชนที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ภาพพจน์ที่ดี อันจะนำไปสู่สัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงานและสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดการสนับสนุนและความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

 🔯จากความหมาย “ การประชาสัมพันธ์” ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า “การประชาสัมพันธ์” หมายถึง “การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน หรือองค์กรและกลุ่มประชาชนเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจอันถูกต้องในอันที่จะสร้างความเชื่อถือ ศรัทธา และความร่วมมือตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ บรรลุเป้าหมาย”

✨ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ (Public relation) เป็นหนึ่งในส่วนประสมของการสื่อสารทางการตลาดซึ่งมีความสำคัญ อย่างหนึ่งขององค์การที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยพนักงานขาย และการส่งเสริมการขาย ทั้งนี้องค์การอาจอยู่ในรูปของบริษัท ห้างร้าน สมาคมหรือหน่วยงานต่างๆ อันเป็นส่วนหนึ่งในระบบสังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน องค์การจะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้หรืออยู่ได้ยากหากปราศจากการยอมรับ และความเข้าใจจากสาธารณชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคม

ดังนั้นจึงจำเป็นที่องค์การต้องให้ความสนใจ ต่อการทำความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชนโดยผ่านสื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สาธารณชนมีทัศนคติ ความเชื่อหรือมุมมองที่ดีต่อองค์การ อันจะส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างราบรื่น ในระยะยาวขององค์การ

การประชาสัมพันธ์จะถูกใช้เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ บุคลากร สถานที่ แนวคิดและกิจกรรมการดำเนินงาน ต่างๆ ขององค์การ เช่น ธุรกิจการค้าใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการฟื้นความสนใจของลูกค้าต่อสินค้าที่ ตกต่ำลง การใช้การประชาสัมพันธ์ของประเทศในการดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือนักลงทุนเพื่อให้เข้ามาท่องเที่ยว หรือลงทุนในประเทศ หรือการที่บริษัทใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการกับวิกฤติที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด ในตัวสินค้าของผู้ใช้สินค้า เป็นต้น

ความหมายของการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์มักจะถูกเข้าใจสับสนกับการโฆษณา คนจำนวนมากมักจะเข้าใจว่าการโฆษณาและ การประชาสัมพันธ์มีความหมายเหมือนกัน จนบางทีเราเรียกการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เป็น “การโฆษณาประชาสัมพันธ์” ซึ่งในความเป็นจริงการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีความแตกต่างกัน พอสมควร ดังนี้

การโฆษณา (Advertising) เป็นการกระทำการใดๆ อันเป็นการชักจูงใจต่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ซึ่งอาศัยสื่อมวลชน (Mass media) ในการส่งผ่านข้อมูล ข่าวสารซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายและมิได้เป็นไปในรูปส่วนตัว

การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เป็นการติดต่อสื่อสารจากองค์การไปสู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึง รับฟังความคิดเห็นและประชามติจากสาธารณชนที่มีต่อองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อถือ ภาพลักษณ์ ความรู้ และแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 

จากความหมายของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว อาจสรุปเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างได้ ดังตาราง

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)



ลักษณะของการประชาสัมพันธ์ 

ลักษณะของการประชาสัมพันธ์มีดังต่อไปนี้
 ✬1.การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งไปยัง ผู้รับเกี่ยวกับข่าวสารขององค์การที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณชนรับทราบ และเข้าใจ และยังเป็น การสื่อสารย้อนกลับจากผู้รับ คือ สาธารณชน ไปยังองค์การเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับองค์การ
✬2.การประชาสัมพันธ์อาจมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม (Multiple target group) เช่น พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน รัฐบาล หรือหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุระสงค์ในการประชาสัมพันธ์ว่าต้องการ ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
✬3.การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์ต้องตั้งอยู่บนหลักความจริง เพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
✬4.การประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยคาดหวังผลต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อให้สาธารณชนมีความศรัทธาและมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อองค์การเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินกิจการ อยู่ในระยะยาวได้
✬5.การประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยจะมีการวางแผน ควบคุม และประเมินผล ของการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)


