ศิลปากร คณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2511 ภาควิชาภาษาอังกฤษได้เริ่มเปิดสอนพร้อมกับการจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์

ลักษณะการเรียนการสอนในตอนปี1 น้องๆจะยังไม่ได้เลือกวิชาเอก แต่ยกเว้นรอบโควตา หรือกลุ่มที่สอบเข้ามาแบบยื่นเข้าเรียนเลือกวิชาเอก จะเลือกวิชาเอกในปี 2 ภาคเรียนที่ 2 โดยตั้งแต่ ปี 1 จนถึง ปี 2 ภาคเรียนแรก น้องๆ ต้องเก็บสาขาวิชาที่สนใจไว้ 3 สาขาวิชา กล่าวคือ จะต้องเลือกเรียนวิชาที่อยากจะได้เป็นวิชาเอก วิชาโททั้งหมด 3 สาขาวิชา สาขาวิชาละ 3 วิชาด้วยกัน และก็ต้องเก็บ 2สาขาวิชา เพื่อให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ก็จะมีวิชาบังคับคณะอีกมากมาย

ระบบรับตรง โควตาพิเศษ 28 จังหวัด (กันยายน-ตุลาคม)
- กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ 28จังหวัด (กาญจนบุรี, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชัยนาท, ชุมพร, ตราด, นครนายก, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, ประจวบคีรีชันธ์, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, เพชรบุรี, ระนอง, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทองและอุทัยธานี )
- สมัครด้วยตนเองที่เวปไซต์ www.quota.su.ac.th
- มีผลคะแนนสอบวิชา GAT / PAT 7.1 (วิชาฝรั่งเศส)

แอดมิชชัน
รูแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%

รูปแบบที่ 2 (เลือกสอบวิชาภาษาต่างประเทศ)
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน), PAT7.5 (ภาษาอาหรับ), PAT7.6 (ภาษาบาลี) 20%

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิลปากร คณะอักษรศาสตร์
ชื่ออังกฤษFaculty of Arts, Silpakorn University
ที่อยู่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วันก่อตั้ง20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (54 ปี)
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ลิ้มประเสริฐ
วารสาร
  • วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สีประจําคณะ██ สีฟ้าตาแมว[1]
สัญลักษณ์ตัวอักษร ก ไก่ ลายสือไทย
ศิลปากร คณะอักษรศาสตร์
เว็บไซต์www.arts.su.ac.th
เฟซบุ๊กwww.facebook.com/arts.su

