ดวงตาเห็นธรรม” (ธรรมจักษุ) มีความหมายว่าอย่างไร

ธรรมะประจำวันนี้ ขอพูดเรื่อง ธรรมจักษุ หรือดวงตาเห็นธรรม  หรือพุทธนิกาย ZEN ใช้คำว่า ชาโตริ หรือภาษาอังกฤษ คือ Enlighten นี่เป็นเรื่องของภาษาที่ต่างกัน แต่กล่าวถึงสภาวะเดียวกัน

การที่จะมีดวงตาเห็นธรรมได้ เราก็จะต้องเจริญสติปัฎฐาน 4 กาย เวทนา จิต จนเข้าถึงธรรม เกิดวิปัสสนาญาณ เห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง เห็นว่าสรรพสิ่งเกิดดับว่างจากตัวตน เห็นในความเป็นเช่นนั้นเองหรือ ตถตา การรู้เห็นเช่นนี้เราเรียกภาษาพระว่า ยถาภูตะญาณทัศนะ คือ รู้ เห็น ตามความเป็นจริง รู้ด้วยญาณ ที่เรียกว่า รู้อยู่ ว่างอยู่ เห็นอยู่ สภาวะนี้แหละที่เรียกว่า ธรรมจักษุ คือ เกิดดวงตาเห็นธรรม หรือดวงตาธรรม

ญาณที่กล่าวถึงนี้ เป็น รู้ ที่บริสุทธิ์ เป็นรู้ที่มีศักยภาพเปรียบประดุจเรดาร์ คือ จะรู้รอบ 360 องศา คือ รู้ทั้งตัวเองที่ว่าง และรู้อีกฝั่งหนึ่งคือ รูป นาม ขันธ์ 5 ที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีสาระแก่นสารอะไรที่ยึดมั่นถือมั่นได้

ในสภาวะที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมนี้แหละเป็นสภาวะที่เห็นได้ทั้งสองฝั่ง คือ ทั้งฝั่งทุกข์ ที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง หรือที่เรียกว่า สังขาร และฝั่งที่พ้นไปจากทุกข์ คือ ฝั่งที่พ้นไปจากการปรุงแต่งทั้งปวง หรือที่เรียกว่า วิสังขาร

เมื่อเข้าถึงญาณรู้ เห็นสภาวะสองฝั่งเช่นนี้ เท่ากับผู้ปฏิบัติเกิดการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 คือ

รู้ทุกข์ สภาวะที่ปรากฎขึ้นและเสื่อมสลายไป

ละเหตุแห่งทุกข์ คือ ถอดถอนตัณหา อุปาทาน ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น

เข้าสู่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่พ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวง

เจริญข้อปฎิบัติมรรคมีองค์ 8 เพื่อให้เข้าถึงการดับไม่เหลือแห่งทุกข์

สำหรับผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงสภาวะนี้ก็จะได้ลิ้มชิมรสของนิพพานชิมลอง จะอยู่ในสภาวะนี้ได้ชั่วคราว แต่ก็จะได้เห็นหนทางเดินชัดเจน แล้วว่าการเจริญสติปัฎฐาน 4 นี่แหละ ที่จะนำเราให้พ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวงในวัฎฎะสงสารได้

เพราะฉะนั้นการมีดวงตาเห็นธรรม หรือธรรมจักษุ จึงเป็นเพียงประตูที่เปิดไปสู่การบรรลุธรรมในขั้นต่าง ๆ ตั้งแต่ โสดาบัน ไปจนถึงอรหันต์

ดวงตาเห็นธรรม กับการบรรลุธรรม จึงเป็นคนละขั้นตอนกัน แต่จะบรรลุธรรมได้ต้องเกิดจากการมีดวงตาเห็นธรรมก่อน

 

Photo by Kristopher Roller on Unsplash

Secret Magazine (Thailand)


บทความน่าสนใจ

อยากหมดทุกข์ต้องปฏิบัติทุกขณะ ธรรมะจากพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี)

สมาธิวิธี โดย พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม)

ฟังอย่างไรให้กิเลสขาดไปสู่นิพพาน ท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิเถร (พระธรรมธีรราชมหามุนี)

ดับความโกรธเกลียดด้วยการเจริญเมตตา โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

อานิสงส์ของการมีครู ธรรมะจาก หลวงปู่หลุย จันทสาโร


 

ธรรมะ สุขใจ

Dhamma Secret Dhamma Secret Magazine Thailand ซีเคร็ต ดวงตาเห็นธรรม ธรรมจักษุ ธรรมะ เมตตา อุทกะพันธุ์

     เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงสมควรที่จะพากันปฏิบัติธรรม สรุปเข้าในมรรคมีองค์ ๘ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมรรคอริยสัจจ์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนเอาไว้ ก็จะดับทุกข์ได้ตามภูมิชั้นของการปฏิบัติ

เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

(1/1)

kallaya:
ไม่ได้มาช่วย เลย ขอเริ่มวงเสวนาธรรม ด้วยเรื่อง ดวงตาเห็นธรรม กับ ธรรมจักษุ

อ่านกระทู้ฝั่งนี้ แล้วได้ความรู้ มั่กมาก จริง ๆ โดยเฉพาะคุณณัฐพลสันต์ นี่อยากคุยด้วยจัง

ถ้าจะเป็นศิษย์เอกพระอาจารย์แน่ เลย ( อิจฉา ;D อิ ;D อิ )

ที่จริงจะบอกว่าตัวเองรู้ ก็ยังไม่น่าจะใช่ เพราะเข้าใจว่า ดวงตาเห็นธรรม น่าจะเป็น พระโสดาบัน
ส่วนธรรมจักษุ นั้นน่าจะเป็นของพระอรหันต์ มีพระไตรปิฏก ตอนไหนอ้างอิง หรือป่าว เชิญสมาชิกช่วยแถลงไขด้วยจ้า

raponsan:
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ้างอิงจาก  หนังสือ ๗ เล่มด้วยกัน
    * พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
    * พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
    * คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙
    * "อัฏฐสาลินีอรรถกถา"
    * "อภิธัมมัตถสังคหะ"
    * "อภิธัมมาวตาร"
    * abhidhamonline.org

ได้ให้ความหมายของ ดวงตาเห็นธรรมและธรรมจักษุ ไว้ดังนี้
ธรรมจักษุ - ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา; ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

จักษุ จักขุ ในทางพระพุทธศาสนา มีความหมายสองประการ คือ

  1. มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อใช้มองดูสิ่งต่างๆได้ เช่น นัยน์ตาของสัตว์ทั้งหลาย
   2. ปัญญาจักขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญา คือ เป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยนัยน์ตา

ปัญญาจักขุ ในทางพระพุทธศาสนาแสดงไว้เป็นห้าชนิด คือ
   1. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ
      และญาณปัญญาที่สามารถรู้ นามอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ว่ายิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่า อินทรียปโรปริยัตติญาณ
   2. สมันตจักขุ หมายถึง ญาณที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า สัพพัญญุตญาณ
   3. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลส เรียกว่า อรหัตมรรคญาณ หรือ อาสวักขยญาณ
   4. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
   5. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกล ได้อย่างละเอียด ด้วยอำนาจของ สมาธิจิต ที่เรียกว่า อภิญญาสมาธิ

ปัญญาจักขุห้าประการนี้
สมันตจักขุ พุทธจักขุ ย่อมมีได้แต่เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ส่วนปัญญาจักขุที่เหลืออีกสามประการ ย่อมเกิดแก่ พระอริยบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคล ที่ได้ทิพพจักขุญาณ ตามสมควรแก่ญาณ และบุคคล
-----------------------------

ตอบคำถามคุณกัลยา
คำว่า “ดวงตาเห็นธรรม” และคำว่า “ธรรมจักษุ” เป็นคำเดียวกัน (ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น)
ใช้กับพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
ส่วนพรอรหันต์ ใช้ คำว่า  “ญาณจักขุ”
จากนี้จะยกตัวอย่างมาให้อ่าน เป็นกรณีของพระอัญญาโกณฑัญญะ ที่อยู่ในปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
มาแสดงให้เห็นที่มาของคำว่า ดวงตาเห็นธรรม หรือ ธรรมจักษุ

สำแดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม
ความโดยย่อ
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka
วันที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรม   'ปฐมเทศนา'   ดังที่เห็นอยู่ในภาพนั้น   คือ   วันขึ้น
๑๕  ค่ำ  เดือน  ๘  เป็นรุ่งขึ้นหลังจากเสด็จมาถึงและพบเบญจวัคคีย์  คือ  วันอาสาฬหบูชานั่นเอง

   ผู้ฟังธรรมมี  ๕  คน  ที่เรียกว่า 'เบญจวัคคีย์'  เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ทรงปฏิเสธสิ่งที่คนคือนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน  คือ  เรื่องทรมานตนให้ลำบาก   และการปล่อยชีวิตไปตาม
ความใคร่  ทรงปฏิเสธว่าทั้งสองทางนั้น  พระองค์เคยทรงผ่านและทรงทดลองมาแล้ว  ไม่ใช่ทางตรัสรู้เลย
แล้วทรงแนะนำทางทางสายกลางที่เรียกว่า  'มัชฌิมาปฏิปทา'  คือปฏิบัติดีปฏิบัติตามมรรค  ๘  ที่กล่าวโดย
ย่อคือ  ศีล  สมาธิ  และปัญญา

   เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว  พระสาวกรุ่นทำสังคายนาตั้งชื่อเรื่องเทศน์กัณฑ์ที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงครั้งแรกนี้ว่า  'ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร'   หรือเรียกโดยย่อว่าธรรมจักร  โดยเปรียบเทียบการแสดง
ธรรมของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ว่า       เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิทรงขับจักรหรือรถศึกแผ่พระบรมเดชานุภาพ
ต่างแต่จักรหรือรถศึกของพระพุทธเจ้าเป็นธรรม  หรือธรรมจักร

   พอแสดงธรรมกัณฑ์นี้จบลง   โกณฑัญญะ  ผู้หัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม   คือ
ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน  พระพุทธเจ้าจึงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัย   เมื่อเห็นโกณฑัญญะได้ฟัง
ธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลที่แม้จะเป็นขั้นต่ำ  "อัญญาสิ  วตโก  โกณฑัญโญ  ฯลฯ"  แปลว่า "โอ!  โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้ว  ได้สำเร็จแล้ว"  ตั้งแต่นั้นมา  ท่านโกณฑัญญะจึงมีคำหน้าชื่อเพิ่มขึ้นว่า  'อัญญาโกณฑัญญะ'

   โกณฑัญญะฟังธรรมจบแล้ว ได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ  พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานอนุญาต
ให้ท่านบวช  ด้วยพระดำรัสรับรองเพียงว่า  "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  เธอจงประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"  พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่าน  ส่วนอีก  ๔   ที่เหลือ
นอกนั้น   ต่อมาได้สำเร็จและได้บวชเช่นเดียวกับพระโกณฑัญญะ

--------------------------------------

ขอนำบาลีและคำแปลบางส่วนของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรมาแสดงดังนี้

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

คำขึ้นต้น

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีในเวลานั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า

คำช่วงกลาง

อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณได้แสดงธรรมโดยปริยายดังกล่าวมา เหล่าภิกษูเบญจวัคคีย์ ก็ได้มีใจยินดีเพลินในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่ สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย

หมายเหตุ -  คำบาลี “ธัมมะจักขุง” แปลว่า ธรรมจักษุ  หรือ ดวงตาเห็นธรรม นั่นเอง

คำลงท้าย
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต
โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ

จบ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
--------------------------------------------------------------      

whanjai:
 :D :D :D :D :D
ตอบได้ดีจัง หวาน ว่าพี่ กัลยา ชอบใจมากเลย

สาธุ สาธุ สาธุ

patra:
แนะนำให้อ่านครับ

 :13:

The-ring:
มาอ่าน แว้ว นะครับ

 :25:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

โกณฑัญญะเกิดธรรมจักษุหรือดวงตาเห็นธรรม หมายถึงอะไร

ดวงตาเห็นธรรม แปลมาจากบาลีว่า ธัมมจักขุ การที่โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ก็คือได้เกิดความรู้เห็นตามเป็นจริงซึ่งธรรมชาติและธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ว่ามีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีการดับสลายเป็นธรรมดา

ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลีเกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะความว่าอย่างไรในขณะนั้นท่านเป็นอริยบุคคลชั้นไหน

๒๙ ๔. ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี เกิดขึ นแก่พระโกณฑัญญะความว่าอย่างไร ? ในขณะนั น ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั นไหน ? ตอบ ความว่า สิ งใดสิ งหนึ งมีความเกิดขึ นเป็นธรรมดา สิ งนั นทั งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ เป็นพระอริยบุคคลชั นพระโสดาบัน ฯ ๕. พระศาสดาทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ตามลําดับ แก่บุคคลผู้มีคุณสมบัติเช่นไร ?

ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคลขั้นใด

"ดวงตาเห็นธรรม" เป็นคำเรียกผู้ที่บรรลุ "โสดาปัตติผล" เป็นพระ "โสดาบัน" (ผู้แรกหยั่งลงสู่กระแสพระนิพพาน) ซึ่งถือเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นในสี่ขั้น กล่าวคือ (๑) พระโสดาบัน (๒) พระสกทาคามี (๓) พระอนาคามี (๔) พระอรหันต์

เมื่อพระสารีบุตรมีดวงตาเห็นธรรมได้ไปเล่าให้ใครฟัง

ด้านการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีนั้น พระสารีบุตรเถระเป็นผู้มีความกตัญญูอย่างยิ่ง ท่านได้บรรลุโสดาบัน และได้บวชในพระพุทธศาสนา เพราะได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิตั้งแต่นั้นมาท่านนับถือพระอัสสชิว่า เป็นอาจารย์ของท่าน ทำการเคารพกราบไหว้เสมอ ทราบว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด จะยกมือไหว้และนอน ผินศีรษะไปทางทิศนั้น