Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

เคยสงสัยกันไหมว่า พอร์ตอย่าง HDMI vs DisplayPort นั้น ถึงแม้จะมีการส่งสัญญาณแบบ Digital เหมือนกัน แต่มีความต่างกันอย่างไร มีเทคโนโลยีไหนที่ต่างกัน ใบบทความนี้เราจะพาไปทราบรายละเอียดในส่วนต่างๆ กันครับ ว่า อันไหนดีกว่า ในด้านใดบ้าง

อุปกรณ์อย่างจอภาพ และสาย Cable ถือว่าเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์ และเพื่อใช้ในการแสดงผลภาพ แต่ผู้ผลิตทำรูปแบบของพอร์ตเชื่อมต่อออกมาแตกต่างกัน และมีหลายประเภท มีทั้งส่งสัญญาณแบบ Analog และ Digital ไม่ว่าจะเป็น VGA Port, DVI Port, HDMI และ DisplayPort

\> อ่านบทความ สายจอคอม มีกี่แบบ

สารบัญ

ก่อนจะนำพอร์ต HDMI vs DisplayPort มาเทียบกัน เรามาแยกดูลักษณะ และรายละเอียดของ Port แต่ละประเภทกันก่อน

HDMI ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface คือระบบเชื่อมต่อสัญญาณภาพ และเสียง พร้อมกันภายในสายเพียงเส้นเดียว โดยทั้งภาพและเสียงนั้นจะเป็นแบบดิจิตอล (Digital) ทั้งหมด แน่นอนว่า HDMI Port จะเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการเลือกใช้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แสดงผล เนื่องจากเป็นพอร์ตที่อุปกรณ์ส่วนใหญ่เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ (PC), เกมคอนโซล หรือโทรทัศน์ (TV) สมัยใหม่ ไม่ว่าจะจอเล็กหรือใหญ่ ก็จะมี HDMI Port ติดมาให้ทั้งหมด HDMI จึงเป็นที่นิยมสูงสุดในตลาดตอนนี้

ขาย

Computer Monitor ราคาถูก

โดยตัวแทนจำหน่ายโดยตรง

มีกี่เวอร์ชั่น

เรามาดูกันว่าตั้งแต่พอร์ตชนิดนี้ถูกคิดค้น มันได้พัฒนาต่อยอดมาแล้วกี่เวอร์ชั่นกันนะ

Version 1.0 หรือ HDMI 1.0 ได้ถูกเปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2002 เป็น Interface ที่ส่งสัญญาณภาพ และเสียง แบบดิจิตอล ใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกับ DVI-Single Link ทุกประการ HDMI 1.0 ส่งสัญญาณเข้ารหัส TMDS (Transition Minimized Differential Signaling) สูงสุดที่ 165MHz หรือ (Bandwidth 4.95Gbit/s) รองรับความละเอียดวิดีโอ (Video Resolution) ที่ 1920x1080p และ 1920x1200p (30/60Hz) และสัญญาณเสียงที่ 8 ชาแนล (Chanel) แบบ LPCM/192KHz (24bit)

Version 1.1 หรือ HDMI 1.1 เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2004 จะเพิ่มเติมการรองรับ DVD-Audio เข้ามาเท่านั้น

Version 1.2 หรือ HDMI 1.2 เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2005 ได้เพิ่มตัวเลือก One Bit Audio ที่ใช้กับ Super Audio CD (SACD) และเพิ่มความสามารถให้รองรับกับคอมพิวเตอร์ (Computer) ทำให้สามารถเพิ่มค่ารีเฟรชเรท (Refresh Rate) ไปได้ถึง 120Hz แต่ความละเอียดสูงสุดแค่ HD 720p เท่านั้น และ HDMI 1.2a เปิดตัวในปีเดียวกันมีการปรับปรุงเล็กน้อย

