ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของ internet of things

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและไม่มีที่สิ้นสุดส่งผลให้การดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปทิศทางที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ถ้าลองสังเกตการใช้ชีวิตของตนเองจะพบว่าไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตในรูปแบบที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จากเมื่อก่อนวิถีชีวิตคนส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพาเทคโนโลยีมาก แต่ในทุกวันนี้หันไปทางไหนก็มีเทคโนโลยีเกิดใหม่ขึ้นมาจนบางครั้งทำให้เรารู้สึกว่าเริ่มตามกระแสของโลกไม่ทัน 

ทำให้การศึกษาหาความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ของโลกก็จะทำให้เราสามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ให้ชีวิตเราเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตที่จะมายกระดับคุณภาพชีวิตของเราคือระบบ IoT

ซึ่งพอมาถึงจุดนี้หลายคนก็อาจจะเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า IoT คืออะไร และยังมีอีกหลายคนที่เคยได้ยินคำว่า IoTหรือนวัตกรรม IoT  มาผ่าน ๆ แต่ก็ไม่ทราบว่า IoT ย่อมาจากอะไร ดังนั้นวันนี้ DIGI จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ IoT ว่าคืออะไร ย่อมาจากอะไร รวมไปถึงที่มาที่ไปและองค์ประกอบกว่าจะมาเป็น IoT ได้ และตัวอย่างของ IoT เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

IoT คืออะไร และความสำคัญกว่าจะมาเป็น IoT

IoT ย่อมาจากคำว่า Internet of Things เกิดจากคำสองคำรวมกันได้แก่คำว่า Things ที่แปลว่าสิ่งของหลากหลายประเภท รวมกับคำว่า Internet ซึ่งก็คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อรวมคำเข้าด้วยกันก็เกิดเป็นความหมายว่าการที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยกันผ่านระบบ Internet นั่นเอง 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วในเมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้วมันจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างไร ถ้าจะอธิบาย IoT ให้เข้าใจง่ายคืออุปกรณ์ทุกอย่างในชีวิตประจำวันภายในบ้านมีการเชื่อมต่อกัน สื่อสารกันเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

เช่น อุปกรณ์ IoT บนสมาร์ทโฟนจะสามารถสั่งการเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านให้เปิดปิดเมื่อเรากลับมาถึงบ้าน หรือสมาร์ทโฟนแจ้งว่าอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะสื่อสารกับเครื่องปรับอากาศให้เปิดใช้งาน ซึ่งที่กล่าวมาเป็นแค่ส่วนหนึ่งของประโยชน์ IoT ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเรา

องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยี IoT 

องค์ประกอบของ IoT จะแบ่งออกได้เป็น 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

1.อุปกรณ์ IoT 

อุปกรณ์ IoT เป็นองค์ประกอบหลักของระบบเลย ซึ่งหากปราศจากตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระบบ IoT จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ซึ่งตัวอุปกรณ์จะสามารถเป็นได้อุปกรณ์สั่งการโดยจะมีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไว้ประมวลผลข้อมูล หลังจากได้ผลลัพธ์ออกมาก็จะมีระบบสั่งการซึ่งจะสั่งการไปยังอุปกรณ์ IoT อีกตัวซึ่งมีระบบที่สามารถรับคำสั่งได้ก็จะทำงานตามที่ได้รับคำสั่งมา

2.อุปกรณ์เกตเวย์

จะเป็นอุปกรณ์อีกประเภทที่จะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านคำสั่งการจากอุปกรณ์ IoT ไปยังอุปกรณ์เป้าหมายที่ต้องรับคำสั่งเพื่อทำตาม

3.เครื่องบริการ Server หรือ Broker 

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางในการประมวลผล เนื่องจากอุปกรณ์มักจะใช้หน่วยประมวลผลขนาดเล็กทำให้บางครั้งไม่สามารถคำนวณคำสั่งที่ซับซ้อนได้จึงจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยประมวลผลกลางที่รับคำสั่งจากอุปกรณ์ IoT ประเภทนึงหลังจากนั้นก็จะใช้การประมวลเพื่อให้ได้คำสั่งอย่างง่ายส่งไปยังอุปกรณ์ IoT ที่เป็นผู้รับอีกทอด

4.อุปกรณ์ฝั่งผู้ใช้งาน (User Device)

เป็นส่วนของอุปกรณ์ที่จะใช้แสดงผลสถานะจากอุปกรณ์ IoT ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย เนื่องจากโดยปกติระบบ IoT จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมนุษย์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบเพื่อดูสถานะการทำงาน

ตัวอย่าง IoT ในชีวิตประจำวัน 

สำหรับเทคโนโลยี IoT นั้นตอนนี้กำลังค่อยทยอยมีการปรับใช้กับอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอุปกรณ์ IoT ในชีวิตประจำวันที่สามารถพบเห็นได้ง่ายคือ สมาร์ทโฟนโดยจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสั่งการอุปกรณ์อื่น

ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของ internet of things

เช่น หลอดไฟรับคำสั่งเมื่อเจ้าของโทรศัพท์เดินเข้ามาในบ้าน หรือจะอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศจะรับคำสั่งว่าจะให้เปิดหรือปิดตามอุณหภูมิในอากาศหรือตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ซึ่งจะตรงกับเหตุการณ์ที่เป็นข่าวดังเรื่องของมีการซื้อแอร์มือ 2 ไม่สามารถใช้งานได้เพราะเป็นแอร์ที่ใช้ระบบเติมเงินถึงจะเปิดได้ โดยระบบที่ว่าก็เป็นระบบ IoT โดยเครื่องปรับอากาศได้รับคำสั่งว่าจะเปิดใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของเติมเงินเข้ามานั่นเอง

ส่วนเทคโนโลยี IoT ในชีวิตประจำวันของเราแต่อยู่ในระดับที่ใหญ่มากขึ้นเป็นเทคโนโลยี IoT ในโรงเรียนโดยแนวคิดก็คือการนำเอา IoT มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนหนังสือหรือค้นหาเรื่องที่อยากจะเรียนรู้ได้ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความสะดวกและยังสามารถช่วยให้อาจารย์เก็บข้อมูลการเรียนรู้ของนักเรียนมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อจนไปถึงการเก็บคะแนนเพื่อใช้ในการประเมินผลนักเรียน 

ส่วนเทคโนโลยี IoT ในอุตสาหกรรมอื่นที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรโดยในอุตสาหกรรมการเกษตรการดูแลพืชผักและสัตว์เลี้ยงเพื่อให้เกิดผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดได้นั้นจำเป็นจะต้องมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการเติบโตของผลิตผล เมื่อเรานำเอาเทคโนโลยี IoT เข้ามายังในอุตสาหกรรมจะช่วยในการเก็บข้อมูลจากปัจจัยดังกล่าวแล้วจะส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ IoT อื่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดปัจจัยที่ดีกับผลิตผล เช่น อุปกรณ์วัดความชื้นในดินจะเก็บข้อมูลความชื้นเมื่ออุปกรณ์จับได้ว่าดินมีความแห้งจนเกินไปก็จะส่งสัญญาไปยังเครื่องรดน้ำให้รดน้ำเติมความชุ่มชื่นให้กับดินทำให้ต้นพืชไม่เกิดความเฉา

สรุป

ในยุคปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีค่อย ๆ ทยอยเข้ามาปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของเรา ซึ่งผู้ที่มองเห็นโอกาสก็จะศึกษาหาความรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งเหล่านี้จะส่งผลคนเหล่านั้นสามารถนำเอาเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องส่วนตัวและในภาคธุรกิจ โดยเทคโนโลยี IoT ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้นเมื่อเรารู้จักและนำเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาปรับใช้กับเราในทางที่ถูกต้องก็จะช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของ Internet of Things มีอะไรบ้าง

5 ประโยชน์ของ IoT.
1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ... .
2.ไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ... .
3.ช่วยลดต้นทุนในหลาย ๆ ด้าน ... .
4.อำนวยความสะดวก มีเวลาเหลือในการสรรค์สร้างนวัตกรรม ... .
5.ยกระดับกิจการให้ Smart ในสายตานักลงทุน.

ข้อเสียของ IoT มีอะไรบ้าง

10 จุดอ่อนด้านความปลอดภัยที่พบมากที่สุดในระบบ IoT.
1. การตั้งรหัสผ่านอ่อน เดาง่าย ... .
2. รันเซอร์วิสที่ไม่ปลอดภัยบนเครือข่าย ... .
3. อินเทอร์เฟซสำหรับเข้าควบคุมไม่ปลอดภัย ... .
4. ขาดกลไกการอัพเดทระบบความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ... .
5. ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือล้าสมัย ... .
6. ขาดการปกป้องความเป็นส่วนตัวที่เพียงพอ.

ประโยชน์ของ IoT มีกี่ด้าน *

5 จุดเด่น IoT ในภาคธุรกิจ.
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ... .
ไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ... .
ลดต้นทุนในหลายๆ ด้าน ... .
มีเวลาในการสรรค์สร้างนวัตกรรม ... .
ยกระดับกิจการให้ Smart ในสายตานักลงทุน.

ข้อใดที่เป็นคุณสมบัติของระบบ IoT

Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือ ...