ระเบียบการใช้ห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียน doc

  1. อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยที่ประสงค์จะใช้ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จะต้องกรอกแบบฟอร์ม  และระบุเวลาที่ต้องการลงในใบจองเวลาการใช้  โดยขออนุมัติใช้บริการได้คราวละไม่เกิน 1 เดือน  ให้ส่งแบบฟอร์มที่นักวิทยาศาสตร์ ล่วงหน้า 3 วัน
  2. การเบิก-ยืมเครื่องมือ วัสดุวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามระเบียบการเบิก-ยืม โดยให้ส่งแบบฟอร์มที่นักวิทยาศาสตร์ ล่วงหน้า 3 วัน
  3. ก่อนใช้อุปกรณ์ต้องทำการตรวจเช็คก่อนทุกครั้ง ถ้าอุปกรณ์ชำรุดต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
  4. ควรแต่งการให้สุภาพ เรียบร้อย เมื่อมาปฏิบัติงาน และควรใส่เสื้อกาวน์ทุกครั้งที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
  5. ผู้ขอใช้บริการต้องรับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยของห้องปฏิบัติการและเครื่องมือที่ขอใช้
  6. ผู้ขอใช้บริการต้องเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ และสารเคมีที่ประกอบการใช้เครื่องมือมาเอง และเก็บให้เรียบร้อยทุกครั้ง     หลังการใช้งานในแต่ละวัน ห้ามมิให้วางวัสดุอุปกรณ์ส่วนตัวทิ้งไว้บนพื้นที่ส่วนรวมอย่างเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืนจะไม่รับผิดชอบในความเสียหาย หรือสูญหาย ของอุปกรณ์เหล่านั้น
  7. ให้ทำการติดฉลากสารละลายที่เตรียมทุกขวด/หลอด โดยเขียนชื่อสารละลาย ชื่อผู้เตรียม และวัน/เดือน/ปี ที่เตรียม ขวดสารละลายหรือหลอดทดลองที่ไม่มีการติดฉลากจะถูกกำจัดออกไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  8. การใช้เครื่องมือใด ๆ ให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องมือเสมอ โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติของแต่ละเครื่องอย่างเคร่งครัด     หากเกิดเหตุขัดข้องในการใช้งานหรือเกิดการชำรุดเสียหายให้แจ้งนักวิทยาศาสตร์ที่มีหน้าที่ดูแลโดยทันที
  9. ให้ลงบันทึกการใช้งานในสมุดบันทึก (Log Book)  หลังการใช้งานทุกครั้ง
  10. ห้ามเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทุกชิ้นออกนอกห้องก่อนได้รับอนุญาต
  11. หลังการใช้เครื่องมือแล้ว ผู้ใช้บริการต้องทำความสะอาดและจัดเครื่องมือให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมใช้งานได้ต่อไป
  12. ในกรณีที่เครื่องแก้วและอุปกรณ์ต่างๆ ชำรุดเสียหาย การชดใช้ค่าเสียหาย มีดังนี้
    1. กรณีเครื่องแก้ว นักศึกษาต้องชดใช้ค่าเสียหายในราคาเต็มของเครื่องแก้วชนิดนั้นๆ
    2. กรณีเครื่องมือและอุปกรณ์ ถ้าความเสียหายนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อ และ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างไม่ถูกต้องนักศึกษาจะต้องชดใช้ค่าซ่อมแซมทั้งหมด นอกเหนือจากนั้นให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถาบันชาและกาแฟ
  13. ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ หากพิจารณาแล้วว่าเป็นเหตุเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ใช้บริการ
  14. ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาในห้องปฏิบัติการโดยเด็ดขาด
  15. ห้องปฏิบัติการชาและกาแฟขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตให้นักศึกษาที่ฝ่าฝืนระเบียบการใช้เครื่องมือที่ห้องปฏิบัติการอีกต่อไป

 
ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลภายนอก

  1. ห้องปฏิบัติการชาเปิดให้บริการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 – 16.00 น. หยุดวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ
  2. หากประสงค์จะใช้ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จะต้องกรอกแบบฟอร์ม  และระบุเวลาที่ต้องการลงในใบจองเวลาการใช้  โดยขออนุมัติใช้บริการได้คราวละไม่เกิน 1 เดือน  ให้ส่งแบบฟอร์มที่นักวิทยาศาสตร์ ล่วงหน้า 1 อาทิตย์
  3. บุคคลภายนอกที่ขอใช้บริการต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการและเครื่องมืออย่างเคร่งครัด
  4. ผู้ใช้บริการต้องชดใช้ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อเครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่ขอใช้

ข้อปฏิบัติทั่วไป

1) ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวไวไฟ หรือในขบวนการกลั่น (distillation)

2) ให้ความระมัดระวังในการจุดไฟในห้องปฏิบัติการ ดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ไฟติดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู

3) ก่อนที่จะทำการจุดไฟ ควรย้ายวัสดุไวไฟออกจากบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าได้ปิดภาชนะที่บรรจุของเหลวไวไฟอย่างดีแล้ว

4) ควรเก็บสารเคมีไวไฟในตู้สำหรับเก็บสารเคมีไวไฟโดยเฉพาะ

5) ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ ในกรณีที่มีสารระเหยไวไฟ (Volatile flammable material)

6) ควรใช้ตู้ดูดควันในการถ่ายเท ผสม หรือ ให้ความร้อนสารเคมี

7) กรณีสามารถเลือกใช้สารเคมีได้ ควรเลือกใช้สารเคมี ที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด ในปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้

8) อ่านคู่มือ และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารก่อมะเร็ง

9) กรณีเกิดกลิ่นผิดปกติในห้องปฏิบัติการควรแจ้งให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบโดยทันที

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

1) ทราบอันตรายของสารเคมีที่ตนต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถทราบได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (Material safety data sheets) หรือ MSDS

2) ทราบสถานที่และวิธีการเก็บรักษาสารเคมีที่เหมาะสม

3) ทราบวิธีการเคลื่อนย้ายสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ

4) ทราบวิธีการใช้เครื่องป้องกันตนเองที่เหมาะสมต่อสารเคมี

5) ทราบจุดเก็บ และวิธีใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในกรณีสัมผัสสารเคมี

6) ทราบแนวทางการปฏิบัติในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น เส้นทางออกจากห้องปฏิบัติการ วิธีปฏิบัติตนเมื่อสัมผัสสารเคมีอันตราย รวมถึงแนวทางการจัดการของเสีย