Version 1.3 หรือ HDMI 1.3 เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2006 ได้มีการเพิ่มสัญญาณนาฬิกา TMDS ไปได้สูงสุดที่ 340MHz (10.2 Gbit/s) รองรับความลึกของสีที่แสดงผลได้สูงสุด 48bit/px ถือว่าเป็นเวอร์ชั่นเริ่มต้นของ High-Speed HDMI สามารถส่งสัญญาณภาพความละเอียดสูงสุดที่ 4K 3840x2160p (30Hz) และความละเอียด Full-HD 1920x1080p มีค่ารีเฟรชเรทสูงสุดที่ 120Hz และ HDMI 1.3a รุ่นนี้จะมีการปรับเปลี่ยนขนาดของตัวพอร์ตให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อให้สามารถใช้กับอุปกรณ์พกพาได้ โดยจะมีชื่อเรียกว่า HDMI C หรือ (mini-HDMI) และยังเพิ่มความสามารถในการสตรีม SACD ในแบบ bitstream DST แทน DSD (Direct Stream Digital)

Version 1.4 หรือ HDMI 1.4 เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2009 เป็น High-Speed HDMI มีการปรับปรุงเพิ่มช่องสัญญาณ Ethernet (HEC) เข้ามา โดยจะมีความเร็วของสัญญาณ Ethernet ที่ 100Mbps และมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มตัวเลือกของพอร์ตให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมเรียกว่า HDMI D หรือชื่อทางการว่า micro-HDMI ซึ่งจะเล็กกว่า mini-HDMI นอกจากนี้ยังเพิ่มความสามารถในการแสดงผลสำหรับจอ 3 มิติ (3D) เข้ามาทำให้แสดงความชัดลึกของภาพได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา HDMI 1.4a เมื่อปี ค.ศ. 2010 ได้เพิ่มคุณสมบัติของการสตรีมแบบ 3D ได้ เช่นเกม หรือภาพยนตร์ ส่วน HDMI 1.4b จะเพิ่มความสามารถต่อจาก HDMI 1.4a เล็กน้อยเพื่อให้รองรับความละเอียดสูงขึ้น นอกจากนี้ HDMI 1.4b ยังถูกนำไปใช้กับ USB-C interface อีกด้วย แต่อุปกรณ์ต้องรองรับ HDMI ALT Mode ด้วยถึงจะสามารถใช้งานได้

Version 2.0 หรือ HDMI 2.0 (Premium High speed) เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2013 ในเวอร์ชั่นนี้ได้เพิ่มแบนด์วิดท์จากรุ่นก่อนหน้าสูงสุดถึง 18Gbit/s ทำให้สามารถแสดงผลวิดีโอได้สูงสุดที่ 14.4Gbit/s จากเดิม 10.2Gbit/s จึงสามารถแสดงผลวิดีโอความละเอียด 4K ได้สูงสุดที่ 60Hz ความลึกของสีที่ 24bit/px และยังสามารถส่งสัญญาณเสียงได้สูงสุดถึง 32 ช่องสัญญาณ (Channel) ที่ความถี่สูงสุด 1536 kHz ใน HDMI 2.0 นี้ยังรองรับการแสดงผลอัตราส่วนของภาพที่ 21:9 อีกด้วย

HDMI 2.0a เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2015 มีการพัฒนาและเพิ่มคุณสมบัติการแสดงผลวิดีโอแบบ HDR (High Dynamic Range) เข้ามา

HDMI 2.0b เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2016 พัฒนาเพิ่มคุณสมบัติให้รองรับการแสดงผลวิดีโอเป็น HDR 10 และ HDR 10+ เพื่อให้รองรับความลึกของสี และให้สามารถแสดงความสว่างที่เพิ่มขึ้น

Version 2.1 หรือ HDMI 2.1 ได้เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2017 มีการพัฒนาให้มีความสามารถที่สูงขึ้น โดยใน HDMI 2.1 สามารถส่งสัญญาณได้สูงสุดถึง 48Gbit/s และจำเป็นที่จะต้องใช้สายที่มีอัตราการส่งสัญญาณสูงเท่านั้นถึงจะสามารถรีดประสิทธิภาพออกมาได้สูงสุด สายประเภทใหม่ ที่เรียกว่า Ultra-High Speed และยังทำให้ HDMI 2.1 รองรับการแสดงผลภาพและวิดีโอที่ความละเอียด 4K สูงถึง 120Hz และสูงสุดที่ 8K 120Hz กันเลย

จะเห็นได้แต่ละเวอร์ชั่นของ HDMI นั้นจะมีการพัฒนาขยาย Bandwidth เพื่อให้สามารถเพิ่มคุณสมบัติในการรองรับการส่งสัญญาณภาพ และเสียงที่มีความละเอียดสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วยครับ การนำไปเทียบหรือ vs กับ DisplayPort ก็จำเป็นต้องเทียบรุ่นเวอร์ชั่นที่ใกล้เคียงกัน จึงจะสมน้ำสมเนื้อ และเหมาะสม

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

*DSC คือการบีบอัดข้อมูลการสตรีมภาพและเสียงแบบไม่สูญเสียความละเอียดของตัวภาพที่แสดงออกมาแม้แต่น้อย

*ตัวเลข 4:2:0 ในตารางคือ ระบบการเก็บข้อมูลของสีแบบดิจิตอลต่อพิกเซล (Pixel) ที่มีชื่อเรียกว่า “Chroma Sampling” มีค่าความสว่าง (Luma) และสี (Chroma) โดยระบบจะแสดงสีแบบมาตรฐานได้ 3 แบบ คือ 4:4:4, 4:4:2 และ 4:2:0 ยิ่งมีค่ามาก ยิ่งแสดงสีได้มาก

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

มีกี่แบบ

สำหรับพอร์ต HDMI ที่ใช้กันในปัจจุบัน ที่จะสามารถนำไปเที่ยบ vs กับ DisplatPort ได้ จะถูกแยกออกเป็น 3 แบบ คือ

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

  • HDMI หรือ HDMI Standard เป็นพอร์ตแบบมาตรฐาน ส่วนใหญ่อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จอภาพ จอทีวี หรืออุปกรณ์รับส่งสัญญาณภาพและเสียงอื่น ๆ จะนิยมใช้แบบนี้เป็นหลัก
  • mini HDMI จะถูกย่อขนาดลงมาจากขนาดมาตรฐาน เพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น พอร์ตของกล้อง DSLR, โน้ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เป็นต้น
  • Micro HDMI จะเป็นพอร์ตที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มของ HDMI และมักจะถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่นเดียวกับ mini HDMI มักจะเห็นในกล้องดิจิตอลแบบพกพา และอยู่ใน Ultra-Thin Notebook ที่จะนำพอร์ตนี้มาใช้สำหรับเชื่อมต่อแทนพอร์ตแลน LAN และจำเป็นต้องใช้ Dongle หรือ Adapter เพื่อแปลงสัญญาณ micro HDMI to RJ45 เพื่อใช้งาน เช่น ASUS ExpertBook และในอีกหลาย ๆ รุ่นครับ

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

DisplayPort คืออะไร

จบกันไปกับ HDMI แล้ว เรามาคู่เทียบอีกรุ่นที่จะนำมา vs กันในวันนี้ ได้แก่ DisplayPort

DisplayPort หรือตัวย่อ DP มันก็คือ interface ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการแสดงผลแบบดิจิตอล เช่นเดียวกับ HDMI ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้ผลิตชิป และ PC ซึ่งผู้กำหนดมาตรฐานคือ VESA (Video Electronics Standards Association) โดยปกติแล้ว DisplayPort จะถูกผลิตขึ้นมาใช้งานกับอุปกรณ์แสดงผลทางคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ อย่างเช่นหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากจะส่งสัญญาณภาพและเสียงได้แล้ว DisplayPort ยังสามารถส่งข้อมูล (Data) ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, USB Data ผ่าน Hub หรือตัวแปลงสัญญาณได้อีกด้วย (*ทั้งนี้อุปกรณ์ต้องรองรับด้วย เช่น mini-DP ของ Microsoft Surface หรือ Laptop บางรุ่น)

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

DisplayPort ได้ออกแบบมาเพื่อรวมการส่งสัญญาณทั้ง Analog และ ดิจิตอล เช่น VGA Port, FPD-Link และ DVI (Digital Visual Interface) เข้าด้วยกัน และยังสามารถใช้ Adapter แปลงสัญญาณออกไปเป็นพอร์ตแบบเก่าได้ เช่น DisplayPort to VGA, DisplayPort to HDMI เป็นต้น

เลือกซื้อ Computer Monitor

ตาม Screen Resolution (ความละเอียด)

มีกี่เวอร์ชั่น

เช่นเดียวกันกับ HDMI ที่จะถูกนำมาเทียบ vs กัน โดยในส่วนของ DisplayPort ก็ถูกพัฒนาและผลิตออกมาหลายเวอร์ชั่นด้วยกัน ดังนี้

Version 1.0 – 1.1 หรือ DisplayPort 1.0 – 1.1 สำหรับเวอร์ชั่นแรก 1.0 เปิดตัวในปี ค.ศ. 2006 ส่วน Version 1.1 เปิดตัวในปี ค.ศ. 2007 และเปลี่ยนเป็น Version 1.1a ในปี ค.ศ. 2008 ครับ

DisplayPort 1.0 – 1.1a นั้นมีแบนด์วิดท์สูงสุดที่ 10.8Gbit/s (8.64Gbit/s data rate) แบบ 4 เลนมาตรฐานใน DP 1.0 แต่ต้องใช้สายที่มีความยาวไม่เกิน 2เมตร เท่านั้นถึงจะสามารถส่งสัญญาณได้เต็มที่ และใน DP 1.1 ปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสามารถให้สามารถใช้ส่งสัญญาณในรูปแบบอื่นได้ เช่น ไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) เพื่อให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นโดยไม่ลดทอนความสามารถในการส่งสัญญาณ และเพิ่มการเพิ่มการป้องกันการบีบอัดข้อมูล DPCP (DisplayPort Content Protection) ทำให้สามารถรองรับความละเอียดสูงสุดของวิดีโอที่ 2560x1600px สำหรับ PC และ HDTV 1080p ใน DP 1.1a อีกด้วย

Version 1.2 หรือ DisplayPort 1.2 ถูกเปิดตัวในปี ค.ศ. 2010 ในเวอร์ชั่นนี้ได้ปรับปรุงพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูลเป็นสองเท่าจากเดิม หรือเทียบเท่า 17.28Gbit/s ในโหมด HBR2 (High Bit Rate 2) ซึ่งทำให้เพิ่มความละเอียดของวิดีโอสูงขึ้นถึง 4K 3840x2160px และอัตราการรีเฟรชเรทสูงขึ้นถึง 60Hz แบบ 10bpc RGB และมีการปรับปรุงในส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม คือสามารถเชื่อมต่อจอภาพแบบหลายจอได้อย่างอิสระ โดยใช้สายสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเส้นเดี่ยวไปยังจอที่ 1 จากนั้นส่งต่อสัญญาณจากจอที่ 1 ไปยังจอที่ 2 ได้เลย ซึ่งการต่อแบบนี้เรียกว่า “Daisy-Chain” ซึ่งอยู่ภายใต้เทคโนโลยีที่เรียกว่า multi-Stream Transport (MST) นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังเพิ่มการรองรับของสีที่ดีขึ้น เช่น xvYCC, scRGB, Adobe RGB 1998 และ Global Time Code (GTC) สำหรับการซิงโครไนซ์เสียและวิดีโอที่ต่ำกว่า 1 μs ใน DP 1.2 นี้ยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของพอร์ตให้เล็กลง เพื่อนำไปใชกันเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก รวมถึงผลิตภัณฑ์ของ Apple Inc. ด้วย โดยพอร์ตนี้เรียกว่า mini DisplayPort นั่นเองครับ

\> อ่านบทความ Daisy Chain คืออะไร

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

Version 1.2a หรือ DisplayPort 1.2a เปิดตัวในปี ค.ศ. 2013 ในเวอร์ชั่นนี้ได้เพิ่มคุณสมบัติ DisplayPort Adaptive-Sync เข้ามาด้วย เพื่อให้รองรับการการทำงาน FreeSync ของ AMD นั่นเอง

Version 1.3 หรือ DisplayPort 1.3 ได้เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2014 เพิ่มแบนด์วิดท์การรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 32.4Gbit/s ด้วยโหมด HBR3 หรือส่งสัญญาณเทียบเท่า 8.1Gbit/s ต่อเลน (ทั้งหมด 4 เลน) ในเวอร์ชั่นนี้จะรองรับการแสดงผลที่ 4K(3840x2160px) 120Hz RGB 24bit/px, 5K(5120x2880px) 60Hz RGB 30Bit/px และสูงสุดที่ 8K(7680x4320px) 30Hz RGB 24bit/px และสามารถต่อหน้าจอความละเอียดสูงที่ 4K 60Hz ได้ถึงสองจอพร้อมกันได้ ซึ่งเป็น HDCP 2.2 มาตรฐานเดียวกันกับ Thunderbolt 3 แน่นอนว่ารองรับ Interface USB-C port รวมถึงรองรับ G-Sync ของ NVIDIA อีกด้วย

Version 1.4 หรือ DisplayPort 1.4 เปิดตัวมาเมื่อปี ค.ศ. 2016 ยังใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ DP1.3 ทั้งหมด และมีแบนด์วิดท์ที่ 32.4Gbit/s HBR3 เท่าเดิม เพิ่มการรองรับ Display Stream Compression 1.2 (DSC), Forward Error Correction, HDR10 metadata รวมถึงการแสดงผลสีเทียบ vs แล้ว เหมือนกับ HDMI 2.0 เพิ่มช่องสัญญาณเสียงสูงสุดที่ 32 Channels ที่ค่า Sample Rate 1536kHz (*DSC คือการบีบอัดข้อมูลการสตรีมภาพและเสียงแบบไม่สูญเสียความละเอียด)

นอกจากนี้ DP1.4 สามารถใช้ interface USB-C port หรือ Thunderbolt ได้เช่นเดียวกับ DP1.3 นั่นเอง ส่วน DP 1.4a ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการเพิ่ม DSC เข้ามา ซึ่งคุณสมบัติทุกอย่างยังเหมือนเดิมคาดว่าน่าจะเปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้น

Version 2.0 หรือ DisplayPort 2.0 ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 2019 ได้เพิ่มแบนด์วิดท์การรับส่งข้อมูลไปสูงกว่ารุ่นเดิมถึง 77.37Gbit/s จึงทำให้ DP2.0 รองรับการแสดงผลความละเอียดสูงถึง 16K (15360x8640px) ที่ 60Hz และค่าสี 30bbp (Bit per Pixel) แบบ 4:4:4 HDR (with DSC) หรือ 10K (10240×4320) ที่ 60Hz 24 bpp 4:4:4 (แบบไม่บีบอัดข้อมูล) แบบ 1 หน้าจอ หากมีการเชื่อมต่อหลายจอ ความละเอียดก็จะลดลงตามไปด้วยครับ

ตารางเปรียบเทียบความละเอียด และอัตราการส่งข้อมูลของ DP แต่ละเวอร์ชั่น

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

DisplayPort ที่เรามักจะได้ยินและเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามท้องตลาดและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ DP 1.2 และ DP 1.4 เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตอุปกรณ์หลาย ๆ แบรนด์ในวงการคอมพิวเตอร์ ส่วน DP 2.0 นั่น เพิ่งเริ่มใช้งานกันจริงเมื่อช่วงปี ค.ศ. 2020 เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่อยู่ และอุปกรณ์รองรับก็ยังไม่มีมากเท่าไหร่ เรามักจะเห็นเทคโนโลยี DP 2.0 อยู่ในคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค หรือ Apple Mac ที่ใช้ USB-C Thunderbolt กันซะมากกว่า

มีกี่แบบ

DisplayPort ในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ที่มักใช้เทียบ vs กับ HDMI ได้ คือ

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

  • DisplayPort Standard หรือพอร์ตแบบมาตรฐาน ที่ใช้กันทั่วไปในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop PC) และจอภาพบางรุ่น
  • Mini DisplayPort คือพอร์ตที่ถูกย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีพื้นที่อย่างจำกัด เช่น MacBook, Microsoft Surface หรือ Laptop บางรุ่น

ยังไม่รวม Interface แบบ USB-C หรือ Thunderbolt ที่ใช้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณภาพและเสียงเช่นเดียวกับ DisplayPort ด้วย

ความแตกต่างของ HDMI vs DisplayPort

มาถึงหัวข้อสำคัญของบทความนี้ คือ HDMI vs DisplayPort ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้พอร์ตไหนดี เรามาดูกันเลย

ด้านรูปลักษณ์ การออกแบบ (Design)

หากมองภาพโดยรวม HDMI vs DisplayPort จะมีการออกแบบที่คล้ายคลึงกันมาก มีลักษณะภายนอก ขนาดของความยาว และความหนาที่ใกล้เคียงกัน ดังภาพตัวอย่าง

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

จากภาพ จะเห็นได้ว่า หัวต่อแบบ HDMI นั้นจะมีขั้วต่อจำนวน 19 พิน (PIN) ส่วน DisplayPort นั้นจะมีขั้วต่อจะนวน 20 พิน (PIN) และจะมีสลักเขี้ยวล็อกอีก 2 เขี้ยว เพื่อป้องกับสายหลุด หรือหลวม เวลาจะถอดจำเป็นต้องกด หรือบีบปุ่มปลดล็อกที่หัวของพอร์ตก่อน

คุณสมบัติ (Features)

Resolutions ความละเอียดที่สามารถแสดงผลสูงสุดของ HDMI และ DisplayPort นั้นจะมีความต่างกันเล็กน้อย หากนำมาเปรียบเทียบ vs กัน จะใช้เป็นเวอร์ชั่นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น HDMI 1.4, HDMI 2.0, HDMI 2.1 มาเทียบกับ DisplayPort 1.2, DP 1.3, DP 1.4 และ DP 2.0

\> อ่านบทความ Screen Resolution คืออะไร

ทาง addin.co.th ภายใต้บริษัท แอด อิน บิซิเนส เราขอสรุปเนื้อหาโดยคร่าว ๆ แบบตาราง ดังนี้

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

หากดูดีๆ แล้ว เทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันอย่าง HDMI 2.1 และ DP 1.4 นั่นจะมีความสามารถของที่ต่างกันเล็กน้อยครับ แต่ถ้าหากนำมาเทียบ vs กันรุ่นต่อรุ่น เช่น DP 2.0 มาเทียบกับ HDMI 2.0 เหมือนกัน แบบนี้ DisplayPort ก็จะชนะไปเลย เนื่องจากมีความสามารถในการส่งข้อมูลที่มากกว่า แต่ถ้านำรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง HDMI 2.1 มาชนกับ DP 2.0 ก็จะมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น ซึ่งในตารางเราจะเทียบกับแต่ความละเอียดที่ 8K (7680x4320px) ที่ 120Hz เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว HDMI 2.1 ยังสู้ DP 2.0 ไม่ได้เนื้องจาก DP2.0 นั้น สามารถแสดงผลได้ที่ความละเอียดสูงสุดถึง 16K (15360x8640px) ที่ 60Hz เลย

และหากจะพูดถึงเรื่องอุปกรณ์ที่รองรับนั้น HDMI จะเหนือกว่าในเรื่องนี้ เพราะอุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ นิยมใช้ HDMI เป็นพอร์ตมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น TV, PC, กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นต่างๆ ตลอดจนวิดีโอเกมคอนโซล ก็ใช้ HDMI กันทั้งนั้น ส่วนด้านของ DisplayPort นั้นจะใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความละเอียดสูงเป็นหลักเท่านั้น

ผลลัพธ์ของการเทียบ HDMI vs DisplayPort นี้ จึงไม่ตายตัว แต่สรุปได้ว่า

  • HDMI ชนะในเรื่องของ Hardware หรืออุปกรณ์ที่รองรับมากกว่า
  • DisplayPort จะชนะในเรื่องของการส่งข้อมูลที่มีความละเอียดสูง

Multi-Stream Transport (MST)

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อหน้าจอแสดงผลออกไปพร้อมกันได้หลายหน้าจอ โดยใช้สายต่อเส้นเดียวจาก เชื่อมโยงจาก จอหนึ่งไปยังอีกจอหนึ่งได้ หรือเป็นการต่อแบบ Daisy Chain นั่นเอง การต่อแบบนี้จึงเหมาะกับ คอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊คที่มีพอร์ตจำกัด เช่นมี DisplayPort เพียงช่องเดียวก็สามารถต่อจอเพิ่มได้ (*จอภาพต้องรองรับเทคโนโลยี MST ด้วย จึงจะสามารถใช้งานแบบ Daisy Chain ได้ หรือจะใช้ HUB ต่อแบบ MST ก็ได้) MST ได้ถูกใส่เข้ามาใน DP 1.2 เป็นเวอร์ชั่นแรก ส่วน HDMI นั้นจะไม่รองรับ MST แต่ก็สามารถทำได้โดยการใช้ MST HUB เพื่อแยกสัญญาณจาก DP to HDMI HUB ไปยังจอภาพอื่น ๆ ได้ เช่นกัน

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

ในหัวข้อนี้ เมื่อ vs กันแล้ว DisplayPort จึงชนะไป เนื่องจาก HDMI ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้

Variable Refresh Rate (VRR)

VRR คืออัตราการกระพริบของภาพที่แสดงผล อย่างเทคโนโลยี AMD FreeSync และ NVIDIA G-Sync ที่มีไว้ช่วยในเรื่องของการแสดงผลของจอภาพที่รองรับ แสดงออกมาได้ดีขึ้นเนียนตาขึ้น Framerate หรือที่ Hz ที่สูงขึ้น

เทคโนโลยี FreeSync จะถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่ใช้การ์ดจอของ AMD ส่วน G-Sync นั้นถูกออกแบบมาสำหรับผู้ที่ใช้การ์ดจอของค่าย NVDIA นั่นเอง และพอร์ตที่รองรับอย่าง DisplayPort นั้น สามารถรองรับทั้ง 2 เทคโนโลยี แต่ HDMI จะสามารถใช้ได้เพียง FreeSync ของ AMD เท่านั้น

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

ในข้อนี้ vs กันแล้ว DisplayPort จึงชนะ HDMI ไป เนื่องจากเป็นพอร์ตที่รองรับทั้ง FreeSync และ G-Sync

Maximum Length

ความยาวของสายสัญญาณที่รองรับ ในมาตรฐานของสายสัญญาณ HDMI สามารถส่งสัญญาณผ่านสายได้ที่ 100 ฟุต สำหรับความละเอียด 1080p, 30 ฟุต แบบ 4k และสามารถใช้ HDBaseT เพื่อให้รองรับการส่งสัญญาณได้มากกว่า 300 ฟุต

ส่วน DisplayPort ตามสเปคจะสามารถส่งสัญญาณได้ไกลสุดที่ 10 ฟุต หรือ 4 เมตร หากสายยาวขึ้น ความละเอียดก็จะลดลง หรือหากต้องการใช้ความละเอียดสูง และสายที่ยาว ก็ต้องซื้อตัวขยายสัญญาณมาใช้ ซึ่งอาจจะมีราคาค่อนข้างสูง

ในข้อนี้ vs กันแล้ว HDMI จึงชนะ DisplayPort ไป เนื่องจากรองรับการส่งสัญญาณได้ไกลกว่า และต้นทุนถูกกว่า

