ตัวอย่างการเขียนจดหมายกิจธุระ

เป็นส่วนของชื่อองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดของผู้ออกจดหมาย จะบอกรายละเอียดถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบและที่อยู่หน่วยงาน ซึ่งจะมีตราองค์กรหรือตราหน่วยงานอยู่กลางหน้ากระดาษ ที่อยู่จะอยู่ทางขวามือของกระดาษ

๒.“ ลำดับที่ของจดหมายจะใช้คำว่า “ ที่ ” ตามด้วย “ เลขบอก ลำดับที่ ของจดหมายตามด้วย ปี พ.ศ. โดยจะมีเครื่องหมาย “/” ทับคั่น เช่น ที่ ๕ / ๒๕๕๖ ลำดับอยู่ทางด้านซ้ายของจดหมาย ซึ่งตรงกับที่อยู่ของผู้ออกจดหมาย ในส่วนลำดับที่ของจดหมายอาจมีตัวย่อของชื่อองค์กรได้ แต่คำย่อของชื่อองค์กรต้องเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น ที่ ศธ ๕๖๗๕ / ๒๓๗ “ ศธ ” เป็นอักษรย่อของ “ กระทรวงศึกษาธิการ ”

๓.“ วัน เดือน ปีจะเขียนอยู่กลางหน้ากระดาษต่อจากที่อยู่ของผู้ออกจดหมาย การเขียนวัน เดือน ปี ไม่ต้องเขียนคำว่า “ วันที่ และ “ ปี ” ให้ระบุ วัน เดือน ปี เท่านั้น เช่น “ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ”

๔.“ เรื่องเป็นการสรุปสาระสำคัญของจดหมาย ควรเป็นประโยคสั้น กะทัดรัด และบอกวัตถุประสงค์ที่ออกจดหมาย เช่น “ ขอความอนุเคราะห์……” “ ขอเชิญเป็นวิทยากร ”

๕.“ คำขึ้นต้นใช้คำว่า “ เรียน ” ขึ้นต้นจดหมายทุกครั้ง จากนั้นตามด้วยชื่อ และนามสกุล หรืออาจตามด้วยตำแหน่งของผู้รับจดหมาย เช่น “ เรียน นายวรพพล คงเดช ” “ เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ”

๖.“ สิ่งที่ส่งมาด้วยเป็นสิ่งที่ผู้ส่งจดหมายส่งให้ผู้รับพร้อมจดหมาย เช่นรายละเอียดโครงการ เอกสารประกอบการประชุม หนังสือ (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)

๗.“ ข้อความหรือเนื้อหาของจดหมาย เป็น เนื้อหาสาระหลักของจดหมาย มักมี ๒ ย่อหน้า หากเนื้อหาจดหมายมีความยาวอาจ มี ๓ ย่อหน้า ก็ได้

หากมี ๒ ย่อหน้า

 • ย่อหน้าแรก บอกถึงสาเหตุที่ต้องเขียนจดหมาย หากเป็นจดหมายฉบับแรกต้องขึ้นต้นคำว่า “ ด้วย ” “ เนื่องด้วย ” “ เนื่องจาก ” เช่น • ด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนมัธยม วัดนายโรง จะจัดการแสดงผลงาน โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒…….” • “ เนื่องด้วยห้องน้ำของโรงเรียนมัธยมวัด นายโรงมีสภาพชำรุดมาก ทำให้เกิดกลิ่นรบกวนและ นักเรียนไม่ได้รับความสะดวกในการใช้……” • “ เนื่องจากชมรมจิตอาสา โรงเรียนมัธยม วัดนายโรง จัดโครงการหนังสือเพื่อน้อง ประจำปี ๒๕๕๓…….” แล้วตามด้วยรายละเอียด จุดประสงค์ ความต้องการ

• หากเป็นกรณีการตอบจดหมาย หรือส่งจดหมายเพื่อติดตามเรื่อง จำต้อง เท้าความเรื่องที่เคยติดต่อไว้ โดยใช้คำว่า “ ตามที่ ” ขึ้นต้นเรื่องที่เท้าความ และใช้คำว่า “ นั้น ” ลงท้าย เช่น………….. • “ ตามที่ท่านได้สั่งซื้อวารสารเมืองโบราณฉบับย้อนหลัง ฉบับที่ ๓๑ และฉบับที่ ๓๒ จำนวนฉบับละ ๑เล่ม ในราคาเล่มละ ๑๒๐ บาทนั้น…….” • “ ตามที่ท่านได้ขอความอนุเคราะห์ให้ทางชมรมพระพุทธศาสนา โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ส่งนักเรียนไปเข้าร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นั้น……”

• ย่อหน้าที่สอง บอกหรือย้ำวัตถุประสงค์ของจดหมายอย่างชัดเจน โดยใช้คำขึ้นต้นว่า “ จึงเรียนมาเพื่อ……( บอกจุดประสงค์ )……. เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ, จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา, จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์…….. •    “ จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์ บริจาคหนังสือเพื่อเข้าร่วมโครงการ ดังกล่าว และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ”

หากมี ๓ ย่อหน้า

– ย่อหน้าแรก บอกถึงสาเหตุที่ต้องเขียนจดหมาย หากเป็นจดหมายฉบับแรกต้องขึ้นต้นคำว่า “ ด้วย ” “ เนื่องด้วย ” “ เนื่องจาก”

– ย่อหน้าที่สอง บอกจุดประสงค์ในการเขียนอย่างชัดเจนว่าต้องการจะให้ทำอะไร มักขึ้นต้นด้วยชื่อของหน่วยงานที่ออกจดหมาย

– ย่อหน้าที่สาม ขึ้นต้นด้วยคำว่า  “จึงเรียนมาเพื่อ….”

๘.“ คำลงท้ายใช้คำว่า “ ขอแสดงความนับถือ ” โดยให้เขียนตรงกับวันที่

๙.“ ลายมือชื่อ เป็นลายมือชื่อจริงของผู้ลงชื่อ ห้ามใช้ตรายาง

๑๐.“ ชื่อเต็มของผู้เขียนจดหมายชื่อเต็มและนามสกุลจะเขียนใส่ไว้ในวงเล็บ หรืออาจจะพิมพ์ก็ได้และจะต้องมีคำนำหน้าชื่อเสมอ เช่น “ นายณเดช คูกิมิยะ ” “ นางสาวอุรัสยา สเปอร์บันด์ ”

๑๑.“ ตำแหน่งของผู้เขียนจดหมาย หากผู้เขียนจดหมายเป็นผู้มีตำแหน่ง รับผิดชอบ งานของหน่วยงานที่ออกจดหมายจะต้องพิมพ์ กำกับต่อท้ายเสมอ แต่หากออกจดหมายในนาม ชมรมในสถานศึกษา ต้องมีลายมือชื่ออาจารย์ที่ ปรึกษาชมรมกำกับท้ายจดหมายด้วย

๑๒. “ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้เขียนจดหมายหรือหน่วยงานที่ออกในส่วนนี้จะอยู่ลำดับสุดท้ายของจดหมาย และพิมพ์ชิดขอบจดหมายด้านซ้าย ควรระบุหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท22101 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ชั่วโมง การเขียนจดหมายกิจธุระ

เรื่อง การเขียนจดหมายกิจธุระ 4 ก.ค. 62 (มีใบงาน ใบความรู้ ตัวอย่างจดหมาย ประกอบการสอน)

