ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือแผนการดำเนินงานของธุรกิจ หรือโครงการหนึ่งๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น 1 – 3 ปี และในระยะยาว 3 – 5 ปี อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจทั้งทางด้านมหภาค (Macro Analysis) และจุลภาค (Micro Analysis) การวิเคราะห์ธุรกิจของโครงการในแง่มุมต่างๆ ทั้งทางด้านการตลาด ทางด้านการดำเนินงาน ทีมผู้บริหาร และทางด้านการเงิน เพื่อเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ แนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต

ทำไมต้องมีแผนธุรกิจ ?

การเขียนแผนธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งและเป็นมาตรฐานในการทำธุรกิจสมัยใหม่ไปแล้วก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอกู้เงินหรือการขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อนำเงินมาลงทุน การขอเงินจาก Venture Capital หรือการใช้เงินลงทุนของตนเองก็ดี เนื่องจากจะทำให้เจ้าของกิจการ ผู้ร่วมธุรกิจ หรือธนาคารได้เห็นภาพรวมของโครงการ รวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด จะให้ผลคุ้มทุนเมื่อใด มีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนในโครงการนั้นๆ จริง โดยแผนธุรกิจนอกจากจะเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว ยังเป็นแผนงานและแผนควบคุมการดำเนินงานของบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย

ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

แผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้

  1. บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) เพื่อให้ผู้บริหารหรือผู้พิจารณาแผน ได้ทราบภาพรวมทั้งหมดของโครงการ และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน
  2. โครงสร้างอุตสาหกรรมของบริษัท (Industry Analysis) บอกถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมของโครงการ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของโครงการ
  3. การวิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน สภาพการแข่งขันในตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และการประมาณการยอดขายสินค้าและบริการ
  4. แผนการตลาด (Marketing Plan) การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งทางด้านสินค้าและบริการ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารทางการตลาด การบริหารการขาย และการรับประกันสินค้าและบริการ
  5. แผนการพัฒนาในอนาคต (Improvement Plan) แผนงานการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทในอนาคต
  6. แผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan) กลยุทธ์การดำเนินงาน สถานที่ตั้ง แผนการดำเนินงาน
  7. โครงสร้างองค์กร (Organization Plan) แผนผังองค์กร ทีมงานหลักในการบริหาร และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ
  8. ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ (Business Profit) นโยบายทางการเงิน สมมติฐานการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เงินลงทุนและผลตอบแทน อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
  9. แผนการดำเนินงาน (Gantt Chart) แผนภาพระยะเวลาของการดำเนินงานในช่วงเวลาต่างๆ (Time Frame)
  10. แผนการควบคุม (Controlling Plan) แผนควบคุมการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
  11. แผนฉุกเฉิน (Emergency Plan) แผนสำรองหากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ หรือแผนการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ที่มา smesmart

* * * * * * * * * * * * * * *

ตัวอย่างแผนธุรกิจ

สำหรับเอาไว้ศึกษาดูเป็นแนวทาง เป็นไฟล์ PDF ข้อมูลจาก ศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม (BOC) สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ

Business, Business Plan, Business Planning, Franchise, Gantt chart, Planning, การดำเนินงาน, ก่อนเริ่มแฟรนไชส์, ริ่มต้นทำแฟรนไชส์, วางแผนธุรกิจ, วางแผนแฟรนไชส์, เปิดร้านแฟรนไชส์, แผนการดำเนินงาน, แผนดำเนินงาน, แผนธุรกิจ

Gantt chart แผนการดำเนินงาน หรือปฏิบัติงาน ที่เป็นแผนภูมิในรูปของกราฟ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องใส่ลงไปใน “แผนธุรกิจ” หรือ Business Plan ก่อนจะเริ่มต้นทำแฟรนไชส์

เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน เนื่องจากสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการ กำหนดเวลา และผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของโครงการหรือกิจกรรมในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ช่วยให้การติดตามประเมินผลการดำเนินงานง่ายขึ้น

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

ภาพจาก bit.ly/3aQGbGM

Gantt chart ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1917 โดย Henry L. Gantt เพื่อใช้วางแผนเกี่ยวกับเวลา และแก้ปัญหาเรื่องการจัดตารางการทำงาน ผังจะแสดงถึงปริมาณงานและเวลาที่จะต้องใช้เพื่อทำงานนั้นให้ลุล่วง โดยวางงานตามลำดับการทำงาน ว่ามีงานไหนต้องทำเสร็จก่อน แล้วจึงจะเริ่มงานต่อไปได้

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

ภาพจาก bit.ly/3t6fvbk

Gantt Chart เป็นแผนภูมิประกอบด้วย แกนหลัก 2 แกน คือ แกนนอนแสดงถึงเวลาในการทำงานตลอดโครงการ ส่วนแกนตั้งแสดงถึงงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำ แท่งกราฟวางตัวในแนวนอนนั้น ความยาวของแท่งกราฟเป็นสัดส่วนโดยตรงกับระยะเวลาในการทำงาน นั่นคือ ยิ่งกราฟยาวมาก แสดงว่า งานนั้นใช้เวลาทำนาน

ประโยชน์อื่นๆ ของ Gantt Chart

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

1.ปรับเปลี่ยนขนาดของการวางแผนได้ กล่าวคือ มีความเหมาะสมกับการวางแผนโครงการขนาดเล็ก การวางแผนภาพรวมโครงการขนาดใหญ่ หรือ มีการสร้างแผนงานขนาดเล็กภายใต้โครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น

2.ใช้ในการประสานงานระหว่างแผนก/หน่วยงาน เมื่อมี Gantt Chart อยู่ในมือคนละใบ ภาษาที่ใช้สื่อสารในการทำงาน ก็มักจะเป็นเรื่องเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงความคาดเคลื่อนของการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

3.เมื่อผู้ใช้งานได้นำ Gantt Chart มาปรับใช้ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอแล้ว ผู้ใช้งานจะสามารถเห็นรูปแบบของการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ ทำให้มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจวางแผนงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาจเกิดการสังเกตเห็นปัญหาซ้ำๆ ในระหว่างเดือนมกราคม ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วพบต้นเหตุของปัญหา ก็สามารถวางแผนเพื่อลดผลกระทบของปัญหาได้ในการวางแผนครั้งต่อไป

4.Gantt Chart สามารถนำมาปรับใช้ให้เป็นไปในรูปแบบที่สามารถติดตามความก้าวหน้าของโครงการได้มากขึ้น วิธีที่นิยมที่สุด คือ การกำหนดสีที่ใช้สำหรับกราฟิกที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวสำหรับขั้นตอนที่ทำสำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาที่วางแผนไว้ สีเหลืองสำหรับขั้นตอนที่กำลังดำเนินการ และ สีแดงสำหรับขั้นตอนที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผน หรือ ดำเนินการช้ากว่าแผนงานนั่นเอง

สร้างธุรกิจแฟรนไชส์ ใน 60 วัน

สำหรับการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ หรือทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะ 30 วัน หรือ 90 วัน เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการขนาดเล็ก หรือเจ้าของธุรกิจที่กำลังอยากขยายธุรกิจด้วยแฟรนไชส์

1.หาความรู้ระบบแฟรนไชส์ (1 วัน)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงานที่มีความอดทน และมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เพราะการทำแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิต่อเนื่อง การสนับสนุนแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ ฯลฯ หากไม่รู้เรื่องเหล่านี้ก็ทำแฟรนไชส์ไม่ได้

สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในเรื่องแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คอร์สเรียนขายดี

2.สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า (10 วัน)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

ธุรกิจต้องโดนใจลูกค้าเสียก่อน ถ้าธุรกิจเรายังไม่ใช่สำหรับลูกค้า มันก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน การที่จะขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปได้นั้นเราต้องได้ใจของลูกค้าด้วย การสร้างธุรกิจที่ได้ใจลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำได้ถูกต้องเราก็ไม่ต้องกลัวว่าต่อไปจะพลาด อย่าให้เราต้องเสียเวลาต้องกลับมาแก้ไขปัญหาภายหลัง คงไม่ใช่เรื่องสนุกเท่าไหร่

บริการ #รับเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) คลิก https://bit.ly/3iRPavD

โทร : 02-1019187

3.จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (60 วัน)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ การจดสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า (ตราสินค้า) เมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า ก็จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปใช้ดำเนินธุรกิจด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี หรือมาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับ การดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย

บริการ #รับจดเครื่องหมายการค้า (Trade mark) คลิก https://bit.ly/3AUdqTU

โทร : 02-1019187

4.การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ (20 วัน)

 
ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์

5.วิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน (5 วัน)

 
ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

6.การเขียนสัญญาแฟรนไชส์ (10 วัน)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

