ความรุนแรงในสังคมไทย สุขศึกษา

โครงงานสุขศึกษา

เรื่อง ความรุนแรงในสังคมไทย

 

 

สมาชิกในกลุ่ม

นางสาว อรฤดี ดีโพนพัก ม.3 เลขที่ 1

เด็กชาย ธีระยุทธ กุลาสาตร์ ม.3 เลขที่ 15

เด็กชาย ธีรศักดิ์ เฉลิมแสนม.3 เลขที่ 30

ครูที่ปรึกษา

คุณครู ทัศนีย์  ไชยเจริญ

โรงเรียน วัดพวงนิมิต

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้ว เขต 1

คำนำ

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอโครงงาน เรื่อง ความรุนแรงในสังคมไทย คณะผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาจาก อินเตอร์เน็ตรวบรวมข้อมูลและเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อศึกษา ให้เยาวชนเกิดความเข้าใจ ของภัยจากความรุนแรงในการนำเสนอโครงงานชิ้นนี้ เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั่วไป
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานสุขศึกษา เรื่องความรุนแรงในสังคมไทย ที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการศึกษาค้นคว้ามานี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้พบเห็นและเป็นประโยชน์ต่อน้องๆในปีการศึกษาต่อไป

 

คณะผู้จัดทำ ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่3

 

นางสาว อรฤดี ดีโพนพัก ม.3 เลขที่ 1

เด็กชาย ธีระยุทธ กุลาสาตร์ ม.3 เลขที่ 15

เด็กชาย ธีรศักดิ์ เฉลิมแสน ม.3 เลขที่ 30

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                  หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                                                                               ก
คำนำ                                                                                                                                                                                      ข
สารบัญ                                                                                                                                                                                  ค
บทที่ 1
บทนำ
1.1  แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
1.2  วัตถุประสงค์
1.3  ขอบเขตของโครงงาน
1.4  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1.ความรุนแรงต่อเด็กและวัยรุ่น
2.2.ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ
2.3วัยรุ่นกับความรุนแรง

บทที่ 3
วิธีการดำเนิน
3.1 ขั้นตอนที่1 ขั้นวางแผน
3.2 ขั้นตอนที่2 ขั้นเก็บรวมรวมข้อมูล
3.3 ขั้นตอนที่3 ขั้นสรุปผลความรู้และสร้างความรู้
3.4 ขั้นตอนที่4 ขั้นนำเสนอความรู้และประเมินผลความรู้

 

 

 

สารบัญ(ต่อ)

 

เรื่อง                                                                                                                    หน้า

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
4.1 ขั้นตอนที่1 ขั้นวางแผน
4.2 ขั้นตอนที่2 ขั้นเก็บรวมรวมข้อมูล
4.3 ขั้นตอนที่3 ขั้นสรุปผลความรู้และสร้างความรู้
4.4 ขั้นตอนที่4 ขั้นนำเสนอความรู้และประเมินผลความรู้

บทที่ 5  สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ                                                                   
5.1 สรุปผลการดำเนินงานศึกษาค้นคว้า                                                                            
5.2 ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม
ภาคผนวก

บทคัดย่อ

 

โครงงานสุขศึกษา  เรื่อง  ความรุนแรงในสังคมไทย มีจุดมุ่งหมายใน

การ สร้างคนในสังคมไทยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของความรุนแรง และเรียนรู้

ดังนั้นโครงงานสุขศึกษาเรื่องนี้  จึงเป็นแนวทางในการ   แก้ไขปัญหา          ความรุนแรงในสังคมไทยเพื่อให้ประเทศชาติของเราจะได้เต็มไปด้วยความสามัคคีเป็นเมืองที่หน้าอยู่คู่กับเราไปนานๆ

มีผลปรากฏในด้านความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า  คิดเป็นร้อยละ 82.66จึงเห็นได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมควรจะนำมาใช้ให้ถูกวิธีและ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและส่งเสริม ให้เด็กไทยมีความคิดที่ดีและมีความสามัคคี

 

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในยุคปัจจุบันข่าวการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวมักมีให้เห็นได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แม้กระทั่งสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงได้ทุกผู้ทุกวัย อย่างกรณีข่าวการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ลูกฆ่าพ่อแม่บังเกิดเกล้า หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ฆ่าลูกที่เป็นสายเลือดของตนเอง เชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแน่นอน ข่าวฆาตกรรมกันเองในครอบครัว จะเป็นเหตุที่ทำให้ประชากรในสังคมไทยมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงจะทำให้คนไทยใช้ความรุนแรงมากขึ้น เช่น ข่าวสยองขวัญ ข่าวฆาตกรรม ก็สามารถทำให้สะเทือนใจมาก ความรุนแรงนั้นจะเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงในสังคมไทยนั้นอยู่ที่รูปแบบของความรุนแรงภายในครอบครัวมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ
1. พ่อกระทำความรุนแรงต่อแม่และลูก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะทางกายและทางเพศ
2. ลูกกระทำความรุนแรงต่อพ่อแม่ เป็นปัญหาที่พบไม่ได้บ่อยมากนัก
ข่าวความรุนแรงในสังคมเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถรับรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดี เช่น เห็นข่าวนี้แล้วจะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ในกรณีนี้ไม่ค่อยชัด แต่ข่าวประเภทฆ่าตัวตายนั้นค่อนข้างชัดว่ามีโอกาสเกิดการเลียนแบบได้ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นสังคมสมัยก่อนจะคอยยับยั้งการนำเสนอเรื่องฆ่าตัวตาย ส่วนความรุนแรงในครัวเรือนไม่ค่อยเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบเท่าไหร่นัก โดยส่วนมากต้องมองย้อนกลับไปดูที่พื้นฐานของครอบครัวด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้เข้าถึงกลุ่มเด็กได้ง่ายขึ้น มีผลทำให้เด็กรับรู้เรื่องการใช้ความรุนแรงจากข่าวต่าง ๆ ได้รวดเร็วเทคโนโลยีในสมัยนี้มีส่วนส่งเสริมการใช้ความรุนแรง อย่างเช่นการละเล่นต่าง ๆ หรือเกมที่เด็กในสมัยนี้เล่นนั้น อาจมีความรุนแรงอยู่ด้วย จึงทำให้เด็กเกิดความเคยชินกับการมองเห็นความรุนแรงต่อบุคคลอื่นได้
สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย  นับว่ายังเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบกับสตรีและเด็กคนชราและยังเกิดขึ้นในหลายรูปแบบทั้งความรุนแรงในครอบครัว ในสถานศึกษา  สถานที่ทำงาน และสถานการณ์ต่างๆในสังคมทั่วไปความรุนแรง  ที่กำลังเกิดขึ้นในวัยรุ่น  นอกจากนี้ความรุนแรงต่อเด็กสตรี  ยังเกิดในลักษณะของการค้ามนุษย์การข่มขืนกระทำชำเรา  การคุกคามทางเพศ  เป็นต้นและยังส่งผลกระทบต่อสังคม  ทรัพย์สิน  สุขภาพทั้งกายและจิตใจ  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกที่จะเสนอถึงปัญหาเหล่านี้เพื่อที่จะนำมาเสนอให้เห็นของภัยในสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน  ถึงความน่ากลัวและให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาและช่วยกันหาวิธีในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปจากสังคมไทย
ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย จะทำให้วัยรุ่นได้ตระหนักถึงการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความสุข ความสงบในวิถีชีวิตของตนเอง และสามารถที่จะนำความรู้และวิธีการปฏิบัติตนให้เกิดความสงบสุขไปใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดีกลุ่มของข้าพเจ้า จึงมีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรุนแรงในสังคมไทยที่ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงงานสุขศึกษา เรื่อง หยุดพฤติกรรมรุนแรง  เพื่อเป็นการค้นคว้าเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อมิให้เกิดหรือใช้ความรุนแรง โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยในด้านการไม่ใช้ความรุนแรงได้ตลอดจนนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานสุขศึกษาเรื่องเรื่อง หยุดพฤติกรรมรุนแรงไปเผยแพร่ให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงในสังคมไทยไปพร้อมกับกลุ่มของข้าพเจ้าด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่น
  2. เพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้รู้จักการป้องกันตัวเองเพื่อมิให้เกิดปัญหาความรุนแรง
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้รองพันจากใช้ความรุนแรง

 

ขอบเขตด้านเนื้อหา
       ในการศึกษาค้นคว้าโรงงานสุขศึกษาเรื่องปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3

โรงเรียนวัดพวงนิมิตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1

 

ขอบเขตด้านประชากร  และกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนวัดพวงนิมิต  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1  ภาคเรียนที่  1  ประจำปีการศึกษา  2557  จำนวน  29  คน

ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้
                การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รู้ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น
  2. ได้เผยแพร่วิธีการป้องกันตนเองเพื่อมิใช้เกิดปัญหาความรุนแรง
  3. ได้รู้แนวทางที่รอดพ้นจาการเกิดปัญหาความรุนแรง

 

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ความรุนแรงของเด็กและสตรี

ตระหนักถึง ความจำเป็นเร่งด่วนในการยอมรับหลักการระดับสากลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสตรีในเรื่องสิทธิและหลักการที่คำนึงถึงความเสมอภาค ความมั่นคงปลอดภัย เสรีภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวอันแบ่งแยกมิได้และศักดิ์ศรีแห่งมนุษย์ทั้งปวง

พึงสังเกตว่า สิทธิและหลักการต่างๆ เหล่านี้เป็นหลักการสำคัญของกติกานานาชาติต่างๆ ประกอบด้วย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทะทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยกาขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทารุณกรรม การกระทำโหดร้ายต่างๆ อันไร้มนุษยธรรม การลงโทษและการปฏิบัติอันเลวทราม

ตระหนักว่า การปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบที่มีประสิทธิภาพจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญต่อการขจัดความรุนแรง ต่อสตรี และปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีที่เกิดขึ้นจากมติครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดการปฏิบัติที่เข้มแข็งและสมบูรณ์ขึ้น

ห่วงใยว่า ความรุนแรงต่อสตรีเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุซึ่งความเสมอภาค การพัฒนาและสันติภาพ การปฏิบัติอนุสัญญาว่าด้วยการขจัด การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ดังที่มีการรุบุไว้ในยุทธศาสตร์ไนโรบีเพื่อความก้าวหน้าของสตรี ซึ่งได้เสนอแนะมาตรการเพื่อขจัด ความรุนแรงต่อสตรี และความรุนแรงต่อสตรียังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

ยืนยันว่า ความรุนแรงต่อสตรีเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสตรี และทำให้ประโยชน์ที่สตรีจะได้รับจากสิทธิและเสรีภาพเหล่านั้น ต้องถูกทำลายหรือลดน้อยลงและคำนึงถึงความล้มเหลวที่เคยเป็นมาในการปกป้อง และส่งเสริมสิทธิเหล่านั้นและเสรีภาพเมื่อเกิดกรณี ความรุนแรงต่อสตรี

ตระหนักว่า ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างบุรุษและสตรี ซึ่งนำไปสู่การครอบงำและการเลือกปฏิบัติต่อสตรีโดยบุรุษ และเป็นสิ่งที่ขัดขวางความก้าวหน้าของสตรี และตระหนักว่าความรุนแรงต่อสตรีเป็นกลไก ทางสังคมที่โหดร้ายอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้สถานะของสตรีเป็นรองเมื่อเปรียบเทียบกับบุรุษ

ห่วงใยว่า สตรีบางกลุ่ม อาทิ สตรีกลุ่มน้อย สตรีพื้นเมือง ผู้ลี้ภัยสตรี ผู้อพยพสตรีสตรีในชนบทหรือในท้องถิ่นทุรกันดาร สตรีผู้ยากไร้ สตรีในสถาน กักกัน เด็กผู้หญิง สตรีพิการ สตรีชรา สตรีในภาวะสงครามเป็นกลุ่มที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อความรุนแรง

ระลึกถึงว่า บทสรุปในย่อหน้าที่ 23 ในภาคผนวกของมติของสภาเศรษฐกิจและสังคม 1990/15 24 พฤษภาคม 1990 ที่ให้การยอมรับว่า ความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวและสังคมเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ไม่แบ่งแยกทางรายได้ ชนชั้น และวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน และขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อขจัดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

และระลึกถึงมติที่ 1991/18 วันที่ 30 พฤษภาคม 1991 ของสภาเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเสนอให้มีการพัฒนาแผนงานเพื่อให้มีเครื่องมือ ระดับนานาชาติที่ระบุประเด็นความรุนแรงต่อผู้หญิงอย่างชัดเจน ยอมรับบทบาทความเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรีที่ส่งเสริมให้เกิดความสนใจ ต่อความสำคัญ ความรุนแรง และธรรมชาติของปัญหาความรุนแรงต่อสตรี

ตระหนักว่า ในสังคมสตีรีมีโอกาสที่จำกัดที่บรรลุซึ่งความเท่าเทียมทางกฎหมาย สังคม การเมือง และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ เนื่องจาก ความรุนแรงต่อสตรีที่มีอย่างต่อเนื่อง

เข้าใจตามสภาพปัญหาข้างต้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีคำจำกัดความ “ความรุนแรงต่อสตรี” ที่ชัดเจนและสมบูรณ์ มีถ้อยแถลงที่ชัดเจนถึงสิทธิ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรับประกันการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบได้ ต้องมีพันธะสัญญาที่ระบุความรับผิดชอบของรัฐ และพันธะสัญญา จากชุมชนนานาชาติทั้งมวลในการขจัดความรุนแรงต่อสตรี

ตั้งใจแน่วแน่ที่จะปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี และจะพยายามทุกวิถีทางที่จำทำให้คำประกาศเป็นที่รู้จักและปฏิบัติตาม

ข้อที่ 1

ตามเป้าประสงค์ของปฏิญญานี้ คำว่า “ความรุนแรงต่อสตรี” หมายถึงการกระทำใดๆ ที่เป็นความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผล ให้เกิดการทำร้ายร่างกาย ทางเพศหรือทางจิตใจ เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะ และในชีวิตส่วนตัว

ข้อที่ 2

เป็นที่เข้าใจว่าความรุนแรงต่อสตรี หมายรวมถึง

  1. ความรุนแรงต่อร่างกาย ทางเพศ และจิตใจที่เกิดขึ้นในครอบครัว รวมทั้งการทุบตี การทารุณกรรม ทางเพศต่อเด็กหญิงในบ้าน ความรุนแรงอันมีเหตุมาจากของหมั้นที่ฝ่ายหญิงให้กับครอบครัวสามี การข่มขืนโดยคู่สมรส การขลิบอวัยวะเพศสตรี และข้อปฏิบัติตามประเพณีต่างๆ อันเป็นอันตรายต่อสตรี ความรุนแรงที่ไม่ได้เกิดจากคู่สมรส และความรุนแรงที่เป็นการหาประโยชน์จากสตรี
  2. ความรุนแรงต่อร่างกาย เพศ และจิตใจที่เกิดขึ้นภายในชุมชนทั่วไป รวมถึง การข่มขืน การทารุณกรรม ทางเพศ การลวนลามทางเพศ การข่มขู่ในสถานที่ทำงาน ในสถาบันการศึกษาและสถานที่ต่างๆ การค้าหญิงและการบังคับให้ค้าประเวณี
  3. ความเพิกเฉยของรัฐต่อความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงที่เกิดทางร่างกาย ทางเพศ และจิตใจ

ข้อ 3

สตรีควรได้รับความเท่าเทียมในการรับประโยชน์และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทุกด้านและเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเมือง และด้านอื่นๆ สิทธิดังกล่าว คือ

  1. สิทธิในชีวิต
    สิทธิแห่งความเสมอภาค
    3. สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคล
    4. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
    5. สิทธิที่จะเป็นอิสระจากการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ
    6. สิทธิที่จะสามารถบรรลุถึงการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐานสมบูรณ์
    7. สิทธิในการมีข้อตกลงที่ยุติธรรมและพอใจในการทำงาน
    8. สิทธิที่จะไม่ตกอยู่ในสภาพทุกข์ทรมาน หรือการกระทำที่โหดร้าย หรือการลงโทษ หรือปฏิบัติ ที่เลวทรามไร้มนุษยธรรม

ข้อ 4

รัฐควรประณามความรุนแรงต่อสตรี และไม่ควรอ้างขนบธรรมเนียมประเพณี หรือศาสนาใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงพันธะหน้าที่ในการขจัดความรุนแรง รัฐควรติดตามนโยบายเกี่ยวกับการขจัดความรุนแรงต่อสตรีโดยวิธีที่เหมาะสมทุกประการ และโดยไม่ชักช้า และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนี้ตกลงที่จะ

  1. พิจารณาให้สัตยาบัน หรือการรับรองต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรือการยกเลิกข้อสงวนของอนุสัญญา
    งดเว้นจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในความรุนแรงต่อสตรี
    3. ปฏิบัติการอย่างเข้มแข็ง โดยสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศเพื่อป้องกันสืบสวน และลงโทษ การกระทำความรุนแรงต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยบุคคลหรือโดยรัฐ
    4. พัฒนามาตรการลงโทษทางอาญา แพ่ง แรงงาน และการลงโทษทางการบริหารจัดการด้วยกฎหมาย ภายในประเทศ เพื่อลงโทษ และชดใช้ต่อความเลวร้ายที่เกิดกับผู้หญิงที่ประสบกับความรุนแรง สตรีผู้ถูกกระทำความรุนแรงควรมีโอกาสเข้าถึงขบวนการยุติธรรม เช่น ได้รับการคุ้มครองทางด้าน กฎหมายสตรีที่ถูกทำร้ายได้รับความทุกข์ทรมานจากความรุนแรงควรได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ รัฐควรให้ข้อมูลแก่สตรีถึงสิทธิที่จะได้รับการชดใช้จากกลไกเหล่านั้น
    5. พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาแผนการปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองสตรีจาก ความรุนแรงทั้งปวง หรือข้อกำหนดเพื่อความมุ่งประสงค์ดังกล่าวในแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่มีอยู่ ให้พิจารณาความร่วมมือที่เหมาะสมจากองค์กรพัฒนาเอกชนโดยเฉพาะที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงต่อสตรี
    6. พัฒนาวิธีการป้องกัน และมาตรการด้านต่างๆ ทั้งด้านกฎหมาย การเมืองบริหาร และวัฒนธรรม อย่างรอบด้าน เพื่อส่งเสริมการป้องกันสตรีจากความรุนแรงทุกรูปแบบ และประกันว่าการตกเป็นเหยื่อ ของสตรีจะไม่เกิดซ้ำอีกจากข้อบกพร่องทางกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือมาตรการอื่นๆ ที่มิได้ คำนึงถึงประเด็นทางเพศ
    7. การปฏิบัติเพื่อรับประกันว่าสตรีผู้ถูกกระทำโดยความรุนแรง และเด็กจะได้รับความช่วยเหลือ การฟักฟื้น การดูแลเด็ก การบำรุง การรักษา การให้คำปรึกษา การบริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม สิ่งอำนวยความสะดวกและการให้การสนับสนุน และมาตรการที่เหมาะสมอื่นๆ เพื่อสนับสนุน ความปลอดภัย และการฟื้นฟูทางร่างกาย และจิตใจของสตรีเหล่านั้น ตามทรัพยากรที่มีอยู่ในขอบเขต มากที่สุดที่สามารถจัดหาได้ หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องอาศัยแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีอยู่
    8. ให้รัฐจัดเตรียมงบประมาณเพื่อจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขจัด ความรุนแรงต่อผู้หญิง
    9. จัดให้มีมาตรการเพื่อรับประกันว่าเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ของรัฐรับผิดชอบหน้าที่ตาม นโยบายที่จะป้องกัน สืบสวน และลงโทษการกระทำความรุนแรงต่อสตรีได้รับการอบรมเพื่อให้ มีความเข้าใจต่อความจำเป็นของสตรี 10. นำมาตรการทุกอย่างที่เหมาะสมมาปฏิบัติ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา เพื่อปรับปรุงแบบแผน ความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมของบุรุษและสตรีและเพื่อขจัดอคติทางเพศ ประเพณีปฏิบัติ และข้อปฏิบัติอื่นๆ ทั้งปวง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่เพศใดเพศหนึ่งจะมีความด้อยกว่า หรือความเหนือกว่าอีกเพศหนึ่ง และขจัดการจำกัดบทบาททางเพศของบุรุษและสตรี
    11. สนับสนุนการวิจัย การรวบรวมข้อมูล และการเรียบเรียงสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบต่างๆ ของ ความรุนแรงต่อสตรี โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัวและส่งเสริมการวิจัยถึงสาเหตุความรุนแรง ธรรมชาติของความรุนแรงและผลกระทบของความรุนแรงต่อสตรี และความมีประสิทธิภาพ ของมาตรการที่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขความรุนแรงต่อสตรี และควรเผยแพร่ ผลงานวิจัยและสถิติต่างๆ แก่สาธารณชน
    12. นำมาตรการขจัดความรุนแรงต่อสตรีมาใช้โดยเฉพาะกับสตรีกลุ่มเสี่ยงต่อความรุนแรง
    13. รวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงต่อสตรีและมาตรการที่ได้นำไปปฏิบัติตามหลักการของปฏิญญานี้ ในรายงานที่เสนอต่อองค์การสหประชาชาติตามระเบียบที่กำหนดไว้ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนต่างๆ
    14. ส่งเสริมการพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการตามหลักการที่ระบุไว้ในปฎิญญานี้
    15. ตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของขบวนการสตรีและองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วโลกในการสร้างจิตสำนึก ความตระหนักและในการบรรเทาปัญหาความรุนแรงต่อสตรี
    16. อำนวยความสะดวก และส่งเสริมงาน ของขบวนการสตรีและองค์กรพัฒนาเอกชนและร่วมมือกับ องค์กรเหล่านี้ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับภูมิภาค
    17. ส่งเสริมองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ประเทศของตนเป็นสมาชิกให้บรรจุ การขจัด ความรุนแรงต่อสตรีเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการขององค์กรตามที่เห็นสมควร

             ข้อ 5

ส่วนงาน และหน่วยงานเฉพาะของระบบในองค์การสหประชาชาติควรสนับสนุน ยอมรับและตระหนักในสิทธิและหลักการที่ระบุไว้ในปฏิญญา ฉบับนี้ ตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์นี้ ตกลงที่จะ

  1. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนานาประเทศ และภูมิภาค โดยมุ่งหมายที่จะกำหนดยุทธศาสตร์ในระดับ ภูมิภาคเพื่อต่อต้านความรุนแรง และเปลี่ยนประสบการณ์ และให้การสนับสนุนการเงินต่อกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการขจัดความรุนแรงต่อสตรี
    สนับสนุนการประชุม และสัมมนาที่มีความมุ่งประสงค์เพื่อสร้างความรู้ และความเข้าใจต่อประชาชน ทั้งปวงในเรื่องการขจัดความรุนแรงต่อสตรี
    3. ส่งเสริมการประสานงาน และการแลกเปลี่ยนในกลไกขององค์การสหประชาชาติระหว่างคณะกรรมการ อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนต่างๆ เพื่อนำเสนอปัญหาความรุนแรงต่อสตรีที่มีประสิทธิภาพ
    4. บรรจุบทวิเคราะห์ที่จัดเตรียมโดยหน่วยงานและกลไกขององค์การสหประชาชาติถึงแนวโน้ม และสภาพปัญหาสังคม ตัวอย่าง เช่น รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์สังคมโลกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การติดตามแนวโน้มของความรุนแรงต่อสตรี
    5. ส่งเสริมการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และกลไกต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อความร่วมมือให้ความรุนแรงต่อสตรีอยู่ในโครงการที่ดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะให้มี การพิจารณาถึงกลุ่มสตรีที่เสี่ยงต่อความรุนแรง
    6. สนับสนุนให้มีการวางเกณฑ์ของแนวทางหรือคู่มือเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรีโดยให้พิจารณาจาก มาตรการที่ระบุในปฏิญญานี้
    7. พิจารณาประเด็นการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ ทางสิทธิมนุษยชนต่างๆ
    8. ประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนในการเผยแพร่ประเด็นปัญหาความรุนแรงต่อสตรี

ข้อ 6

ไม่มีข้อความใดในปฏิญญาฉบับนี้จะส่งผลต่อบทบัญญัติใดๆ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการขจัดความรุนแรงต่อสตรีได้มากกว่า ซึ่งอาจบรรจุอยู่ในกฎหมาย ของรัฐหรือในอนุสัญญา สนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศอื่นใดที่มีผลบังคับใช้ในรัฐใดรัฐหนึ่ง

ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ

ความหมายที่ชัดเจนและเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยยังไม่ปรากฏชัดเจน ส่วนใหญ่ได้นำความหมายจากต่างประเทศเข้ามาปรับใช้ในสังคมไทย ซึ่งได้แก่
องค์การสหประชาชาติ หมายถึง การที่ผู้สูงอายุถูกการกระทำใดที่ล่วงละเมิดทางร่างกาย จิตใจ การเงิน ทางเพศ หรือการถูกทอดทิ้ง
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (๒๕๔๕) หมายถึง การทำร้าย เอาเปรียบและการละเลยทอดทิ้งผู้สูงอาย ที่ทำให้ผู้สูงอายุได้รับอันตรายทั้งทางร่างกายและจิตใจจากการที่ถูกกระทำโดยตรง หรือถูกละเลยทอดทิ้งโดยไม่ได้รับการปฏิบัติดูแลที่เหมาะสม

ชนิดของความรุนแรง
     ๑. ความรุนแรงหรือการละเมิดทางร่างกาย (Physical abuse)
การทำร้ายร่างกายรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดความเจ็บปวด บาดเจ็บ เช่น ทุบตี ผลักไส หยิก กัด จิก การล่วงเกินทางเพศ (หมายถึง การละเมิดทั้งทางกาย วาจา การกระทำใดเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ขัดต่อความปกติของผู้สูงอายุไปจนถึงการข่มขืน) การถูกจำกัดบริเวณ คุมขัง การตบตี ผลักไส การเขย่า การขู่ด้วยอาวุธ
๒. ความรุนแรงหรือการละเมิดทางจิตใจ (Psychological abuse)
การถูกทำให้เกิดความสะเทือนใจ ทำให้หวาดกลัว โดดเดี่ยว อับอาย รู้สึกทำให้เห็นเป็นตัวตลก ถูกดูหมิ่น การใช้คำพูดที่รุนแรง หยาบคายกับผู้สูงอายุ ด่าว่า ดูถูกดูแคลน ข่มขู่ การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุเหมือนเป็นเด็กเล็ก ๆ กล่าวโทษผู้สูงอายุในทางเสียหาย การเหยียดหยามความสามารถ การเรียกชื่อผู้สูงอายุโดยไม่ให้เกียรติ การกีดกันไม่ให้พบเพื่อน ญาติ ผู้ใกล้ชิด การกระทำต่าง ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อความสงบทางจิตใจของผู้สูงอายุ
๓. ความรุนแรงด้านวัตถุ (Material abuse หรือ Financial abuse)
การนำทรัพย์สินของผู้สูงอายุไปใช้โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การละเมิดทางการเงิน การใช้สมบัติของผู้สูงอายุไม่ถูกทาง หรือใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต การครอบครองทรัพย์สินของผู้สูงอายุ การขโมยเงินหรือสิ่งของมีค่า การบังคับให้เปลี่ยนแปลงพินัยกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน การกีดกันไม่ให้ผู้สูงอายุมีสิทธิในการดูแลหรือจัดการทรัพย์สินของตนเอง
๔. การรุกล้ำสิทธิของผู้สูงอายุ (Violation of right)
การบังคับให้ผู้สูงอายุต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากกระทำหรือการบังคับไม่ให้ผู้สูงอายุทำในสิ่งที่ต้องการจะทำ เช่น การส่งผู้สูงอายุเข้าสถานสงเคราะห์ โดยขัดแย้งต่อความต้องการของผู้สูงอายุ
๕. การทำร้ายตนเอง (Self abuse)
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคผู้สูงอายุของ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง การรับทราบข่าวสารไม่ถูกต้อง น้อยเนื้อต่ำใจลูกหลาน ทำให้ผู้สูงอายุไม่สนใจสุขภาพตนเอง เช่น การปฏิเสธการกินอาหารและยา ซึ่งอาจเนื่องมาจากปัญหาทางอารมณ์ ความเข้าใจผิดว่าลูกหลานไม่รัก ไม่สนใจ จนถึงทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตาย เป็นต้น

 

ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

        ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุอย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันเกิดความเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจ การขัดแย้งที่เกิดข้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนความเจริญของชาติ ตลอดจนความสุขของคนภายในสังคมด้วย        ภาพของความขัดแย้งการแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง ที่นับวันยิ่งขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ได้นำมาซึ่งการใช้ความรุนแรงต่อกัน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมไทยได้รับรู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปเสียแล้ว        ความรุนแรงในปัจจุบันนี้ มิใช่เพียงที่เกิดขึ้นภายในสังคม ครอบครัวเท่านั้น หากแต่เป็นความรุนแรงที่ขยายไปสู่โรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่อบรม สั่งสอนเยาวชนของชาติ ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน นับวันยิ่งทวีคูณมากขึ้น และเป็นที่จับตามองของทุกคนในสังคม         ความรุนแรงในสมัยนี้มิได้หมายความว่า เด็กเป็นเหยื่อของความรุนแรงเพียงเท่านั้น หากแต่เกิดกับครูและบุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น อะไรเป็นสาเหตุของการเกิดความรุนแรงในโรงเรียน ผู้เขียนได้แบ่งความรุนแรงออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ คือ ประเด็นแรกความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับครูและนักเรียน และประเด็นที่สองคือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนกันเอง         ประเด็นแรก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับครูและนักเรียนนั้น สาเหตุเกิดมาจากการไม่เข้าใจกันและกัน อาจเป็นเพราะว่าช่องว่างของวัยระหว่างเด็กกับครูนั้นมีมาก ครูไม่เข้าใจนักเรียน เพราะว่าเด็กเวลานี้ต้องการเหตุผล และต้องการแสดงศักยภาพที่ตนอยากแสดงออกมา ผลที่ตามมาทำให้เกิดความขัดแย้งกัน จนเลยไปถึงขั้นลงไม้ลงมือกันก็เป็นได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ระบบการศึกษาของไทยได้ยกเลิกการตีหรือใช้ไม้เรียวกับนักเรียนไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีอยู่บ้างในบางโรงเรียนที่ลงโทษเด็กด้วยการใช้ไม้เรียว เมื่อมองในแง่ของความถูกต้องแล้วอาจจะไม่สมควร เด็กอาจะคิดว่า ขนาดพ่อและแม่ของพวกเขา ยังไม่ลงโทษแบบนี้เลย แต่การตีเด็กก็นับเป็นวิธีที่สามารถช่วยควบคุมเด็ก ให้เชื่อฟังครูได้ในเวลานั้น แต่ในทางกลับกันการลงโทษเด็กนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด       ตัวอย่างเช่น การที่ครูลงโทษเด็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหมายความว่า การที่ครูนั้นทำร้ายจิตใจของเด็กมากจนเกินไป การลงโทษเด็กต่อหน้าเพื่อนหรือหน้าเสาธง การประกาศชื่อของนักเรียนให้คนอื่นทราบ หรือแม้แต่การล้างห้องน้ำก็ตาม ซึ่งเป็นการลงโทษที่ร้ายแรงทางด้านจิตใจของเด็กมากกว่าร่างกายด้วยซ้ำ นำมาซึ่งความมีอคติของนักเรียนที่มีต่อครู สังคมหรือตัวผู้ปกครองอาจมองว่าเป็นการลงโทษที่ไม่เหมาะสม นำมาซึ่งการฟ้องร้องต่างๆ       แต่เป็นประเด็นที่สำคัญที่ผู้เขียนมองว่าไม่ควรเกิดขึ้นในโรงเรียนคือ ครูล่วงละเมิดทางเพศเด็กนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้ชายหรือผู้หญิงก็ตาม ต่างก็ตกเป็นเหยื่อของผู้ร้ายในคราบของพ่อแม่พิมพ์ของชาติ ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ชื่อเสียงและอนาคต อีกด้วย      นอกจากนี้ ความรุนแรงมิได้เกิดขึ้นกับนักเรียนเท่านั้น มันลุกล่ามมาถึงผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “แม่พิมพ์”และ“พ่อพิมพ์” ของชาติ ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นกับครูผู้หญิงมากกว่าครูผู้ชาย เช่น ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ของคมชัดลึกที่ว่า เด็กนักเรียนหญิง ปวช.2 โรงเรียนพาณิชย์ชื่อดังเมืองคอน สุดแสบ ยกพวกเกือบ 20 คน บุกโรงเรียนทำลายทรัพย์สินและพยายามทำร้ายครูฝ่ายปกครอง แถมยังข่มขู่ “เอาชีวิตครูทั้งโรงเรียน” หลังครูจับได้ว่าทะเลาะกับเพื่อนเรื่องการตัดราคาค่าตัวขาย เป็นต้น จากการสังเกตพบว่า โรงเรียนbอาชีวะส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยมีครูผู้หญิง ส่วนมากจะเป็นครูผู้ชาย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับครู         ประเด็นที่สอง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเอง ประเด็นนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นประเด็นหลักที่ก่อให้เกิดความรุนแรงภายในโรงเรียนและขยายออกไปภายนอกโรงเรียน ร่วมทั้งต่างสถาบัน สาเหตุหลักของการเกิดความรุนแรงซึ่งได้แก่ ความหมั่นไส้ ไม่ชอบหน้ากัน การแย่งแฟนกัน รวมไปถึงการกระทบกระทั่งทั้งวาจาและร่างกาย เช่น การดูถูกสถาบัน ปมด้อย เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นกับเด็กเกเร เด็กดื้อเป็นส่วนมาก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
  2. เพื่อเผยแพร่ให้ทุกคนได้รู้จักการป้องกันตัวเองเพื่อมิให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้รองพันจากใช้ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

ขอบเขตด้านเนื้อหา
       ในการศึกษาค้นคว้าโรงงานสุขศึกษาเรื่องปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3

โรงเรียนวัดพวงนิมิตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1

ขอบเขตด้านประชากร  และกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนวัดพวงนิมิต  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1  ภาคเรียนที่  1  ประจำปีการศึกษา  2557  จำนวน  29  คน

ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้
                การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รู้ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
  2. ได้เผยแพร่วิธีการป้องกันตนเองเพื่อมิใช้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ
  3. ได้รู้แนวทางที่รอดพ้นจาการเกิดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา

บทที่3

วิธีการดำเนินงาน

การศึกษาความรู้ ด้วยโครงงานสุขศึกษา เป็นการส่งเสริมวิธีการค้นหาความรู้การทำงานร่วมกันในกลุ่มเพื่อน และการนำความรู้ที่ได้รับมาสร้างเป็นความรู้ของตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้าไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นโดยผู้ที่จัดทำโครงงาน ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้เชิงสร้างสรรค์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่1 ขั้นวางแผน

ขั้นที่2 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นที่3 ขั้นสรุปผลความรู้

ขั้นที่4 ขั้นนำเสนอความรู้ และประเมินผลความรู้

ขั้นตอนที่1 ขั้นการวางแผน

1.รวบรวมสมาชิกกลุ่มให้เหมาะสมกับองค์ความรู้ และแบ่งหน้าที่ให้เข้ากับการทำงาน  เช่น งานเขียนให้คน
ลายมือที่ใช้ได้เขียน งานตกแต่งให้คนที่ถนัดในการตกแต่งงานชิ้นนั้น เป็นต้น
2.รวบรวมข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและความรู้รอบตัวเรา จัดหมวดหมู่ข้อมูลนั้นๆ
3.เก็บรายละเอียดของข้อมูล เพื่อทำให้ข้อมูลเข้าใจง่ายขึ้น
4.ปรับเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุดเพื่อความ
ถูกต้องของโครงงาน
5.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงานเพื่อให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
6.แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือความรู้จากกลุ่มอื่นๆเพื่อที่จะได้หลากหลายแนวทางในการรวบรวมข้อมูลเขียน
ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล

ขั้นตอนที่2 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล

1.กำหนดหัวข้อเรื่องเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
2.กำหนดเว็บไซต์ของข้อมูลที่ต้องการ

3.ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆไป
4.จดบันทึกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆไป เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อแยกแยะข้อมูล
และจัดข้อมูลเป็นกลุ่มๆ
5.จัดตกแต่งข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
6.เรียบเรียงข้อมูลให้เข้ากันกับหัวข้อเรื่องเพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
7.แบ่งหัวข้อให้สมาชิกภายในกลุ่มของตนเอง ไปศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาดังนี้
1.โรคไวรัสอีโบลาและการปฏิบัติตน (ผู้รับผิดชอบ) นาย ธีระชัย สุวรรณ ม.3
2.การเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงปลอดภัยจากโรค (ผู้รับผิดชอบ) ด.ช. ประสิทธิ์ สุดดี ม.3
3.ไวรัสอีโบลา (ผู้รับผิดชอบ) ด.ญ. สมัชญา ใจรักษา ม.3

ขั้นตอนที่3 ขั้นสรุปผลความรู้
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับ โรคไวรัสอีโบลา เราได้ทราบว่า สาเหตุจากการที่ติด เชื้อไวรัสอีโบลา และในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะ การรักษาจึงทำได้เพียงการบรรเทาอาการ และรักษาตามอาการ ปัจจุบันมีความพยายามในการคิดค้นยาใหม่ แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ ไปพัฒนาและศึกษาต่อเพื่อเผยแพร่ความรู้

ขั้นตอนที่4 ขั้นเสนอความรู้

การนำเสนอข้อมูลของกลุ่มข้าพเจ้าโดย   การนำเอกสารไปเผยแผ่ความรู้และกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับว่าสิ่งที่กลุ่มข้าพเจ้าได้เสนอไปนั้นได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด

 

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง  ความรุนแรงในสังคมไทย กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามานำเสนอผลการการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  ขั้นวางแผน
ขั้นตอนที่ 2  ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่3   ขั้นสรุปผลความรู้และสร้างความรู้
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นนำเสนอความรู้และประเมินความรู้
 ขั้นตอนที่ 1  ขั้นวางแผน

จากการประชุมกลุ่มเพื่อค้นหาเรื่องที่ต้องการศึกษาเรื่องที่ต้องการเรียนรู้  ที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพนั้น สมาชิกในกลุ่มร่วมกันวางแผนเพื่อจะศึกษาค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับปัญหาที่สังคมพบกันบ่อยมากก็คือการความรุนแรงกลุ่มข้าพเจ้าจึงเลือกที่จะศึกษาเกี่ยวกับการสาเหตุของการเกิดความรุนแรงโทษของความรุนแรงและวิธีปฏิบัติไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับความรุนแรงและวิธีการแนะนำผู้อื่นไม่ให้ไปก่อเหตุความรุนแรงผลปรากฏว่าข้อมูลที่สมาชิกในกลุ่มศึกษามานั้นมีความรุนแรงจำนวนมากทำให้มีปัญหาต่างๆตามมาเช่น  การทะเลาะวิวาทในครอบครัว เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2  ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล

       จากการที่แบ่งหน้าที่เป็นหัวข้อกลุ่มข้าพเจ้าได้หาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติและรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาจัดทำโครงงาน  ทำให้ได้รับความรับความรู้  เกี่ยวกับสาเหตุความรุนแรง ความรู้เกี่ยวกับโทษของความรุนแรง และ ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับความรุนแรงโดยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแนะนำผู้อื่นไม่ให้ก่อเหตุความรุนแรงได้  ซึ่งจะทำให้พ้นจากการเกิดความรุนแรง ส่งผลต่อสังคมไทยและประเทศชาติ จะได้มีแต่ผู้คนที่ตั้งใจทำงาน ไม่ไปก่อเหตุความรุนแรง

 

ขั้นตอนที่3   ขั้นสรุปผลความรู้และสร้างความรู้

กลุ่มข้าพเจ้าได้ความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงซึ่งความรุนแรงนี้สร้างปัญหามากมายในสังคมไทยทำให้

สังคมไทยเสื่อมลงมากกลุ่มข้าพเจ้าเลยอยากนำความรู้ที่ได้มาช่วยคนในสังคมไทยโดยการทำสิ่งต่างๆมา

เตือนให้รู้จักโทษของความรุนแรงซึ่งความรุนแรงได้สร้างปัญหามากมาย    เช่น การทำให้เกิดปัญหากับครอบครัว   และยังไม่พอยังเกิดการฆ่า ทะเลาะวิวาท เป็นต้น

 

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นนำเสนอความรู้และประเมินความรู้

จากการที่กลุ่มพวกข้าพเจ้าได้ไปศึกษาหาความรู้มานั้นกลุ่มของพวกข้าพเจ้าได้นำเสนอข้อมูลผ่านแผ่นพับและการทำแบบประเมินเพื่อประเมินความรู้ที่พวกข้าพเจ้าได้อธิบายไปนั้นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับเพื่อนๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวเพื่อนและตัวกลุ่มข้าพเจ้าเอง

     

บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการดำเนินงานและการเสนอแนะจากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง  ความรุนแรงในสังคมไทยมีผลการศึกษาค้นคว้าโครงงานดังนี้

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

1.เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการความรุนแรงในปัจจุบันของคนไทยในสังคมไทย
2.เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากการเกิดความรุนแรงในสังคมไทย
3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยและห่างไกลจากการเกิดความรุนแรงในสังคมไทย

สรุปผลการทำงานศึกษาค้นคว้า

เกิดความรุนแรงในสังคมไทยก่อให้เกิดความพร่องในชีวิตทั้งด้านจิตใจร่างกายสังคมหรืออาชีพอย่างรุนแรงมีผลกระทบต่อครอบครัวทั้งในแง่ความสัมพันธ์และการเงินคนทั่วไปที่การเกิดความรุนแรงกับการที่ได้เสี่ยงที่จะชนะในการที่เราได้ก่อเหตุในขณะที่บางคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองอาจจะถูกลูกหลง และจากการที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้แจกเอกสารเผยแพร่ความรู้จากการค้นคว้าโครงงานสุขศึกษาเรื่องความรุนแรงในสังคมไทย พบว่าเพื่อนๆได้รับความรู้จากกลุ่มของข้าพเจ้า คิดเป็นร้อยละ 82.66

ข้อเสนอแนะ

1.ควรที่จะแนะนำนักเรียนเพื่อให้โรงเรียนวัดพวงนิมิตและโรงเรียนอื่นๆสถานที่ใกล้เคียงให้ปลอดภัยจากความรุนแรง