จดหมาย มี ๔ ประเภท คือ จดหมายส่วนตัว จดหมายธุรกิจ จดหมายกิจธุระ และจดหมายราชการ
๑. จดหมายส่วนตัว
จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนเพื่อสื่อสารโดยทั่วๆ ไป ระหว่างเพื่อน ญาติ คนรู้จัก การเขียนจดหมายส่วนตัวนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว รูปแบบยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ภาษาที่ใช้สามารถใช้ภาษาตั้งแต่ระดับสนทนา จนถึงระดับกึ่งทางการ แต่ไม่ควรใช้ระดับกันเอง จุดมุ่งหมายของการเขียนจดหมายส่วนตัว เช่น เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ แสดงความยินดีหรือเสียใจ ให้ข้อคิด แนะนำ สั่งสอน ลาครู-อาจารย์ ขอบคุณ นัดหมาย เป็นต้น
๒. จดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายติดต่อระหว่างบริษัทและห้างร้านต่างๆ ทั้งที่เป็นนิติบุคคลหรือเอกชน เพื่อดำเนินการทางธุรกิจด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวหรือธุรกิจระหว่างองค์กร การเขียนจดหมายประเภทนี้ต้องใช้ภาษาทางการ มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่แน่นอน มีลักษณะจดหมายกึ่งราชการหรือจดหมายราชการ จุดหมายของการเขียนจดหมายธุรกิจ เช่น โฆษณาขายสินค้าหรือบริการ สอบถามและตอบแบบสอบถาม สั่งซื้อสินค้า สมัครงาน แจ้งหนี้ ติดต่อธุรกิจ เป็นต้น
๓. จดหมายกิจธุระ
จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่เขียนถึงกันเพื่อแจ้งรายละเอียดถึงกิจอันพึงกระทำร่วมกัน เนื้อหาของจดหมายประเภทนี้จะเกี่ยวกับการนัดหมาย ขอความอนุเคราะห์ เชิญชวน จดหมายขอบคุณ ใช้ภาษาเป็นทางการ มี ๒ รูปแบบ คือ
๓.๑ จดหมายกิจธุระเต็มรูปแบบ ใช้ในการเขียนที่เป็นทางการ เหมือนหนังสือราชการภายนอก แต่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตน และใช้ภาษาที่เป็นทางการ
๓.๒ จดหมายกิจธุระไม่เต็มรูปแบบ ใช้ในการเขียนจดหมายกิจธุระส่วนตัว ใช้รูปแบบเหมือนจดหมายส่วนตัว สิ่งที่ต่างจากจดหมายส่วนตัว คือ วัตถุประสงค์และใช้ภาษากึ่งทางการหรือทางการ
หัวข้อจดหมายกิจธุระ
๑. หัวจดหมายกิจธุระ หมายถึง ส่วนที่เป็นชื่อองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดของผู้ออกจดหมาย จะขึ้นต้นด้วยชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบและที่อยู่ อยู่ด้านขวามือ
๒. ลำดับที่ของจดหมาย ใช้คำว่า ที่ ตามด้วยเลขบอกลำดับที่ของจดหมาย และปี พ.ศ. มีเครื่องหมาย / (อ่านว่า ทับ) คั่นกลาง เช่น ที่ ศธ ๒๔/๒๕๕๗ อยู่ด้านซ้ายมือ
๓. วัน เดือน ปี เริ่มเขียนจากกลางกระดาษไปทางขวา ไม่ต้องเขียนคำว่า วันที่ เดือน และปี เช่น ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๔. เรื่อง เป็นข้อความสรุปสาระสำคัญของจดหมายฉบับนั้น ใช้ประโยคสั้น กะทัดรัด บอกวัตถุประสงค์ที่ออกจดหมาย เช่น ขอขอบคุณ ขอความอนุเคราะห์ เป็นต้น
๕. คำขึ้นต้น ใช้คำว่า เรียน ขึ้นต้นจดหมายเสมอ ตามด้วยชื่อและนามสกุล หรือตามด้วยตำแหน่งของผู้รับจดหมายก็ได้ เช่น เรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ รักการเรียน, เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีศึกษา เป็นต้น
๖. สิ่งที่ส่งมาด้วย ระบุเอกสารหรือสิ่งที่ส่งมาพร้อมกับจดหมายฉบับนั้น เช่น เอกสารประกอบการประชุม กำหนดการ แบบตอบรับเข้าร่วมประชุม รายละเอียดโครงการ หนังสือ แผ่นซีดี ฯลฯ
๗. ข้อความ ข้อความซื่อเป็นเนื้อหาหลักของจดหมาย ต้องมี ๒ ย่อหน้า เป็นอย่างน้อย
- ย่อหน้าที่ ๑ บอกสาเหตุขอการเขียนจดหมาย กรณีเป็นจดหมายติดต่อฉบับแรกให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ด้วย เนื่องด้วย เนื่องจาก” กรณีเป็นจดหมายที่มีมาถึง หรือจดหมายติดตามเรื่อง ต้องเท้าความที่เคยติดต่อกันไว้ โดยใช้คำว่า “ตามที่” ขึ้นต้นเรื่อง และใช้คำว่า “นั้น” ลงท้าย
- ย่อหน้าที่ ๒ บอกวัตถุประสงค์ของการเขียนจดหมาย จะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “จึงเรียนมาเพื่อ...”
๘. คำลงท้าย ใช้คำว่า ขอแสดงความนับถือ อยู่ตรงกับวันที่
๙. ลายมือชื่อ(ลายเซ็น) ต้องเป็นลายมือชื่อจริงของผู้ลงชื่อ ไม่ใช้ตรายางพิมพ์
๑๐. ชื่อเต็มของผู้เขียนจดหมาย พิมพ์อยู่ในวงเล็บ ต้องมีคำนำหน้าชื่อเสมอ
๑๑. ตำแหน่งของผู้เขียนจดหมาย จะต้องพิมพ์กำกับต่อท้ายเสมอ หากเป็นจดหมายที่
ออกในนามของชมรมหรือชุมนุมในสถานศึกษา ต้องมีการลงลายมือชื่อของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมหรือชุมนุมกำกับท้ายจดหมายด้วยทุกครั้ง
๑๒. หมายเลยโทรศัพท์ของหน่วยงานหรือผู้ออกจดหมาย พิมพ์ไว้เป็นลำดับสุดท้าย ชิดขอบจดหมายด้านซ้าย หากมีหมายเลขโทรสาร และที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ก็ให้ระบุไว้ด้วย

จดหมายกิจธุระที่ดี มีลักษณะดังนี้

๑. ความชัดเจน ต้องพิมพ์ ไม่เขียนด้วยลายมือ ใช้กระดาษขนาด A4 ไม่มีเส้น และไม่มีตราใดๆ
๒. ความสมบูรณ์ ระบุความประสงค์และรายละเอียด เช่น วัน เวลา สถานที่ ไว้อย่างครบถ้วน ละเอียด
๓. ความกะทัดรัด ใช้ภาษาที่กระชับ รัดกุม ได้ใจความชัดเจน และใช้ภาษาระดับทางการ
๔. ความถูกต้อง ก่อนส่งจดหมายต้อทบทวนเนื้อหาสาระของจดหมายว่าถูกต้อง เช่น ชื่อและตำแหน่งของผู้รับจดหมาย วัน เวลา สถานที่นัดหมาย เพราะถ้าผิดพลาดอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้
๕. ความสุภาพ ใช้ภาษาที่สุภาพ รวมถึงกระดาษที่ใช้ต้องสะอาด เรียบร้อย การพิมพ์จดหมายและจ่าหน้าซองจดหมายถูกต้องตามรูปแบบ
๔. จดหมายราชการ หรือหนังสือราชการ
จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานทางราชการที่ใช้ติดต่อกัน ระหว่างส่วนราชการด้วยกัน หรือส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานภายนอกที่มิใช่หน่วยงานราชการ อาจเป็นตัวบุคคลก็ได้ หัวกระดาษที่ใช้จะมีตราครุฑ

ตัวอย่างการเขียนจดหมายกิจธุระ