กลุ่มสาธารณชน (Public) จากความหมายของการประชาสัมพันธ์ จะเห็นว่าการประชาสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชน (Public) สาธารณชนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ❂1.สาธารณชนภายใน (Internal public) คือ สาธารณชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การ โดยตรง เช่น พนักงาน หรือลูกค้าขององค์การ ซึ่งองค์การในที่นี้อาจเป็นบริษัท รัฐบาล องค์การไม่แสวงหา ผลกำไรหรือสถาบันใดๆ กิจกรรมในการประชาสัมพันธ์จะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้อง ให้สาธารณชนภายในมีความเข้าใจและสนับสนุนในกิจกรรมเหล่านั้นด้วย ดังนั้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ สำหรับสาธารณชนภายใน คือ การให้สาธารณชนเหล่านี้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ขององค์การ
❂2.สาธารณชนภายนอก (External public) คือ สาธารณชนที่อยู่ภายนอกองค์การซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้อง โดยตรงกับองค์การ แต่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อการดำเนินการต่างๆ ขององค์การ ดังนั้นกิจกรรม ในการประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจกับสาธารณชนเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ขององค์การด้วยดี เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ชื่อเสียงขององค์การ ให้สาธารณชนเหล่านี้ได้เข้าใจถึงเจตนารมย์ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ รวมถึงการสร้าง ทัศนคติที่ดีต่อองค์การ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ สาธารณชนภายนอกอาจ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
✾2.1กลุ่มลูกค้า (Customers) กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มสาธารณชนที่สำคัญมากต่อองค์การ โดยเฉพาะบริษัทที่ ดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร เพราะเป้าหมายหลักของธุรกิจคือการทำรายได้หรือกำไรสูงสุดจากลูกค้า กลุ่มลูกค้า คือ ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท ดังนั้นลูกค้าจึงมีความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า หรือบริการของบริษัท ดังนั้นลูกค้าจึงต้องการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ซึ่งลูกค้า คาดหวังจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการจากบริษัทอย่างถูกต้องและเพียงพอในการตัดสินใจ ซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านั้น ลูกค้าจะมีความพึงพอใจต่อบริษัทเมื่อเขารู้สึกว่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อนั้น มีคุณภาพตามที่ต้องการในราคาเหมาะสม ดังนั้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในกลุ่มลูกค้า คือ การทำให้ลูกค้า เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา และมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการของบริษัทนั่นเอง และเมื่อลูกค้า เกิดความเชื่อมั่นแล้ว บริษัทจะสามารถบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ นอกจากนั้นลูกค้าที่มีความพึงพอใจ ยังจะเป็นกระบอกเสียงที่ดีเยี่ยมให้กับบริษัท โดยการบอกต่อแบบปากต่อปากและช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า หรือบริการของบริษัทให้แก่คนรู้จัก ญาติหรือเพื่อนได้อย่างเต็มใจ โดยที่บริษัทไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการประชาสัมพันธ์เลย
✾2.2 กลุ่มผู้ถือหุ้น (Shareholders) เป็นผู้ที่ได้รับผลได้หรือผลเสียของการลงทุน ร่วมเป็นหุ้นส่วนและเป็นเสมือน แหล่งเงินทุนสำหรับกิจการ เนื่องจากผู้ถือหุ้นได้ลงทุนในกิจการ จึงต้องการผลตอบแทนไม่ว่าจะเป็นในรูป ของกำไรหรือเงินปันผล ดังนั้นผู้ถือหุ้นมักจะให้ความสนใจในการดำเนินงานและการบริหารของบริษัทว่า มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ บริษัทจึงต้องตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นดังกล่าว โดยกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ของบริษัทจะเป็นไปเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้ถือหุ้น สร้างความน่าเชื่อถือ และขจัดความเข้าใจผิดหรือข่าวลือในทางลบที่เกิดขึ้นกับบริษัท และกระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นเกิดความ กระตือรือร้นต่อกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท
✾2.3กลุ่มผู้จัดส่ง (Suppliers) เป็นกลุ่มผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อป้อนเป็นปัจจัย ในการผลิตแก่บริษัท ผู้จัดส่งจึงต้องการผลกำไรที่เกิดจากการค้าขายกับบริษัท ความสัมพันธ์ที่ราบรื่น และเป็นประจำ รวมถึงการซื้อขายในราคายุติธรรม ดังนั้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของบริษัท จึงเป็นไปเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้จัดส่ง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายทั้งบริษัทและผู้จัดส่ง
✾2.4กลุ่มชุมชนใกล้เคียง (Communities) เป็นกลุ่มประชาชนที่อยู่รอบๆ บริเวณที่บริษัทตั้งอยู่ บริษัทจึง เปรียบเสมือนเพื่อนบ้านแปลกหน้า ดังนั้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของบริษัทจะเป็นไปเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์อันดี ความเข้าใจเพื่อให้กลุ่มชุมชนใกล้เคียงให้การสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ของบริษัทอย่างดีและเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อสร้างความเชื่อถือกับชุมชนใกล้เคียงว่าบริษัทไม่ได้ตักตวง เอาแต่ผลประโยชน์ของบริษัทโดยไม่คำนึงถึงสังคมรอบข้าง เช่น การจัดตั้งห้องสมุดประชาชน การสร้าง สวนสาธารณะในชุมชน การร่วมกิจกรรมการกุศลต่างๆ เป็นต้น

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)



หลักการเขียนข่าว
การเขียนข่าว คือ คือการนำเสนอข้อเท็จจริง คล้ายข้อเขียนทั่วไป แต่มีรายละเอียดเนื้อหา จุดหมาย และการเผยแพร่ต่างกัน โดยต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ และกลุ่มเป้าหมาย
องค์ประกอบของการเขียนข่าว 3 ส่วน คือ
⭐พาดหัวข่าว
⭐ความนำ
⭐และเนื้อข่าว
ดังนั้น ในการเขียนข่าว จึงดำเนินการดังนี้
✫ส่วนพาดหัวข่าว มักนำส่วนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาไว้ที่พาดหัวข่าวเพื่อดึงดูดความสนใจ
✫ส่วนความนำ จะเป็นส่วนที่บอกว่ามีอะไรเกิดขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของข่าวครบถ้วน ตามแนวทางการเขียนข่าว หรือ หลัก 5 W+1H ว่า ใคร (who) ทำอะไร(what) ที่ไหน(where) เมื่อไหร่ (when) เพราะอะไร (why) อย่างไร(how)
✫สรุปเนื้อหาสาระสำคัญของข่าวอย่างครบถ้วน
ส่วนเนื้อข่าว จะอยู่ในส่วนท้ายของข่าว โดยบอกรายละเอียดขยายส่วนความนำอีกครั้งหนึ่ง
องค์ประกอบของข่าวที่ดี คือ มีความชัดเจน มีความถูกต้อง ไม่มีอคติ หรือความเห็นส่วนตัว และมีความสมดุล
✷✷✷คุณค่าของข่าว คือ มีความสำคัญ และน่าสนใจ ทันเหตุการณ์✷✷✷

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)


ภาพข่าวแจก
ภาพข่าวแจก คือ ภาพบุคคล ภาพกิจกรรม หรือภาพประกอบสำหรับข่าวแจก เพื่อให้สื่อมวลชนตีพิมพ์หรือเผยแพร่ เป็นการเสริมให้ข่าวดูน่าสนใจยิ่งขึ้น การมีภาพข่าวให้สื่อมวลชนบางครั้งจะช่วยให้ข่าวมีความชัดเจนมากขึ้น คนอ่านและคนชมจะสามารถจดจำข่าวนั้น ๆ ได้ง่ายและข้อสำคัญสามารถสร้างความประทับใจได้ดีกว่าคำบรรยายธรรมดา
การให้น้ำหนักความสำคัญของภาพข่าวแจกที่จัดส่งให้แก่สื่อมวลชนนั้น เป็นไปได้ 2 ลักษณะ (บุณเณศร์ อิ่ชโรจน์,2544, หน้า 85) คือ
✷1. ภาพข่าวแจกเป็นตัวดำเนินข่าว ในลักษณะนี้ ภาพข่าวคือตัวหลักในการเล่าเรื่อง โดยมีข้อความบรรยายประกอบใต้ภาพ (caption)
✷2. ภาพข่าวใช้ประกอบข่าวแจก ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ ตัวข่าวแจกเป็นตัวหลักในการให้รายละเอียดของข่าว โดยมีภาพข่าวเป็นภาพประกอบ ภาพข่าวแจกควรจะเป็นภาพถ่ายที่มีความชัดเจน คือ มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาข่าว และมีคำบรรยายประกอบภาพ เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คำบรรยายประกอบภาพจะบอกรายละเอียดว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร
🌟ลักษณะของภาพข่าวแจก ภาพเป็นสื่อที่ใช้สื่อความหมาย สื่อความเข้าใจได้เป็นอย่างดี ภาพจะทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกได้ในตัวเอง การเลือกภาพเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งต้องเลือกสรรให้ได้ภาพที่ดูแล้วเกิดความรู้สึกตามวัตถุประสงค์ ภาพข่าวแจกจึงควรเป็นภาพที่มีเนื้อหา มีชีวิตชีวา มีศิลปะแห่งการถ่ายภาพ และสามารถบอกเรื่องราวให้ผู้ดูรู้เรื่องราวและสามารถเข้าใจได้ชัดเจน ลักษณะของภาพข่าวแจกจึงควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
✷1. เป็นภาพธรรมดาง่าย ๆ ถ้าเป็นภาพคน ก็ควรจำกัดจำนวนบุคคลในภาพ อย่าให้มีมากนัก เพราะจะทำให้ดูสับสน
✷2. เป็นภาพที่สามารถเล่าเรื่องราวนั้น ๆ ได้ในตัวเอง ถ้าเป็นภาพบุคคลก็คงเป็นภาพที่บุคคลกำลังทำอะไรบางอย่าง ไม่ควรเป็นภาพคนยืนหรือนั่งเฉย ๆ โดยไม่มีกิริยาอาการ
✸3. เป็นภาพที่มีจุดเด่นของข่าวที่ชัดเจนและได้สัดส่วน รวมทั้งต้องเป็นภาพที่มีลักษณะสีขาวกับดำตัดกันอย่างเด่น ซึ่งเมื่อนำไปถ่ายทำบล็อกและตีพิมพ์แล้ว จะได้ภาพที่แสดงรายละเอียดในภาพได้ชัดเจนดี และควรเป็นภาพขัดมัน ขนาดไม่ควรเล็กกว่าขนาดโปสการ์ด

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations หมาย ถึง)



การจัดทำภาพข่าวแจก
การส่งภาพข่าวแจกไปให้สื่อมวลชนทุกครั้ง และทุกภาพต้องเขียนคำอธิบายประกอบภาพข่าวนั้นติดไปกับภาพด้วย ซึ่งอาจใช้ขั้นตอนต่อไปนี้
✸1. หัวข้อภาพข่าว
การตั้งชื่อหัวข้อภาพข่าว มีลักษณะเหมือนหัวเรื่อง (headline) ซึ่งบางส่วนหัวข้อเรื่องนี้จะเป็นส่วนแรก มักพิมพ์ตัวหนาหรือตัวใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ข้อความไว้แล้วต่อด้วยข้อความที่บรรยายภาพนั้น 
✸2. คำอธิบายภาพ
การเขียนคำอธิบายภาพ จะยึดหลักการเขียนข่าวทั่วไป คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร แล้วแต่ว่าภาพนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องการเน้นส่วนใด กล่าวคือ จะเน้นที่บุคคล (ใคร) หรือเน้นกิจกรรม (ทำอะไร) หรือเน้นเหตุการณ์(อย่างไรหรืออะไร) และเน้นสถานที่ (ที่ไหน) การบรรยายภาพนิยมเขียนสั้น ๆ เฉพาะจุดที่ต้องการเน้นเท่านั้น
✸3. ให้มีเครื่องหมายที่แสดงว่าจบคำบรรยายภาพไว้ข้างท้าย
เมื่อจบข้อความที่บรรยายภาพแล้ว ควรทำเครื่องหมายที่แสดงว่าจบคำบรรยายแล้วไว้ข้างท้าย
ส่วนล่างสุดควรบอกชื่อผู้ส่งภาพ สถานที่และหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับติดต่อไว้ด้วย ข้อความที่อธิบาย ควรพิมพ์คำอธิบายภาพด้วยกระดาษสีขาวอีกแผ่นหนึ่ง แล้วติดไว้ใต้ภาพ การติดคำบรรยายควรติดด้วยกาวยาง หรือเทปกาวชนิดใสชนิดที่ลอกออกได้ง่าย ไม่ควรเขียนข้อความใด ๆ ไว้หลังภาพ การเขียนคำบรรยายประกอบภาพข่าวแจก ภาพข่าวแจกมีหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเขียนคำอธิบายประกอบจึงต้องมีวิธีการแตกต่างกันด้วย ดังนี้
✪1. ภาพบุคคล
ภาพบุคคลควรเป็นภาพที่บุคคลกำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเป็นภาพบุคคลหลายคนในภาพ การอธิบายควรอธิบายจากซ้ายไปขวา ภาพที่เน้นบุคคล คำอธิบายต้องบอกให้ชัดเจนว่าบุคคลนั้นคือใคร มีความสำคัญอย่างไร และทำอะไรที่เป็นผลต่อการประชาสัมพันธ์ ที่มา (ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่สอง, 5 ธ.ค.60)
✪2. ภาพกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข่าว
ภาพกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข่าวมักจะเป็นภาพบุคคลกำลังทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คำอธิบายภาพจะต้องเน้นที่ ใคร กำลัง ทำอะไร
✪3. ภาพสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับข่าว
ภาพสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับข่าว ภาพที่แสดงให้เห็นเฉพาะสถานที่ โดยไม่มีบุคคลทำอะไรในภาพนั้น คำอธิบายจะเน้นเฉพาะสถานที่เป็นสำคัญ เพื่อเน้นการประชาสัมพันธ์ให้รู้จักสถานที่
✪4. ภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าว
ภาพลักษณะนี้มักเป็นภาพที่มีความเป็นธรรมชาติ ไม่มีการจัดวางท่า เป็นภาพที่มี “ชีวิต” อยู่ในตัวของมันเอง การบรรยายภาพจึงนิยมบรรยายเน้นเฉพาะเหตุการณ์ โดยนำจุดเด่นของภาพมาอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

สรุป
⭐ข่าวแจก เป็นข่าวหรือเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมการดำเนินงาน รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่าง ๆ และผลปฏิบัติงานของหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบัน ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันนั้น ๆ เขียนขึ้นส่งให้แก่สื่อมวลชน เพื่อนำไปเผยแพร่แก่ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันนั้น แม้ว่าการเขียนข่าวแจกจะนิยมใช้โครงสร้างการเขียนข่าวแบบปิระมิดหัวกลับ และยึดหลักการเขียนข่าวแบบ 5W 1H เช่นเดียวกับการเขียนข่าวทั่ว ๆ ไป แต่การเขียนข่าวแจกก็มีความแตกต่างจากการเขียนข่าวทั่ว ๆ ไป ตรงจุดมุ่งหมายของการเผยแพร่ข่าว ทิศทางของผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ลักษณะของแหล่งข่าวหรือการได้ข่าว กลุ่มเป้าหมาย ขอบเขตของข่าว และความรวดเร็วหรือความทันเหตุการณ์

🌟การเขียนข่าวแจกยังมีความแตกต่างกันเมื่อเขียนเพื่อลงพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือเพื่ออ่านออกอากาศทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หากมีการส่งภาพข่าวแจก และทำภาพประกอบข่าวแจกให้เขียนคำบรรยายประกอบภาพด้วย สุดท้ายให้จัดส่งข่าวแจกและภาพข่าวแจกนั้นในเวลาและวิธีการที่เหมาะสม🌟

เครดิต:Janwith Tawpinit  http://pr-rmu.blogspot.com

Public Relations หมายถึงอะไร

การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เป็นการติดต่อสื่อสารจาก องค์การไปสู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและ ประชามติจากสาธารณชนที่มีต่อองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความเชื่อถือ ภาพลักษณ์ ความรู้ และแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง

Public Relations มีอะไรบ้าง

PR ทำอะไรบ้าง PR จะต้องเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ ผลิตสื่อและจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อการประชาสัมพันธ์ และวางแผนกลยุทธ์ในการเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นออกไปในวงกว้างให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ จากนั้นจึงรวบรวมสรุปข้อมูลทำรายงานส่งผู้บริหารในลำดับต่อไป

PR Marketing ย่อมาจากอะไร

การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด หมายถึง กระบวนการในการวางแผน (process of planning) การปฏิบัติการให้ส าเร็จตาม แผนการที่ได้วางไว้ ตลอดจนประเมินผลหรือติดตามผลความส าเร็จของโครงการ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้บรโภคกลุ่มเป้าหมายเกิดการซื้อ (encourage purchase) และสามารถตอบสนองต่อความจ าเป็น ความต้องการ ความเกี่ยวพัน และผลประโยชน์ ...

การประชาสัมพันธ์มีความสําคัญอย่างไร

การประชาสัมพันธ์ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นแก่หน่วยงานสินค้า และบริการ ท าให้ประชาชน เกิดความนิยมและไว้วางใจหน่วยงาน และเกิดนิยมสินค้าและบริการ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนในการด าเนินงาน จากกกลุ่มต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์ที่ดีท าให้ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานเป็นไปด้วยความราบรื่น และเกิดการ แข่งขันในระบบเศรษฐกิจเสรี ...