พื้นฐานการรับรู้เกิดจากสิ่งใด

การมองเห็นแบบธรรมดา ( Looking) หรือแบบทั่วไปนั้นเป็นการมองเห็นหรือการรับรู้ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ปราศจากการสังเกตความตั้งใจและไร้ความประสงค์ คล้ายกับปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นโดยทันทีเป็นปกติวิสัย ซึ่งแตกต่างจากการรับรู้การเห็นทางศิลปะที่เป็นความสามารถที่จะเข้าใจ และกินความกว้างขวางจากภายนอกสู่ความรู้สึกภายในมากกว่า

การเห็นรูปทรงศิลปะและพยายามทำความเข้าใจกับรูปทรงที่มองเห็นนั้นเป็นอาการที่ลึกซึ้งกว่ากระบวนการใช้สายตาแบบปกติ และยังเกี่ยวข้องไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทของผู้ดู ซึ่งกำลังรับรู้ข้อมูลต่างๆ จากประสาทสัมผัสด้วยความมีชีวิติชีวาและเมื่อได้รับรู้ การรับรู้จะรวมตัวเป็นการรับรู้สะสม

( Funded Perception ) และพัฒนาไปสู่ประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ ( Aeathetic Ezxperience ) ขั้นของการมองเห็นในช่วงนี้จะเห็นความสัมพันธ์ของส่วนละเอียด และ / หรือการเห็นทะลุปรุโปร่งแบบแจ้งเห็นจริง

( สุชาต เถาทอง. ม.ป.ป. : 53 )

องค์ประกอบของการเห็น

1.การเห็นรูปและพื้น ( Figure and Ground ) เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็นจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลมาจากการที่เรามองเห็นวัตถุตาเราจะรับรู้พร้อมๆ กันทั้งรูปและพื้น โดยวัตถุจะเป็นรูปและบริเวณรอบ ๆ จะเป็นพื้น

2.การเห็นแสงและเงา ( Light and Shadow ) การรับรู้ได้หรือมองเห็นได้เพราะแสงสว่างส่องกระทบบริเวณวัตถุนั้นต้องอยู่ ถ้าไม่มีแสงสว่างน้ำหนักของวัตถุจะไม่เกิดขึ้นหรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากันเงาก็ไม่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน แสงและเงาจึงมีผลต่อการรับรู้รูปร่าง และขนาดของวัตถุที่แปรเปลี่ยนไปตามปริมาณและค่าน้ำหนักของแสงและเงา ( Value )

3.การเห็นตำแหน่งและสัดส่วน ( Position and Proportion ) การรับรู้หรือมองเห็นเกิดขึ้นได้ เพราะตำแหน่งของเราและตำแหน่งของวัตถุ ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุก็จะมองเห็นส่วนราย

ละเอียดได้ชัดเจน และมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าอยู่ไกลจากวัตถุก็ตะมองเห็นไม่ชัดเจนและมีขนาดเล็กเป็นสัดส่วนกันไป

4.การเห็นความเคลื่อนไหว( Motion ) การรับรู้และมองเห็นได้เพราะความเคลื่อนไหวของวัตถุหรือเพราะตัวเราเคลื่อนไหวเองซึ่งการเคลื่อนไหวมีทั้งการเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็ว เชื่องช้า ทิศทาง และ จังหวะ เป็นต้น 

ความหมายของการรับรู้ ขณะที่ท่านกำลังอ่านประโยคนี้ ท่านกำลังรับรู้ การตีความประโยคที่อ่านเพื่อให้ได้ใจความเป็นการรับรู้ หากท่านผละสายตาจากหนังสือที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ มองออกไปข้างนอกหน้าต่าง ท่านอาจเห็นสนามหญ้าเขียวขจี ที่ขอบสนามหญ้ามีต้นมะพร้าวเรียงกัน 2 คน ทางมะพร้าวแกว่งไกวไปตามลม การตีความสิ่งที่เห็นข้างนอกว่าคือสนามหญ้า คือ ต้นมะพรไว เป็นการรับรู้ การตีความการเคลื่อนที่ของทางมะพร้าวว่าแกว่งไกวไปตามลมก็เป็นการรับรู้ หากท่านหลับตาและเงี่ยหูฟัง ก็อาจได้ยินเสียงซู่ๆ เบาๆ เป็นเสียงไหวของใบไม้ ได้ยินเสียงจิ๊บๆ เป็นเสียงร้องของนก การตีความเสียงที่ได้ยินว่าเป็นเสียงไหวของใบไม้ เป็นเสียงร้องของนก เป็นการรับรู้ ในท่าหลับตาเช่นเดิมท่านอาจนึกถึงเหตุการณ์บนรถเมล์ที่ท่านโดยสาร เมื่อวานนี้ หญิงแก่ที่นั่งข้างหน้าต่างรถเมล์คนนั้นช่างน่าสงสารเหลือเกิน ทำท่าจะอาเจียนมาตลอดทาง คงจะเพิ่งมาจากบ้านนอกและไม่เคยชินกับการนั่งรถเมล์ในกรุงมาก่อน การตีความคนที่เห็นว่าน่าสงสาร ทำท่าจะอาเจียน คงจะเพิ่งมาจากบ้านนอก เป็นการรบรู้ในท่าหลับตาเช่นเดิม หากท่านเบนความใส่ใจจากสิ่งเร้าภายนอกมาสู่สิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ท่านอาจรู้สึกว่าตนเองกำลังหายใจ มีลมเข้าทางจมูกจนเต็มปอดแล้วก็ออกทางจมูก ได้ยินเสียงวี้ๆ เบาๆ กระหึ่มอยู่ในสมอง การรู้สึกว่าตนกำลังหายใจ สมองมีเสียงวี้ๆ ก็เป็นการรับรู้เช่นกัน