เจ้าของธูรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องมีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้แฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นกฎปฏิบัติของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และห้ามทำอะไรบ้าง ใครไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารรฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย เจ้าของธุรกิจอาจจะต้องจ้างทนาย หรือผู้เชี่ยวชาญในการร่างสัญญานี้ขึ้นมา

บริการ #รับร่างสัญญาแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3srrkKo

โทร : 02-1019187

7.ทำคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ (10 วัน)

ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจ ที่คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องปฏิบัติตามทุกอย่าง คู่มือนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์ได้ง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์กี่สาขา ทุกสาขาก็จะยึดแนวทางการบริหารธุรกิจและบริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน

8.การวางแผนด้านการตลาด (30 วัน)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

การวางแผนการตลาดที่จะสนับสนุนการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างตราธุรกิจ การสร้างลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค รองรับการขยายของธุรกิจที่มีสาขามากขึ้น การตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเราต่อมาก็ได้

#ทำการตลาดและประชามสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

9.สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี (5 วัน)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

เจ้าของกิจการที่จะสร้างแฟรนไชส์ ต้องมีการสร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ ทั้งการสนับสนุนก่อนเปิดร้าน และหลังเปิดร้าน โดยก่อนเปิดร้านจะเป็นการออกแบบตกแต่งร้าน การฝึกอบรมพนักงานทั้งในบริษัท และช่วงก่อนเปิดร้าน 4-5 วัน ส่วนการสนับสนุนหลังเปิดร้าน ก็จะเป็นการตรวจเยี่ยมเยี่ยมสาขาแฟรนไชส์ ว่าเดือนหนึ่งๆ จะออกไปตรวจกี่ครั้ง

ทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันเลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้

นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สและผ่านอบรมการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง แผนการดำเนินงาน / ปฏิบัติงาน เปิดร้านแฟรนไชส์อาหาร (ระยะเวลา 90 วัน หรือ 12 สัปดาห์)

ตัวอย่าง Gantt Chart ธุรกิจ

 

  • #ขั้นตอนที่ 1 : การออกแบบ / ก่อสร้าง (สัปดาห์ที่ 1 – สัปดาห์ที่ 12)
  • #ขั้นตอนที่ 2 : จัดหาเฟอร์นิเจอร์ / ตกแต่ง (สัปดาห์ที่ 3 – สัปดาห์ที่ 4) และ (สัปดาห์ที่ 11 – สัปดาห์ที่ 12)
  • #ขั้นตอนที่ 3 : จัดหาเครื่องมือในครัว / อุปกรณ์จัดการต่างๆ ในร้าน (สัปดาห์ที่ 5 – สัปดาห์ที่ 6) และ (สัปดาห์ที่ 11)
  • #ขั้นตอนที่ 4 : ทำห้องครัว / ห้องอาหาร (สัปดาห์ที่ 6) และ (สัปดาห์ที่ 11)
  • #ขั้นตอนที่ 5 : จัดเตรียมแหล่งวัตถุดิบ / อุปกรณ์ออฟฟิศ (สัปดาห์ที่ 7 – สัปดาห์ที่ 8)
  • #ขั้นตอนที่ 6 : รับสมัครพนักงาน / อบรมพนักงาน (สัปดาห์ที่ 6 – สัปดาห์ที่ 9)
  • #ขั้นตอนที่ 7 : ประชาสัมพันธ์ / ทำการตลาด / โปรโมทร้าน (สัปดาห์ที่ 7 – สัปดาห์ที่ 12)
  • #ขั้นตอนที่ 8 : เปิดร้าน (วันที่ 85 หลังสัปดาห์ที่ 12)

ได้เห็นตัวอย่างของ Gantt chart ข้างต้นไปแล้ว ลองวางโครงสร้างและทำเป็นกราฟ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้วางแผนตลอดจนผู้ปฏิบัติงานสามารถทราบถึงลำดับขั้นตอนการทำกิจกรรมต่างๆ กำหนดเวลาเวลาในการเริ่มทำกิจกรรม ตลอดจนสามารถใช้ประเมินประสิทธิภาพของการทำกิจกรรมต่างๆ ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ ที่แสดงใน Gantt chart บางกิจกรรมไม่อาจเริ่มได้จนกว่ากิจกรรมบางกิจกรรมจะเสร็จสิ้น บางกิจกรรมสามารถเริ่มได้โดยที่กิจกรรมอื่นยังไม่เสร็จ และบางกิจกรรมสามารถเริ่มได้พร้อมกับกิจกรรมอื่นนั่นเอง