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

ผลลัพธ์

จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบ vs กันหมัดต่อหมัดแล้ว DisplayPort จะดีกว่า HDMI เล็กน้อย แต่อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดไม่รองรับ ซึ่งปกติแล้วจะสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น มักจะเหมาะสำหรับคนที่เล่นเกม ต้องการ Framerate สูง ๆ ความละเอียดสูง และรองรับจอภาพที่มีเทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-Sync ของทาง NVIDIA อีกด้วย หรือหากต้องการต่อหน้าจอหลายหน้าจอ แบบความละเอียดสูงพร้อมกันสำหรับทำงานต่าง ๆ พร้อมกัน ก็สามารถต่อจอภาพแบบพ่วง (Daisy Chain) ได้เลย เนื่องจากมีกำลังส่ง หรือแบนวิดท์ (Bandwidth) ที่สูงมาก ทำให้สามารถต่อพร้อมกันหลายจอได้อย่างอิสระนั่นเอง

ส่วน HDMI นั้นจะด้อยกว่า DisplayPort เล็กน้อย แต่หาก vs กันตรงๆ ข้อดีของ HDMI ก็มี คือการมีอุปกรณ์ที่รองรับมากกว่า และครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์แสดงผลอื่น ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ (TV: Television) จอภาพ (Monitor), เครื่องฉายภาพ (Projector) ,เครื่องเล่น DVD หรือ เครื่องเกมคอนโซล (Game Console) เป็นต้น ซึ่งในตลาดปัจจุบันก็มีอุปกรณ์ที่ใช้ HDMI Port อย่างล้นหลาม เพราะเป็นพอร์ตที่ใช้งานง่าย สายเส้นเดียวก็สามารถส่งได้ทั้งสัญญาณภาพ และเสียง ออกไปพร้อมกันได้เช่นเดียวกับ DisplayPort เลย

ในปัจจุบันนี้ HDMI เวอร์ชั่นใหม่ ๆ อย่าง HDMI 2.0 และ 2.1 ก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ DisplayPort แล้ว แต่ต้องเป็นสายที่มีคุณภาพสูง และพอร์ตต้องรองรับด้วยถึงจะสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดครับ

ไม่ว่าจะเป็น HDMI หรือ DisplayPort เมื่อสรุปผล vs กันแล้ว ต่างก็จะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ อย่างจอภาพที่มีเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง G-Sync หรือ FreeSync จึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน สำหรับคนเล่นเกม DisplayPort อาจจะตอบโจทย์กว่า และหากไม่ได้ใช้เล่นเกมที่ต้องเปิดใช้เทคโนโลยีที่กล่าวมา ก็เลือกใช้ HDMI เพื่อใช้งานทั่วไปได้จะประหยัดงบประมาณลงได้ครับ

Add In Business

จำหน่าย

อุปกรณ์ไอที ราคาถูก

ภายใต้บริษัท แอด อิน บิซิเนส จำกัด ตัวแทนจำหน่าย ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากแบรนด์ชั้นนำ ราคา พิเศษ ส่งฟรี

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน้า Contact

หรือ

Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง
Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง
Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง
Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง
Hdmi ม with ethernet ก บไม ม แตกต าง

สรุป

จะเห็นได้ว่า การเทียบ HDMI vs DisplayPort นั้น ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันขึ้นกับหัวข้อ และปัจจัย เพราะแต่ละพอร์ตก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันนั่นเอง จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการของ User ทั้งนี้ เว็บไซต์ Addin.co.th ของเรา นอกจากจะมีบทความสอนความรู้ด้านไอทีดีๆ ให้อ่านกันแล้ว ยังมีสินค้าไอทีครบวงจรจำหน่ายในราคาพิเศษอีกด้วย หากท่านผู้อ่านมีความสนใจเพิ่มเติมในการสั่งซื้อสินค้าอุปกรณ์ไอที สอบถามข้อมูล หรือขอใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่