การรับรู้ (Perception) เป็นกระบวนการตีความสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน และสิ่งที่รู้สึกด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ เพื่อให้รู้ว่าคืออะไร สิ่งที่รับรู้มีทั้งที่เป็นวัตถุ มนุษย์ด้วยกัน และความเป็นไปภายในจิตของเราเอง เราจึงสามารถแบ่งการรับรู้ออกตามสิ่งที่รับรู้ เป็นการรับรู้โลกทางวัตถุ การรับรู้โลกทางจิตและการรับรู้โลกทางสังคม

โลกอัตวิสัยกับโลกภาววิสัย โลกแห่งการรับรู้เป็นโลกอัตวิสัย (subjective) สิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน หรือสิ่งที่เรารู้สึกด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ รู้เฉพาะเราเท่านั้น ถ้าหากเราไม่บอกคนอื่น คนอื่นก็ไม่อาจจะทราบว่าสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน หรือสิ่งที่เรารู้สึกนั้นเป็นอย่างไร

โลกแห่งการรับรู้เป็นโลกที่ปรากฎแก่เรา โลกที่ปรากฎแก่เรามีลักษณะที่ไม่ตรงกับโลก ตามที่เป็นจริง โลกตามที่เป็นจริงเป็นโลกภาววิสัย (objective) เราพยายามรู้โลกภาววิสัย แต่เราก็จำเป็นต้องรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งปวงและการตีความของเรา และสิ่งที่รู้ผ่านประสาทสัมผัส และการตีความของเราก็เป็นเพียงโลกแห่งการรับรู้ซึ่งเป็นอัตวิสัย

ในการรับรู้โลกภาววิสัย เราพยายามปรับโลกแห่งการรับรู้ให้สอดคล้องกับโลกภาววิสัย ความพยายามนี้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยที่เราไม่รู้สึกตัว และเนื่องจากการปรับโลกแห่งการรับรู้ ให้เข้ากับโลกภาววิสัยเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เราจึงมิค่อยได้สังเกตความแตกต่างระหว่างโลกแห่งการรับรู้กับโลกภาววิสัย

หากท่านเดินไปยืนที่ข้างหน้าต่าง ยืนข้างขอบด้านซ้ายหรือด้านขวาของหน้าต่างก็ได้ แล้วมองที่ขอบหน้าต่างทั้งหมด ถ้าจะถามว่าขอบหน้าต่างมีรูปร่างอย่างไร ท่านคงจะตอบทันทีว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าจะถามต่ออีกว่าขอบหน้าต่างตามที่ปรากฎแก่สายตามีรูปร่างอย่างไร บางท่านยังคงจะตอบว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ผู้ที่สังเกตภาพของหน้าต่างตามที่ปรากฎแก่สายตาก็จะตอบว่าเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู

ตัวอย่างข้างต้นนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างโลกแห่งการรับรู้กับโลกภาววิสัย ขอบหน้าต่างในโลกภาววิสัย แม้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ตามที่ปรากฎในโลกแห่งการรับรู้นั้น หาได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเสมอไปไม่ ส่วนใหญ่แล้วจะปรากฎเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ยืนอยู่ที่จุดใด ตัวอย่างอื่นๆ ในทำนองเดียวกันนี้มีมากมาย เช่นรางรถไฟที่ขนานกัน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จะปรากฎแก่สายตาว่ารางทั้ง 2 ขางลู่เข้าหากันที่จุดซึ่งอยู่ห่างไกลจากเรา ล้อรถยนต์ซึ่งเป็นวงกลม จะปรากฎแก่สายตาเป็นวงรี และรถยนต์ที่จอดอยู่ห่างไกลจากเราจะปรากฎแก่สายตาว่ามีขนาดเล็กกว่ารถยนต์ที่จอดอยู่ใกล้ๆ

โลกแห่งการรับรู้จึงไม่ตรงกับโลกภาววิสัย แต่มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องรู้โลกภาววิสัยตามที่มันเป็น โดยการปรับหรือตีความสิ่งที่รับรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงตามภาววิสัย

การรับรู้ของมนุษย์ เกิดจากอะไร

การรับรู้ (Perception) เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่มีการรับและตีความสิ่งเร้าด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของบุคคล การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensorymotor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ซึ่งก็คือ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ได้ว่า การ รับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13% การ ...

ทฤษฎีการมองเห็น คืออะไร

1. ทฤษฎีการเห็น เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการรับรู้ การเห็นของมนุษย์ ถือเป็นกระบวนการ ทางธรรมชาติ เป็นเรื่องของการเห็นที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้ เคยพบมา ท าให้เกิดการรับรู้ภาพที่ปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันไป

จุดเรียงต่อกันทำให้เกิดสิ่งใด

จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น และการนำจุดมาวางให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้

งานทัศนศิลป์สัมผัสด้วยประสาทการรับรู้ส่วนใด

เมื่อพิจารณาเฉพาะ “ทัศนศิลป์” ที่เป็นศิลปะที่มีวัตถุธาตุมนุษย์สามารถรับรู้ได้โดยใช้ ประสาทตา คือการมองเห็นเป็นสำคัญ อารีสุท ธิพันธ์ได้แบ่งการมองเห็นออกเป็น 2 พวกใหญ่ค ือ