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2511 จัดตั้งคณะอักษรศาสตร์
    • มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในระยะแรกได้มีการจัดตั้งคณะวิชาทางด้านศิลปะและโบราณคดีรวมทั้งสิ้น 4 คณะ ณ วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อผู้แทนของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น
    • ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง "คณะอักษรศาสตร์" ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 และเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะฯ ตลอดมา
    • จัดตั้งภาควิชาประวัติศาสตร์เป็นภาควิชาแรกในคณะฯ เปิดสอนหลักสูตร อักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกประวัติศาสตร์และวิชาโท
    • ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์คนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2513
    • เปิดใช้อาคาร A1 (ปัจจุบันคือหอพักทับแก้ว 1)
    • จัดตั้งภาควิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาอังกฤษและวิชาโท
    • เปิดสอนวิชาภูมิศาสตร์เป็นวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาโท
    • เปิดสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
    • เปิดสอนวิชาภาษาไทย
    • เปิดสอนวิชาโทภาษาเยอรมัน
  • พ.ศ. 2512
    • เปิดใช้อาคาร A3 (ปัจจุบันเป็นที่ทำการกองบริหารงานวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
    • เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นวิชาศึกษาทั่วไป
  • พ.ศ. 2513
    • ศาสตราจารย์ คุณหญิง ศรีนาถ สุริยะ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ถึง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2514
    • ศาสตราจารย์ คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2514
    • เปิดใช้อาคาร A4 (ปัจจุบันคือโรงละครวัชรนาฏยสภา คณะอักษรศาสตร์)
    • เปิดสอนวิชาโทนาฏศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิชาโทการแสดงศึกษา)
    • เปิดสอนวิชาปรัชญาและศาสนา
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภูมิศาสตร์และวิชาโท
    • นักศึกษาวิชาเอกประวัติศาสตร์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2515
    • จัดตั้งภาควิชาภาษาไทย เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาไทยและวิชาโท
    • เปิดสอนวิชาสังคมศาสตร์ โดยสังกัดภาควิชาประวัติศาสตร์
    • จัดตั้งหมวดวิชาทัศนศิลป์ เปิดสอนวิชาทัศนศิลป์เป็นวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาโท
    • ที่ประชุมกรรมการคณะมีมติให้ตั้งกรรมการร่างระเบียบงานบริหารคณะอักษรศาสตร์ ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบงานธุรการในคณะอักษรศาสตร์
    • นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2516
    • เปิดใช้อาคาร C2 (ปัจจุบันคืออาคารอักษร 1 ที่ทำการสำนักงานคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และภาควิชาภูมิศาสตร์)
    • จัดตั้งหมวดวิชาปรัชญาและศาสนา
  • พ.ศ. 2517
    • อาจารย์ ฉะอ้อน วิสุทธิมรรค ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
    • นักศึกษาวิชาเอกภูมิศาสตร์รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
    • จัดตั้งหมวดวิชาสังคมศาสตร์ เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ปัจจุบันปิดหลักสูตรแล้ว)
    • มีเจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานธุรการคณะอักษรศาสตร์
    • รองศาสตราจารย์ ดร. เสริน ปุณณะหิตานนท์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ถึง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
  • พ.ศ. 2518 อาจารย์ฉะอ้อน วิสุทธิมรรค ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ถึง 11 เมษายน พ.ศ. 2519
  • พ.ศ. 2519
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เจตนา นาควัชระ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2519 ถึง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2522
    • เปิดสอนวิชาโทปรัชญาและศาสนา (ปัจจุบันคือวิชาโทปรัชญา)
  • พ.ศ. 2520
    • จัดตั้งหมวดวิชาบรรณารักษศาสตร์ เปิดสอนวิชาโทบรรณารักษศาสตร์
    • นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2521 เปิดใช้อาคารใหม่ที่มีทางเชื่อมกับอาคาร C2 (ปัจจุบันคืออาคารอักษร 2)
  • พ.ศ. 2522
    • รองศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2522
    • รองศาสตราจารย์ ดร. มนู วัลยะเพ็ชร์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2526
  • พ.ศ. 2524
    • อาคาร C1 ปรับปรุงหอนอนทรงพลเป็นห้องเรียนและห้องพักอาจารย์ (ปัจจุบันคืออาคารอักษร 3 หรืออาคารทรงพล)
    • อาคาร C3 ปรับปรุงโรงอาหารทรงพลเป็นโรงละครทรงพล ห้องเรียน ห้องพักอาจารย์นาฏยศาสตร์และนาฏยสังคีต (ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว)
  • พ.ศ. 2525 ยกฐานะหมวดวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และวิชาโท
  • พ.ศ. 2526
    • รองศาสตราจารย์ ดร.มนู วัลยะเพ็ชร์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ถึง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
    • ศาสตราจารย์ ดร. แถมสุข นุ่มนนท์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2530
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    • ยกฐานะหมวดวิชาสังคมศาสตร์เป็นภาควิชาสังคมศาสตร์ โดยเน้นสาขาการพัฒนา
  • พ.ศ. 2527 จัดตั้งภาควิชานาฏยสังคีต เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกนาฏศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิชาเอกการแสดงศึกษา) และวิชาโทสังคีตศิลป์ (ปัจจุบันคือวิชาโทสังคีตศิลป์ไทย)
  • พ.ศ. 2529 นักศึกษาวิชาเอกนาฏศาสตร์ (ปัจจุบันคือวิชาเอกการแสดงศึกษา) รุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
  • พ.ศ. 2530
    • นักศึกษาวิชาเอกภาษาเยอรมันรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรพินท์ ชาตรูปะมัย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญศิริ เจริญพจน์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  • พ.ศ. 2531 จัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณบดีคณะอักษรศาสตร์)
  • พ.ศ. 2534
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ศรีคำ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535
    • ยกฐานะหมวดวิชาปรัชญาและศาสนาเป็นภาควิชาปรัชญา
  • พ.ศ. 2535
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา (ปัจจุบันปิดหลักสูตรแล้ว)
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรพินท์ ชาตรูปะมัย ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีระ นุชเปี่ยม ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
  • พ.ศ. 2536
    • เปิดใช้อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นอาคารเรียนหลังใหม่ ทดแทนอาคารไม้ที่ถูกรื้อออกไป
    • ภาษาฝรั่งเศสมีฐานะเป็นวิชาบังคับเลือกเทียบเท่าภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสังคีตศิลป์ (ปัจจุบันคือวิชาเอกสังคีตศิลป์ไทย)
  • พ.ศ. 2537
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม (ปัจจุบันปิดหลักสูตรแล้ว)
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ถึง 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537
    • อาจารย์ จันทิวา สุรเชษฐพงษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2541
  • พ.ศ. 2538 จัดตั้งภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก โดยรวมสาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาภาษาอาหรับเข้าด้วยกัน
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและวิชาโท
  • พ.ศ. 2541
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2545
    • เปิดสอนวิชาโทภาษาอาหรับ
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาจีนและวิชาโท
  • พ.ศ. 2545
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิขิต กาญจนาภรณ์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ถึง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนัย ครองยุทธ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ถึง 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
    • อาจารย์จันทิวา สุรเชษฐพงษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2549
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาเอกภาษาเกาหลีและวิชาโท
    • ปรับหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต จากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • พ.ศ. 2547
    • เปิดใช้อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์
    • เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    • เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา (ปัจจุบันคือสาขาวิชาประวัติศาสตร์)
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาเอเชียศึกษา โดยเน้นภูมิภาคเอเชียตะวันออก
  • พ.ศ. 2549 รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
  • พ.ศ. 2550 รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
  • พ.ศ. 2551 สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณบดีคณะอักษรศาสตร์) ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น
  • พ.ศ. 2552 เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ (โครงการพิเศษ)
  • พ.ศ. 2554
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชาย สำเนียงงาม ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
    • ภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออกปรับหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก มีวิชาเอก 3 สาขา ได้แก่ วิชาเอกภาษาจีน วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น และวิชาเอกภาษาเกาหลี และวิชาโท 4 สาขา ได้แก่ วิชาโทภาษาจีน วิชาโทภาษาญี่ปุ่น วิชาโทภาษาเกาหลี และวิชาโทภาษาอาหรับ
  • พ.ศ. 2555 เปิดใช้อาคารวชิรมงกุฎ (บริเวณพื้นที่โรงละครทรงพลเดิม)
  • พ.ศ. 2556 ปรับโครงสร้างและการดำเนินงานของหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาเอเชียศึกษา เพื่อรองรับการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา และการก้าวสู่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2558 (ปัจจุบันระงับโครงการแล้ว)
  • พ.ศ. 2557
    • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ลานทรงพลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และศิษย์เก่า โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
    • เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาเอเชียศึกษา วิชาโทภาษาเวียดนาม
  • พ.ศ. 2558 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ ดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2559 เปิดสอนวิชาโทสหสาขาวิชา
  • พ.ศ. 2561 ครบรอบ 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

เทพประจำคณะ[แก้]

  • พระสุรัสวดี

เทวีแห่งสรรพความรู้อันล้ำเลิศ สัญลักษณ์แห่งศิลปะทุกแขนง และเป็นเทวีแห่ง "อักษรศาสตร์" ประทับอยู่บนดอกบัว แสดงถึงการแสวงหาความรู้ มีพาหนะเป็นหงส์และนกยูง แสดงถึงการแยกแยะระหว่างความจริงและความลวงจากกัน พระองค์ทรงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วีณา หรือ จะเข้ ของอินเดียอยู่เสมอ เป็นสัญลักษณ์แห่งการดนตรีศิลปะทุกแขนงและการสร้างสรรค์ ในพระหัตถ์ทรงถือคัมภีร์พระเวท แสดงถึงความรู้และการศึกษา พระหัตถ์อีกข้างทรงถือลูกประคำ ซึ่งหมายถึงการมีสมาธิในการศึกษาหาความรู้

พระสุรัสวดีประจำคณะอักษรศาสตร์สร้างด้วยทองเหลือง เป็นศิลปะอินเดียในปางยืน สูง 130 เซนติเมตร ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานขึ้นเนื่องในวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นที่สักการะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของคณะอักษรศาสตร์

  • พระพิฆเนศ

เทพเจ้าแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์ ขจัดอุปสรรค มักได้รับการบูชาก่อนเทพเจ้าอื่น ๆ ในการเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ทรงประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ด้านขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับลวดลายกนกซึ่งเป็นพระราชนิยม ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และยังทรงสถาปนาพระพิฆเนศขึ้นเป็นเทพเจ้าประจำ พระราชวังสนามจันทร์ ทั้งยังเป็นตราของ กรมศิลปากร และตราสัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พระพิฆเนศประจำคณะอักษรศาสตร์จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ครบรอบ 45 ปี ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยออกแบบจากตราสัญลักษณ์ประจำคณะ ในปางประทับนั่งมี 4 กร ในพระกรทรงวชิราวุธซึ่งเป็นอาวุธตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งแสดงถึงการทำลายอุปสรรค

หน่วยงาน[แก้]

ศิลปากร คณะอักษรศาสตร์

  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชานาฏยสังคีต
  • ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาปรัชญา
  • ภาควิชาภาษาไทย
  • ภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส
  • ภาควิชาภาษาเยอรมัน
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์
  • หมวดวิชาทัศนศิลป์

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรีปริญญาตรี (วิชาโท)ปริญญาโทปริญญาเอก

หลักสูตร อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)
ภาคปกติ

  • สาขาวิชาภาษาไทย วิชาเอกภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วิชาเอกภาษาอังกฤษ (เอกเดี่ยว)
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ วิชาเอกประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์ วิชาเอกภูมิศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาตะวันตก
    • วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
    • วิชาเอกภาษาเยอรมัน
  • สาขาวิชานาฏยสังคีต
    • วิชาเอกการละคร
    • วิชาเอกสังคีตศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาปรัชญา วิชาเอกปรัชญา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา วิชาเอกสังคมศาสตร์การพัฒนา
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ วิชาเอกสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก
    • วิชาเอกภาษาจีน
    • วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
    • วิชาเอกภาษาเกาหลี

โครงการพิเศษ

  • สาขาวิชาเอเชียศึกษา

วิชาโท

  • วิชาโทภาษาไทย
  • วิชาโทภาษาอังกฤษ
  • วิชาโทประวัติศาสตร์
  • วิชาโทภูมิศาสตร์
  • วิชาโทภูมิสารสนเทศ
  • วิชาโทภาษาฝรั่งเศส
  • วิชาโทภาษาเยอรมัน
  • วิชาโทการละคร
  • วิชาโทสังคีตศิลป์ไทย
  • วิชาโททัศนศิลป์
  • วิชาโทปรัชญา
  • วิชาโทรัฐศาสตร์
  • วิชาโทเศรษฐศาสตร์
  • วิชาโทสื่อเพื่อการพัฒนา
  • วิชาโทการจัดการสารสนเทศ
  • วิชาโทภาษาจีน
  • วิชาโทภาษาญี่ปุ่น
  • วิชาโทภาษาเกาหลี

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ

หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อ.ด.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะอักษรศาสตร์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1 หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2513[2] (ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2513)[3]
2 ศาสตราจารย์ คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ รักษาการแทนคณบดี 1 สิงหาคม พ.ศ. 2513 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2514[4]
27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 – 31 มกราคม พ.ศ. 2517 (ลาออกราชการ)[5]
3 อาจารย์ ฉะอ้อน วิสุทธิมรรค รักษาการแทนคณบดี 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[6]
รักษาการแทนคณบดี 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 – 11 เมษายน พ.ศ. 2519
4 รองศาสตราจารย์ ดร.เสริน ปุณณะหิตานนท์ รักษาการแทนคณบดี 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518[7]
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ 12 เมษายน พ.ศ. 2519 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2522[8]
รักษาการแทนคณบดี 19 มิถุนายน พ.ศ. 2522 – 30 กันยายน พ.ศ. 2522[9]
6 รองศาสตราจารย์ ดร.มนู วัลยะเพ็ชร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 30 กันยายน พ.ศ. 2526[10]
รักษาการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
7 ศาสตราจารย์ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2530[11]
8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรพินท์ ชาตรูปะมัย รักษาการแทนคณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530[12]
รักษาราชการแทนคณบดี 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2535[13]
9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ เจริญพจน์ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2534[14]
10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ศรีคำ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535[15]
11 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ นุชเปี่ยม 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[16]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537[17]
12 อาจารย์จันทิวา สุรเชษฐพงษ์ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 30 เมษายน พ.ศ. 2541[18]
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549[19]
13 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 30 เมษายน พ.ศ. 2545[20]
รักษาราชการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[21]
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[22]
14 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์ รักษาราชการแทนคณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545[23]
15 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนัย ครองยุทธ รักษาราชการแทนคณบดี 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545[24]
16 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สำเนียงงาม 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[25]
17 รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[26]
18 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ลิ้มประเสริฐ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

กิจกรรมนักศึกษา[แก้]

  • Young SU Camp (ค่ายเปิดประตูสู่ฝัน บ้านสีฟ้า)

เป็นค่ายที่รับสมัครน้อง ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เพื่อมาร่วมเปิดประสบการณ์ ตามหาคำตอบว่าอักษรศาสตร์คืออะไร และอยากมาเป็นชาวอักษรศาสตร์ได้อย่างไร

  • เปิดรั้วทัวร์อักษร

กิจกรรมสำหรับน้องใหม่ได้ทำความรู้จักคณะอักษรศาสตร์ ก่อนเข้ามาศึกษา

  • กิจกรรมรับน้องและประชุมเชียร์

กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้น้องใหม่ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่จะใช้ชีวิตการเรียนร่วมกัน และเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน พี่น้อง ร่วมสถาบันเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการให้น้องใหม่มีระเบียบวินัย รู้จักการเสียสละและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นช่วงภาคการศึกษาต้นที่มีนักศึกษาใหม่ทุกปี

  • Freshy Night

กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จัดให้กับนักศึกษาน้องใหม่ รวมถึงนักศึกษาชั้นปีอื่น ๆ ก็จะมาเข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง

  • Thank P'

กิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จัดให้กับนักศึกษารุ่นพี่ เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับการให้ดูแลจัดกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้ตลอดช่วงการรับน้องใหม่ของแต่ละปีการศึกษา

  • Trendy & Smart

กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาอักษรศาสตร์ที่เรียนดีและมีความสามารถ เข้าร่วมการประกวดเพื่อได้รับการคัดเลือกเป็น Trendy & Smart Arts Ambassador และ Trendy & Smart Team เพื่อเป็นกลุ่มตัวแทนและพัฒนาจิตอาสาช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะฯ

  • Byenior

กิจกรรมที่นักศึกษารุ่นน้องจัดให้กับนักศึกษารุ่นพี่ชั้นปีที่ 4 เพื่อเป็นการแสดงความยินดีที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา

  • Silpakorn Music Award (SMA)

การประกวดวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวศิลปากร โดยมีสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

  • เปิดโลกชมรม

กิจกรรมแนะนำชมรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยศิลปากรให้กับน้องใหม่ เพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือตำราเรียน อีกทั้งน้อง ๆ จะได้ทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ รุ่นพี่ และได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น โดยมีสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

  • โครงการทัศนศึกษา ณ ต่างประเทศ ของคณะอักษรศาสตร์

เป็นโครงการที่มีเป้าหมายให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาที่เรียนมา และได้เรียนรู้การใช้ชีวิต สังคม และวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา โครงการทัศนศึกษา ณ ต่างประเทศ ได้แก่ โครงการศึกษาภาษาจีน โครงการศึกษาภาษาเกาหลี โครงการศึกษาภาษาฝรั่งเศส และโครงการทัศนศึกษาของสาขาวิชาเอเชียศึกษา

  • โครงการสานสัมพันธ์อักษรศิลป์ (One Arts)

งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะวิชาด้านภาษาและมนุษยศาสตร์ ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เดิมใช้ชื่อว่า "งานสานสัมพันธ์อักษร" โดยเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย แต่ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มาเข้าร่วมด้วยในภายหลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Tri Arts และล่าสุด ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ทำให้มีมากกว่า 3 มหาวิทยาลัย จึงตั้งชื่อกิจกรรมขึ้นมาใหม่ว่างาน One Arts เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการแข่งขันกีฬา การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ การเชียร์โต้ และโชว์เชียร์ลีดเดอร์จากแต่ละคณะ

เกร็ด[แก้]

  • คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหนึ่งในสองคณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย โดยอีกแห่งหนึ่งคือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะอักษรศาสตร์ อ่านว่า อัก–สอ–ระ–สาด ไม่ใช่ อัก–สอน–สาด แล้วก็ไม่ใช่ อัก–สอน–ระ–สาด

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. บันทึกข้อความมหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 22 เมษายน 2511
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 145/2513 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2513
  4. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2513 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2513
  5. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2514 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2514
  6. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2517 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2517
  7. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 6/2517 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2517
  8. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2/2519 ลงวันที่ 12 เมษายน 2519
  9. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 3/2522 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2522
  10. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2522 ลงวันที่ 18 กันยายน 2522
  11. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2526 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2526
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 505/2530 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2530
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 942/2535 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2535
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 840/2530 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2530
  15. คำสั่ง มศก.ที่ 891/2534 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2534
  16. คำสั่ง มศก.ที่ 1174/2535 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535
  17. คำสั่ง มศก.ที่ 286/2537 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2537
  18. คำสั่ง มศก.ที่ 600/2537 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2537
  19. คำสั่ง มศก.ที่ 1244/2545 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545
  20. คำสั่ง มศก.ที่ 193/2541 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2541
  21. คำสั่ง มศก.ที่ 1536/2549 ลงวันที่ 25 กันยายน 2549
  22. คำสั่ง มศก.ที่ 1409/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550
  23. คำสั่ง มศก.ที่ 448/2545 ลงวันที่ 29 เมษายน 2545
  24. คำสั่ง มศก.ที่ 472/2545 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2545
  25. คำสั่ง มศก. ที่ 1002/2554 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2554
  26. คำสั่ง มศก. ที่ 685/2558 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2558

  • หนังสือ 45 ปี คณะอักษรศาสตร์ "อักษรกล้า อักษรก้าว" ในวาระครบรอบ 45 ปี แห่งการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์
  • หนังสือ 50 ปี คณะอักษรศาสตร์
  • Arts Freshy Book Arts Silpakorn 49
  • ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานของมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • รายชื่อคณะมนุษยศาสตร์ในประเทศไทย
  • รายชื่อคณะสังคมศาสตร์ในประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เฟซบุ๊กคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร มีสาขาอะไรบ้าง

สาขาวิชาภาษาไทย.
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ.
สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส.
สาขาวิชาภาษาเยอรมัน.
สาขาวิชาประวัติศาสตร์.
สาขาวิชาภูมิศาสตร์.
สาขาวิชาการแสดงศึกษา.
สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย.

คณะ อักษรศาสตร์ ศิลปากร คือ อะไร

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คณะอักษรศาสตร์ เอกอะไรบ้าง

1. อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) Bachelor of Arts (B.A.) 14 สาขาวิชา ได้แก่.
1.1. สารนิเทศศึกษา (Information Studies).
1.2. ประวัติศาสตร์(History).
1.3. ปรัชญา (Philosophy).
1.4. ภาษาฝรั่งเศส (French).
1.5. ภาษาเยอรมัน (German).
1.6. ภาษาสเปน (Spanish).
1.7. ภาษาอิตาเลียน (Italian).
1.8. ภาษาญี่ปุ่น (Japanese).

คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร ทํางานอะไร

แนวทางการประกอบอาชีพ สำนักพิมพ์ นักเขียน นักแปล งานสื่อมวลชน งานวงการบันเทิง ทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ทำงานสำนักงาน เลขานุการผู้บริหาร HR งานประชาสัมพันธ์ งานดูแลเนื้อหาบน web site ของหน่วยงาน ทำงานสายการบิน งานท่องเที่ยว ไกด์ ล่าม