ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ ป.3 หลักสูตรใหม่

ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ ป.3 หลักสูตรใหม่

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ฯต้องรู้และควรรู้ ป.1-ม.6 ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สำหรับการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 ภายใต้สถานการณ์ Covid-19

ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ ป.3 หลักสูตรใหม่

  • เอกสารตัวชี้วัดฉบับรวม 8 กลุ่มสาระ ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดต้องรู้และควรรู้ หลักสูตรฯ 2551 สำหรับสถานการณ์ Covid-19
  • การงานอาชีพ ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • คณิตศาสตร์ ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ภาษาต่างประเทศ ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • ภาษาไทย ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • วิทยาศาสตร์ ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ศิลปะ ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา
  • สังคมศึกษา ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  • สุขศึกษา ดาวโหลดที่นี่ >>> ตัวชี้วัดที่ต้องรู้และควรรู้สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ที่มา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

แนะแนวเรื่อง

ตัวชี้วัดวิชาคณิตศาสตร์หลักสูตรใหม่ 2560

แจกไฟล์ word ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิชาคณิตศาสตร์ ป.1-ม.3 ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560

ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ ป.3 หลักสูตรใหม่
ตัวชี้วัดวิชาคณิตศาสตร์หลักสูตรใหม่ 2560

ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ ป.3 หลักสูตรใหม่
ดาวน์โหลดตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ตัวชี้วัด คณิตศาสตร์ ป.3 หลักสูตรใหม่
ตัวชี้วัดวิชาคณิตศาสตร์หลักสูตรใหม่ 2560

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเครำะห์ปัญหำหรือสถำนกำรณ์ได้อย่ำงรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจแก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ตัวชี้วัดและสำระกำรเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นสำคัญนั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้ำงสรรค์ กำรใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน ตัวชี้วัดวิชาคณิตศาสตร์หลักสูตรใหม่ 2560

ดาวน์โหลดหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิศาสตร์ พ.ศ.2560

การนำหลักสูตรไปใช้

                คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ต้องกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประสานงาน เพื่อให้การสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และการเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ (ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ) มีดังนี้

1.การเรียนรู้โดยตนเอง คือการสร้างประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม วิทยาการ และโอกาส ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ เกิดการคิด วิเคราะห์ ฝึกทักษะ ด้วยตนเอง

2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือการเรียนรู้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังต้องเรียนรู้ตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมอันดีงาม และยึดมั่นในคุณธรรม

3.  การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ คือ การเรียนรู้ในทักษะชีวิตที่สำคัญ ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เช่นการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมถึง ความรู้ด้านสุขศึกษา เช่น เพศศึกษา ยาเสพติด การแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวอีกด้วย ส่วนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ก็คือการเข้าใจในศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวในการประกอบอาชีพนั่นเอง

4. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ในการฝึกประสบการณ์และปฏิบัติ เพื่อผจญกับปัญหาจริง และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี

5. การเรียนโดยผสมผสานความรู้ คือการเรียนความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจผู้เรียน

6.  การฝึกการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นประชาธิปไตย คือการเรียนรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น, ความเสมอภาค, หน้าที่, และศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และและมีความรัก ความหวงแหน ต่อคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย

8.  การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ คือการรวบรวมข้อมูล เพื่อการแก้ไข และเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการประเมินคุณภาพ

9.  การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน คือการที่ครอบครัว, ชุมชน, และสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน

10.การประเมินผู้เรียน คือ กระบวนการพิจารณาผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ โดยใช้เครื่องมือ เช่น การประเมินผลตามจริง แฟ้มผลงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม ขอขอบคุณโรงเรียนบ้านโนนเหลี่ยมและเว็บไซต์สื่อการสอนฟรี.com

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Post Views: 11,758