การวิเคราะห์สินเชื่อคืออะไร

โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับนานาชาติ จะเปิดหลักสูตรใหม่เรื่องการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อ เรามาศึกษาถึงหลักการการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อแบบ “5C”กันก่อน

ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมรัพย์ไทย (www.trebs.ac.th) มีแผนกำลังจะเปิดหลักสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ“การวิเคราะห์สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์” จึงขอเสนอหลักการการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อ 5C โดยการการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยใช้หลัก 5C ได้แก่ Character , Capital, Capacity, Collateral และ Condition ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การวิเคราะห์สินเชื่อคืออะไร

ลูกค้าที่มาขอกู้เงินควรเป็นคนซื่อสัตย์ น่าเชื่อถือ มีความตั้งใจจริง และมีฐานะทางด้านการเงินดีพอ นอกจากนี้ต้องเป็นคนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง ในการการขอสินเชื่อหรือการการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อผู้กู้ จากขนาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และบริษัทขนาดใหญ่ก็อาจจะแตกต่างกันไป ธุรกิจขนาดเล็กกว่าอาจมีความเสี่ยงมากกว่า ขณะเดียวกันธุรกิจขนาดใหญ่ก็อาจมีความซับซ้อนทำให้การวิเคราะห์ยากอาจจะมีการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง

เงินลงทุนที่เพียงพอของผู้กู้ จะทำให้สถาบันการเงินมั่นใจมากขึ้น ดังนั้น ในการวิเคราะห์จึงมุ่งไปที่เงินทุนของตนเอง ยิ่งลงทุนในจำนวนที่มากพอ จะไม่ทำให้ธนาคารเสี่ยงมากขึ้นประเด็นนี้จึงให้ความสำคัญแก่การวิเคราะห์สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ของโครงการ ตามที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ 

ในเรื่องรายละเอียดของสัดส่วนหนี้สินต่อทุนนั้น ผู้ประกอบการต้องการให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูงด้วยเพราะจะได้มีเงินเพียงพอไม่ขาดมือ มีความน่าเชื่อถือที่มีเงินหมุนเวียนสูง ยังทำให้ใช้เงินตัวเองน้อยลง ส่งความเสี่ยงไปที่สถาบันการเงินเป็นหลัก แต่ข้อเสียก็คืออาจมีการนำเงินไปใช้ผิดประเภท หรือ ทำให้ผู้กู้ประมาทได้

แต่สถาบันการเงิน จะให้ความสำคัญกับการที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำ เพราะเป็นการลดความเสี่ยงของตัวเองและยังทำให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับผู้กู้รายอื่นๆมากขึ้น แต่ข้อเสียก็คือผู้ประกอบการอาจไม่มาขอใช้บริการเพราะสถาบันการเงินแห่งนั้นอาจป้องกันความเสี่ยงจนสูงเกินไป และไม่ดึงดูดความสนใจในการขอใช้บริการของผู้ประกอบการ

การวิเคราะห์สินเชื่อคืออะไร
การวิเคราะห์สินเชื่อคืออะไร

3. Capacity: ความสามารถในการชำระหนี้

การขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อในส่วนนี้ ว่าโครงการนั้นต้องมีกำไรและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าต้นทุนของทุน (Cost of Capital) ของโครงการ และต้องมีกระแสเงินสดมากพอที่จะชำระหนี้คืนธนาคารได้ตามเงื่อนไข  ดังนั้น ในการวิเคราะห์ทางการเงินจึงต้องแสดงผลของการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน และการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ฯลฯ เพื่อให้เห็นความสามารถในการชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสม  การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Cash Flow Analysis)  จึงต้องดำเนินการอย่างรัดกุม


4. Collateral: หลักประกันการให้กู้ยืม

ในกรณีอสังหาริมทรัพย์นี้ ส่วนมากจะหมายถึงที่ดินโครงการ และที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้บริหารหรือเจ้าของโครงการนำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน มูลค่าของหลักประกันที่เพียงพอจะเป็นตัวประกันความเสี่ยงของสถาบันการเงินโดยตรง สำหรับในรายละเอียดการที่สถาบันการเงินจะบริหารหรือลดความเสี่ยงในการให้สินเชื่อได้นั้น ขึ้นกับปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่ต้องใช้ในการการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อ เช่น รายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่ประเมินผิดพลาด จนได้ราคาสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงมาก

การวิเคราะห์สินเชื่อคืออะไร
การวิเคราะห์สินเชื่อคืออะไร

5. Conditions: ปัจจัยภายนอกต่างๆ

กรณีนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรง แต่เกี่ยวข้องกับสภาพทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ปัญหาสงคราม และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่มีผลกระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบัน เรื่องสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากต่อการลงทุน ผู้ประกอบการรวมทั้งสถาบันการเงินต้องศึกษาให้ดี จะได้ไม่เกิดความเสี่ยงที่สูงเกินไปจนไม่สามารถพัฒนาโครงการได้

หากเรารู้จักการการขอสินเชื่อหรือการวิเคราะห์สินเชื่อตามหลักทั้ง 5 นี้แล้ว เราก็จะสามารถให้สินเชื่อได้อย่างเหมาะสม ไม่เกิดปัญหาหนี้เสียในภายหลังที่จะกระทบถึงความมั่นคงของสถาบันการเงิน

ผมไม่ได้เขียนบทความเรื่องนี้มานานมาแล้วครับ วันนี้ว่างๆ เลยอยากเขียนเรืื่องสินเชื่อ Personal Loan ด้วยวิธีคิดแบบ 5 C  ที่ไม่เหมือนนักวิชาการท่านอื่นๆ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

การวิเคราะห์เครดิต  ในฐานะเจ้าหน้าที่สินเชื่อถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญประการหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาลูกหนี้ก่อนการให้กู้ยืมเงิน ทั้งการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินโดยรวมของลูกค้า (บริษัท / บุคคล)  โดยทั่วไปจะช่วยในการกำหนดความสามารถในการชำระหนี้ของนิติบุคคลหรือความสามารถในการชำระหนี้ของบุคคลธรรมดา

ในบทความนี้จะมีการวิเคราะห์เครดิตจากมุมมองต่าง ๆ ดังนี้

  • การวิเคราะห์เครดิต คืออะไร ?
  • นักวิเคราะห์สินเชื่อมองหาจากอะไร ?
  • การวิเคราะห์สินเชื่อ 5 C
  • กรณีศึกษาการวิเคราะห์เครดิต
  • นักวิเคราะห์สินเชื่อ – การได้รับข้อมูลเชิงปริมาณของลูกค้า
  • การวิเคราะห์เครดิต – การพิจารณาตัดสิน
  • อัตราส่วนการวิเคราะห์เครดิต
  • บทเรียนจากการศึกษากรณีการวิเคราะห์เครดิต

 

1. การวิเคราะห์เครดิต คืออะไร ?

การวิเคราะห์เครดิตเป็นกระบวนการในการสรุปผลจากข้อมูลที่มีอยู่ (ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเครดิตของกิจการและบุคคลธรรมดา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อและการให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงในการอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้

2. นักวิเคราะห์สินเชื่อมองหาอะไร ? 

เคยสงสัยไหมว่าทำไม? เจ้าหน้าที่สินเชื่อถึงสอบถามคำถามมากมากเกี่ยวกับประวัติด้านการทำงาน การศึกษา ครอบครัว และวัตถุประสงค์การใช้เงิน เป็นต้น รวมทั้งให้คุณกรอกแบบฟอร์มอีกมากมาย เมื่อคุณต้องการจะสมัครขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์สักแห่ง และกระบวนการตอบแบบสอบถามก็มีความยุ่งยาก และต้องการเอกสารหลักฐานเป็นจำนวนมาก  ซึ่งคุณก็พยามทำความเข้าใจเกี่ยวกับพวกเจ้าหน้าที่สินเชื่อว่าพวกเขาจะนำข้อมูลเยอะมากขนาดนี้ไปทำอะไร  นอกจากนี้ระหว่างการขอสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะสอบถามข้อมูลต่างๆ จากหลักฐานที่คุณเตรียมมาให้พวกเขา และดูบุคลิกของคุณด้วยว่า “คำตอบของคุณน่าเชื่อถือ มีอาการตื่นเต้น หรือมีการไม่มั่นใจในคำตอบหรือไม่? ” ข้อมูลเหล่านี้เราเรียกว่าการวิเคราะห์พฤติกรรม และบุคลิกของผู้ขอสินเชื่อ เราเรียกว่าระบบ 5C จะอธิบายต่อไปครับ

ตอบ : เจ้าหน้าสินเชื่อขอเอกสารปริมาณมากเพื่อไปวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผู้ขอกู้ ในกรณีเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจนิติบุคคล เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ข้อมูลงบการเงินของบริษัทนิติบุคคล ดังนี้

> งบการเงินประกอบด้วย

  1. งบดุล  เป็นรายงานแสดงถึงฐานะของธุรกิจ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อประกอบการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้  ผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่สงสัยว่า มีขาดทุนสะสมขอกู้สินเชื่อได้ไหม “ขอสินเชื่อได้ครับ” แต่งบการเงินในปีที่ขอสินเชื่อจะต้องมีกำไร พอสมควรเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่ขอสินสินเชื่อ หรือมีรายได้ที่คงที่ น่าเชื่อถือได้อย่างต่อเนื่อง จากธุรกิจหลักจริงไม่ได้มีรายได้มาจากการขายทรัพย์สินในธุรกิจบางประเภท เช่น ที่ดิน เครื่องจักร หรือ รายได้จากบริษัทในเครือปริมาณที่สูงมากๆ แบบผิดสังเกต อย่างนี้จะมีปัญหามากในการพิจารณาสินเชื่อ
  2. งบกำไรขาดทุน เป็นการแสดงถึงผลกำไร โดยจะแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ข้อระมัดระวัง เกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน

   – รายได้หลักของธุรกิจ จำเป็นจะต้องมีความต่อเนื่อง และมีหลักฐานความต้องการจากลูกค้าที่น่าเชื่อถือ และสินค้าที่ผลิต/จำหน่าย หรือธุรกิจบริการ ควรจะมาจากลูกค้าประจำ และลูกค้าทั่วไป ในสัดส่วนที่น่าเชื่อถือและสอดคล้องกับตัวเลขในรายได้รวม

    –  เทคโนโลยีการผลิต กำลังการผลิต ควรจะมีข้อมูลหลักฐานที่ดี น่าเชื่อถือ และอธิบายได้อย่างชัดเจน มีแผนการซ่อมบำรุง และการเพิ่มกำลังการผลิตที่ชัดเจนในอนาคต ให้สอดคล้องกับปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

    –  ค่าใช้จ่ายในการขาย  จะเป็นตัวเลขจากกระบวนการผลิต กำลังการผลิต วัตถุดิบ ควรจะมีตัวเลขไม่มากเกินไป หรือสามารถอธิบายด้วยหลักฐานในกระบวนการผลิตได้อย่างชัดเจน

    –  ค่าใช้จ่ายในการบริหาร  จะเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเงินเดือน/ค่าคอมมิชชั่นพนักงานเป็นหลัก และค่าใช้จ่ายเงินเดือนของผู้บริหารทั้งหมด  “ข้อระมัดระวัง : อย่านำรายได้ไปใช้ส่วนตัวและมาบันทึกในค่าใช้จ่ายในการบริหาร เพื่อนำเงินสดออกจากบริษัทแบบผิดวัตถุประสงค์ เตือนไว้ล่วงหน้าเลย อย่าทำ

     –  งบกระแสเงินสด ก็มีความสำคัญอยู่เหมือนกันเป็นเครื่องมือง่าย ที่จะใช้บอกนิสัยการบริหารจัดการ และลักษณะรายได้ของบริษัทนิิติบุคคลได้อย่างดี  “ข้อระมัดระวัง : เจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีประสบการณ์พอสมควร สามารถอ่านลักษณะการบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการเงิน นิสัยของผู้บริหารได้จากงบกระแสเงินสดได้เลยครับ ถ้าเจ้าของกิจการพูดไม่ตรงกับงบการเงิน เราก็จะมีการพิจารณาที่เข้มข้นมากขึ้น หรือขอเอกสารเยอะมากขึ้นน่ะครับ

> การวิเคราะห์ทางการเงิน อาศัยข้อมูลจากงบการเงินข้างต้น ประกอบด้วย

  1. งบการเงินเปรียบเทียบ เป็นการเปรียบเทียบรายการสำคัญๆ ในงบการเงินของแต่ละปีว่ามีแนวโน้มหรืออัตราการเพิ่มขึ้นอย่างไร เช่น การเปรียบเทียบกำไรสุทธิ ยอดขาย และทรัพย์สิน หรือส่วนของเจ้าของแต่ละปีว่ามีอัตราการเติบโตมากขึ้นน้อยเพึยงใด
  2. การวิเคราะห์งบการเงินในแนวดิ่ง  เป็นการเปรียบเทียบรายการต่าง ๆ  ในงบการเงินเป็นร้อยละต่อรายการหลัก เช่น หากวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน ก็อาจเปรียบเทียบขนาดของรายการต่าง ๆ  เป็นร้อยละต่อยอดขาย  โดยปกติมักเปรียบเทียบเพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของต้นทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนคงที่ เช่น เครื่องจักร หรือต้นทุนผันแปร เช่น วัตถุดิบต่าง ๆ ของแต่ละปีว่าเป็นสัดส่วนมากน้อยเพียงใด  เมื่อคิดเป็นร้อยละต่อยอดขาย แต่หากวิเคราะห์งบดุลก็อาจะเปรียบเทียบขนาดของรายการต่างๆ  เป็นร้อยละต่อสินทรัพย์รวม เช่น เพื่อให้ทราบว่ามีสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น สินค้าคงคลัง หรือสินทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นสัดส่วนมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
  3. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่างๆ ในงบการเงิน ซึ่งมีรายละเอียดและรูปบบของอัตราส่วนทางการเงินที่หลากหลาย โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างกลุ่มละ 1 อัตราส่วน ดังนี้

3.1 อัตราส่วนสภาพคล้องภายในกิจการ เช่น สัดส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียน ใช้สำหรับวิเคราะห์ถึงภาระผูกพันจากหนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระว่าถูกครอบคลุมด้วยสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นงินสดได้ง่าย มากน้อยเพียงใด

3.2 อัตราส่วนวัดผลการดำเนินงาน เช่น อัตราส่วนกำไรต่อสินทรัพย์รวม สำหรับวิเคราะห์ถึงความสามารถในการทำกำไรว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นสามารถก่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนได้มากน้อยเพียงใด

3.3 อัตราส่วนวัดผลการดำเนินงาน เช่น อัตราส่วนกำไรต่อสินทรัพย์รวม สำหรับวิเคราะห์ถึงความสามารถในการทำกำไรว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นสามารถก่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนได้มากน้อยเพียงใด

