Myocardial infarction (MI) คืออะไร มีลักษณะเช่นไร

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตันจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรค

  • โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • โรคเบาหวาน
  • ความอ้วน
  • ความเครียด
  • การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจำเดือน
  • ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

อาการทั่วไป

  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เหงื่อออก
  • เวียนศีรษะ

สัญญาณอันตราย

สัญญาณอันตรายคือ อาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะเฉพาะ 

  • เจ็บตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย
  • จุกแน่น อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย กรามหรือคอด้านซ้าย
  • บางรายมีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เหงื่อซึม หน้ามืดหมดสติ

Myocardial infarction (MI) คืออะไร มีลักษณะเช่นไร

ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน​และใจสั่น ได้แก่

  • ควบคุมความดันโลหิตและเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน เพราะคนอ้วนหัวใจต้องทำงานมากกว่าปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมัน
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินและสารอื่น ๆ มีอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ


อย่างไรก็ตามหากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

Myocardial infarction (MI) คืออะไร มีลักษณะเช่นไร

1. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เกิดเนื่องจากมีการตีบตันเฉียบพลันของหลอดเลือดหัวใจนั่นเอง โดยมีกลไกอันเนื่องมาจากไขมันที่เคยสะสมในหลอดเลือดมาช้านาน เกิดมีการปริแตกขึ้น หลังจากนั้นจะไปกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดจนทำให้หลอดเลือดเส้นนั้นเกิดการตีบตันขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่เคยรับเลือดเกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างทันทีทันใด กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใน เวลาไม่เกินชั่วโมง

2.อาการแสดงเป็นอย่างไร ?
ส่วนใหญ่จะมีอาการ เจ็บแน่นอกเหมือนมีของหนักกดทับ เป็นได้ตั้งแต่บริเวณกลางอกจนถึงลิ้นปี บางครั้งอาการเจ็บอาจร้าวขึ้นกรามและแขนทั้งสองข้างได้ นอกจากนั้นอาการอื่นที่เกิดขึ้นได้ก็เช่น อาการวูบหรือหมดสติ และอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง

Myocardial infarction (MI) คืออะไร มีลักษณะเช่นไร

3.การรักษาทำได้อย่างไร ?
หลักการคือต้องทำการเปิดหลอดเลือดหัวใจที่ตีบให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งช้า กล้ามเนื้อหัวใจยิ่งได้รับความเสียหายหรือเกิดการตายอย่างถาวรได้ โดยวิธีการในปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองวิธี คือ 1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด ( Fibrinolytic) และ 2. การฉีดสีสวนหัวใจ (PCI) การรักษาโดยวิธีการสวนหัวใจนั้น ณ ปัจจุบัน ถือเป็นวิธีรักษาหลักที่ให้ผลดีที่สุด มีโอกาสเปิดหลอดเลือดหัวใจได้สำเร็จมากกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่การให้ยาสลายลิ่มเลือดนั้นโอกาสที่ยาจะเปิดหลอดเลือดหัวใจได้เพียงร้อยละ 60-70

Myocardial infarction (MI) คืออะไร มีลักษณะเช่นไร

4. ภาวะนี้มีความเร่งด่วนในการรักษาแค่ไหน ?
ลักษณะการตีบตันของหลอดหัวใจนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. ตีบแบบสมบูรณ์ ( STEMI) และ 2. ตีบแบบไม่สมบูรณ์ (NSTEMI) ถ้าเป็นการตีบชนิดสมบูรณ์หรือตันไปเลยนั้น กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดแบบรุนแรง ดังนั้นควรเปิดหลอดเลือดให้ได้ภายในสองชั่วโมงนับแต่วินิจฉัยได้ หรือเร็วที่สุดนับตั้งแต่มีอาการ ส่วนถ้าเป็นการตีบชนิดไม่สมบูรณ์ ซึ่งการตีบลักษณะนี้หลอดเลือดจะยังพอมีทางให้เลือดไหลผ่านได้บ้าง อย่างไรก็ตามควรทำการฉีดสีสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่วินิจฉัย

5. การสวนหัวใจมีวิธีการทำอย่างไร ?
แพทย์จะทำการแทงเข็มขนาดประมาณเข็มน้ำเกลือเข้าสู่หลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน และร่อนสายลวดและอุปกรณ์ทุกอย่างผ่านเข็มนี้ขึ้นไปสู่หลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจะทำการฉีดสีเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจเพื่อวินิจฉัยหาจุดตีบ และเมื่อเห็นจุดตีบ แพทย์จะพยายามเปิดเส้นเลือดด้วยสายลวดและบอลลูน เมื่อเส้นเลือดเปิดแล้วแพทย์จะต้องใส่ขดลวดหรือ stent เพื่อค้ำยันลอดเลือดบริเวณนั้นอีกครั้งเพื่อป้องกันการตีบซ้ำ

Myocardial infarction (MI) คืออะไร มีลักษณะเช่นไร

6. มีโรงพยาบาลแห่งใดในเขตอันดามันที่มีห้องสวนหัวใจ (cardiac cath lab) บ้าง?
ในเขตจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ศูนย์หัวใจที่มีห้องฉีดสีสวนหัวใจ มีเฉพาะที่รพ.กรุงเทพ ภูเก็ต และ รพ.วชิระ ภูเก็ต เพียงสองแห่งเท่านั้น โดย ศูนย์หัวใจ รพ.กรุงเทพภูเก็ต เป็นที่ที่มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

Myocardial infarction คืออะไร

กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction) หรือบางทีเรียกว่า Heart attack. เป็นความผิดปกติที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเสียหายจากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นไม่เพียงพอ ปัจจุบันพบว่าหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกในคนไทย อันได้แก่ อุบัติเหตุมะเร็งและโรคหัวใจ

Mi ให้ยาอะไร

หลังเป็น MI แนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วย - ยา Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกล็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือด - ยากลุ่ม Beta blocker จะลดการบีบตัวของหัวใจ ทำให้ลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น Atenolol. - ยากลุ่ม Statin ลดระดับไขมันเลือด

Old MI คือโรคอะไร

หัวใจตายที่มีอยูเดิม (OLD MI), หรือลักษณะของ LV aneurysm 3.2 ลักษณะภาพถายรังสีทรวงอกในกลุมอาการเหนื่อยเฉียบพลัน ขนาดหัวใจมักปกติ แตอาจมีลักษณะของ ภาวะหัวใจลมเหลวได ในขณะที่ในกลุมเรื้อรังภาพถายทรวงอกมักตรวจพบมีขนาดของหัวใจโต แตอาจไม

ST segment elevation พบได้ในกรณีใด

◊ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะ ST Segment (ST Segment Elevation Myocardial Infarction - STEMI) เกิดจากการอุดตัน ของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนท าให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง หากไม่ได้รับการ รักษาโดยเร็ว จะทาให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบรุนแรงได้