ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ชาวต่างชาติ 2564

ทุกวันนี้มีชาวต่างชาติมากมายที่เข้ามาทำงานอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานหรือไม่มีใบอนุญาตทำงานก็ตาม จำเป็นจะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภงด.90 หรือ ภงด.91 ด้วย Wonderfulpackage จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของชาวต่างชาติมาให้ทราบกันค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าประเทศไทยเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 2 แหล่ง หลักๆ คือ หลักแหล่งเงินได้ และหลักถิ่นที่อยู่

หลักแหล่งเงินได้ มีอะไรบ้าง??

  • เงินที่ได้จากการที่ทำงานในประเทศไทย
  • เงินที่ได้จากการทำกิจการในประเทศไทย
  • เงินที่ได้จากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย
  • เงินที่ได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

หลักถิ่นที่อยู่ มีอะไรบ้าง??

  • ผู้ที่มีเงินได้จากการทำงานในต่างประเทศ
  • ผู้ที่มีเงินได้จากกิจการในต่างประเทศ
  • ผู้ที่มีเงินได้จากทรัพย์สินที่ต่างประเทศ

เงื่อนไข

  • ต้องนำเงินได้เข้ามาในไทย ในปีภาษีนั้น
  • ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทย (อยู่ในไทยระยะเวลารวมกันถึง 180 วัน ในปีภาษี ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ)
    *หากไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว ไม่ต้องเสียภาษี

หลักเกณฑ์การเสียภาษีของชาวต่างชาติที่มีเงินได้จากการจ้างงานในประเทศไทย

สำหรับแรงงานต่างชาติที่ต้องยื่น (ภ.ง.ด.90) มีดังนี้

  • บุคคลที่ไม่มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้ในปีภาษีล่วงมาแล้ว เกิน 30,000 บาท
  • บุคคลที่มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้ในปีภาษีล่วงมาแล้ว เกิน 60,000 บาท
    บุคคลดังกล่าว จำต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สำหรับแรงงานต่างชาติที่ต้องยื่น (ภ.ง.ด.91) มีดังนี้

  • บุคคลที่ไม่มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้ในปีภาษีล่วงมาแล้ว เกิน 50,000 บาท
  • บุคคลที่มีสามีหรือภรรยาและมีเงินได้ในปีภาษีล่วงมาแล้ว เกิน 100,000 บาท
    บุคคลดังกล่าว จำต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยได้นำเงินที่ได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน ก็ต้องนำเงินนั้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

                ในกรณีมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่กองกฎหมายและระเบียบ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำนักงานสรรพากรอำเภอหรือเขต แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.15)/245 วันที่: 3 ธันวาคม 2544 เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยื่นแบบชำระภาษีของชาวต่างชาติผู้มิได้อยู่ในประเทศไทย ข้อกฎหมาย: มารา 56 ข้อหารือ: นาย จ. และนาย ว. ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มีเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทในประเทศไทย ซึ่งไม่เข้า
เงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ
15.0 ของเงินได้พึงประเมินไว้ทุกคราวที่จ่ายและได้นำส่งครบถ้วนแล้ว แต่ชาวต่างชาติทั้งสองซึ่งมิได้มี
ภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยก็มิได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่
ประเทศไทย สำนักงานสรรพากรจังหวัดเห็นว่า
1. กรณีบริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ที่จ่ายให้แก่ นาย จ. และนาย ว. ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีในอัตรา
ร้อยละ 15.0 และนำส่งครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในการเสีย
ภาษี
2. ถึงแม้ว่าชาวต่างชาติทั้งสองจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) วรรคสี่
แห่งประมวลรัษฎากร ไว้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี เงินได้
บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร หากมิได้ยื่นแบบชำระภาษี เจ้าพนักงานย่อม
มีอำนาจประเมิน ตามมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งให้ชำระ
ภาษีอากรตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากชาวต่างชาติทั้งสองไม่เคยมี
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานในประเทศไทย อันเป็นกรณีไม่อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ทำการประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม
สภ. มีความเห็นว่า เนื่องจากนาย จ. และนาย ว. ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
มีเงินได้จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับ บริษัทในประเทศไทยอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีในประเทศไทย อันเป็นประเทศที่
เงินได้เกิดขึ้น ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับยกเว้น
ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย ตามข้อ 15(ก)(ข) และ (ค) แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่าง
ประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี กรณีดังกล่าวชาวต่างชาติทั้งสองต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและ
ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่าชาวต่างชาติทั้งสองมิได้อยู่ในประเทศไทย จึงไม่อาจบังคับให้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
ในประเทศไทยได้ เว้นแต่จะได้เข้ามาในประเทศไทย อันเป็นกรณีที่จังหวัดจะต้องดำเนินการให้เป็นไป
ตามประมวลรัษฎากร และระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อไป สำหรับกรณีบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ หาก
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้หักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายไว้ครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการเสียภาษี
ดังกล่าวร่วมกับผู้มีเงินได้แต่อย่างใด ตามนัยมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร แนววินิจฉัย: ความเห็นของสำนักงานสรรพากรภาคถูกต้องแล้ว เนื่องจากบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่
กำหนดให้บุคคลใดมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ อย่างไร หรือกำหนดให้ต้องดำเนินการอย่างใดนั้น
คงใช้บังคับได้แต่เฉพาะบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้น หากชาวต่างชาติดังกล่าวซึ่งมีหน้าที่ต้อง
ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย แต่มิได้อยู่ในประเทศไทยแล้ว ก็
มิอาจบังคับให้ยื่นแบบฯ ในประเทศไทยได้เว้นแต่จะเข้ามาในประเทศไทยและบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งได้
หักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวร่วมกับผู้มีเงินได้ เลขตู้: 64/31145