3.4 อัตราส่วนต่อหุ้น เช่น อัตราส่วนราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อราคาหุ้นตามบัญชี เพื่อสะท้อนถึงมูลค่าของหุ้นสามัญในสายตานักลงทุน ซึ่งเกิดจากความคาดการณ์เกี่ยวกับฐานะการดำเนินงานของกิจการในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร

 

ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาข้อมูล  :  http://www.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO27.htm

 

3. การวิเคราะห์สินเชื่อ 5 C  ได้แก่ Character , Capacity,  Capital,  Collateral, Condition

3.1 ความเต็มใจชำระหนี้ และอุปนิสัย (Character)

เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ สำหรับการพิจารณาการให้สินเชื่อ เพราะถ้าลูกค้า/ลูกหนี้ ขาดความซื่อสัตย์ ความจริงใจแล้ว ก็ย่อมมีโอกาสเกิดหนี้สูญแก่ทางธนาคารมาก ปกติแล้วถ้าเป็นลูกหนี้รายใหม่ธนาคารจะพิจารณาชื่อเสียง ฐานะการศึกษา อุปนิสัยครอบครัว ความซื่อสัตย์ การที่จะทราบอุปนิสัยที่แท้จริงของผู้กู้ได้โดยความสำคัญอย่างใกล้ชิด  ซึ่งความซื่อสัตย์เป็นหลักสำคัญของอุปนิสัย

 

3.2 ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity)

ความสามารถในการชำระหนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพิจารณาให้สินเชื่อ ลูกหนี้ที่แม้อยากจะชำระหนี้สักเพียงใด  หากปราศจากซึ่งความสามารถในการชำระหนี้แล้ว ย่อมไม่เกิดการชำระหนี้  ดังนั้นการให้กู้ยืม และการให้เครดิตคของธนาคาตจะต้องประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

3.2.1  ความสามารถในการชำระหนี้ของบุคคลธรรมดา การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของบุคคลธรรมดา พิจารณาได้จากข้อมูลต่อไปนี้

รายได้ประจำ หมายถึง เงินเดือน รายได้อื่นๆ ความสามารถในการชำระหนี้ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องขึ้นอยู่กับเงินเดือน และรายได้ที่ได้รับอย่างสมำเสมอ และความสามารถนำรายได้นั้นมาใช้ส่วนหนึ่งเพื่อการชำระหนี้

ความสามารถในการหารายได้จะชี้ให้เห็นถึงความแน่นอนของรายได้อันนำมาสู่การชำระหนี้ในอนาคต พิจารณาได้จากลักษณะของงานที่ทำ พื้นความรู้ความสามารถในการทำงาน สุขภาพ ความมั่นคงในการทำงาน และความก้าวหน้าในการทำงาน

หนี้สินที่มีอยู่ หมายถึง ภาระผูกผูนที่มีอยู่เดิม

รูปแบบของการใช้จ่าย หมายถึง ภาวะที่ผู้มีรายได้จะต้องรับผิดชอบก่อนที่จะเหลือรายได้เพื่อการชำระหนี้ พิจารณาได้จากฐานะการสมรถ ขนาดของครอบครัว และระดัการครองชีพ เมื่อทราบรายได้ ความแน่นอนของรายได้ หนี้สินเดิม และรูปแบบของการใช้จ่ายแล้ว ส่วนที่เหลือจะเป็นเครื่องคุ้มครองรายจ่ายชำระหนี้แก่ธนาคาร

3.2.2 ความสามรถในการชำระหนี้ของธุรกิจ พิจารณาได้จาก อัตราส่วนทางการเงิน ดังนี้

– อัตราสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)

– อัตราส่วนหนี้สิน และความคุ้มครองรายจ่ายประจำ (Dept and Coverage Ratio)

– อัตราส่วนความสามรถในการหากำไร (Profitability Ratio)

– อัตราส่วนความเจริญเติบโต และอื่นๆ (Growth and Other)

 

3.3 ทุนที่จะนำมาลง (Capital)

ทุน หมายถึง สิ่งของทรัพย์สินเงินทองที่ผู้ประกอบการนำมาลงทุนไวัในธุรกิจ ธุรกิจอาจดำเนินการได้โดยไม่มีการกู้ยืม ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนน้อย เป็นผลให้กำไรของกิจการน้อยตามไปด้วย
ดังนั้นผู้ประกอบการจึงทำการกู้ยืมตามกำลังความสามารถของตน  แต่ขณะเดียวกันถ้ามีการใช้เงินกู้ยืมสูง (Leverage) ธุรกิจอาจประสบปัญห เนื่องจากกำไรที่ธุรกิจได้รับส่วนใหญ่จะต้องนำไปชำระคืนเงินกู้แก่ธนาคาร และถ้ากำไรของธุรกิจนั้นน้อยธุรกิจนั้นอาจขาดทุน

ปกติแล้วเงินทุน เท่ากับ มูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการหักด้วยหนี้สินทั้งหมด ถ้ากิจการใดมีหนี้สินมากกว่าเงินทุนที่ลงได้  หมายความว่า เจ้าหนี้มีอัตราเสี่ยงสูงเพราะเจ้าหนี้ได้ลงทุนมากกกว่าเจ้าของกิจการ  ดังนั้นเงินทุนของผู้ขอกู้จึงเปรียบเสมือนเกราะให้ความปลอดภัย (Margin of safety) กับธนาคาร  ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารจะยอมให้กิจการกู้ที่อัตราส่วนของหนี้ต่อเงินทุนไม่เกิน 3 เท่า

 

3.4 หลักประกัน (Collateral)

โดยปกติก่อนที่ธนาคารจะอนุมัติเงินให้กับลูกค้า ธนาคารมักจะให้ลูกค้าผู้ขอกู้เงินวางหลักทรัพย์เป็นประกันไว้กับธนาคาร  ทั้งนี้เพื่อชดเชยกับจุดอ่อนที่เห็นได้ชัดเจนในด้านความเสี่ยง เช่น ความสามารถของผู้กู้ที่ยังไม่ได้พิสูจน์หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อหนี้สูญที่อาจเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหลักประกันไม่อาจที่จะมาชดเชยกับจุดอ่อนทางด้านความซื่อสัตย์เพราะถ้าหากผู้ขอกู้ขาดความซื่อสัตย์แล้วย่อมหมายถึงความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเข้าใจว่าการกู้เงินจากธนาคารต้องมีที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างมาค้ำประกันแต่ความจริงแล้วยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ใช่ค้ำประกันได้ดังนี้

3.4.1 การใช้บุคคลค้ำประกัน (Personal Guarantee) บุคคลที่ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงฐานะดีหรือคนที่ธนาคารรู้จัก หรือคนที่ธนาคารยอมรับให้เครดิต

3.4.2 การใช้เงินฝากประจําค้ำประกัน (Fixed deposit) โดยการมอบอํานาจให้กับธนาคารมีสิทธิ์หักเงินฝากประจําชําระหนี้การขอให้กู้ในลักษณะนี้มักเสียดอกเบี้ยในอัตราตากว่าอัตราปกติโดยธนาคารมักจะใช้วิธีบวกอัตราดอกเบี้ยเหนืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจําในขณะนั้ขึ้นอีกร้อยละ 3-4 จุดประสงค์ในการขอกู้โดยใช้เงินฝากค้ำประกันนี้ผู้ขอกู้มักจะมาขอกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นในรูปของการเบิกเงินเกินบัญชี

3.4.3 การกู้โดยการโอนสิทธิการเช่า ในบางกรณีผู้กู้ไม่มีหลักทรัพย์ของตนเอง แต่ได้ทําสัญญาเช่าสถานที่เพื่อเป็นที่ประกอบการเป็นสัญญาระยะยาวธนาคารก็อาจนับเป็นหลักทรัพย์ได้

3.4.4 การให้กู้โดยมีสินค้าเป็นหลักประกัน (Stock Financing) โดยธนาคารจะพิจารณาเลือกเอาสินค้าที่มีคุณภาพแบบเดียวกัน (Homogeneous) เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และควบคุมผู้ขอก็จะต้องทําประกันภัยสินค้าที่จํานําไว้กับธนาคาร ตลอดจนสลักหลังกรมธรรมมอบให้กับธนาคารเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เมื่อเกิดความเสียหาย

 

3.5 ภาวการณ์ (Condition)

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการบริโภคสินค้าวิธีการจําหน่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลในการควบคุม ยกเลิกการส่งเสริมการเพิ่มภาษีเพิ่มกฎข้อบังคับ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบถึงความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า

 

ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาข้อมูล  : http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC320/EC320-7.pdf

 

4. กรณีศึกษาการวิเคราะห์เครดิต

จากสมัยก่อนถึงปัจจุบัน มีความขัดแย้งของนักธุรกิจและนายธนาคารเกี่ยวกับการให้คะแนนของเครดิต ความไม่พอใจในส่วนของเจ้าของธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์เครดิตของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ อาจจะถูกประเมินโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว หรือประสบการณ์ในอดีตที่เข้าใจในธุรกิจเพียงบางประเภทที่เกิดมานานแล้ว ขณะที่ธุรกิจเกิดใหม่ที่มีความแตกต่างจากธุรกิจเดิมกลับไม่ได้รับการพิจารณาให้สินเชื่อ ถึงแม้จะเป็นธุรกิจที่ดีมีอนาคตก็ตาม  ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่ออาจมีเหตุผลส่วนตัวในการกำหนดจำนวนความเสี่ยงที่เขาพร้อมที่จะรับได้ อาจรวมถึงประสบการณ์ที่ไม่ดีกับภาคธุรกิจดังกล่าวหรือการประเมินความต้องการทางธุรกิจของตนเอง  หลายครั้งที่ีมีบรรทัดฐานหรือข้อบังคับภายในที่บังคับให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อปฎิบัติตามนโยบายสินเชื่อของธนาคารที่มีข้อจำกัด มากขึ้น

จุดสำคัญที่สุดที่จะตระหนักคือ ธนาคารอยู่ในธุรกิจรายได้จากดอกเบี้ย ดังนั้นการควบคุมความเสี่ยงและการยับยั้งข้อผิดพลาดต่างๆ เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพิจารณาสินเชื่อ ทำให้จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้มีความหลากหลายสำหรับลูกค้าที่มีความคาดหวังต่างกัน  ขั้นตอนที่ธนาคารดำเนินการเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนจากการผิดนัดทั้งหมดต่อการประเมินสินเชื่อที่น่าเชื่อถือได้

กรณีตัวอย่าง ลูกค้าสินเชื่อ 

  1. ลูกค้าคือใคร ? คุณสมชาย  รักไทย  เป็นอดีตผู้เชี่ยวชาญวิศวกรด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีชื่อเสียง และได้ลาออกมาเปิดบริษัทผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในประเทศไทย
  2. ประวัติบริษัทที่ขอสินเชื่อเป็นอย่างไร ? ก็จะพิจารณาประวัติการก่อตั้ง  รายชื่อผู้ถือหุ้น
    ทุนจดทะเบียน  รายการงบการเงินย้อนหลัง 3 – 5 ปี การพยากรณ์ด้านการเงินล่วงหน้า 5 ปี
  3. วัตถุประสงค์การใช้เงินกู้ ? สิ่งนี้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ลูกหนี้สินเชื่อจะต้องเล่าด้วยความสัตย์จริง และมีวินัยทางการเงิน รวมทั้งต้องสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ และเป้าหมายทางการเงินที่ได้พยากรณ์ล่วงหน้า 5 ปี
  4. ความสามารถในการชำระหนี้ ? เจ้าหน้าที่สินเชื่อทำการประเมินจากงบการเงิน แหล่งรายได้ และค่าใช้จ่ายของผู้กู้สินเชื่อ รวมทั้งอาจจะให้มีผู้กู้ร่วมเพิ่มเติม ด้วยในบางกรณี
  5. หลักประกัน ? สินเชื่อแบบมีหลักประกัน เป็นไปตามชื่อกันเลย คือ เราจะต้องมีหลักประกันไปให้ธนาคาร เพื่อใช้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อร่วมกับฐานะทางการเงิน ประวัติการชำระเงิน และภาระหนี้สินของเรา

การตอบคำถามเหล่านี้ช่วยให้นักวิเคราะห์สินเชื่อ เข้าใจความเสี่ยงในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายนี้  ซึ่งคำถามเหล่านี้ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลูกค้าและช่วยให้นักวิเคราะห์สินเชื่อเข้าใจลึกไปถึงธุรกิจของลูกค้าสินเชื่อเกี่ยวกับความเสี่ยงของธุรกิจ

 

5. นักวิเคราะห์สินเชื่อ – การได้รับข้อมูลเชิงปริมาณของลูกค้า

นอกเหนือจากคำถามข้างต้นนักวิเคราะห์สินเชื่อยังต้องการที่จะได้รับข้อมูลเชิงปริมาณที่เฉพาะเจาะจงไปยังลูกค้าสินเชื่อ :

–  ประวัติผู้กู้ – ประวัติ โดยสังเขปของบริษัทฯ ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงกสร้างผู้ถือหุ้น สัดส่วนการถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุนของผู้ก่อตั้งธุรกิจ แผนการเติบโตของธุรกิจ รายชื่อลูกค้า  รายชื่อซัพพลายเออร์ รายชื่อคู่แข่งทางธุรกิจ กระบวนการผลิต การวางแผนการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งหมดจะต้องมีเอกสารหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

–  ข้อมูลตลาด   มีการศึกษาถึงแนวโน้มอุตสาหกรรม  ขนาดตลาดส่วนแบ่งการตลาด  การประเมินการแข่งขันข้อดีในการแข่งขันการตลาด  การประชาสัมพันธ์และแนวโน้มในอนาคตที่เกี่ยวข้อง  เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังแบบองค์รวมของการเคลื่อนไหวและความต้องการในอนาคต ข้อมูลเหล่านี้ลูกค้าสินเชื่อจะต้องดำเนินการจัดเตรียมและข้อมูลจะต้องมีความน่าเชื่อถือด้วยครับ

–  ข้อมูลทางการเงิน  งบการเงิน (กรณีที่ดีที่สุด / กรณีที่คาดว่าจะ / กรณีที่เลวร้ายที่สุด) การคืนภาษีการประเมินค่าของ บริษัท และการประเมินทรัพย์สินรายการในปัจจุบันเอกสารอ้างอิงเครดิตและเอกสารทั้งหมดที่คล้ายคลึงกันซึ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกด้านการเงินของ บริษัท ได้ กลั่นกรองในรายละเอียดมาก

–  ตารางเวลาและการจัดแสดงนิทรรศการ  เอกสารสำคัญบางอย่าง เช่น ข้อตกลงกับผู้ขายและลูกค้า นโยบายการประกันภัย, สัญญาเช่า, ภาพของสินค้าหรือเว็บไซต์ที่ควรจะถูกผนวกเป็นข้อเสนอการจัดแสดงนิทรรศการเงินกู้เป็นบทพิสูจน์ของรายละเอียด เช่น การตัดสินโดยตัวชี้วัดดังกล่าวข้างต้น

ต้องเข้าใจก่อนว่านักวิเคราะห์เครดิตเชื่อว่าตนเองเป็นผู้ช่วยสนับสนุนการขอสินเชื่อของลูกค้าสินเชื่อ ด้วยการจัดเตรียมข้อมูลลูกค้าสินเชื่อให้กับ คณะกรรมการสินเชื่อของธนาคารพิจารณา ผ่านกระบวนการภายในของธนาคาร  พร้อมรายละเอียดลูกค้าสินเชื่อและเงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้

 

6. การวิเคราะห์เครดิต – การพิจารณาตัดสิน

หลังจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดตอนนี้ นักวิเคราะห์ต้องให้ “คำพิจารณาอนุมัติ หรือ ไม่อนุมัติ”  ที่แท้จริงเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของข้อเสนอ ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะกรรมการอนุมัติ

  • สินเชื่อ –  หลังจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อเริ่มเข้าใจความต้องการของลูกค้าสินเชื่อ  หนึ่งในหลายประเภทของเงินให้สินเชื่อสามารถปรับแต่ง  เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าสินเชื่อ จำนวนเงินที่ครบกำหนดของเงินกู้การใช้เงินที่คาดว่าจะได้รับสามารถกำหนดได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของอุตสาหกรรมและความน่าเชื่อถือทางการเงินของบริษัท หรือ ฐานะของบุคคลธรรมดาพิจารณาจากสัดส่วนรายได้หลักและภาระการกู้ในปัจจุบัน

 

  • บริษัท – ส่วนแบ่งการตลาดของ บริษัท ผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอคู่ค้ารายใหญ่ลูกค้าและคู่แข่งควรได้รับการวิเคราะห์เพื่อยืนยันการพึ่งพาปัจจัยดังกล่าวว่า บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างดีตามแผนทางการเงินหลังจากได้เงินสินเชื่อมาแล้ว และต้องทำตามที่สัญญาไว้กับธนาคารพาณิชย์ได้  เพราะธนาคารเชื่อใจคุณเลยให้เงินสินเชื่อ  ดังนั้นคุณจะต้องรักษาคำมั่นสัญญาด้วยและทำตามแผนที่ได้วางไว้อย่างรัดกุม และแก้ไขปัญหาแบบรายวันไปเรื่อยๆ

 

  • ประวัติเครดิต – อดีตเป็นตัวแปรที่สำคัญในการคาดการณ์ในอนาคต  ดังนั้นการรักษาให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาดั้งเดิมนี้บัญชีเครดิตของลูกค้าสินเชื่อที่ผ่านมาควรได้รับการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติหรือค่าตั้งต้นที่ระบุในแผนการเงินและการตลาด นอกจากนี้ยังช่วยให้นักวิเคราะห์สินเชื่อตัดสินประเภทลูกค้าที่เราติดต่อด้วยโดยการตรวจสอบจำนวนครั้งที่ทำการชำระเงินล่าช้าหรือถูกลงโทษเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

  • การวิเคราะห์ตลาด – การวิเคราะห์ตลาดที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าสินเชื่อ  มีความสำคัญสูงสุดเนื่องจากช่วยในการระบุและประเมินการพึ่งพา บริษัท ในด้านปัจจัยภายนอก โครงสร้างตลาดขนาดและความต้องการของลูกค้าที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญที่นักวิเคราะห์กังวลเสมอว่า ลูกค้าสินเชื่อของตนจะทำได้ตามที่เขียนแผนการตลาดและการเงินได้หรือไม่

 

7. อัตราส่วนการวิเคราะห์เครดิต

การเงินของ บริษัท ประกอบด้วยภาพที่แท้จริงของสิ่งที่ธุรกิจกำลังจะผ่านและการประเมินเชิงปริมาณนี้มีการวิเคราะห์ในเชิง Significant Analysis พิจารณาอัตราส่วนต่างๆ และตราสารทางการเงินที่จะมาถึงภาพที่แท้จริงของบริษัท

  1. อัตราส่วนสภาพคล่อง – การวิเคราะห์อัตราส่วนที่มีความสามารถของ บริษัท ในการชำระคืนเจ้าหนี้  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อัตราส่วนเหล่านี้จะใช้ในการพิจารณาความประสบความสำเร็จในความจุกระแสเงินสดของบริษัท
  2. อัตราส่วนความสามารถในการล้มละลาย (Solvent Ratio) – ใช้อัตราส่วนเหล่านี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ อัตราส่วนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงจำนวนหนี้สินที่เพิ่มขึ้น  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาวของบริษัท
  3. อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร – อัตราส่วนเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ บริษัท ที่จะได้รับผลกำไรที่น่าพอใจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความสามารถในการทำตามแผนการเงินที่พยากรณ์ล่วงหน้า
  4. อัตราส่วนประสิทธิภาพ – อัตราส่วนเหล่านี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารจัดการ  เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากเงินทุนที่เกี่ยวข้องและการควบคุมที่มีต่อค่าใช้จ่าย
  5. กระแสเงินสดและการวิเคราะห์กระแสเงินสดที่คาดการณ์ไว้ – งบกระแสเงินสดเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับนักวิเคราะห์สินเชื่อเนื่องจากช่วยให้สามารถวัดลักษณะของรายได้และผลกำไรได้อย่างแท้จริง นี้จะช่วยให้เขาได้ภาพที่แท้จริงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเงินเข้าและออกจากธุรกิจ
  6. การวิเคราะห์ SWOT – นี่คือการวิเคราะห์อัตนัยซึ่งทำขึ้นเพื่อจัดแนวความคาดหวังและความเป็นจริงในปัจจุบันตามภาวะตลาด

 

7. บทเรียนจากการศึกษากรณีการวิเคราะห์เครดิต

การวิเคราะห์สินเชื่อ เป็นขั้นตอนที่สำคัญก่อนการอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อช่วยให้สถาบันบันการเงิน (ผู้ให้สินเชื่อ) ประมาณการถึงความสามารถที่จะจ่ายชำระหนี้คืนของผู้ขอสินเชื่อเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และปัญหาหนี้สูญที่จะตามมา ทั้งนี้ในปัจจุบันการวิเคราะห์สินเชื่อนั้นจะใช้หลักนโยบาย 6C’s อันประกอบด้วย คุณลักษณะ (Character) ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) เงินทุน (Capital) หลักประกัน (Collateral) ภาวะแวดล้อม (Condition) และประเทศ (Country) นอกจากนี้ การวิเคราะห์สินเชื่อยังถือได้ว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา  ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์สินเชื่อ ตลอดจนเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวและเกิดขยายตัวของเศรษฐกิจในการดำเนินการจัดการสินเชื่อของสถาบันการเงินก็คงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และการยอมรับเพื่อตัดหนี้สูญ อีกทั้งจากข้อมูล แนวโน้มในความต้องการสินเชื่อของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ รวมถึงปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบต่อระบบสินเชื่อทั้งในด้านของผู้ให้และผู้ขอสินเชื่อ เช่นภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นของสถาบันการเงินด้วยกันเอง และปัญหาต่างๆอันที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ของสินเชื่อ จนทำให้เกิดความผิดพลาดของการวิเคราะห์และพิจารณาให้สินเชื่อและเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องเพิ่มความเข้มงวดและรอบคอบมาก เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน

 

ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาข้อมูล  : https://tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/57859

 

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณที่ยังอยู่ให้กำลังใจกันมาตลอด และจะทำการเขียนบทความไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพิมพ์ไม่ไหว ขอให้ทุกๆ ท่านมีความสุข สวัสดีปีใหม่ไทย ขอให้ทุกๆ ท่านพบแต่สิ่งดีๆ ตลอดปีใหม่เถิด สาธุ

การวิเคราะห์สินเชื่อ มีอะไรบ้าง

นักวิเคราะห์สินเชื่อ ต้องทำการวิเคราะห์ ดูสินเชื่อรวมเงินต้นกับดอกเบี้ย จะมีการผ่อนเดือนเท่าไหร่ ทางผู้ยื่นกู้มีงบการเงินเท่าไหร่ สมเหตุสมผลหรือไม่ โดยต้องวิเคราะห์ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ได้เรตติ้ง (รายได้ของแบงค์คือ ดอกเบี้ย) ตามที่ธนาคารต้นสังกัดของเราต้องการ โดยต้องทำ cash flow ประมาณการ เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ยื่นกู้ ...

นักวิเคราะห์ สินเชื่อ ต้อง รู้ อะไร บ้าง

ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากร การสร้างนโยบายสาธารณะ การเงิน การลงทุน การธนาคาร บัญชีรายรับรายจ่าย การบริการลูกค้า ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหาและความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า

ปัจจัยใดบ้างที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

ปัจจัยในกำรวิเครำะห์สินเชื่อธนำคำรพำณิชย์ในประเทศไทย 1. ด้านคุณสมบัติผู้กู้ 2. ด้านความสามารถในการชาระหนี้ 3. ด้านเงินทุน 4. ด้านหลักประกัน 5. ด้านสภาวะเศรษฐกิจ บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาองค์ประกอบของการวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งประเทศไทย

หลัก5C คืออะไรบ้าง

2. หลักเกณฑ์การวิเคราะห์สินเชื่อด้วย 5 C คือ ให้หลักการดู Character, Capacity, Capital, Collateral, Condition. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อมักใช้หลักเกณฑ์นี้ในการวิเคราะห์ ซึ่งนิยมใช้กันมานานแล้วโดยเริ่มจาก Character (บุคลิก ลักษณะและความตั้งใจจริงของผู้กู้)