การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

  การสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา

         ความรู้ทางธรณีวิทยาเป็นความรู้พื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ ได้ เช่น งานการวางแผนพัฒนาในด้านต่างๆ การหาวัตถุดิบ อุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ การก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งถนนหนทาง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการท่องเที่ยว เป็นต้น

          ความรู้ทางธรณีวิทยา ได้มาจากการสำรวจ ศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยาของเปลือกโลก เช่น การ ศึกษาลำดับชั้นหิน การแบ่งขอบเขต และกำหนด อายุของชุดหิน ศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของหิน แต่ละชนิด การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในอดีต เมื่อดำเนินการสำรวจศึกษาจะได้ข้อมูล ซึ่งต้องนำมารวบรวมประเมิน เพื่อที่จะนำเสนอความรู้ทางธรณีวิทยา ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมั่นใจ ความรู้ทางธรณีวิทยาจะมีการนำเสนอ ในรูปแบบของแผนที่ธรณีวิทยาแบบต่างๆ เช่น แผนที่ธรณีวิทยารากฐาน แผนที่ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม แผนที่ธรณีวิทยาโครงสร้าง แผนที่ธรณีวิทยาแหล่งหิน การสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาจะต้องมีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน มีวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อข้อมูลที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุด

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

เขื่อนภูมิพล จ. ตาก

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

โรงงานปูนซีเมนต์ จ.สระบุรี

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

โรงโม่หิน จ.สระบุรี

ขั้นตอนการสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา

๑. ขั้นตอนการเตรียมการสำรวจ

          เมื่อกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจเรียบร้อยแล้ว จะมีการรวบรวมข้อมูลเก่าที่เคยทำมาแล้วในพื้นที่เป้าหมาย และบริเวณใกล้เคียง มีการแปลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม เตรียมแผนที่ภูมิประเทศ วางแผนการสำรวจตามข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวม เตรียมเครื่องมือสำรวจภาคสนามให้เหมาะสม เช่น ค้อนธรณี เข็มทิศ เพื่อใช้วัดการเอียงเทของชั้นหินและอุปกรณ์ช่วยสำรวจอย่างอื่น

   

๒. ขั้นตอนการสำรวจในภาคสนาม

          นักธรณีวิทยาจะเริ่มการสำรวจธรณีวิทยาเบื้องต้น ในพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจ โดยเริ่มจากกำหนดแนวการสำรวจ สำรวจเส้นทาง และศึกษาธรณีวิทยาเบื้องต้น แล้วจึงสำรวจเก็บรายละเอียด เช่น กำหนดตำแหน่งจุดสำรวจ ตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาในพื้นที่ ศึกษาข้อมูลหิน ลำดับชั้นหิน โครงสร้าง ซากดึกดำบรรพ์ แร่ และ บันทึกข้อมูล บันทึกภาพ เป็นหลักฐานประกอบการ เขียนรายงานการสำรวจ ในการสำรวจจะต้องมีการเก็บตัวอย่าง ดิน หิน ซากดึกดำบรรพ์ แร่ และน้ำเพื่อไปวิจัยเพิ่มเติมในสำนักงาน นักธรณีวิทยาจะต้องถ่ายทอดข้อมูลลงในแผนที่ธรณีวิทยาต้นร่าง ตรวจสอบ ความถูกต้อง และเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมอีกถ้าจำเป็น 

   

๓. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา

หลังจากสำรวจเก็บข้อมูลในภาคสนามแล้ว ตัวอย่างที่ได้จะนำไปดำเนินการวิเคราะห์ทางด้านต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์หาอายุซากดึกดำบรรพ์ การวิเคราะห์ทางเคมี การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์และการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ข้อมูลจากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะช่วยสนับสนุนข้อมูลที่ได้ จากการสำรวจในภาคสนาม ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะนำมารวบรวม ประมวลผล และแปลความหมายข้อมูลธรณีวิทยา แล้วจึงจัดทำเป็นแผนที่ธรณีวิทยา และรายงานการสำรวจธรณีวิทยาต้นฉบับ หลังจากนั้นก็จะดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานความถูกต้องก่อนจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อประชาชนต่อไป

   

  1. 2 ภูมิสารสนเทศศาสตร์

         ภูมิสารสนเทศศาสตร์  (Geoinformatics)  คือ  ศาสตร์สารสนเทศที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีทางด้านการสำรวจ  การทำแผนที่  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกัน  เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่บนโลก  ประกอบด้วย  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  (GIS)  การรับรู้จากระยะไกล  (RS)  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  (GPS)  เทคโนโลยีทั้งสามประเภทนี้สามารถทำงานเป็นอิสระต่อกัน  หรือสามารถนำมาเชื่อมโยงร่วมกัน  ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  เช่น  กิจการทหาร  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การจัดการภัยพิบัติต่างๆ  การวางผังเมืองและชุมชน  หรือแม้แต่ในเชิงธุรกิจก็ได้มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์มาประยุกต์ใช้และประกอบการวางแผนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ  ได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพ

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

2.1  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

        ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  (Geographic  Information  System)  หรือ  จีไอเอส  (GIS)  หมายถึง  ระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงพื้นที่กับค่าพิกัดภูมิศาสตร์  และรายละเอียดของพื้นที่นั้นบนพื้นโลกโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วย  ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เพื่อการนำเข้า  จัดเก็บ  ปรับแก้  แปลงวิเคราะห์ข้อมูล  และแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ  เช่น  แผนที่  ภาพสามมิติ  สถิติตารางข้อมูลร้อยละ  เพื่อช่วยในการวางแผนและตัดสินใจของผู้ใช้ให้มีความถูกต้องแม่นยำ

          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบที่สามารถบันทึกข้อมูลเพื่อที่จะแสดงสภาพพื้นที่จริง  จึงมีการจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ  เป็นชั้นๆ  (layer)  ซึ่งชั้นข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาซ้อนทับกันจะแสดงสภาพพื้นที่จริงได้

1) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  ประกอบด้วย

1.1)  ข้อมูล  ประกอบด้วย  ข้อมูลเชิงพื้นที่  เป็นข้อมูลที่เป็นพิกัดทางภูมิศาสตร์แสดงค่าละติจูดและลองจิจูด  ได้แก่  ข้อมูลจุด  เช่น  โรงเรียน  ข้อมูลเส้น  เช่น  ทางรถไฟ  ข้อมูลรูปปิด  เช่น  ขอบเขตจังหวัด  เป็นต้น ข้อมูลคำอธิบาย  เป็นข้อมูลประกอบข้อมูลเชิงพื้นที่  เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนครูและนักเรียนในโรงเรียน  เป็นต้น

1.2) ส่วนชุดคำสั่ง  หรือซอฟต์แวร์  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดการข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  โปรแกรมที่นิยมใช้  เช่น  ArcView,  MapInfo  เป็นต้น

1.3)   ส่วนเครื่อง  หรือฮาร์ดแวร์  เป็นอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ใช้กับโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  ประกอบด้วย  คอมพิวเตอร์  เครื่องอ่านพิกัดหรือเครื่องกราดภาพ  แป้นพิมพ์อักขระ  เครื่องพิมพ์  รวมถึงเครื่องระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

1.4)   กระบวนการวิเคราะห์  เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นต่างๆ  ซึ่งแต่ละชั้นอาจประกอบไปด้วยข้อมูลจุด  ข้อมูลเส้น  และข้อมูลรูปปิด  โดยอาจวิเคราะห์ข้อมูลจากรากฐานข้อมูลเพียงชั้นเดียว  หรือวิเคราะห์จากข้อมูลหลายชั้น

1.5)   บุคลากร  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  โดยบุคลากรควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอย่างดี  และมีการพัฒนาโปรแกรม  อุปกรณ์  และข้อมูลของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

2) ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  ในปัจจุบันมีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างกว้างขวางในหน่วยงานต่างๆ  ในการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมาย  นอกจากนี้การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์อื่นๆ  ยิ่งทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง  ทันสมัย  สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน  ติดตาม  หรือการจัดการสิ่งต่างๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถสรุปได้  ดังนี้

1.1)  การดำเนินชีวิตประจำวัน  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถบอกตำแหน่งของสถานที่ชื่อสถานที่  พิกัดทางภูมิศาสตร์  ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ  ได้

1.2)  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว  การจัดระบบน้ำชลประทาน  การป้องกันความเสียหายของโบราณสถาน  หรือสถานที่ท่องเที่ยว  เป็นต้น

1.3) การจัดการภัยธรรมชาติ  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย  การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย  ความรุนแรง  ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตมนุษย์  ตลอดจนการจัดทำพื้นที่หลบภัย  และวางแผนการเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

1.4)   การจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคม  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำให้ทราบข้อมูลต่างๆเช่น  ที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ  ความหนาแน่นของประชากร  เพศ  อายุ  เป็นต้น  เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมได้

     นอกจากนี้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ยังสามารถใช้คาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในช่วงเวลาที่กำหนดได้  เช่น  พื้นที่ชายฝั่งที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะในอีก  5  ปีข้างหน้า  จะเป็นอย่างไร  หรือพื้นที่ป่าไม้จะมีความสูญเสียอย่างไร  เป็นต้น

2.2)  การรับรู้จากระยะไกล

       การรับรู้จากระยะไกล  (Remote  Sensing)  หมายถึง  ระบบสำรวจบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวโลกด้วยเครื่องรับรู้  (Sensors)  ซึ่งติดไปกับยานดาวเทียมหรือเครื่องบิน  เครื่องรับรู้ตรวจจับคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนจากวัตถุบนผิวโลก  หรือตรวจจับคลื่นที่ส่งไปและสะท้อนกลับมา  หลังจากนั้นมีการแปลงข้อมูลเชิงตัวเลขซึ่งนำไปใช้แสดงเป็นภาพและทำแผนที่

    การรับรู้จากระยะไกลมีทั้งระบบที่วัดพลังงานธรรมชาติซึ่งมาจากพลังงานแสงอาทิตย์  และพลังงานที่สร้างขึ้นเองจากตัวดาวเทียม  ช่วงคลื่นของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่วัดด้วยระบบการรับรู้จากระยะไกลมีหลายช่วงคลื่น เช่น  ช่วงของแสงที่มองเห็นได้  ช่วงคลื่นอินฟราเรด  ช่วงคลื่นไมโครเวฟเป็นต้น

  การบันทึกข้อมูลหรือรูปภาพของพื้นที่จากเครื่องบินมีลักษณะแตกต่างไปจากการใช้ดาวเทียม  เนื่องจากเครื่องบินจะมีข้อจำกัดด้านการบินระหว่างประเทศ  ส่วนดาวเทียมจะสามารถบันทึกข้อมูลของบริเวณต่างๆ  ของโลกไว้ได้ทั้งหมด  เพราะดาวเทียมโคจรรอบโลกอยู่ในอวกาศและมีอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

1) ระบบการทำงานของการรับรู้จากระยะไกล  การบันทึกข้อมูลหรือรูปภาพด้วยเครื่องบินเรียกว่า  รูปถ่ายทางอากาศ  ส่วนดาวเทียมจะเรียกว่า  ภาพจากดาวเทียม  ซึ่งมีระบบการทำงาน  ดังนี้

1.1) ระบบการทำงานของรูปถ่ายทางอากาศ  การถ่ายรูปทางอากาศจะต้องมีการวางแผนการบินและมาตราส่วนของแผนที่ล่วงหน้า  เมื่อถ่ายรูปทางอากาศแล้วจะมีการนำฟิล์มไปล้างและอัดเป็นภาพ ทั้งภาพสีหรือภาพขาว – ดำ  ขนาดเท่าฟิล์ม  เนื่องจากกล้องและฟิล์มมีคุณภาพสูงจึงสามารถนำไปขยายได้หลายเท่า  โดยไม่สูญเสียรายละเอียดของข้อมูล  รูปถ่ายทางอากาศสามารถแปลความหมายสภาพพื้นที่ของผิวโลกได้ด้วยสายตาเป็นส่วนใหญ่  นอกจากนี้  การถ่ายรูปที่มีพื้นที่ซ้อนกัน  (overlap)  สามารถนำมาศึกษาแสดงภาพสามมิติได้  โดยบริเวณที่เป็นภูเขาสูงขึ้นมา  บริเวณหุบเหวจะลึกลงไป  เป็นต้น

1.2) ระบบการทำงานของภาพจากดาวเทียม  การบันทึกข้อมูลของดาวเทียม แบ่งออกเป็น2 ประเภท  ได้แก่

(1) การบันทึกข้อมูลแบบพาสซีฟ  (Passive)  เป็นระบบที่บันทึกข้อมูลจากการสะท้อนคลื่นแสงในเวลากลางวัน  และคลื่นความร้อนจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน  การบันทึกข้อมูลดาวเทียมแบบนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยช่วงคลื่นแสงสายตา  คลื่นแสงอินฟราเรด  หรือคลื่นแสงที่ยาวกว่าเล็กน้อย  ซึ่งไม่สามารถทะเลเมฆได้  จึงบันทึกข้อมูลพื้นที่ในช่วงที่มีเมฆปกคลุมไม่ได้

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

(2) การบันทึกข้อมูลแบบแอกทีฟ  (Active)  เป็นระบบที่ดาวเทียมผลิตพลังงานเองและส่งสัญญาณไปยังพื้นโลกแล้วรับสัญญาณที่สะท้อนกลับมายังเครื่องรับ  การบันทึกข้อมูลของดาวเทียมแบบนี้ไม่ต้องอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์เนื่องจากใช้พลังงานที่เกิดขึ้นจากตัวดาวเทียมที่เป็นช่วงคลื่นยาว  เช่น  ช่วงคลื่นไมโครเวฟ  ซึ่งทะลุเมฆได้  จึงสามารถส่งสัญญาณคลื่นไปยังพื้นผิวโลกได้ตลอดเวลาข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีคุณลักษณะแตกต่างกัน  เช่น  ข้อมูลเป็นตัวเลข  (ส่วนมากมีค่า  0 – 255)  ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการแปลความหมาย  ข้อมูลเป็นภาพพิมพ์จะใช้วิธีแปลความหมายแบบเดียวกับรูปถ่ายทางอากาศ  นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมมีองค์ประกอบหลักในการวิเคราะห์  8  ประการ  ได้แก่  ความเข้มของสี  สี  ขนาด  รูปร่าง  เนื้อภาพ  รูปแบบ  ความสูงและเงา  ที่ตั้งและความเกี่ยวพัน

2) ประโยชน์ของการรับรู้จากระยะไกล  การรับรู้จากระยะไกลมีประโยชน์ในด้านต่างๆ  ดังนี้

2.1) การพยากรณ์อากาศ  กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อพยากรณ์ปริมาณและการกระจายของฝนในแต่ละวัน  โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมที่โคจรรอบโลกด้วยความเร็วเท่ากับการหมุนของโลกในแนวตะวันออก-ตะวันตก  ทำให้คล้ายกับเป็นดาวเทียมคงที่  (Geostationary)  เช่น  ดาวเทียม  GMS  (Geostationary  Meteorological  Satellite)  ส่วนดาวเทียมโนอา  (NOAA)  ที่โคจรรอบโลกวันละ  2  ครั้ง  ในแนวเหนือ  –  ใต้  ทำให้ทราบอัตราความเร็ว  ทิศทาง  และความรุนแรงของพายุที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าหรือพยากรณ์ความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้นได้

2.2)  สำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน  เนื่องจากข้อมูลจากดาวเทียมมีรายละเอียดภาคพื้นดิน  และช่วงเวลาการบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน  จึงใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่การใช้ประโยชน์จากที่ดินและการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี  เช่น  พื้นที่ป่าไม้ถูกตัดทำลาย  แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นใหม่  หรือชุมชนที่สร้างขึ้นใหม่  เป็นต้น  ในบางกรณีข้อมูลดาวเทียม  ใช้จำแนกชนิดป่าไม้  พืชเกษตร  ทำให้ทราบได้ว่าพื้นที่ป่าไม้เป็นป่าไม้แน่นทึบ  โปร่ง  หรือป่าถูกทำลาย  พืชเกษตรก็สามารถแยกเป็นประเภทและความสมบูรณ์ของพืชได้  เช่น  ข้าว  มันสำปะหลัง  อ้อย  สับปะรด  ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกการเจริญเติบโตได้อีกด้วย

2.3) การสำรวจทรัพยากรดิน  ข้อมูลจากดาวเทียมและรูปถ่ายทางอากาศเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสำรวจและจำแนกดิน  ทำให้ทราบถึงชนิด  การแพร่กระจาย  และความอุดมสมบูรณ์ของดิน  จึงใช้จัดลำดับความเหมาะสมของดินได้  เช่น  ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด  ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม  เป็นต้น

2.4)  การสำรวจด้านธรณีวิทยา  และธรณีสัณฐานวิทยา  เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมครอบคลุมพื้นที่กว้าง  มีรายละเอียดภาคพื้นดินสูงและยังมีหลายช่วงคลื่นแสง  จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่ใช้ในการสำรวจและทำแผนที่ธรณีวิทยา  ธรณีสัณฐานวิทยา  แหล่งแร่  แหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ  และแหล่งน้ำใต้ดินได้เป็นอย่างดี  โดยการใช้ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาช่วยทำให้การสำรวจและขุดเจาะเพื่อหาทรัพยากรใต้ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และลดค่าใช้จ่ายการสำรวจในภาคสนามลงได้เป็นอันมาก

2.5)  การเตือนภัยจากธรรมชาติ  ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อย  ได้แก่  อุทกภัยแผ่นดินถล่ม  ภัยแล้งวาตภัย  ไฟป่า  ภัยทางทะเล  ภัยธรรมชาติต่างๆ  เหล่านี้  เมื่อนำเอาข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะเป็นประโยชน์ในการเตือนภัยก่อนที่จะเกิดภัย  ขณะเกิดภัย  และหลังเกิดภัยธรรมชาตินอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  ประโยชน์ของการรับรู้จากระยะไกล  ยังใช้ในการสำรวจด้านอื่นๆ  อีก  เช่น  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านการจราจร  ด้านการทหาร  ด้านสาธารณสุข  เป็นต้น

2.3  ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

       ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  (Global  Positioning  System)  หรือ  จีพีเอส  (GPS)  หมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้กำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  โดยอาศัยดาวเทียม  สถานีภาคพื้นดิน  และเครื่องรับจีพีเอส  โดยเครื่องรับจีพีเอสจะรับสัญญาณมาคำนวณหาระยะเสมือนจริงแต่ละระยะ  และจะใช้ข้อมูลดังกล่าวจากดาวเทียมอย่างน้อย  4  ดวง  มาคำนวณหาตำบลที่เครื่องรับ  พร้อมทั้งแสดงให้ผู้ใช้ทราบบนจอแอลซีดีของเครื่องเป็นค่าละติจูด  ลองจิจูด  และค่าพิกัดยูทีเอ็ม  รวมทั้งค่าของระดับความสูงจากระดับทะเลปานกลางด้วย

1)  หลักการทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  การทำงานของระบบกำหนตำแหน่งบนพื้นโลกต้องอาศัยสัญญาณจากดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  ซึ่งโคจรอยู่รอบโลกประมาณ  24  ดวง  แบ่งออกเป็น  6  วงโคจร  วงโคจรละ  4  ดวง  และยังมีดาวเทียมสำรองไว้หลายดวง  ดาวเทียมแต่ละดวงจะอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ  20,200  กิโลเมตร  และจะโคจรรอบโลกภายใน  11  ชั่วโมง  50  นาที  และมีสถานีควบคุมภาคพื้นดินทำหน้าที่คอยตรวจสอบการโคจรของดาวเทียมแต่ละดวง  โดยการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุที่มีความเร็วคลื่นประมาณ  186,000  ไมล์ต่อวินาที

การใช้ เครื่องบิน สํา ร ว จ ด้านธรณีวิทยาและ ธรณี สัณฐาน วิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

    ส่วนผู้ใช้เครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะต้องตรวจสอบจุดพิกัดภาคพื้นดินที่ตนอยู่ว่าจัดอยู่ในโซนใดของโลกก่อนใช้ทุกครั้ง  เพื่อเปรียบเทียบและปรับแก้ไข  และเนื่องจากเครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะรับสัญญาณจากดาวเทียม  ผู้ใช้เครื่องมือจึงควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง  ไม่ควรอยู่ในอาคารหรือป่าไม้ที่แน่นทึบมาก  ซึ่งอาจจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่ดี

2)  ประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  มีดังต่อไปนี้

2.1)  ใช้ในกิจกรรมทางทหาร  โดยเฉพาะในช่วงการทำสงคราม  เนื่องจากระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา  เพื่อกิจการด้านทหารโดยเฉพาะ  แต่ในปัจจุบันได้มีการเผยแพร่ให้มีการใช้ในกลุ่มประชาชนทั่วไปในระดับหนึ่ง  เช่น  ใช้ในการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การเดินทางไปยังเป้าหมายที่ต้องการ  เป็นต้น

2.2) ใช้ในการกำหนดจุดพิกัดผิวโลก  เพื่องานด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือข้อมูลดาวเทียมและรังวัดที่ดินเพื่อแสดงชนิดของข้อมูลลงในสนาม  เช่น  ถนน  บ่อน้ำ  นาข้าว  บ้านเรือน  เป็นต้น  ตำแหน่งพิกัดนี้สามารถถ่ายทอดลงในคอมพิวเตอร์ได้ทันที  ดังนั้น  จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยวิเคราะห์หรือแปลความหมายจากข้อมูลดาวเทียม  หรือเป็นข้อมูลพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป

2.3) ใช้ในการสำรวจทิศทาง  เครื่องมือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกมีขนาดเล็กใหญ่ตามความต้องการใช้งานและสามารถพกพาติดตัวได้เหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออยู่ในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่  ดังนั้น  เราสามารถใช้งานได้สะดวก  โดยสามารถใช้เพื่อแสดงเส้นทางที่สำรวจได้แม้จะอยู่ในรถยนต์  ซึ่งปัจจุบันการใช้ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกในรถยนต์บ้างแล้ว  ทำให้การเดินทางเป็นไปได้สะดวก  รวดเร็ว  และแม่นยำมากขึ้น

2.4)  ใช้ในการสำรวจตำแหน่งที่เกิดภัยธรรมชาติ  อุบัติเหตุบนทางหลวง  ตำแหน่งเรือในทะเลหรือการหลงป่า  หากมีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว  ทำให้ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน  และสามารถประเมินสถานการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

2.5)  ใช้ในกิจการอื่นๆ  เช่น  ด้านการบิน  ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องรับสัญญาณระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เพื่อใช้กับกิจการพลเรือนเพื่อความแม่นยำในขณะนำเครื่องบินลงจอด  เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป  การศึกษาภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยวิธีการและเครื่องมือต่างๆ  ซึ่งเครื่องมือที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมาก  คือ  แผนที่  และยังมีเครื่องมืออีกหลายชนิดที่มีการนำมาใช้รวบรวม  วิเคราะห์  และนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์  เช่น  รูปถ่ายทางอากาศ  ภาพจากดาวเทียม  เป็นต้น  ซึ่งให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ  ได้แก่  การรับรู้จากระยะไกล  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เพื่อบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่  ซึ่งหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้นำมาพัฒนา  และประยุกต์ใช้ในหลายด้าน  เช่น  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การเตือนภัยธรรมชาติ  การวางผังเมืองและชุมชน  เป็นต้น  และนับวันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจะมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน  และการวางแผนในอนาคตมากขึ้น  ดังนั้น  เราจึงควรศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น