การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร

2. ต้องรู้จักตัวเองสมาชิกต้องรู้ความต้องการของตัวเอง มีแรงจูงใจ เข้าใจสภาพแวดล้อมทั้งงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

3. มีความทะเยอะทะยานอย่างมีเหตุผล

4. สร้างและบริหารเสน์หของตัวเองได้

5. ทำงานเป็น รักงานที่ทำ รับผิดชอบงานเต็มที่

6. รู้จักให้ข่าวสารและข้อเท็จจริง

7. รู้จักเกรงใจ ความเกรงใจเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของคนดี

8. ต้องเป็นคนที่รักตัวเองแต่ไม่หลงตัวเอง

9. ต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ดีอยู่เสมอ

มนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคคลกับบุคคลบุคคลกับหมู่คณะ หรือระหว่างคณะกับคณะ เพื่อก่อให้เกิดความเคารพนับถือความจงรักภักดี ความสามัคคี ความสำเร็จในหน้าที่การงานและความสุข (เริงชัยหมื่นชนะ)

มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือบุคคลกับกลุ่มหรือกลุ่มกับกลุ่ม รวมตลอดถึงพฤติกรรมในการแสดงออกทั้งกาย วาจา ใจต่อคนอื่นใน รูปแบบของการทำงานร่วมกันและในบางกรณี ก็เป็นไปในทางส่วนตัว(สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ)

มนุษยสัมพันธ์หมายถึงการติดต่อเกี่ยวข้องระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลต่อกลุ่มหรือกลุ่มต่อกลุ่มทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวและเกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดความรัก ความศรัทธาช่วยเหลือและร่วมมือร่วมใจกันทำงานให้บรรลุเป้าหมาย(ผุสดี พฤกษะวัน)

มนุษย์ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันและทำงานกับผู้อื่นดังนั้นจึงต้องให้ความสนใจแก่มนุษย์ผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นแกนสำคัญของการทำงาน คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจมีความต้องการ มีความรู้ มีอารมณ์ มิใช่เป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ หากได้รับการดูแลจากฝ่ายบริหารเป็นอย่างดีอาจจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขึ้นมากกว่าเดิม

แนวคิดพื้นฐานและหลักทั่วไป

– ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองและต้องเปิดโอกาสที่จะให้บุคคลแต่ละคนได้ใช้

พรสวรรค์ทักษะ ความเฉลียวฉลาดของเขาให้มากที่สุด เหมาะสมกับบุคลิกภาพ

ของเขาซึ่งเป็นการพัฒนาบุคคล

– ต้องรู้แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งได้แก่ การตระหนักในความแตกต่าง

ของบุคคลความต้องการของบุคคลอันเป็นสาเหตุแห่งพฤติกรรมและศักดิ์ศรีของ

ความเป็นมนุษย์

– ต้องตระหนักถึงลักษณะธรรมชาติองค์กรว่าองค์กรนั้นเป็นระบบสังคมที่มีชีวิต

เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงได้

– องค์การเป็นระบบเปิดที่ต้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร

หลักทั่วไปในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

– การมีความจริงใจ

– การมีความรักและความปรารถนาดีต่อบุคคลอื่น

– การรู้จักจิตใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

– การมีมารยาททางสังคมรู้ว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดควรละเว้น

ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์

แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการดำเนินชีวิตในสังคม ได้แก่ ความสำคัญในการดำรงชีวิตความสำคัญที่มี

ต่อคุณภาพชีวิต

2. ด้านการบริหาร

– ผู้บริหารต้องรู้หลักการครองใจพนักงานและสนองความต้องการของพนักงาน

– ผู้บริหารต้องใช้แรงจูงใจและศิลปะในการสนองความต้องการของพนักงาน

– บุคลากรต้องมีความรู้สูงขึ้น

– ผู้บริหารต้องใช้กลวิธีในการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำ

งานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

3. ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและธุรกิจสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมอุตสาหกรรม

และพาณิชยกรรมมีการแข่งขันเกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีความพอใจในการเลือก

ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและการบริการดังนั้นการจะโน้มน้าวให้ผู้บริโภคมาใช้สินค้า

ต้องรู้จักการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์

4. ด้านการเมืองถ้าผู้นำทางการเมืองมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะทำให้การบริหารมี

ประสิทธิภาพประเทศชาติมีความมั่นคง

ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์

ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์ที่ควรคำนึงถึงได้แก่

1. เป็นการสร้างสรรค์ความสามัคคีให้เกิดขึ้นใน หน่วยงานนั้น ๆ

2. เป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายปฏิบัติ

กับฝ่ายปฏิบัติ

3. ในการติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นต้องยอมรับว่าทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเท่า

เทียมกันทุกคนต้องการการยอมรับนับถือ การยกย่องสรรเสริญและการให้เกียรติ

ซึ่งกันและกัน

4. มนุษย์ต้องการการจูงใจ ได้แก่ ความต้องการทางกาย ความมั่นคง ปลอดภัย

ความรัก เกียรติยศชื่อเสียง และความตระหนักในตนความต้องการที่ได้รับการ

ตอบสนองย่อมก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและนำไปสู่การทำงานที่มี

ประสิทธิภาพ

5. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน

ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์

1. ทำให้เข้าใจความต้องการความแตกต่างพื้นฐานของมนุษย์

2. ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคมกับผู้อื่น

3. ทำให้ผู้บริหารเข้าถึงประชาชน

4. สร้างทักษะให้ผู้บริหารในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาและติดต่อกับกลุ่ม

ชนรวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้ดี

5. ทำให้ได้รับความรักใคร่เชื่อถือศรัทธา จากบุคคลในครอบครัว องค์กร และ

สังคมได้

6. ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้

7. ลดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานและอยู่ร่วมกัน

8. ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามัคคีมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

9. เป็นปัจจัยสำคัญในการประสานประโยชน์ของสังคม

10. ทำให้ตนเองและสังคมมีความสุข

ความหมายขององค์กร

องค์กรหมายถึงหน่วยงานทางสังคมที่มีกลุ่มคนมาทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด พิจารณา ตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน (ผุสดีพฤกษะวัน)

องค์ประกอบขององค์กร

องค์ประกอบขององค์กรมี 4 ประการ ดังนี้

1. Purpose

2. People

3. Process

4. Place other resource

ประเภทขององค์กร

ประเภทขององค์กรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.องค์กรรูปนัย (Formal Organization)

2.องค์กรอรูปนัย (Informal Organization)

มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

มนุษยสัมพันธ์ในองค์กรหมายถึงความสัมพันธ์ของบุคลากรที่อยู่ในแวดล้อมขององค์กรรูปนัยซึ่งมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในแนวตั้งคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับสายงานการบังคับบัญชาและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในแนวนอนคือสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในระดับเดียวกัน และรวมถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคลกลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคลด้วย